“พล.อ.ประวิตร” เน้นย้ำใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกระตุ้นเศรษฐกิจ

ทำเนียบรัฐบาล 5 พ.ย.- “พล.อ.ประวิตร” ถกบอร์ดฯ กองทุนดีอี เร่งยกระดับทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลกระตุ้นเศรษฐกิจ ยุค New normal วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 เวลา 10.00 น. พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ครั้งที่ 6/2563 ที่ห้องประชุม 301 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอกประวิตร กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในครั้งนี้ มีหลายประเด็นสำคัญในการบริหารกองทุน และการจัดสรรเงินกองทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาอนุมัติโครงการตามมาตรา 26 (1) และ (2) ที่มีคำขอวงเงินเกิน 10 ล้านบาท ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง การเปิดรับข้อเสนอโครงการ/กิจกรรมของกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ครั้งที่ 2 และได้ผ่านกระบวนการพิจารณามาแล้ว จากคณะทำงานวิเคราะห์โครงการด้านต่าง ๆ ทั้ง […]

มูลนิธิชัยพัฒนานำร่องระบบฟาร์มแม่นยำช่วยพัฒนาการปลูกเห็ดหลินจือ

กรุงเทพฯ 5 พ.ย. มูลนิธิชัยพัฒนา จับบมือ เนคเทค สวทช. และดีแทค นำร่องโครงการฟาร์มสาธิตเห็ดหลินจือด้วยโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ” ชูต้นแบบพืชเศรษฐกิจที่ใช้เทคโนโลยี ช่วยเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกรไทย นายชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ  เนคเทค สวทช. ) กล่าวว่าโครงการความร่วมมือวิจัยโรงเรือนเกษตรอัจฉริยะกรณีศึกษาเห็ดหลินจือ เนคเทค สวทช. มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยมาพัฒนาต่อยอด พร้อมเผยแพร่และขยายผลให้เกษตรกรในพื้นที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ โดยเป็นความร่วมมือระหว่างสามฝ่าย ได้แก่ มูลนิธิชัยพัฒนา ดีแทค และเนคเทค สวทช. ในส่วนของเนคเทค สวทช. ได้ศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ในการใช้ระบบเซ็นเซอร์เพื่อการเกษตร และระบบควบคุมอัตโนมัติในโรงเรือนที่ชื่อ HandySense มาวิเคราะห์และควบคุมสภาวะที่เหมาะสมในการปลูกเห็ดหลินจือให้ได้ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว โดยมูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูกเห็ดหลินจือ ร่วมทดสอบและเก็บข้อมูลในพื้นที่ และดีแทคสนับสนุนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้สามารถรับส่งข้อมูลผ่าน IoT Sensor ผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปผลร่วมกัน ภายใต้โครงการความร่วมมือดังกล่าวได้มีการเริ่มติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ และระบบควบคุมอัตโนมัติในโรงเรือนตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 มีความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการฯเป็นอย่างดี อาทิ ระบบการควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนโดยระบบอัตโนมัติ ได้เลือกใช้ IR Heater เพื่อควบคุมอุณหภูมิและการกระจายของอุณหภูมิ และการออกแบบตำแหน่งในการติดตั้งระบบควบคุมอัตโนมัติภายในโรงเรือน อุณหภูมิกระจายตัวของความร้อนเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ โดยได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และทีมวิจัยฯ จะนำผลการทดลองที่ได้ไปปรับใช้กับการทดลองในฤดูหนาวนี้ และเปรียบเทียบผลการเจริญเติบโตต่อไป ซึ่งการดำเนินการศึกษาวิจัยในพื้นที่ มีการเก็บข้อมูลโดยระบบ IoT Sensor แสดงผลข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน พร้อมทั้งได้อบรมการใช้งานให้กับเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิชัยพัฒนา ณ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และมีการประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการฯ ร่วมกันทั้งสามฝ่ายในทุกรอบเดือน ทั้งนี้ ผลจากการดำเนินโครงการฯ จะนำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการปลูกเห็ดหลินจือให้กับเกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศต่อไป