fbpx

Swab แยงจมูกหาเชื้อบ่อย ๆ อันตรายจริงหรือไม่ ?

ในยุคที่มีอัตราการติดเชื้อโควิด-19 สูงขึ้นทุกวัน การ Swab ตรวจหาเชื้อเมื่อมีความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่คนที่เสี่ยงบ่อยก็ต้อง swab บ่อย จนกระทั่งมีการระบาดของข้อมูลเท็จเกิดขึ้น และสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะคำกล่าวอ้างที่ระบุว่า การ Swab เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต


คำกล่าวอ้าง

มีคลิป / ข้อความ ที่ระบุว่าการ swab จมูกบ่อย ๆ  จะทำให้เนื้อเยื่อเพดานจมูกพัง เชื้อโรคเข้าสู่สมอง และระบบประสาทเสียหาย โดยมีใจความหลักดังนี้

  • การ Swab จมูกทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่สมอง
  • สารเคมีที่นำมาฆ่าเชื้อไม้ Swab เป็นสารก่อมะเร็ง
  • การ swab ทำให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในผู้ใหญ่
  • การ Swab ทำลายระบบประสาทต่าง ๆ เช่น ระบบประสาทรับกลิ่น
  • การตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR เชื่อถือไม่ได้


ข้อความที่แชร์กันบน Facebook

บทสรุปหลังตรวจสอบ

❌ ข้อมูลไม่เป็นความจริง อย่าแชร์ ❌

  • วันที่ตรวจสอบ: 17 มกราคม 2565
  • ตรวจสอบโดย: ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท
  • คลิปอ้างอิง: https://youtu.be/iX96_Et1RBg

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับนายแพทย์ศุภกิจ  ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับคำกล่าวอ้างข้างต้น  และพบว่าเป็นข้อมูลเท็จ โดยมีคำอธิบายเพื่อหักล้างคำกล่าวอ้างดังนี้


คำอธิบายข้อเท็จจริง

การ Swab จมูกบ่อย ๆ ไม่อาจทำให้ไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย เข้าสู่สมองได้

  • โดยหลักแล้ว สมองมีกลไกที่สามารถป้องกันไม่ให้สาร หรือเชื้อโรคที่มากับระบบไหลเวียนเลือดทะลุเข้ามาได้ ซึ่งเราเรียกมันว่า Blood-brain barrier เพราะฉะนั้นการแหย่จมูกจะไม่มีผลกระทบอะไรกับสมองหรือระบบไหลเวียนเลือดใด ๆ เลย และระบบ Blood-brain barrier จะยังทำงานได้อย่างปกติดี

สารเคมีที่นำมาฆ่าเชื้อไม้ Swab ไม่ได้ก่อมะเร็ง และไม่ได้ทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

  • อุปกรณ์ทางการแพทย์ส่วนใหญ่ รวมถึงไม้ Swab จะได้รับการฆ่าเชื้อด้วยแก๊ส ethylene oxide ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้กันมายาวนาน และจะไม่ตกค้างอยู่บนอุปกรณ์หลังจากฆ่าเชื้อ ซึ่งการจะก่อมะเร็งได้นั้น ผู้ป่วยจะต้องสูดดมแก๊สเข้าไปโดยตรง ไม่ใช่ผ่านการสัมผัสหรือใช้อุปกรณ์นั้น ๆ แต่อย่างใด นอกจากนี้ ปริมาณในการใช้สาร ethylene oxide ยังถูกควบคุมให้อยู่ในปริมานที่ไม่สามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ได้ มิฉะนั้นจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำออกมาใช้

การ Swab ไม่ได้ส่งผลกระทบใด ๆ กับระบบประสาท

มีการเตือนอย่างแพร่หลาย ว่าให้ระวังการ Swab จมูกบ่อย ๆ เพราะจะไปทำลายระบบประสาทรับกลิ่น เส้นประสาท Trigeminal และยังส่งผลกระทบกับระบบ Limbic อีกด้วย ทั้งนี้ นายแพทย์ศุภกิจยืนยันว่าข้อมูลเหล่านี้ไม่เป็นความจริง

