ศาลสั่ง 3 อดีต ขรก.ระดับสูง ชดใช้หมื่นล้าน คดีคลองด่าน

กทม. 4 ก.ย. – ศาลปกครองกลางพิพากษาให้ 3 อดีตข้าราชการระดับสูง ชดใช้เงินคืนให้กรมควบคุมมลพิษ รวมกว่า 10,000 ล้านบาท คดีบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน


มีรายงานข่าวจากศาลปกครองกลางว่า เมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางพิพากษาให้อดีตข้าราชการระดับสูงของกรมควบคุมมลพิษ 3 ราย ชดใช้เงินให้กับกรมควบคุมมลพิษ รวมกันเป็นเงินกว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากคดีบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน

ข้าราชการทั้ง 3 ราย ที่ต้องชดใช้เงินให้กรมควบคุมมลพิษ ประกอบด้วย นายปกิต กิระวานิช อดีตอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ต้องชดใช้เงิน 3,388 กว่าล้านบาท ชดใช้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ 36 กว่าล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1,144 กว่าล้านบาท รวมเป็นเงิน 4,500 กว่าล้านบาท


คนที่ 2 คือ นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์ อดีตอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ต้องชดใช้เงิน 1,868 กว่าล้านบาท ชดใช้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ 36 กว่าล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1,144 กว่าล้านบาท รวมเป็นเงิน 3,000 กว่าล้านบาท

คนที่ 3 คือ นางยุวรี อินนา อดีตผู้อำนวยการกองจัดการน้ำ กรมควบคุมมลพิษ ต้องชดใช้เงิน 1,868 กว่าล้านบาท และชดใช้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ 36 กว่าล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1,144 ล้านบาท รวมเป็นเงินกว่า 3,000 ล้านบาท โดยคดีนี้ยังไม่ถือว่าสิ้นสุด ทั้ง 3 รายที่ถูกพิพากษาให้ชดใช้เงินคืนกรมควบคุมมลพิษยังสามารถอุทธรณ์คำพิพากษาได้

ศาลได้ยกคำร้องในส่วนของจำนวนเงินที่ศาลปกครองกลางเคยมีคำพิพากษาให้กรมควบคุมมลพิษต้องจ่ายค่าจ้างงวดงานที่ 55-58 จำนวน 111 ล้านบาท ให้กับบริษัท วิจิตรภัณฑ์ จำกัด กับพวก เพราะศาลเห็นว่าเกิดขึ้นภายหลังจากที่กรมควบคุมมลพิษออกคำสั่งเรียกให้ทั้ง 3 ราย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงไม่สามารถนำมาเรียกจากคู่กรณีทั้ง 3 รายได้


สำหรับโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน สร้างบนพื้นที่ 1,900 ไร่ ในตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ใช้เงินลงทุนมากถึง 23,000 กว่าล้านบาท กรมควบคุมมลพิษเซ็นสัญญากับกลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG ผู้รับเหมาก่อสร้าง ตั้งแต่ปี 2540 แต่การก่อสร้างที่เดินหน้าจนเกือบแล้วเสร็จ 98 เปอร์เซ็นต์ รัฐจ่ายเงินไปแล้ว 54 งวด จาก 58 งวด รวมเป็นเงิน 20,000 กว่าล้านบาท กลับหยุดชะงัก เมื่อมีการตรวจสอบพบกลโกงสารพัดซ่อนอยู่ในโครงการนี้

สุดท้ายกรมควบคุมมลพิษในสมัยนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้บอกเลิกสัญญา และระงับการจ่ายเงินที่เหลือ 4 งวด

หลังการบอกเลิกสัญญา มีการฟ้องร้องกันตามมาหลายคดี หนึ่งในคดีที่เกิดจากโครงการบ่อบำบัดคลองด่าน คือการที่กรมควบคุมมลพิษฟ้องนายปกิต กิระวานิช อดีตอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์ อดีตรองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และนางยุวรี อินนา นักวิชาการกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งทั้ง 3 คน เป็นข้าราชการผู้รับผิดชอบโครงการ ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานทำการทุจริตต่อหน้าที่ และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2558 จำคุกจำเลยทั้ง 3 คน คนละ 20 ปี โดยไม่รอลงอาญา คดีนี้อยู่ระหว่างอุทธรณ์ จำเลยทั้ง 3 คน ได้ประกันตัว โดยวางหลักทรัพย์คนละ 2 ล้านบาท.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง