รัฐบาลเปิดแอปThailandPlusรับมือเปิดประเทศ

กรุงเทพฯ 12 ต.ค.  รัฐบาลเปิด ThailandPlus” แอปพลิเคชันสำหรับนักท่องเที่ยวปลอด COVID-19 เตรียมพร้อมรับไฟเขียวเปิดประเทศกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ไปต่อได้ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจแบะสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวปลอดโควิด-19 ภายหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมติอนุมัติหลักการแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist VISA (STV) คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม , สำนังานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (ดีจีเอ) ในการพัฒนาเครื่องมือเพื่อรองรับการเปิดประเทศ ผลจากการทำงานร่วมกันของหน่วยงานดิจิทัลและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น ThailandPlus  สามารถระบุความเสี่ยง ติดตาม และแจ้งเตือนนักท่องเที่ยว ให้กับหน่วยงานภาครัฐเพื่อช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโรคตั้งแต่ประเทศต้นทาง ThailandPlus  เป็นแอปที่ใช้งานง่ายเมื่อนักท่องเที่ยวดาวน์โหลดแล้วก็สามารถลงทะเบียนโดยกรอกCertificate of Entry (COE) ตามเอกสารและหมายเลข Passport เพียงเท่านี้ก็ช่วยอำนวยความสะดวกให้ท่องเที่ยวประเทศไทยได้อย่างสบายใจทั้งผู้มาเยือนแล้วเจ้าบ้านที่คอยให้การต้อนรับได้แล้ว แอปพลิเคชัน ThailandPlus เป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นายพุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า เพื่อให้การใช้งานแอปพลิเคชั่น ThailandPlus เป็นไปด้วยความราบรื่นได้มอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกรมประชาสัมพันธ์จะช่วยประชาสัมพันธ์ผู้เดินทางและ บริษัท ตัวแทนนำเที่ยวถึงมาตรการป้องกันและขั้นตอนการปฏิบัติตนก่อนเดินทางมายังประเทศไทยและการติดตั้งแอปด้านกระทรวงการต่างประเทศได้ มอบหมายสถานเอกอัครราชทูต / สถานกงสุลใหญ่ ณ ประเทศต้นทางประชาสัมพันธ์เรื่องการติดตั้งและการใช้งานแอปเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะทำหน้าที่ตรวจสอบการติดตั้งและเปิดใช้งานแอปในมือถือของผู้เดินทางกรมควบคุมโรคบริหารจัดการศูนย์ติดตามและประสานงานการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ของแอปที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง และให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมออกนโยบายความเป็นส่วนตัวให้สอดคล้องถูกต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในต่างประเทศและตำรวจท่องเที่ยวกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะคอยให้ข้อมูลผู้เดินทางเรื่องวิธีการใช้งานและการแก้ปัญหาเบื้องต้นของระบบ ThailandPlus ผ่าน call center 1155-สำนักข่าวไทย.

รายงานพิเศษเรื่อง : ThailandPlusแอปพลิเคชั่นรับมือการเปิดประเทศ

กรุงเทพฯ 11 ต.ค. ทันทีที่รัฐบาลมีนโยบายเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทย หน่วยงานด้านดิจิทัลได้รับมอบหมายให้พัฒนาเครื่องมือในการรับมือกับการเฝ้าระวังและคิดตามนักท่องเที่ยวที่เข้าเข้ามาในประเทศไทย จึงได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นขึ้นมารองรับมาตรการนี้ คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist VISA (STV)  หน่วยงานทางด้านดิจิทัลของประเทศได้ร่วมกันคิดหาเครื่องมือเฝ้าระวังและติดตามการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อรองรับการเปิดประเทศเตรียมความพร้อมเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวปลอด COVID-19 สร้างความมั่นใจให้ประชาชน จนทำให้เกิดThailandPlus แอปพลิเคชั่นระบุความเสี่ยง ทำหน้าที่คอยติดตามแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวและหน่วยงานภาครัฐเพื่อช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโรคตั้งแต่ประเทศต้นทาง การทำงานของ ThailandPlus เริ่มจาการทำความเข้าใจกับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในประเทศไทยให้โหลดแอปพลิเคชั่นก่อนเข้าประเทศ เมื่อมาถึงจะให้เข้าสู่กระบวนการกักตัวตามขั้นตอนที่รัฐบาลกำหนดไว้การเดินทางของข้อมูลนักท่องเที่ยวนักท่องเที่ยว เริ่มจากนักท่องเที่ยวแสดงความความจำนงขอเข้าประเทศผ่านกระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ในประเทศต้นทางจะเป็นผู้ให้ข้อมูลในการติดตั้งแอปพลิเคชัน ThailandPlus เมื่อเดินทางมาถึงด่านคัดกรองตรวจควบคุมโรค จะตรวจสอบการลงแอปพลิเคชันและแจ้งให้ทราบว่านักท่องเที่ยวต้องใช้แอปพลิเคชัน ThailandPlusเมื่อนักท่องเที่ยวออกจากสถานที่กักตัวแล้ว ตลอดระยะเวลาการท่องเที่ยวในประเทศ แอปพลิเคชั่นจะรายงานข้อมูลที่อยู่และที่ไปของนักท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยี GPS ในการติดตามตำแหน่งของนักท่องเที่ยว ThailandPlus ได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่าย จะว่าไปคล้ายกับแอปพลิเคชั่นที่เคยออกแบบมมาใช้กับนักท่องเที่ยวตอนที่โควิด-19 ระบาดใหม่ๆ โดยThailandPlus ได้รับการออกแบบให้สมบรูณ์แบบมากกว่า แอปพลิเคชั่นยังออกแบบให้ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่จะใช้งานในอนาคตเช่น สายรัดข้อมือ (wristband) อัจฉริยะ ที่จะทำงานร่วมกับสมาร์ทซิตี้อย่าง ภูเก็ต หรือ เชียงใหม่ ในอนาคต      กุญแจสำคัญที่จะทำให้ระบบเฝ้าระวังประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับ การปฎิบัติ ของนักเที่ยว และหน่วยงานที่ดูแล  หน่วยงานที่รับผิดชอบอาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกรมประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจ กระทรวงการต่างประเทศโดยสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ ทำหน้าที่ทำความเข้าใจการติดตั้งและการใช้งานแอปให้กับนักท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทำหน้าที่ตรวจสอบการติดตั้งและเปิดใช้งานแอปในมือถือของผู้เดินทางกรมควบคุมโรคบริหารจัดการศูนย์ติดตามและประสานงานการแพร่ระบาดของโควิด-19 แอป ThailandPlus เป็นแอปที่ใช้งานง่ายเมื่อนักท่องเที่ยวดาวน์โหลดแล้วก็สามารถลงทะเบียนโดยกรอก Certificate of Entry (COE) ตามเอกสารและหมายเลข Passport เพียงเท่านี้ก็ช่วยอำนวยความสะดวกให้ท่องเที่ยวประเทศไทยได้อย่างสบายใจทั้งผู้มาเยือนแล้วเจ้าบ้านที่คอยให้การต้อนรับได้แล้ว “เราประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ให้ขยายวงกว้างเพราะความร่วมมือร่วมใจของคนในชาติ ThailandPlus  เป็นเครื่องมือในการติดตามเฝ้าระวังชาวต่างชาติเพื่อใช้ตรวจสอบและประเมินระดับความเสี่ยงในการติดโรคโควิด-19 จากสถานที่ต่าง ๆ โดยเน้นถึงเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสำคัญ”นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  ประเด็นสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจกับชาวต่างประเทศ เมื่อใช้งานแอปพลิเคชั่นแล้วย่อมหมายถึงการยอมให้หน่วยงานภาครัฐของไทยเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เรื่องละเอียดอ่อนของโลกยุคปัจจุบัน เรื่องนี้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมออกนโยบายความเป็นส่วนตัวให้สอดคล้องถูกต้องเป็นไปตามพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในต่างประเทศและตำรวจท่องเที่ยวกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อทำความเข้าใจและสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว-สำนักข่าวไทย.

