ออปโป้เชื่อตลาดมือถือ 5G ยังโตต่อ

กรุงเทพฯ 5 ต.ค. ออปโป้เชื่อตลาดมือถือไทยได้รับผลกระทบจากโคสิด-19 ไม่มากเชื่อปลายปีถึงต้นปีหน้าตล่ด 5G จะคึกคัก นายชานนท์ จิรายุกุล ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายขาย บริษัทไทย ออปโป้ กล่าวว่า ออปโป้คาดว่าการแข่งขันในตลาดเครื่องลูกข่ายที่รองรับเทคโนโลยี 5G ในประเทศไทยจะคึกคักมากขึ้น แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาจะต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็ตาม ออปโป้ยอมรรับว่ามีผลกระทบกับยอดการจำหน่ายสมาร์ทโฟนในช่วงที่มีการล็อกดาวน์ทำให้ผู้บริโภคต้องอยู่แต่ในบ้านซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นทั่วโลก สำหรับออปโป้ในประเทศไทยมีผลกระทบไม่ถึงร้อยละ 20 และเมื่อมีการผ่อนคลายมาตรการและกลับมาใช้ชีวิตตามปกติเชื่อว่าตลาดสมาร์ทโฟน 5G จะเริ่มเป็นที่สนใจ จากการที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมีการขยายโครงข่ายและเปิดให้บริการ 5G ในเชิงพาณิชย์ ทำให้ตลาดเครื่องลูกข่าย 5G มีการแข่งขันกันมากขึ้น ออปโปคาดว่าในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะเริ่มมีสมาร์ทโฟนที่รองรับเทคโนโลยี 5G ราคาต่ำกว่า 10,000 บาทออกมาสู่ตลาด และไตรมาสแรกของปี 2564 การแข่งจันรุนแรงมากขึ้นโดยจะมีสมาร์ทโฟนรองรับ 5G ออกมาสู่ตลาดนับสิบรุ่นจากทุกค่ายมือถือ “ส่วนที่มีการคาดการถึงภาวะเศรษฐกิจที่อาจะถดถอย จะส่งผลกระทบกับภาคอุตสาหกรรมทุกภาค ออปโป้ยังมองว่าตลาดสมาร์ทโฟนและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมน่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เพราะสมาร์ทโฟนและการสื่อสารเป็นแนวโน้มของยุคสมัยที่คนต้องใช้สมาร์ทโฟนในการดำเนินชีวิต หางาน ซื้อของ หรือเพื่อความบันเทิงดังนั้นอุตสาหกรรมสื่อสารจะยังคงเดินหน้าต่อไปได้ ส่วนปัจจัยที่จะชี้ว่าใครจะประสบความสำเร็จมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการตอบรับแพคเกจ 5G ที่นำเสนอโดยโอเปอเรเตอร์และการปรับตัวของผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรวมถึงความร่วมมือที่มีกับโอเปอเรเตอร์ที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากหรือน้อยเพียงใด ออปโป้ยังชื่อว่าตลาดมือถือปี 2563 ยังน่าจะมีอัตราการเติบโตไม่น้วยกว่าร้อยละ 20 ” -สำนักข่าวไทย.

“พล.อ.ประวิตร” เร่งขับเคลื่อนแผนสิ่งแวดล้อม-ลดก๊าซเรือนกระจก

กรมส่งเสริมฯ 5 ต.ค.- “พล.อ.ประวิตร” เร่งขับเคลื่อนแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดก๊าซเรือนกระจกดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อประชาชน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (กนภ.) ครั้งที่ 2/2563 โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่รองประธานกรรมการคนที่ 1 ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทำหน้าที่รองประธานกรรมการคนที่ 2 นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ ดร. รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายเกียรติชาติ ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ทำหน้าที่กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม ที่ประชุมได้ร่วมพิจารณา ประเด็นที่สำคัญ จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ (ร่าง) แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 […]

