เวทีส.ว.วันนี้มองการปฏิรูปล่าช้า

รัฐสภา 7 พ.ย. –  “สภาพัฒน์ฯ” รายงานแผนปฏิรูป พบงานกฎหมายปฏิรูปล่าช้า ด้าน “ส.ว.” จี้ให้เร่งเครื่อง ชงเข้ารัฐสภาก่อนสิ้นปี 65 ขณะที่ “เสรี” ชี้ งานปฏิรูปด้านการเมือง ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่คืบ หลังส.ส.พยายามแก้กติกาเลือกตั้ง ส่วนนโยบายหาเสียงไม่คำนึงถึงผลกระทบ


การประชุมวุฒิสภา ได้พิจารณารายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศ ครั้งที่ 15 ระหว่างเดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2565 และรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศ ครั้งที่ 15 ระหว่างเดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2565 และรายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศและการจัดทำและการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ (ตสร.)

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานว่า กิจกรรมปฏิรูปที่สำคัญ มี 62 กิจกรรม ในแผนปฏิรูป 13 ด้าน พบว่ากิจกรรมที่เป็นไปตามแผน 55 กิจกรรม และล่าช้ากว่าแผน 7 กิจกรรม อาทิ การสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์, การส่งเสริมพัฒนาพรรคการเมือง, ทนายความอาสาประจำสถานีตำรวจ การพัฒนาระบบราชการไทยให้โป่งใสไร้ผลประโยชน์ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ ขณะที่ความคืบหน้าการเสนอกฎหมายปฏิรูป 45 ฉบับ พบว่าทำแล้วเสร็จ 4 ฉบับ ส่วนอีก 41 ฉบับอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยส่วนใหญ่ยังอยู่ในชั้นที่หน่วยงานของรัฐจัดทำร่างกฎหมาย


ขณะที่พล.อ.ชูศักดิ์ เมฆสวรรค์ รองประธานตสร. นำเสนอรายงานการติดตามว่า กมธ.กังวลผลสัมฤทธิ์ของการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 และการดำเนินการภายหลังที่แผนปฏิรูปสิ้นสุดตามความเห็นของกรรมการปฏิรูปและรัฐบาล ที่ให้เชื่อมโยงการปฏิรูปไปยังแผนปฏิบัติงานของหน่วยราชการ เนื่องจาก ตสร. จะไม่ทราบถึงภารกิจของหน่วยงานที่เป็นแผนต่อจากการปฏิรูปและทำหน้าที่ติดตาม เร่งรัดงานปฏิรูปของวุฒิสภาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดดำเนินการไม่ได้ และส่อขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 185 (1) ทั้งนี้ ตามแผนการปฏิรูป พบโครงการ กิจกรรมปฏิรูปรวม 490 กิจกรรม จากกิจกรรมที่มีทั้งสิ้น 1,822 โครงการ พบว่าแล้วเสร็จ 42 โครงการ คืบหน้าตามแผน 359 โครงการ และล่าช้า 88 โครงการ ถือว่ามีโอกาสบรรลุตามวัตถุประสงค์ระดับปานกลาง

“สำหรับการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายตามแผนปฏิรูปประเทศ รวม71 ฉบับ พบว่าประกาศแล้ว 8ฉบับ อยู่ระหว่างดำเนินการ 47 ฉบับและ ล่าช้า 16 ฉบับ วุฒิสภาขอให้รัฐบาลเร่งผลักดันหน่วยงานที่ทำกฎหมายให้ทำกฎหมายและเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่รัฐสภาอย่างเร่งด่วนภายในปี 2565” พล.อ.ชูศักดิ์ อภิปราย

ขณะที่นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. ฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาการเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา กล่าวว่า การพัฒนาด้านการเมือง พบว่าพรรคการเมืองยังไม่พัฒนา โดยเฉพาะการให้ประชาชนมีส่วนร่วม ต่อการเลือกตั้งขั้นต้น เพราะพบว่าสภาฯ เสนอกฎหมายแก้ไข ทำให้กระบวนการเลือกตั้งขั้นต้นไม่สามารถเป็นไปตามเจตนารมณ์พัฒนาการเมือง ปฏิรูปการเมืองได้ เพราะนักการเมืองไม่ยอมให้อำนาจประชาชน และพยายามรวบอำนาจ เพื่อให้คนของตนเองลงเลือกตั้ง ส่วนร่างกฎหมายเมื่อเข้าสู่ชั้น ส.ว. กลับพบว่าได้รับการยินยอม จากวุฒิสภา ทั้งนี้กรณีดังกล่าวมีส.ว.อีกชุด ทำเรื่องส่งศาลรัฐธรรมนูญแล้วต้องติดตามกันต่อไป


“ผมเห็นด้วยกับการแก้ไข ปรับปรุงโครงสร้างรัฐธรรมนูญ เพราะขณะนี้ใกล้ครบ 5 ปี จึงควรทบทวน หรือยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ให้เป็นทางออก ที่ทำให้บ้านเมืองสงบ หากติกาที่ได้รับการเป็นที่ยอมรับ เพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อย และเป็นประโยชน์ต่อประเทศ” นายเสรี กล่าว

ด้านนายเฉลิมชัย เฟื่องคอน ส.ว. อภิปรายกรปฏิรูปด้านการเมือง ว่า จากการติดตามศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับผิดชอบ เพื่อให้ความรู้ด้านการเมือง การปกครองระบอบประชาธิปไตยให้ประชาชน พบปัญหาสำคัญ คือ การเลือกตั้งทุกระดับไม่สุจริตเที่ยงธรรม การเลือกตั้งพบการซื้อเสียง ทำผิดไม่กลัวความเสียหาย ด้านนโยบายพรรคการเมืองไม่คำนึงถึงผลกระทบและควาเสียหายตามที่ประกาศตอนหาเสียง ทั้งที่กฎหมายกำหนดกลไกให้พรรคการเมืองรับผิดชอบต่อการหาเสียงไม่เกิดจริงและเมื่อเป็นรัฐบาลไม่ได้นำนโยบายมาปฏิบัติทำให้เกิดความเสียหาย

“กกต.มีกกต.จังหวัดแต่ไม่สามารถส่งเสริศูนย์ส่งเสริมฯ ให้เรียบร้อยและมีประสิทธิภาพต่อการให้ความรู้ประชาชนและการตรวจสอบการเลือกตั้งให้สุจริตเที่ยงธรรม ทั้งนี้ กกต. ได้ทำบันทึกความตกลงความร่วมมือ 6 หน่วยงานในกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการเพื่อให้ชุมชน อสม. ขับเคลื่อน แต่พบข้อมูลจากการลงพื้นที่ 20 จังหวัดพบว่าทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เพราะไม่รู้ว่าจะขับเคลื่อนไปในทิศทางใด แม้จะมีบันทึกความร่วมมือแต่หน่วยงานในท้องถิ่นไม่เคยเห็นบันทึกความร่วมมือดังกล่าว อีกทั้งกรรมการจังหวัดไม่รับทราบ อีกทั้งบุคลากรของหน่วยงานที่ทำบันทึกข้อตกลงกับกกต. ไม่ให้ความสนใจ  ปล่อยทิ้งปล่อยขว้าง ไม่ดูแล” นายเฉลิมชัย กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง