กรุงเทพฯ 8 ต.ค. หัวเว่ยตั้งเป้า 5 ปี เผยแนวโน้มการรวม คลาวด์ กับ ปัญญาประดิษฐ์ และไอโอที
นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริหัวเว่ย (ประเทศไทย) กล่าวว่า เทคโนโลยีคลาวด์ คือ รันเวย์หรือผู้สนับสนุนเทคโนโลยีปัญประดิษฐ์และไอโอที ทำงานอย่าราบรื่น หัวเว่ยคาดว่า ในปี 2025 ทุกองค์กรเชื่อมโยงเข้าด้วยกันบนคลาวด์ ร้อยละ 85 ของแอปพลิเคชั่นขององค์กรจะอยู่บนคลาวด์ จะมีการนำข้อมูลในองค์กรทั้งหมดมาใช้ในการทำงาน
การผสานการทำงานระหว่างคลาวด์เทคโนโลยี เอไอและไอโอที จะช่วยผลักดันให้เกิดโอกาสใหม่ บริการใหม่ อาทิระบบการจัดการเมืองอัจฉริยะ การจัดการจราจรแบบอัจฉริยะ การตรวจสอบภาคสนามทางไกลผ่านโดรน ควาวด์ช่วยจะช่วยองค์กรธุรกิจในการปรับกระบวนการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจในหลายมิติโดยระบบเครือข่ายรวมไปถึงแอปพลิเคชั่นของไอโอทีที่จะทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายส่วนแล้วส่งขึ้นไปให้ช่วยประมวลผลบนคลาวด์
นางปิยะธิดา อิทธะวิวงศ์ ประธานกรรมการแผนกธุรกิจคลาวด์ประเทศไทย บริษัท หัวเวยเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า รายงาน Huawei GIV (Global Industry Vision) คาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ. 2025 กลุ่มธุรกิจองค์กรทั่วโลกทั้งหมดจะหันมาใช้เทคโนโลยีคลาวด์และแอปพลิเคชัน โดยร้อยละ 85 ขององค์กรธุรกิจที่จะรองรับการท่างานบนคลาวด์ ร้อยละ 86 ขององค์กรทั้งหมดจะเริ่มหันมาใช้ปัญญาประดิษฐ และข้อมูลกว่าร้อยละ 80 จะประยุกต์ใช้คลาวด์เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจัง หัวเว่ยคาดองค์กรในประเทศไทยจะให้ความสำคัญกับบริการ คลาวด์สาธารณะมากขึ้น เนื่องจากใช้งานได้สะดวกกว่าให้ผลตอบแทนการลงทุน ที่คุ้มค่ากว่าเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ธุรกิจหลายแห่งอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากปัญหาเศรษฐกิจคลาวด์สาธารณะจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้องค์กร จากการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถขยายการลงทุนในด้านอื่นของธุรกิจควบคู่กันซึ่งองค์กรที่ยังต้องการมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลเป็นพิเศษก็สามารถใช้บริการ คลาวด์แบบผสมผสาน และ Public Cloud ที่มีศูนย์ข้อมูลอยู่ในประเทศไทยได้
หลังจากเกิดโควิด-19 ธุรกิจหันมาสู่อินเทอร์เน็ตมากขึ้น คลาวด์จึงเป็นสิ่งจำเป็น และมีโอกาสเติบโต ประเทศไทยจะมีการเติบโตของคลาวด์เพิ่มความขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 5 เท่า ใน 5 ปีข้างหน้า จุดแข็งของหัวเว่ยคือการมีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ และให้ความสำคัญสูงสุดในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าการมีศูนย์ข้อมูลคลาวด์อยู่ในประเทศไทยจะช่วยเพิ่มศักยภาพด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น บริการคลาวด์ในประเทศไทยอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศไทยรวมทั้งช่วยให้ทีมวิจัยพัฒนาและลูกค้าสัมพันธ์สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การให้บริการคลาวด์ในไทยยังมีศูนย์ข้อมูลอยู่ในประเทศไทยถึง 2 แห่ง ช่วยเสริมความเร็วในการรับส่งข้อมูลบนคลาวด์ ทำให้มีค่าความหน่วง (Latency) ในระดับน้อยกว่า 10 มิลลิวินาที น้อยกว่าผู้ให้บริการจากต่างประเทศประมาณ 5-10 เท่าเพื่อรองรับกับความเร็วของการเชื่อมต่อโครงข่ายในประเทศไทยที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วได้เต็มที่-สำนักข่าวไทย.