ดีอีเอสเร่งสรุปปมดาวเทียมก่อนหมดสัมปทาน

กรุงเทพฯ 5 ดีอีเอส เตรียมหารืออัยการสูงสุด เร่งสรุปดาวเทียมก่อนหมดสัญญาสัมปทาน 1 ปี  นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้กระทรวงดีอีเอสดำเนินคดีแทนรัฐบาลเรื่องดาวเทียมไทยคม 5 เกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคจนไม่สามารถกู้ระบบคืนหรือซ่อมแซมได้ ทำให้ต้องปลดระวางเมื่อ 26 ก.พ. 2563 ก่อนวันหมดสัญญาสัมปทานในวันที่ 10 ก.ย. 2564 ตามที่กระทรวงดีอีเอสได้เสนอให้ครม.อนุมัติ เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2563 ที่ผ่านมานั้น ทำให้กระทรวงดีอีเอส สามารถดำเนินการตามกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการและหรือกระบวนการทางศาล เพื่อเรียกร้องให้บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ปฏิบัติตามข้อสัญญา รวมทั้งการเรียกร้องให้ดำเนินการจัดหาดาวเทียมทดแทนดาวเทียมไทยคม 5 ตลอดจนการขอให้ชดใช้ราคาแทนการจัดหาดาวเทียมทดแทนดาวเทียมไทยคม 5 การชำระค่าตอบแทนต่างๆ ตามสัญญา เบี้ยปรับ และค่าเสียหายต่างๆ ตามรายละเอียดที่ตรวจสอบได้และประสงค์จะเรียกร้องแทนรัฐบาล สำหรับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทรับประกัน กรณีเหตุขัดข้องทางเทคนิคของดาวเทียมไทยคม 5 นั้นกระทรวงดีอีเอสให้ไทยคม อยู่ระหว่างดำเนินการเจรจาต่อรองค่าเสียหายกับบริษัทผู้รับประกันภัย ส่วนเรื่องที่ไทยคม จะต้องจัดสร้างดาวเทียมทดแทนตามสัญญา กรณีดาวเทียมไทยคม 5 ที่ปลดระวางไปนั้นไทยคม ได้ชี้แจง ว่าได้จัดสร้างดาวเทียมหลักและสำรองในกรณีที่ดาวเทียมหลักเสียหายถูกต้องครบถ้วน 2 ชุด ตามข้อกำหนดของสัญญาแล้ว จึงไม่มีแผนในการจัดสร้างดาวเทียมเพิ่มเติม ขณะที่กระทรวงดีอีเอส เห็นว่า หากดาวเทียมไทยคม 5 ไม่สามารถใช้งานได้ จำเป็นต้องมีดาวเทียมสำรองอีกดวงหนึ่งเพื่อถ่ายโอนลูกค้า ไม่ใช่การถ่ายโอนไปใช้งานดาวเทียมของต่างชาติ แบบที่ไทยคม ทำ ดังนั้นทำให้ข้อพิพาทนี้ยังไม่มีข้อยุติ ดีอีเอสจึงต้องนำข้อพิพาทดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการตามสัญญา “จากนี้กระทรวงดีอีเอสต้องทำเรื่องขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อดำเนินการตามอนุญาโตตุลาการต่อไปซึ่งคณะทำงานจะมาจากตัวแทนสำนักงานอัยการสูงสุด , กระทรวงดีอีเอส และ หน่วยงานกลาง”  นายพุทธิพงษ์ กล่าว  อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงดีอีเอส กล่าวว่า ส่วนกรณีที่คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ดดีอี) เมื่อช่วงต้นปี 2563 ได้เห็นชอบให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการทรัพย์สินที่กระทรวงดีอีเอส รับโอนหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานให้บริการดาวเทียมจาก ไทยคม ในเดือน ก.ย. 2564 นั้นขณะนี้ ยังอยู่ระหว่างรอกระทรวงดีอีเอสเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.)  เนื่องจากบอร์ดดีอีมีข้อสังเกตเรื่องแผนบริหารจัดการดาวเทียมแห่งชาติแบบจีทูจีด้วยกระบวนการตามมาตรา 49 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (พีพีพี) จึงให้กระทรวงดีอีเอสทำเรื่องให้สำนักงานกฤษฏีกาตีความ แต่ทางสำนักงานกฤษฎีกาแจ้งว่าไม่มีอำนาจจึงให้ส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณาอยู่แต่ยังไม่แล้วเสร็จ  ดังนั้นจึงอาจทำให้เสียโอกาสในการรับช่วงต่อซึ่งต้องดำเนินการล่วงหน้า 1 ปี ก่อนหมดสัญญาสัมปทาน ในเรื่องการบริหารจัดการ และควบคุมดาวเทียมในบางส่วนซึ่งมีความละเอียดอ่อนจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรเพิ่มความรู้ทักษะเฉพาะด้าน และ กสท โทรคมนาคมจะต้องส่งบุคลากรเข้าไปฝึกอบรมเตรียมความพร้อมในการบริหารสินทรัพย์กับไทยคมในเดือน ก.ย. 2563 ที่สำคัญคือลูกค้าที่ใช้งานไทยคม 4 และ ไทยคม 6 จะขาดความเชื่อมั่นและย้ายออกจากระบบก่อน เพราะเกรงว่าจะไม่มีความต่อเนื่องในการให้บริการ สุดท้ายกระทรวงดีอีเอสก็จะได้สินทรัพย์มาอย่างเดียวโดยไม่มีลูกค้า -สำนักข่าวไทย.

เก็บฐานข้อมูลจีโนมพืชป่าชายเลนครั้งแรกในไทย

สวทช. จับมือ ทช. ด้านการวิจัยอนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่าชายเลี่ยงที่อยู่ในความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เก็บเป็นข้อมูลสำคัญสร้างฐานข้อมูลจีโนมพืชป่าชายเลนครั้งแรกในไทย

เอ็ตด้าออกประกาศรับมือมัลแวร์เรียกค่าไถ่

กรุงเทพฯ 2 ต.ค. เอ็ตด้าประกาศแนวปฏิบัติการป้องกัน รับมือ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ สำหรับหน่วยงานรัฐ นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้ากล่าวว่า อาศัยอำนาจตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 ออกประกาศสำนักงานฯ เรื่อง แนวปฏิบัติในการรับมือเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์เกี่ยวกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) สำหรับหน่วยงานรัฐ เพื่อให้หน่วยงานรัฐใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการรับมือ ป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) โดยประกาศดังกล่าวจะครอบคลุมเนื้อหารายละเอียด 2 ส่วน ส่วนแรก: มาตรการพื้นฐาน 8 เรื่องสำคัญ สำหรับเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ กรณีมัลแวร์เรียกค่าไถ่ สำหรับหน่วยงานของรัฐ การจัดทำหรือทบทวนแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงาน ให้ครอบคลุมการสำรองข้อมูล การควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายและระบบสารสนเทศ และการประเมินความเสี่ยง การสำรองข้อมูลที่สำคัญ ควรจัดทำอย่างน้อย 2 เวอร์ชัน ไว้ในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ไม่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ยกเว้นเวลาสำรองข้อมูล และในการสำรองข้อมูลแต่ละเวอร์ชันให้มีการจัดเก็บลงในอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน การทดสอบการกู้คืนข้อมูลที่สำรองเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถนำมาใช้งานได้เมื่อต้องการ การควบคุมการเข้าถึงเครือข่าย และระบบสารสนเทศแยกส่วนเครือข่าย (Network segregation) ของระบบสารสนเทศตามรูปแบบการให้บริการ เพื่อลดผลกระทบจากการแพร่กระจายมัลแวร์ผ่านเครือข่าย การทบทวนการกำหนดสิทธิการเข้าถึงเครือข่าย และระบบสารสนเทศ ตามความจำเป็นและ การแบ่งแยกหน้าที่ (need to know, least privilege, separation of duties) รวมถึงควรตั้งค่าควบคุมในลักษณะการอนุญาตให้ใช้งานตามรายการสิทธิที่กำหนดไว้เท่านั้น (whitelisting) การกำหนดให้มีการยืนยันตัวตน (authentication) ตามสิทธิในการเข้าถึงเครือข่าย และระบบสารสนเทศ โดยไม่อนุญาตให้แชร์บัญชีผู้ใช้งาน สำหรับประเมินความเสี่ยงด้านระบบสารสนเทศ ให้จัดทำหรือทบทวนทะเบียนสินทรัพย์ (inventory of asset) รวมถึงข้อมูลที่สำคัญในการให้บริการ , จัดทำหรือทบทวนแผนผังการเชื่อมต่อเครือข่าย และระบบสารสนเทศที่ให้บริการ , จัดทำข้อมูลการติดต่อสำหรับผู้ดูแลหรือผู้ให้บริการสินทรัพย์ และเครือข่ายเพื่อเตรียมความพร้อมในกรณีที่ต้องการประสานการแก้ไขปัญหาหรือรับมือสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น , ระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นสำหรับการให้บริการ เพื่อพิจารณาช่องทางสำรองสำหรับให้บริการ กรณีที่ช่องทางหลักได้รับผลกระทบ , จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการให้บริการช่องทางสำรอง การจัดเก็บบันทึกกิจกรรม (log) ไปยังพื้นที่จัดเก็บในส่วนกลางที่มีการควบคุมการเข้าถึงอย่างรัดกุม เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลดังกล่าวจะไม่ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลง โดยบันทึกกิจกรรมควรครอบคลุม โดยข้อมูลการใช้งานระบบสารสนเทศ เช่นapplication log ส่วนข้อมูลการเชื่อมต่อทางเครือข่ายหรือระบบป้องกันการโจมตีทางเครือข่าย เช่น firewall log, intrusion protection system (ips) log ข้อมูลบันทึกกิจกรรมของระบบปฏิบัติการ เช่น event log, system log, security log, audit log และการจัดเก็บข้อมูล log ควรมีระยะเวลาในการจัดเก็บที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการนำมาใช้งานภายหลัง