กระทรวงดีอีเอสจับมือกระทรวงอว.เพิ่มทักษะดิจิทัลคนรุ่นใหม่

กรุงเทพฯ 11 ต.ค. ดีอีเอส เชื่ออุตสาหกรรมดิจิทัลจะช่วยช่วยสร้างเศรษฐกิจ ชี้มีแต้มต่อเครือข่าย 5G รองรับ เร่งเพิ่มทักษะนักศึกษาจบใหม่ สร้างงาน สร้างโอกาสภาคธุรกิจ  นายพุทธิพงษ์  ปุณณกันต์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) กล่าวว่า การเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ โดยเฉพาะด้านดิจิทัล  ใช้ทักษะด้านดิจิทัลมาช่วย  จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดังนั้นระบบการสร้างคนเพื่อสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้ทำในสิ่งที่สนใจให้เกิดประโยชน์จะเป็นแนวทางที่ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ “เด็กรุ่นใหม่ไม่อยากเป็นหมอ ไม่อยากเป็นวิศวะแล้ว แต่อยากเป็นตัวของตัวเอง ยิ่งเกิดโควิด-19 ทั่วโลก ระบบการค้าขายออนไลน์ ระบบการโอนเงิน ระบบการสร้างคนต้องเกิดขึ้น  ไม่ว่าจะจบด้านอะไร จบบัญชี ก็สามารถใช้ทักษะดิจิทัลมาใช้ได้ ภาคอุตสาหกรรม วันนี้ทุกอย่างเป็น 5G ทั้งหมด อนาคตจะมารองรับระบบหุ่นยนต์  ถ้าเด็กของเราคิดแค่นี้ จบแค่นี้ ก็ไปไหนไม่ได้ วันนี้จึงต้องสร้างเด็กขึ้นมา”  นายพุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า กระทรวงดิจิทัลฯ และกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ทำหลักสูตรเสริมทักษะการเรียนรู้ผ่านออนไลน์เพิ่มทักษะให้นักศึกษาจบใหม่ โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณจ้างนักศึกษาจบใหม่เรียนเพิ่มทักษะด้านดิจิทัล เสริมเพิ่มเติมจากทักษะที่มีอยู่แล้ว เมื่ออบรมแล้วเสร็จจะสามารถพัฒนาตัวเองและสร้างงานใหม่ได้ รองรับตลาดอุตสาหกรรมดิจิทัลได้ต่อเนื่อง การเตรียมความพร้อมของคนรุ่นใหม่และภาคธุรกิจ หลังจากเตรียมพร้อมเปิดประเทศ ด้วยฐานการรองรับใหม่ๆ โดยใช้ทักษะดิจิทัล  มองว่าไทยหลังเปิดประเทศ นี่คือโลกใบใหม่ของน้องๆ รัฐบาลตั้งใจเตรียมวิธีการใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ การทำงานให้คนรุ่นใหม่ ทั้งแบบไฮบริดออนไลน์ ออฟไลน์ นี่คือโอกาสที่ประเทศไทยจะเดินหน้า ในขณะที่ประเทศอื่น ยังต้องแก้ไขปัญหาโควิดอยู่  เพราะฉะนั้นการจ้างงานการอบรมฝึกทักษะด้านดิจิทัลให้เด็กเป็นสิ่งที่สำคัญ  “ไม่มีอุตสาหกรรมไหนในโลกที่สามารถ ตั้งฐานการผลิตได้อย่างรวดเร็ว การจะตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปี แต่อุตสาหกรรมดิจิทัล ในเงินลงทุนใกล้เคียงกัน ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีครึ่งเท่านั้น ใช้วงเงินและได้เม็ดเงินเข้าประเทศใกล้เคียงกัน  สามารถขับเคลื่อนให้เกิดการจ้างงานคนไทย ฝึกทักษะอบรมนิดหน่อยก็สามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจได้  และในอนาคตส่วนใหญ่จะใช้อุตสาหกรรม ดิจิทัลมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งหมด และฐานข้อมูลจากนี้ไป บริษัทไหนมีฐานข้อมูลลูกค้าดีที่สุด เก็บข้อมูลได้ดีที่สุด ใครเข้าใจการบริหารข้อมูลดีที่สุด คือ ผู้ชนะนั่นคือรัฐบาลชุดนี้ นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญเรื่องข้อมูลมากที่สุด” -นายพุทธิพงษ์กล่าว-สำนักข่าวไทย.