  • ประสาทรับกลิ่น: เป็นเพียงบริเวณเล็ก ๆ ที่มีพื้นที่ประมาณ 2-5 ตารางเซนติเมตร ซึ่งอยู่บริเวณด้านบนของโพรงจมูก แต่ตามหลักการแล้ว ตำแหน่งในการ Swab คือโพรงหลังจมูก (Nasopharyngeal) ซึ่งจะอยู่ด้านใน และถึงแม้จะมีโอกาสที่จะแยงไปโดนบ้าง ก็ยังคงไม่เป็นอะไร เพราะตัวประสาทรับกลิ่นเอง มีเซลล์ที่คอยปกป้องตัวมันไว้โดยธรรมชาติเพื่อไม่ให้ไม้แยงจมูกไปสัมผัสโดยตรง เพราะฉะนั้น ตราบใดที่ไม่ได้ Swab ผิดวิธีจนทำให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงจนกระทั่งเลือดออก โอกาสที่ประสาทรับกลิ่นจะได้รับผลกระทบจะแทบไม่มีเลย
  • เส้นประสาท Trigeminal: ถือเป็นคู่ที่ 5 จากเส้นประสาทในสมองของคนเรา ที่มีทั้งหมด 12 คู่ ซึ่งเส้นนี้จะสัมพันธ์กับการรับความรู้สึกจากบริเวณใบหน้า และจะไม่สามารถเปิดออกมาตรงบริเวณโพรงจมูกให้ไม้ swab แยงเข้าไปโดนได้แต่อย่างใด
  • ระบบ Limbic: ข้อมูลที่อ้างว่าการ Swab บ่อย ๆ จนทำให้จมูกระคายเคืองจะส่งผลกระทบไปทั้งระบบ Limbic นั้น เป็นการเชื่อมโยงที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เนื่องจากระบบ Limbic เป็นระบบที่อยู่ในสมองด้านล่างร่วมกับทาลามัส ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมพฤติกรรม ความทรงจำ และการเรียนรู้ การแยงจมูกจึงไม่มีทางกระทบกับระบบในส่วนนี้เลย

การแยงจมูกด้วยวิธี RT-PCR ถือเป็นวิธีมาตรฐานสากลในปัจจุบัน

  • การตรวจแบบแยงจมูก (Nasopharyngeal) คือการตรวจเก็บสิ่งส่งตรวจที่อยู่หลังโพรงจมูก โดยการแหย่เข้าไปให้ลึกจนชนผนังด้านหลัง ซึ่งถือเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายตามสถาบันต่าง ๆ รวมถึงองค์การอนามัยโลก และถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการพัฒนาให้ตรวจหาเชื้อแบบใช้น้ำลาย (Deep Throat Saliva) ได้ก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยังคงยืนยันว่า ควรใช้แค่เป็นทางเลือกไว้สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเก็บสิ่งส่งตรวจจากหลังโพรงจมูกได้ เช่น เด็กเล็ก ๆ คนที่มีปัญหาความผิดปกติของโพรงจมูก หรือคนที่ต้องตรวจบ่อยมากจนเกินไป เนื่องจากมีผลการทดลองขอกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ชี้ว่า การตรวจหาเชื้อแบบแยงจมูกด้วยวิธี RT-PCR สามารถพบเชื้อได้มากกว่าการตรวจแบบน้ำลายนั่นเอง

ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ให้ความรู้โดย: นายแพทย์ศุภกิจ  ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

เรียบเรียงบทความโดย: ชณิดา ภิรมณ์ยินดี


ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พายุฤดูร้อนถล่ม 31 จังหวัด ฝนฟ้าคะนอง-ลมแรง

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 5 ฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง วันนี้ (3 พ.ค.) ได้รับผลกระทบ 31 จังหวัด ในภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง

เศร้ารับวันแรงงาน! โรงงานประกาศปิดกิจการกะทันหัน

พนักงานโรงงานผลิตกระจกเก่าแก่ใน อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการฯ จ.สมุทรปราการ ให้นายจ้างจ่ายชดเชยตามกฎหมาย หลังโรงงานติดประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

เหล่าทัพพร้อมใจยิงสลุตหลวง เฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในพระราชพิธีฉัตรมงคล

กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ยิงสลุตหลวง 21 นัด เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีฉัตรมงคล

เพลิงไหม้โกดังโรงงานกระดาษรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร

เพลิงไหม้โกดังโรงงานกระดาษใน ต.บ้านเกาะ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ไฟโหมลุกไหม้อย่างรุนแรงในตัวอาคาร ขณะนี้เจ้าหน้าที่ควบคุมเพลิงให้อยู่ในวงจำกัดได้ เสียหายแล้วประมาณ 10 ไร่

ญาติรับศพชายตกท่อร้อยสายไฟ กฟน.

ญาติรับศพ ชายวัย 59 ปี ตกท่อร้อยสายไฟของการไฟฟ้านครหลวง เสียชีวิต พร้อมตัดพ้อหลังรองผู้ว่าฯ กฟน.ปัดร่วมงานศพ ส่งเลขาฯ มาแทน เผยยังไม่ได้รับแม้แต่คำขอโทษจากผู้รับผิดชอบโดยตรง