ทั้งนี้ อาจพิจารณากำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บตามหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการโดยอนุโลม การทบทวน และยกเลิกบริการที่ไม่จำเป็นบนเครื่องให้บริการ การกำหนดเจ้าหน้าที่ประสานงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับบริหารกับระดับปฏิบัติการ เพื่อประสานงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ไปยังสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ การให้ความรู้กับผู้ใช้งานในหน่วยงานเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากการติดมัลแวร์เรียกค่าไถ่ โดยอาจใช้สื่อประชาสัมพันธ์จากเว็บไซต์ไทยเซิร์ต  นายชัยชนะ กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการเพิ่มเติมสำหรับการดูแลบริการที่สำคัญ โดยการสำรองข้อมูลในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ควรมีการเข้ารหัสลับเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์กรณีที่อุปกรณ์นั้นสูญหาย รวมถึงควรพิจารณานำอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่สำรองข้อมูลแล้วไปเก็บยังนอกพื้นที่หน่วยงาน การป้องกันการติดมัลแวร์ ให้ติดตั้งโปรแกรมตรวจจับมัลแวร์บนเครื่องให้บริการ และเครื่องผู้ใช้งาน ทำการอัปเดตซอฟต์แวร์ที่ใช้ให้บริการเป็นเวอร์ชันล่าสุด ทั้งนี้ให้ใช้ระบบป้องกันการโจมตีทางเครือข่าย เช่น intrusion protection system (ips) และตรวจจับพฤติกรรมของมัลแวร์ด้วยระบบหรือกลไกที่เหมาะสม เช่น การตรวจสอบการเชื่อมต่อทางเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังไอพีแอดเดรสหรือโดเมนของเครื่องควบคุมมัลแวร์ (command and control server) การตรวจสอบค่าแฮชของไฟล์มัลแวร์ ควรตรวจสอบความผิดปกติของรายการบัญชีผู้ใช้งาน และข้อมูลบันทึกกิจกรรม (log) อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงตรวจสอบช่องโหว่ (vulnerability assessment) ของระบบสารสนเทศ หรือซอฟต์แวร์ที่ให้บริการ อย่างสม่ำเสมอ และให้รีบแก้ไขช่องโหว่ทันทีหากพบว่าเป็นความเสี่ยงที่รุนแรง การลงทะเบียนเพื่อขอรับการสนับสนุนเกี่ยวกับข้อมูลแจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์และการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและตรวจจับภัยคุกคาม ทางอีเมล thaicert-gms@thaicert.or.th แนวทางส่วนที่สอง: แนวทางการดำเนินการรับมือสถานการณ์ กรณีหน่วยงานของรัฐพบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ตัดการเชื่อมต่อทางเครือข่าย สำหรับ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ เพื่อป้องกันการกระจายของมัลแวร์ไปยังระบบสารสนเทศอื่น ระบบสำรองข้อมูล รวมถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก เพื่อป้องกันข้อมูลสำรองถูกเข้ารหัสลับระบบสารสนเทศที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เพื่อป้องกันการกระจายของมัลแวร์ไประบบดังกล่าว การสำรองข้อมูลที่ยังใช้งานได้อยู่จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ ไปยังอุปกรณ์บันทึกข้อมูลภายนอก ซึ่งไม่ควรเป็นอุปกรณ์เดียวกับที่ใช้สำรองข้อมูลตามปกติ  นอกจากนี้หน่วยงานของรัฐควรมีการดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้ แจ้งเหตุไปยังสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และไทยเซิร์ต (ทางอีเมล report@thaicert.or.th) เปลี่ยนรหัสผ่านที่เกี่ยวข้องกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ รวมถึงรหัสผ่านที่ใช้งานผ่านระบบควบคุมบัญชีผู้ใช้งานทั้งหมด ตรวจสอบสายพันธุ์ของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ โดยอาศัยข้อมูลที่ปรากฏในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ เช่น นามสกุลของไฟล์ที่เปลี่ยนไป ข้อความที่ปรากฏบนหน้าจอในการเรียกค่าไถ่ เพื่อประเมินวิธีการแก้ไขปัญหา เช่น การกู้คืนข้อมูล ทั้งนี้หากมีความประสงค์ในการใช้เครื่องมือถอดรหัสลับข้อมูล ควรทำในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีการเชื่อมต่อทางเครือข่าย เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว-สำนักข่าวไทย.

ดันกฎหมายอวกาศ เพิ่มขีดการแข่งขันดิจิทัล

กรุงเทพฯ 2 ต.ค. รองนายกฯ มั่นใจ พ.ร.บ.กิจการอวกาศ ช่วยวางโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2563 กล่าวว่า ตามที่สถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development: IMD) ได้ประกาศผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของเขตเศรษฐกิจทั่วโลก ประจำปี 2563 ซึ่งประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้สูงขึ้นกว่าเดิม 1 ลำดับ มาอยู่ที่อันดับที่ 39 จาก 63 ประเทศ โดยดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา จึงสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งพร้อมที่จะผลักดันนโยบายและสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ยังได้จัดทำนโยบายและแผนการดำเนินการเฝ้าระวังและบริหารจัดการการจราจรทางอวกาศ รวมทั้ง (ร่าง) พระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. …. ที่จะทำให้ประเทศไทยมีองค์กรกลางในการกำหนดนโยบายและแผนกิจการอวกาศในภาพรวม มีกลไกสอดคล้องกับพันธกรณีของไทยภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งที่ประเทศไทยเป็นภาคีแล้วและอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าเป็นภาคี และให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมและบริการด้านอวกาศ พลเอกประวิตรฯ กล่าวอีกว่า การดำเนินงานด้านกิจการอวกาศของประเทศขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันบูรณาการการทำงานโดยคำนึงถึงเป้าหมายที่ได้กำหนดในนโยบายรัฐบาล นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และไม่ให้เกิด ผลกระทบต่อทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง สิ่งแวดล้อมประชาชนผู้ใช้บริการ และเพื่อประโยชน์สาธารณะต่อไป-สำนักข่าวไทย.

“พล.อ.ประวิตร” หนุน พ.ร.บ.กิจการอวกาศเพื่อพัฒนาทุกมิติ

ทำเนียบรัฐบาล 2 ต.ค.- “พล.อ.ประวิตร” หนุน พ.ร.บ.กิจการอวกาศ วางโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ สังคม ความั่นคง สิ่งแวดล้อม เพื่อประชาชน พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2563 ณ ห้องประชุม 301ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 2 ตุลาคม 2563 พลเอกประวิตร กล่าวว่า เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 สถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development: IMD) ได้ประกาศผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของเขตเศรษฐกิจทั่วโลก ประจำปี 2563 ซึ่งประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้สูงขึ้นกว่าเดิม 1 ลำดับ มาอยู่ที่อันดับที่ 39 จาก 63 ประเทศ โดยดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา จึงสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งพร้อมที่จะผลักดันนโยบายและสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม […]

ดีอีเอสประสานตำรวจจับเครือข่ายเว็บพนันนอนไลน์

กรุงเทพฯ 1 ต.ค. ตำรวจบุกรวบ เครือข่ายเวปไซต์พนันออนไลน์  8 เวปไซต์ ได้ผู้ต้องหา รวม 28 คน เงิน นายพุทธิพงษ์  ปุณณกันต์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ พล.ต.อ.สุวัฒน์  แจ้งยอดสุขผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  ได้สั่งดำเนินการปราบปรามเวปพนันออนไลน์อย่างเร่งด่วน โดยบังคับใช้กฎหมายตามพ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 4 ,12 และพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 อย่างเคร่งครัด วันนี้ (1 ต.ค.2563) พล.ต.ท. ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้ช่วย ผบ.ตร.พร้อมด้วย พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถผบก.สส.สตม. นำเจ้าหน้าที่ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ศปอส.ตร.)ได้ทำการจับกุมผู้ต้องหา ได้รวม  28 คน  พร้อมของกลาง คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค 16 เครื่อง  โทรศัพท์มือถือ54 เครื่อง  ซึ่งทั้งหมดเกี่ยวข้องกับเวปพนัน จำนวน 8 เวปไซต์ เครือข่ายเวปไซต์ UFA คิดเป็นเงินหมุนเวียนกว่า 5,000 ล้านบาท  ทั้งนี้ นายพุทธิพงษ์  กล่าวว่า ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมอนิเตอร์ สืบสวนเพื่อติดตามจับกุมเวปพนันออนไลน์เมื่อพบการกระทำความผิด ให้เข้าจับกุมทันที  และที่ผ่านมาได้ ขอคำสั่งศาล เพื่อขอความร่วมมือไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และโอเปอร์เรเตอร์ทุกเครือข่าย ดำเนินการปิดกั้นการเข้าถึงเวปพนันออนไลน์ ของประชาชน ในช่วงเดือนส.ค.- ก.ย.ที่ผ่านมา ศาลมีคำสั่งปิดรวม 1,414 รายการ  ซึ่งหากโอเปอร์เรเตอร์และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่ให้ความร่วมมือปิด ภายใน 15 วัน เจ้าหน้าที่ก็ต้องดำเนินคดีกับทางผู้ดูแลระบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตตามกฎหมายพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 27 ทันที หากประชาชนพบเห็นการกระทำความผิดการชักชวนเล่นพนันออนไลน์ แจ้งสายด่วน 1155 และ1599 หรือ ทางเพจอาสา จับตา ออนไลน์ m.me/DESmonitor ได้ตลอด 24 ชั่วโมง-สำนักข่าวไทย.

ไทยขึ้นอันดับ 39ของโลก ความสามารถทางดิจิทัล

กรุงเทพฯ 1 ต.ค. – ดีอีเอส ปลื้ม อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทยดีขึ้น นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า สถาบันการจัดการนานาชาติ ประกาศผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของเขตเศรษฐกิจทั่วโลก ประจำปี 2563 โดยประเทศไทยถูกจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลอยู่ในอันดับที่ 39 จาก 63 ประเทศ ดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา 1 อันดับ ทั้งนี้การจะรักษาอันดับความสามารถในการแข่งขันให้คงที่หรือถูกจัดอันดับให้ดีขึ้นเพียง 1 อันดับเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะนั่นหมายถึงการที่ประเทศนั้นจะต้องเร่งพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในทุกด้านให้ก้าวหน้าเท่าทันกับประเทศล้วนยกให้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นแกนหลักสำคัญจึงเป็นที่น่ายินดีว่าประเทศไทยทำได้ การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลนั้น IMD ประเมินจากปัจจัยหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านองค์ความรู้(Knowledge) 2. ด้านเทคโนโลยี (Technology) และ 3. ด้านความพร้อมรองรับอนาคต (Future readiness)ปัจจัยหลักที่ดีขึ้นและช่วยยกอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ได้แก่ ปัจจัยด้านเทคโนโลยี (Technology) และปัจจัยด้านความพร้อมรองรับอนาคต (Future readiness) โดยปี 2563 ดีขึ้นจากปีที่ 2562 อย่างก้าวกระโดดถึง 5 อันดับทั้ง 2 ปัจจัย โดยอยู่ในอันดับที่ 22 และอันดับที่ 45 ตามลำดับ เป็นการสะท้อนความสำเร็จในการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมผ่านกองทุนดีอีการผลักดันเมืองอัจฉริยะ (Smart City) การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G และโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลการเตรียมความพร้อม Disruptive Technology ให้กับภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทย การพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐสู่การที่ทุกภาคส่วนสามารถนำข้อมูลภาครัฐไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคตและการผลักดันนโยบายและแผนด้านดิจิทัลในประเด็นต่าง ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สำหรับปัจจัยหลักด้านองค์ความรู้ (Knowledge) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 43 ซึ่งเป็นอันดับเดิมของปีที่ผ่านมา แต่ไม่ได้หมายความว่า ประเทศไทยไม่ได้พัฒนาด้านองค์ความรู้ แต่หมายถึง เราพัฒนา แต่เป็นแรงขับเคลื่อนที่คงตัว ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ชี้เป้าให้ประเทศไทยจะได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาปัจจัยดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  (สดช.) กล่าวว่าการเพิ่มอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยและติดตามผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของสถาบัน IMD อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ประเทศไทยต้องเร่งปรับปรุงจากผลการจัดอันอันดับความสามารถในการแข่งขันในครั้งนี้อยู่ที่ปัจจัยย่อยด้านระดับและคุณภาพของการศึกษาและการฝึกอบรม (Training and education) ในหมวดของปัจจัยหลักด้านองค์ความรู้ (Knowledge) ซึ่งปี 2563 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 55 ลดลง 5 อันดับจากปี 2562 และปัจจัยย่อยด้านความสามารถในการปรับตัวของภาคธุรกิจ (Business agility) ในหมวดของปัจจัยหลักด้านความพร้อมรองรับอนาคต (Future readiness) ซึ่งปี 2563 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 44 ลดลง 14 อันดับจากปี 2562 แสดงให้เห็นว่า การผลักดันด้านคุณภาพการศึกษา การฝึกอบรม และการสร้างทักษะดิจิทัลของประเทศไทย และการเตรียมความพร้อมในการปรับตัวด้านดิจิทัลของภาคธุรกิจยังไม่เพียงพอ จึงเป็นประเด็นที่กระทรวงดีอีเอสต้องให้ความสำคัญ โดยปัจจุบัน สดช. เร่งส่งเสริมการเรียนรู้ การค้าขายแบบ e-commerce และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชนที่มีการปรับปรุงให้ทันสมัยและตอบรับกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ สดช. ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนดิจิทัล เช่น การส่งเสริมการพัฒนาทักษะที่มีอยู่ (Re-skill) และการพัฒนากำลังคนด้วยการเสริมทักษะใหม่ (Up-skill) ผ่านการจัดทำหลักสูตรการพัฒนาทักษะดิจิทัล และหลักสูตรผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงสำหรับผู้บริหารภาครัฐ (CIO)  อีกทั้ง สดช. ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะและสร้างกำลังคนดิจิทัลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เห็นได้จากการที่ สดช. ได้ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้ต้องขังให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งงานการมีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต และสามารถกลับสู่สังคมได้อย่างปกติสุข ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมที่ทั่วถึงและเท่าเทียมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลต่อไป-สำนักข่าวไทย.

แกรปดีป้าคลาซี่เปิดอะคาเดมี่เพิ่มความรู้ให้เอสเอ็มอี

กรุงเทพฯ 1 ต.ค. แกร็บผนึกดีป้า จับมือแพลตฟอร์มคลาซี่เปิด แกรปอะคาเดมี่ สร้างอาชีพติดอาวุธไฮเทคให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี นางสาวจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดแกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า แกรปอยู่ในประเทศไทยมา7 ปี มีคนที่อยู่ร่วมกันทั้งร้านอาหาร คนขับ ผู้ใช้บริการคนขับ การมีความรู้และทักษะที่เพิ่มขึ้นจะช่วยเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น แกรปมีหลักสูตรให้ความรู้อยู่ 80 หลักสูตร  เมื่อได้รับการรับรองจากดีป้าและมีแพลตฟอร์มอย่างคลาซี่ทำให้การเรียนรู้ทำได้อย่างสมบูรณ์ ตอบสนองพันธกิจ Grab For Good หรือแกร็บ .. เพื่อชีวิตที่ดีกว่า ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมไทย ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กพาร์ทเนอร์ร้านอาหารและคนขับแกร็บซึ่งถือเป็นกลุ่มคนทำงานอิสระให้สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีเพื่อสร้างโอกาสในการหารายได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกทั้งยังสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดเล็กโดยการให้ความรู้ด้านการทำการตลาดออนไลน์ในการทำธุรกิจให้สามารถเพิ่มยอดขายอย่างยั่งยืนและสามารถที่จะพัฒนาทักษะและเสริมศักยภาพในการแข่งขันเพื่อก้าวทันเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวว่า การพัฒนาคนถ้าทำแบบเดิมคงลำบากการมีแพลตฟอร์มที่เข้าถึงได้อย่างทั่วถึงทุกเวลาสามารถผลิตคอนเทนท์แล้วมีช่องทางให้คนที่เข้าร่วมไปต่อได้ คลาซี่ แกรบ มีเจตนารมณ์ตรงกับดีป้าที่จะช่วยให้คนเข้าถึงคอนเทนท์ที่ข่วยปรับตัวและสร้างโอกาสได้ช่องทางนี้จะช่วยหาโอกาสใหม่ทำให้มีรายได้และดำรงอยู่ได้ ดีป้าตระหนักดีว่ากลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กหรือ คือฟันเฟืองสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศส่งผลให้ดีป้าเร่งพัฒนาศักยภาพให้กับเอสเอ็มอี ผ่านการทำงานร่วมกับภาคเอกชนอย่างแกร็บและภาคประชาชนในการเพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจอีกทั้งเสริมศักยภาพการเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในการประกอบอาชีพ นางสาวหทัยพร เจียมประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า คลาสซี่เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ของธนาคารกสิกรไทยมีเป้าหมายเพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงความรู้และยกระดับคุณภาพทักษะความสามารถให้แก่สังคมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของธนาคารที่ต้องการเพิ่มอำนาจให้ทุกชีวิตและธุรกิจของลูกค้าซึ่งรวมไปถึงในมุมของการสร้างความรู้ทักษะที่สำคัญเพื่อเป็นอีกฟันเฟืองในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลคลาซี่ในฐานะแพลตฟอร์มคอร์สเรียนออนไลน์ที่ออกแบบให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่เป็น Digital Native มีจุดประสงค์ในการสร้างการเข้าถึงความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านช่องทางออนไลน์อย่างเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของ Hasssi โดยเน้นไปที่ทักษะจำเป็นในปัจจุบันและอนาคตอย่าง Business Technology และทักษะทาวดิจิทัล โครงการ “GrabAcademy powered by depa สร้างอาชีพกับมือโปรประกอบไปด้วยคอร์สออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและเสริมศักยภาพทางธุรกิจในด้านต่าง ๆ กว่า 80 คอร์สอาทิคอร์สพัฒนาทักษะภาษาอย่างเรียนภาษาที่ 3 จากโลกออนไลน์ปรับใช้เพิ่มฐานลูกค้าในยุคดิจิทัลการทำการตลาดออนไลน์อย่างเคล็ดลับอัพยอดขายด้วยภาพถ่ายที่ใช่และเทคนิค การตลาดด้วยคอนเทนต์รวมถึงทักษะพื้นฐานด้านการบริหารธุรกิจอย่างการจัดทำบัญชีความรู้ด้านภาษีและการพัฒนาด้านหัวใจการบริการ (Service Mind) พาร์ทเนอร์ร้านอาหาร-คนขับและร้านค้าออนไลน์ที่สนใจสามารถร่วมเรียนคอร์สออนไลน์ภายใต้โครงการ Grab Academy powered by depa สร้างอาชีพกับมือโปร” ได้ผ่านช่องทาง https: /www.grabmerchanit.com -สำนักข่าวไทย.

1 23 24 25 26 27 51
...