สำนักข่าวไทย 31 ก.ค.- ประชาชนสามารถช่วยกันสอดส่อง เพื่อปิดเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมายได้ง่ายๆ ส่วนขั้นตอนจะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย
ขั้นตอนที่ 1 รับแจ้งเว็บไซต์จากหน่วยงาน/ประชาชน
ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 3 รัฐมนตรีให้ความเห็นชอบยื่นคำร้องต่อศาล
ขั้นตอนที่ 4 ศาลมีคำสั่งให้ปิดหรือลบข้อมูล
ขั้นตอนที่ 5 ส่งคำศาลให้ผู้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP)
ขั้นตอนที่ 6 ส่งคำศาลให้ผู้บริการสื่อสังคมออนไลน์ (Facebook/YouTube/Twitter)
ขั้นตอนที่ 7 ส่งให้ บก.ปอท. หาตัวผู้กระทำความผิดตามกฎหมายต่อไป
ที่ผ่านมาดีอีเอสได้ขอความร่วมมือไปยังแพลตฟอร์มต่างประเทศ โดยยูทูปได้ดำเนินการตามที่ขอไปประมาณร้อยละ 90 แต่เฟซบุ๊คดำเนินการเพียงร้อยละ 28 จึงต้องสื่อสารให้เคารพและรับผิดชอบต่อสังคมไทยด้วย ขณะเดียวกันยังได้ตั้งคณะทำงาน ร่วมกับทาง ISP หรือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เพื่อควบคุมเรื่องที่ผิดกฎหมายด้วย โดยในรอบ 7 เดือนแรกของปี 2563 ได้ยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อสั่งให้ปิดหรือลบข้อมูลในเว็บไซต์ผิดกฎหมาย 7,164 ยูอาร์แอล (ข้อมูล ณ วันที่ 23 ก.ค.63) จากที่ได้รับแจ้งทั้งสิ้น 8,715 ยูอาร์แอล และดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดกฎหมายด้วย
ล่าสุดดีอีเอสได้เปิดเฟซบุ๊กเพจ “อาสา จับตา ออนไลน์” เพื่อเป็นช่องทางรับแจ้งข้อมูลจากประชาชน โดยจะมีเจ้าหน้าที่รับเรื่องและตรวจสอบตลอด 24 ชม. พร้อมทั้งพิจารณาข้อกฎหมายและตอบกลับผู้แจ้ง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถแจ้งข้อมูลได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 0 2141 6747 ได้อีกด้วย
ข้อมูล ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 2563