รมว.ดีอีเอสยังจี้ทวิตเตอร์เร่งจัดการบัญชีผิดกฎหมาย

กรุงเทพฯ 9 ต.ค.”พุทธิพงษ์” รับแปลกใจทวิตเตอร์เผยข้อมูลไอโอ จี้ลบบัญชีผิดกฎหมายพิสูจน์ความจริงใจ จากกรณีที่ทวิตเตอร์ (Twitter) ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูล  เรื่องการตรวจจับผู้ใช้งานที่เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการไอโอ(information operations) โดยระบุว่า ไทย ติดอันดับ 1ใน 5 ประเทศที่มี อิหร่านซาอุดีอาระเบีย คิวบา รัสเซีย และไทยโดยมีจำนวนบัญชีไอโอที่ตรวจพบทั้ง 1,594 บัญชีในครั้งนี้ และไทย โดนระงับการใช้งานอย่างถาวรไปแล้ว  926 บัญชี  ซึ่งพบเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในปฏิบัติการไอโอและสามารถเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับกองทัพบกไทยนั้น นายพุทธิพงษ์  ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ตนรู้สึกแปลกใจที่ทวิตเตอร์ ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลเรื่องนี้และโดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ แทนที่จะดำเนินการตามคำสั่งศาลของกฎหมายไทยที่ได้มีคำสั่งให้ปิดกั้น หรือลบบัญชีของผู้ที่โพสต์ข้อความหมิ่นสถาบันหลักของไทย   ซึ่งก่อนหน้านี้ตนเองได้ส่งคำสั่งศาลไปแล้ว แต่ทวิตเตอร์ยังเพิกเฉย ไม่ทำการลบให้ จำนวน 65 รายการ  และอีก 1 ชุดที่กำลังจะส่งไปเพิ่มเติม อีกจำนวน 253 รายการ ทั้งนี้ จึงเรียกร้องไปยังทวิตเตอร์ ให้ดำเนินการตามคำสั่งศาลและเคารพกฎหมายของไทยอย่างจริงจัง  เพื่อแสดงความจริงใจในการทำงานที่โปร่งใสของทวิตเตอร์เอง-สำนักข่าวไทย.

เอไอเอสเปิดแพลตฟอร์มข่าว-วาไรตี้ เพลย์นิวส์

กรุงเทพฯ 9 ต.ค. เอไอเอส แจ้งเกิด PLAY NEWS ดิจิแพลตฟอร์มข่าวเอาใจคนไทย ดัน 8 ครีเอเตอร์ไทยสร้างปรากฏการณ์ใหม่  นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า ที่มาของบริการ PLAY NEWS ว่า ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาเอไอเอสได้พูดถึงดิจิทัลแพลตฟอร์มมาโดยตลอด วันนี้เป็นโอกาสดีที่จะทำแพลตฟอร์มสำหรับคนไทยทำคอนเทนท์ที่มีเรื้อหาสำหรับคนไทย เพลย์นิวส์ คือ การ เพลย์ข่าวเพื่อชาวไทย โดยเอไอเอสนำคอนเทนท์ครีเอเตอร์8 ช่อง มาทำรายการเล่าข่าวที่มีเหมาะกับคนไทย นอกจากนี้มีการนำนวัตกรรม VR (Virtual Reality) เข้ามาร่วมสร้างCo-creation ยกระดับการผลิตข่าวและการรายงานข่าวมิติใหม่ ให้กับวงการสื่อสารของไทย เพื่อสะท้อนให้คนไทยได้เห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี 5G ด้วย “ ในมุมของการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม เรามุ่งหวังให้ “PLAY NEWS” เป็นต้นแบบโมเดลธุรกิจคอนเทนต์ ที่ยั่งยืนสำหรับผู้ที่มีใจรักในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ทุกคน (Professional Generated Content Creator) ที่จะต่อยอดและพัฒนาเป็นแหล่งสร้างรายได้ใหม่สำหรับมือผลิตคอนเทนต์ในอนาคต เพื่อสร้าง WIN-WIN ให้กับภาพรวมของอุตสาหกรรมสื่อและโซเชียลแพลตฟอร์มในประเทศไทย พร้อมกันนี้ เราได้นำศักยภาพเครือข่าย 5G “  เราเอาข่าวไว้ในช่วงเช้าและเย็น ช่วงกลางวันเป็นวาไรตี้เพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ของคน ส่วนเพลย์ 360 หรือคอนเทนท์ที่รองรับภาพเสมือนจริงเราก็ยังทำอยู่ โดยเมื่อเอามารวมกับคอนเทนท์ข่าวจะตอบโจทย์ความต้องการทั้งข่าวสารและวาไรตี้ ส่วนการแบ่งส่วนแบ่งรายได้ เอไอเอสเปิดโอกาสให้คอนเทนท์ครีเอเตอร์สามารถได้รับประโยชน์โดยตรงโมเดลธุรกิจคือให้ครีเอเตอร์ทำคอนเทนท์มาลงแล้วจะไปหาโฆษณาอย่างไรก็ได้ ครีเอเตอร์จะได้ส่วนแบ่งส่วนมากไปเอไอเอสขอแค่ค่าดูแลแพลตฟอร์มเท่านั้น เราต้องการทีวีแบบใหม่ที่คอนเทนท์ครัเอเตอร์และทุกคนเป็นเจ้าของ  เอไอเอสถือว่าประสบผลสำเร็จแล้วที่ทำให้เกิดแพลตฟอร์มนี้ ความท้าทายของแพลตฟอร์มต่อไปคือ ทำยังไงให้คนตอบรับแพลตฟอร์มนี้แค่ไหน คอนเทนครีเอเตอร์ 8 คน คือ สุทธิชัย หยุ่น , ฐปณีย์ เอียดศรีไชย , บัญชา ชุมชัยเวทย์  , หลาม จิ๊กโก๋ไอที พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ,  ชมภูนุช ภัทรขจี และ ธงชัย ชลศิริพงษ์ และอีจัน -สำนักข่าวไทย.

สดร. ชี้วัตถุปริศนาที่เชียงใหม่เป็นแค่โคมลอย

สดร. ชี้วัตถุปริศนาที่ลอยบนท้องฟ้าเมืองเชียงใหม่ เมื่อ 8 ต.ค. ไม่ใช่จานบิน แต่เป็นวัตถุจำพวกโคมที่มีการปล่อยตามประเพณีทั่วไป

ยึด4แนวทางรับมือภัยคุกคามไซเบอร์

กรุงเทพฯ9 ต.ค.  ที่ประชุม รมว.ดิจิทัลอาเซียนยึด4แนวทางรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวภายหลังร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ครั้งที่ 5 ว่าการประชุมมีรัฐมนตรีผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานที่ดูแลความมั่นคงปลอดภัยทางสารสนเทศจากอาเซียน 10 ประเทศ และเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วม รวมทั้งประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ สหภาพยุโรปองค์การสหประชาชาติ โดยที่ประชุมได้หารือถึงการต่อยอดผลการศึกษาจากการประชุม AMCC ครั้งที่ 4 เมื่อปี 2562 โดยได้ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภูมิภาคให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ และเน้นย้ำถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศซึ่งเป็นฐานรากสำคัญต่อการรักษาความมั่นคงทางไซเบอร์ รวมทั้ง การยกระดับความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในอาเซียน นายพุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า เราได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานด้านการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII Protection) ของไทย โดยเน้นย้ำถึงการศึกษาเรื่อง ASEAN CII Protection Framework ที่จะสามารถสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งและความเชื่อมั่นในภูมิภาคได้ โดยเฉพาะการตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคในปัจจุบัน นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯยังได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงอย่างสั้นเพื่อผลักดันให้เกิดการส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในความปกติใหม่ โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรบุคคลผ่านการต่อยอดและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ของภูมิภาคอาเซียน เช่น    ศูนย์ ASEAN – Japan Cybersecurity Capacity Building Centre (AJCCBC) กับศูนย์ASEAN – Singapore Cybersecurity Centre of Excellence (ASCCE) เพื่อรองรับความต้องการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในภูมิภาคการประชุมดังกล่าวได้รับความสนใจและประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง  ที่ประชุมฯ  ได้ให้ความสำคัญในหลัก “4P” ในการดำเนินความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คือ  “Principle” ความมุ่งมั่นในการดำเนินการตามบรรทัดฐานของรัฐบนโลกไซเบอร์ เพื่อให้การใช้พื้นที่ บนโลกไซเบอร์เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย “Practice” การแปลงนโยบาย/หลักการสู่การปฏิบัติ อย่างเป็นรูปธรรม “Process”กระบวนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนการปฏิบัติตามบรรทัดฐาน         ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ผ่านการเสริมสร้างความร่วมมือทั้งในระดับพหุภาคีและระดับภูมิภาค   “People Partnership and Pandemic” การพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและเตรียมความพร้อมต่อการปฏิบัติตามบรรทัดฐานขององค์การระหว่างประเทศโดยการศึกษา ปรับปรุงกฎหมายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์   ให้สอดคล้องตามบรรทัดฐานดังกล่าว พร้อมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหุ้นส่วนความร่วมมือ       กับประเทศคู่เจรจาหรือองค์กรภายนอก เพื่อรับมือกับโลกไซเบอร์ต่อความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ในปัจจุบันอย่างเป็นองค์รวม และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด –19-สำนักข่าวไทย.

หัวเส่ยเชื่ออีก5ปีองค์กรทั่วโลกใช้คลาวด์ทั้งหมด

กรุงเทพฯ 8 ต.ค. หัวเว่ยตั้งเป้า 5 ปี เผยแนวโน้มการรวม คลาวด์ กับ ปัญญาประดิษฐ์ และไอโอที  นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริหัวเว่ย (ประเทศไทย) กล่าวว่า เทคโนโลยีคลาวด์ คือ รันเวย์หรือผู้สนับสนุนเทคโนโลยีปัญประดิษฐ์และไอโอที ทำงานอย่าราบรื่น หัวเว่ยคาดว่า ในปี 2025 ทุกองค์กรเชื่อมโยงเข้าด้วยกันบนคลาวด์ ร้อยละ 85 ของแอปพลิเคชั่นขององค์กรจะอยู่บนคลาวด์ จะมีการนำข้อมูลในองค์กรทั้งหมดมาใช้ในการทำงาน การผสานการทำงานระหว่างคลาวด์เทคโนโลยี เอไอและไอโอที จะช่วยผลักดันให้เกิดโอกาสใหม่ บริการใหม่ อาทิระบบการจัดการเมืองอัจฉริยะ การจัดการจราจรแบบอัจฉริยะ การตรวจสอบภาคสนามทางไกลผ่านโดรน ควาวด์ช่วยจะช่วยองค์กรธุรกิจในการปรับกระบวนการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจในหลายมิติโดยระบบเครือข่ายรวมไปถึงแอปพลิเคชั่นของไอโอทีที่จะทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายส่วนแล้วส่งขึ้นไปให้ช่วยประมวลผลบนคลาวด์  นางปิยะธิดา อิทธะวิวงศ์ ประธานกรรมการแผนกธุรกิจคลาวด์ประเทศไทย บริษัท หัวเวยเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า รายงาน Huawei GIV (Global Industry Vision) คาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ. 2025 กลุ่มธุรกิจองค์กรทั่วโลกทั้งหมดจะหันมาใช้เทคโนโลยีคลาวด์และแอปพลิเคชัน โดยร้อยละ 85 ขององค์กรธุรกิจที่จะรองรับการท่างานบนคลาวด์  ร้อยละ 86 ขององค์กรทั้งหมดจะเริ่มหันมาใช้ปัญญาประดิษฐ และข้อมูลกว่าร้อยละ 80 จะประยุกต์ใช้คลาวด์เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจัง หัวเว่ยคาดองค์กรในประเทศไทยจะให้ความสำคัญกับบริการ คลาวด์สาธารณะมากขึ้น เนื่องจากใช้งานได้สะดวกกว่าให้ผลตอบแทนการลงทุน ที่คุ้มค่ากว่าเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ธุรกิจหลายแห่งอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากปัญหาเศรษฐกิจคลาวด์สาธารณะจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้องค์กร จากการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถขยายการลงทุนในด้านอื่นของธุรกิจควบคู่กันซึ่งองค์กรที่ยังต้องการมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลเป็นพิเศษก็สามารถใช้บริการ คลาวด์แบบผสมผสาน และ Public Cloud ที่มีศูนย์ข้อมูลอยู่ในประเทศไทยได้ หลังจากเกิดโควิด-19 ธุรกิจหันมาสู่อินเทอร์เน็ตมากขึ้น คลาวด์จึงเป็นสิ่งจำเป็น และมีโอกาสเติบโต ประเทศไทยจะมีการเติบโตของคลาวด์เพิ่มความขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 5 เท่า ใน 5 ปีข้างหน้า จุดแข็งของหัวเว่ยคือการมีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ และให้ความสำคัญสูงสุดในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าการมีศูนย์ข้อมูลคลาวด์อยู่ในประเทศไทยจะช่วยเพิ่มศักยภาพด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น บริการคลาวด์ในประเทศไทยอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศไทยรวมทั้งช่วยให้ทีมวิจัยพัฒนาและลูกค้าสัมพันธ์สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การให้บริการคลาวด์ในไทยยังมีศูนย์ข้อมูลอยู่ในประเทศไทยถึง 2 แห่ง ช่วยเสริมความเร็วในการรับส่งข้อมูลบนคลาวด์ ทำให้มีค่าความหน่วง (Latency) ในระดับน้อยกว่า 10 มิลลิวินาที น้อยกว่าผู้ให้บริการจากต่างประเทศประมาณ 5-10 เท่าเพื่อรองรับกับความเร็วของการเชื่อมต่อโครงข่ายในประเทศไทยที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วได้เต็มที่-สำนักข่าวไทย.

จับมือสร้างเครือข่ายด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ชั้นสูง

อว. จับมือสร้างเครือข่ายด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ชั้นสูง ต่อยอดผลงานวิศวกรรม พัฒนาศักยภาพบุคลากร พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

โควิด-19เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคตลอดกาล

กรุงเทพฯ 8 ต.ค 63 –  ไลน์ ชี้โควิด-19 เปลี่ยนโลกจากโกบอลไลเซชั่น สู่โลกไม่รวมศูนย์ ชู 3 แนวโน้มใหม่เป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มแห่งอนาคต นายนรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ ไลน์ประเทศไทย กล่าวว่า เทรนด์ใหญ่ระดับโลกที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น การเชื่อมต่อความเร็วสูง 5G การใช้จ่ายเงินดิจิทัล สงครามการค้าระหว่างประเทศ ถูกกระทบด้วยการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ทุกธุรกิจต้องเรียนรู้และเร่งปรับตัว  วิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่พลิกโฉมธุรกิจทั่วโลกครั้งใหญ่ไปโดยสิ้นเชิง ทุกภาคส่วนต่างเร่งรับมือกับโจทย์ใหญ่ คือการก้าวขึ้นสู่โลกออนไลน์อย่างรวดเร็ว โดยไม่ได้มีสูตรสำเร็จในการใช้ดิจิทัลรับมือวิกฤตครั้งนี้มาก่อน เราจึงมองว่าการทำธุรกิจแบบไม่รวมศูนย์กลาง (Decentralization) ที่ให้ความสำคัญกับภาคส่วนย่อยมากขึ้น สามารถสอดรับการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันนี้ได้เป็นอย่างดี  ควบคู่กับเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดในปัจจุบัน ทำให้แต่ละภาคธุรกิจต้องนิยามการเติบโตในธุรกิจใหม่ เพื่อความอยู่รอดและก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอีกครั้งหลังวิกฤตครั้งใหญ่นี้ แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไประหว่างช่วงโควิด-19 มี 4 ประเด็น คือ Basket – ผู้บริโภคมีแนวโน้มเลือกซื้อสินค้าในปริมาณน้อยลง Homebody – ผู้บริโภคนิยมหันมาดำเนินกิจกรรมที่บ้านมากขึ้น Rational – ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโดยคำนึงถึงเหตุผลมากขึ้น และ Affordability – ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าโดยคำนึงปัจจัยด้านราคามากขึ้น  ผู้บริโภคกับพฤติกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงจากข้อมูลเชิงสถิติบนแพลตฟอร์มไลน์ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคมากมายหลายด้าน และมีจำนวนผู้บริโภคที่นิยมชื่นชอบพฤติกรรมเหล่านี้มากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ในสังคมไทย เราเรียกแนวโน้มนี้ว่า “New Human” หรือผู้บริโภคกับพฤติกรรมใหม่ ตัวอย่างเทรนด์นี้ที่เห็นได้ชัดคือกระแสซีรีส์วายพลิกจากความชอบเฉพาะกลุ่มสู่พฤติกรรมกระแสหลักของผู้ชมชาวไทยก่อนจุดติดเป็นกระแสซีรีส์วายฟีเวอร์ทั่วเอเชีย สร้างกลุ่มแฟนตัวจริงที่พร้อมสนับสนุนนักแสดงซีรีส์วายในดวงใจ  ก่อให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ Y-Economy ด้วยการใช้ศิลปิน นักแสดงเป็นกลไกนำไปสู่ความจงรักภักดีต่อแบรนด์และการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจากข้อมูลผลสำรวจโดยไลน์ประเทศไทยยังพบว่าร้อยละ 80 ของผู้ชมซีรีส์วายชาวไทยคือเกือบ 20 ล้านคนนิยมดูซีรีส์วายผ่านช่องทางไลน์ทีวีเป็นหลักบรรทัดฐานใหม่ในการเก็บข้อมูลไม่พึ่งพาคนกลาง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา จนเกิดเป็นบรรทัดฐานใหม่ของการเก็บข้อมูลหรือ “New Rule” ที่อาจส่งผลต่อทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งในฝั่งแพลตฟอร์มและฝั่งแบรนด์การเก็บข้อมูลโดยตรงจากลูกค้า (First-party data) จึงเป็นทางออกที่ทุกกลุ่มธุรกิจควรให้ความสำคัญ และควรเริ่มเตรียมตัว ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ วิธีดำเนินธุรกิจให้สอดคล้อง รองรับมาตรการเหล่านี้ให้ทันท่วงที ไลน์เห็นความสำคัญของ First-party data และเปิดให้แบรนด์สามารถเก็บข้อมูลโดยตรงจากลูกค้า ผู้ใช้งานด้วยโซลูชันและเครื่องมือบนแพลตฟอร์มไลน์มานานเกือบ 3 ปีผ่าน LINE Business Connect for CRM (BCRM) ที่ช่วยบริการจัดการฐานข้อมูลลูกค้าบน LINE Official Account และ Mission Stickers สติกเกอร์ที่ผู้ใช้งานจะได้รับเมื่อทำภารกิจตามที่แบรนด์กำหนด เช่น การเพิ่มเพื่อนบน ไลน์การตอบแบบสอบถาม เป็นต้น ซึ่งทั้งสองเครื่องมือ สามารถช่วยให้แบรนด์ได้รับข้อมูลโดยตรงจากลูกค้าได้อย่างถูกต้อง โปร่งใส ในจำนวนมหาศาลภายในเวลาอันรวดเร็วถึงนับล้านโปรไฟล์ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ โดยในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาไลน์ มีฐานข้อมูลสะสมที่ได้รับโดยตรงจากผู้ใช้งานมากกว่า 300 ล้านโปรไฟล์รวมจากทุกแบรนด์ที่ใช้บริการ ไลน์ยังคงมุ่งเน้นให้ความสำคัญของการเก็บและใช้ประโยชน์ของดาต้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการประกาศเปิดตัวโซลูชันใหม่ล่าสุด MyCustomer ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ผ่านไลน์โอเอให้กับแบรนด์ได้ดีและลึกยิ่งขึ้น ยกระดับระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าแบบครบวงจรหรือCRM (Customer relationship management) บนไลน์ในแบบเดิมๆ สู่การเป็น CDP – Customer Data Platform หรือแพลตฟอร์มสำหรับจัดการข้อมูลลูกค้าแบบใหม่ ซึ่งมีแผนจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการปีหน้าอิทธิพลและพลังของเอเชียเหนือทั่วโลก ปฏิเสธไม่ได้ว่าเอเชียได้ก้าวเข้ามาเป็นขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ของโลก เฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มูลค่าการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ใน 3 ไตรมาสแรกมีมูลค่ารวมกว่า 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ1 มากกว่าทวีปอเมริกาเหนือกว่า 3 เท่า ส่งให้เอเชียกลายเป็น “New Power” ที่อิทธิพลและพลังเหนือภูมิภาคอื่นทั่วโลก โดยหากวัดเฉพาะผู้บริโภคของไทย ประเทศไทยขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลกในด้านการช้อปปิ้งผ่านโซเชียลมีเดียมาตั้งแต่ปี 25592 โดยเฉพาะ Chat Commerce ซึ่งมีผลสำรวจเผยว่า เป็นช่องทางการซื้อขายรูปแบบ E-Commerce ที่ดีที่สุดสำหรับเอสเอ็มอีไทย หากวัดจากผลตอบแทนจากการลงทุนหรือ ROI – Return on Investment3  จึงอาจกล่าวได้ว่า Chat Commerce คือช่องทางที่ดีที่สุดสำหรับการขายสินค้าแบบ E-Commerce ที่เหมาะและตอบโจทย์ความต้องการของคนไทยได้อย่างลงตัวไลน์จึงได้เปิดให้บริการ MyShop เครื่องมือที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพไลน์โอเอด้านการขายของ ด้วยระบบหน้าร้านออนไลน์ ระบบจัดการสต๊อกสินค้า เป็นต้น ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยพบว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของ MyShop มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดถึง 17 เท่านับตั้งแต่เปิดให้บริการมาจากความสำเร็จนี้ไลน์ได้เดินหน้าแนะนำเครื่องมือและโซลูชันใหม่ๆ เพื่อการเติบโตของทุกธุรกิจไทยภายใต้ ความเปลี่ยนแปลงสู่ยุคที่ไม่รวมศูนย์กลาง ออกมาอีกมากมาย ซึ่งล้วนเป็นโซลูชันที่ออกแบบมาเพื่อผู้บริโภคไทย และภาคธุรกิจไทยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น MyRestaurant โซลูชันสำหรับจัดการบริการต่างๆ ด้านธุรกิจอาหารบนไลน์โอเอภายใต้ความร่วมมือจากไลน์แมนวงในช่วยดูแลธุรกิจอาหารตั้งแต่บนโลกออนไลน์ถึงหน้าร้านและบริการจัดส่งอย่างครบวงจร Event Stickers สติกเกอร์รูปแบบใหม่ที่แบรนด์สามารถกำหนดยอดดาวน์โหลดได้เองเพื่อควบคุมงบประมาณได้ตามต้องการ เป็นการขยายฐานให้กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงโซลูชันนี้ในการทำธุรกิจได้มากขึ้น เช่น การแจกสติกเกอร์ให้กับผู้ร่วมงานอีเวนท์ตามจำนวนที่กำหนด การแจกสติกเกอร์สำหรับลูกค้าที่ได้ซื้อสินค้าที่กำหนดไว้ในจำนวนจำกัดเท่านั้น เป็นต้น ซึ่งพร้อมเปิดให้แบรนด์สามารถใช้งานโซลูชันนี้ได้แล้ววันนี้! และอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญคือการเปิดตัวไลน์โอเอสโตร์ ที่รวมเครื่องมือและโซลูชันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ ไลน์โอเอ ทั้งที่พัฒนาจากไลน์เอง และจากองค์กรนักพัฒนาภายนอก รวมไว้ในที่เดียว ซึ่งนอกจากจะมีช่องทางหลักให้ธุรกิจสามารถเลือกใช้เครื่องมือ โซลูชันได้ตามจุดประสงค์ ความต้องการแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมศักยภาพของนักพัฒนาไทย ให้มีตลาดในการนำเสนอผลงานทางด้านเทคโนโลยีสำหรับภาคธุรกิจได้อย่างจริงจัง โดยมีแผนเปิดให้ใช้งานภายในสิ้นปีนี้เช่นเดียวกับ MyRestaurant “ธุรกิจไทยยังมีความท้าทายข้างหน้ารออยู่ในโลกหลังโควิด-19 โดยไลน์พร้อมที่จะนำเสนอโซลูชันใหม่ๆ เพื่อพลิกนิยามของการเติบโตทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ให้แก่ทั้งแบรนด์ นักการตลาด และเอสเอ็มอี ตลอดจนยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้ให้สะดวกสบายขึ้นไปอีกขั้น กระแสตอบกลับต่อเหตุการณ์ครั้งใหญ่ของโลกแบบเฉพาะตัวอันแตกต่างไปตามแต่ละท้องที่หรือ Decentralization ได้สร้างโอกาสการเติบโตของธุรกิจไทยโดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ตามอีกต่อไป” -สำนักข่าวไทย.

ดีป้าเผยโควิด-19กระทบดัชนีความเชื่อมั่นดิจิทัลไทย

กรุงเทพฯ 8 ต.ค. ดีป้าเผยดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ชี้โควิด-19 กระทบธุรกิจดิจิทัลสวนทางจำนวนผู้ใช้งาน  นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า จากการทำการสำรวจ Digital Industry Sentiment Index โดนรวบรวมข้อมูลทั้งดัชนีชี้วัดระดับสากล และฐานข้อมูลที่ดีป้าสำรวจเองทั้งในฝั่งของผู้ประกอบการที่เป็นฐานข้อมูลและแนวโน้มอุตสาหกรรมดิจิทัล และความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลที่สำรวจและนำเสนอผลรายไตรมาส ตลอดจนการสำรวจฝั่งผู้ใช้ในภาคอุตสาหกรรมโดยในระยะแรกมุ่งเน้นที่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคการผลิตเป็นอันดับแรก และจะขยายผลไปสู่ภาคอุตสาหกรรมอื่นและภาคบริการต่อไปในอนาคตอันใกล้ พบว่าแนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลมีความสอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของมูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งสามารถบ่งชี้ว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลและมีการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพราะดิจิทัลกลายเป็นปัจจัยสำคัญทั้งในการขับเคลื่อนธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน แต่อย่างไรก็ตามเรายังขาดแคลนเรื่องกำลังคนดิจิทัล ซึ่งเป็นแรงงานกลุ่มสำคัญในการสร้างความได้เปรียบ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้อุตสาหกรรมดิจิทัลไทย  นายณัฐพล กล่าวอีกว่า ด้านกำลังคนดิจิทัลที่มีศักยภาพ ความสามารถสูง มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จะเข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยให้เติบโตในตลาดโลก บัณฑิตที่จบใหม่ ต้องพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน มีทักษะตามที่ตลาดแรงงานดิจิทัลต้องการ ทำงานได้ทันที จึงต้องมีการ Upskill หรือ Reskill ก่อนที่บัณฑิตเหล่านี้จะเข้าสู่ตลาด ดัชนีความเชื่อมั่นจึงเป็นเสียงสะท้อนว่านโยบายที่ภาครัฐใช้นั้นเกิดผลสำเร็จได้จริงหรือไม่ หากค่าดัชนีฯ ต่ำหมายถึง ภาคธุรกิจไม่มีความเชื่อมั่นในนโยบายของรัฐและการทำงานของภาครัฐ เพราะฉะนั้น ดัชนีฯ จึงเป็นเสียงสะท้อนโดยตรงจากผู้ประกอบการดิจิทัล” ผอ.ใหญ่ ดีป้า กล่าวเสริม ทั้งนี้ในเชิงรายละเอียดจากการสำรวจพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ในไตรมาส 2/2563 อยู่ที่ระดับ 43.4 ถือว่าอยู่ในระดับต่ำ ชี้ว่า อุตสาหกรรมดิจิทัลก็ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลงอย่างรุนแรงในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 เช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ แม้ว่าในช่วงการะบาดของโควิด-19 จะมีผู้ใช้ดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดก็ตาม แต่ผู้ประกอบการดิจิทัลส่วนใหญ่ระบุว่าโควิด-19 ทำให้ผลประกอบการโดยรวมลดลง เนื่องจากขาดแคลนแหล่งเงินทุนสนับสนุนในการขับเคลื่อนธุรกิจ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ขาดแคลนแรงงานที่ตรงกับสายงานที่กิจการต้องการ  “ในไตรมาสที่ 3/2563 นี้ ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 49.8 เป็นผลมาจากรัฐบาลเพิ่งผ่อนคลายมาตรการการควบคุมโรคโควิด-19 และเร่งฟื้นฟูธุรกิจหลังจากผ่านวิกฤตโควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการดิจิทัลเริ่มได้รับการจ้างดำเนินงานหรือมีโครงการเพิ่มขึ้น ทั้งนี้โควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชน ภาคการศึกษานำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้มากขึ้นเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการดิจิทัลมีผลประกอบการดีขึ้นแต่ยังไม่กลับสู่สถานการณ์ปกติ  คาดว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล จะปรับตัวเพิ่มขึ้น อยู่ที่ระดับ 61.2 เนื่องจากโควิด-19 เป็นตัวเร่งที่ทำให้ทุกภาคส่วนเริ่มใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไม่ว่าจะเป็น Cloud Technology, Software, Social Media, Online Entertainment และ Online Payment มาปรับใช้ในการทำงานหรือเกิดDigital Transformation องค์กรมากขึ้น” นอกจากนี้ ดีป้าได้ศึกษาเพิ่มเติมควบคู่กับ มูลค่าอุตสาหกรรมดิจิทัลปี 2561-2562 คาดการณ์ 3 ปี ชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์กำลังประสบปัญหา จากมูลค่าตลาดฮาร์ดแวร์มีแนวโน้มลดลง ฉุดรั้งให้มูลค่าตลาดฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะปรับตัวลดลงตามไปด้วย จาก 303,168 ล้านบาทในปี 2561 เป็น 299,342 ล้านบาทในปี 2562 โดยปัจจัยหลักเกิดมาจากการบริโภคอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ลดลง และเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในรูปแบบบริการมากขึ้นพร้อมทั้งแทนที่ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เข้าถึงบริการดิจิทัลมากขึ้นจากอุปกรณ์สื่อสาร ทำให้มูลค่าตลาดบริการดิจิทัลเติบโตขึ้นสวนทางกับตลาดฮาร์ดแวร์ที่มูลค่าตลาดลดลง แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นจะบ่งชี้ว่า ในภาพรวมผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะก็ยังคงต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากภาครัฐ ทั้งในด้านการด้านการแข่งขันทางด้านดีไซน์ การสร้างตลาดใหม่ของกลุ่มฮาร์ดแวร์ที่จะต้องผลักดันให้ผู้ประกอบการไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ผลิต แล้วส่งออก แต่ต้องมีตลาดภายในประเทศ นายณัฐพล กล่าวถึงการพัฒนากำลังคนดิจิทัลว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลจะสอดคล้องกับการจ้างงานที่ต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถในด้านดีไซน์ ด้าน Machine Learning และในการเพิ่มผลิตผลในอุตสาหกรรมดิจิทัล เพราะเกี่ยวข้องกับการลดต้นทุน ขณะเดียวกัน ทักษะแรงงาน ควรจะเป็นแรงงานที่มีทักษะ หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น Data Analytic หรือ Data Engineering -สำนักข่าวไทย.

คู่มือป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์

กรุงเทพฯ 8 ต.ค. 63 – ดีอีเอส เตรียมออกคู่มือแนะนำทางปฏิบัติ ป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ภายในสัปดาห์หน้า นายพุทธิพงษ์  ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวในการประชุมคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ที่มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่าที่ประชุมได้ยกกรณีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นกับโรงพยาบาลสระบุรีที่ถูกแฮคข้อมูลเรียกค่าไถ่(Ransomware) จากกรณีนี้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้เร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเรื่องการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล ให้กับพี่น้องประชาชนทราบ เพื่อหาทางป้องกันภัยทางไซเบอร์ในเบื้องต้น โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับประชาชนทั่วไป  ทางกระทรวงดิจิทัลฯ ให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA จัดทำหนังสือแนะนำวิธีป้องกันข้อมูลสำคัญส่วนตัวเบื้องต้น ซึ่งจะออกเผยแพร่ให้ประชาชนทราบภายในสัปดาห์หน้า ระดับภาคธุรกิจเอกชนที่มีความกังวลเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ แนะนำวิธีป้องกันข้อมูลเบื้องต้น ก่อนที่จะเกิดเหตุ จากนั้นจึงจะให้ไทยเซิร์ต ในฐานะศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(National CERT) เข้าไปช่วยแนะนำแนวทางปฏิบัติให้  ตามลำดับ และระดับองค์กรภาครัฐ องค์กรใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องวางระบบป้องกันข้อมูลก่อน เกิดความเสียหาย รัฐมนตรีดิจิทัลฯ กล่าวอีกว่า พบว่ามีความพยายามจะแฮคข้อมูลของภาครัฐตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ที่ต้องหาทางป้องกันรับมือกับเหตุการณ์เหล่านี้เอาไว้  โดยแต่ละหน่วยงานโดยเฉพาะภาครัฐรวมถึงโรงพยาบาล  จำเป็นต้องส่งเจ้าหน้าที่ด้านไอทีที่ดูแลเทคนิคของตัวเองเข้าอบรมกับไทยเซิร์ต เพื่อให้ทราบถึงการดูแลระบบ รวมถึงวิธีการป้องกันรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ในเบื้องต้นก่อน ให้สามารถแก้ปัญหาและป้องกันเหตุก่อนล่วงหน้า สำหรับแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นในการจัดเก็บข้อมูลสำคัญส่วนตัว และข้อมูลองค์กร ควรปฏิบัติดังนี้  1. จัดทำ หรือทบทวนแนวนโยบายในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงาน 2. สำรองข้อมูลที่สำคัญ  3. ควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายสารสนเทศ 4. ประเมินความเสี่ยงด้านระบบสารสนเทศ 5. จัดเก็บบันทึกกิจกรรม (log) ในพื้นที่จัดเก็บส่วนกลางที่มีการควบคุมการเข้าถึงอย่างรัดกุม 6. ทบทวน และยกเลิกบริการที่ไม่จำเป็นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ 7. กำหนดเจ้าหน้าที่ประสานงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในระดับบริหารกับระดับปฏิบัติการ 8. ให้ความรู้ผู้ใช้งานในหน่วยงาน เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ .-สำนักข่าวไทย

1 21 22 23 24 25 51
...