สำหรับระบบฟาร์มแม่นยำ และการติดตั้งอุปกรณ์ IoT และเซ็นเซอร์ในพื้นที่แปลงเกษตร หรือโรงเรือน เพื่อทำหน้าที่วัดความชื้นในน้ำ ในอากาศ ในดิน วัดค่าอุณหภูมิ ชุดอุปกรณ์ดังกล่าวจะทำหน้าที่ร่วมกับแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์มือถือ โดยส่งสัญญาณผ่านการเชื่อมต่อไร้สาย แจ้งผลเกษตรกรให้สามารถดูแลผลผลิตจากที่ใดก็ได้ในโลก เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวตัดสินใจปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่แจ้งเตือนผ่านแอปได้อย่างเหมาะสม ทันท่วงที หากเกษตกรใช้งานโซลูชั่นดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จะสามารถช่วยลดต้นทุนภาคการผลิตไปในตัว และมีข้อมูลสถิติที่จัดเก็บและเรียกใช้ได้อย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและพื้นที่การเกษตรได้ ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตผลทางการเกษตร ยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ด้านนายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทคกล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวสืบเนื่องจากดีแทคมีความตั้งใจจริง และความมุ่งมั่นทุ่มเท ที่จะนำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรม องค์ความรู้ ทรัพยากรต่างๆ เพื่อช่วยยกระดับสังคมไทยในมิติต่างๆ โดยเฉพาะการลดความเหลื่อมล้ำ และการยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจของประเทศไทย ในภาคการเกษตรเป็นอีกมิติหนึ่งที่ดีแทคให้ความสำคัญมาโดยตลอด ผ่านโครงการเพื่อสังคม dtac Smart Farmer ซึ่งทำงานร่วมกับมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิดเริ่มตั้งแต่การส่งข้อมูลที่จำเป็นให้แก่เกษตรกร เช่น พยากรณ์อากาศ ราคาพืชผล ผ่านทาง SMS จนพัฒนามาถึงการทำแอปพลิเคชั่น Farmer Info ต่อยอดพัฒนามาเรื่อย ๆ มาถึง “ดีแทค ฟาร์มแม่นยำ” ให้เป็นฟาร์มต้นแบบโดยใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และควบคุมคุณภาพการเพาะปลูก ซึ่งได้มีการทดลองใช้กับ30 ฟาร์ม ใน 23 จังหวัด เห็ดหลินจือ พืชเศรษฐกิจมูลค่าสูง กับ โซลูชั่นฟาร์มแม่นยำมูลนิธิฯ ดีแทค และเนคเทค ได้ร่วมกันจัดทำโครงการวิจัยโรงเรือนเกษตรอัจฉริยะ กรณีศึกษา เห็ดหลินจือ ซึ่งเป็นแปลงฟาร์มวิจัยและสาธิต โดยเริ่มลงพื้นที่ศึกษาและวิจัยสำรวจสถานที่มาตั้งแต่ 1 พ.ค. 2562 จากนั้นได้นำเอาเทคโนโลยีไอโอที เซ็นเซอร์ และเครื่องมือตรวจวัดค่าที่จำเป็นเข้ามาประยุกต์ และศึกษาวิจัยโดยแบ่งเป็น 3 โรงเรือน คือ โรงเรือนควบคุม โรงเรือนที่ไม่ควบคุม และโรงเรือนแบบธรรมดา ว่าได้ผลลัพธ์ออกมาแตกต่างกันอย่างไร เนื่องจากมูลนิธิชัยพัฒนาเห็นว่า เห็ดหลินจือเป็นพืชเศรษฐกิจสำหรับส่งออกที่มีมูลค่าสูง ราคารับซื้อต่อกิโลกรัมอยู่ที่หลายหมื่นบาท ผลผลิตต่อโรงเรือนมากกว่า 100,000 บาท ดังนั้น ควรดึงเทคโนโลยีให้มาช่วยในการสร้างผลผลิต และที่ผ่านมาเห็ดหลินจือก็มีข้อจำกัดในการเพาะปลูก เนื่องจาก เห็ดหลินจือสามารถปลูกได้เพียงแค่ 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน แต่ในฤดูหนาวไม่สามารถทำได้ เพราะอุณหภูมิเฉลี่ยที่โรงเรือนจะต่ำลงเหลือเพียง 7-10 องศา ทำให้ดอกเห็ดไม่แตกออก และสปอร์เห็ดไม่ทำงาน ในขณะที่อุณหภูมิเหมาะสมในการเพาะปลูกอยู่ที่เฉลี่ย 15-28 องศา และเนื่องจากตัวโรงเรือนที่ไม่สามารถเข้า-ออกได้ตลอดเวลาอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการปนเปื้อน จึงได้ติดกล้อง CCTV เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของผลผลิตและดูว่ามีศัตรูพืชเข้ามากัดกินผลผลิตหรือไม่ และแม้การทำงานในพื้นที่นั้นทั้งเกษตรกรเองหรือผู้เชี่ยวชาญมีความรู้ความเข้าใจอย่างมากในผลผลิต มูลนิธิชัยพัฒนา จะเป็นผู้สนับสนุนดูแลและควบคุมกระบวนการผลิตเห็ดหลินจือในโรงเรือน ตลอดระยะเวลาการผลิต 2 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 31ตุลาคม พ.ศ. 2564 โดยจะเก็บข้อมูลปริมาณผลผลิตเห็ดหลินจือ และข้อมูลความเข้มข้นของสารสำคัญของเห็ดหลินจือในการปลูกแต่ละพื้นที่การปลูก ศึกษาต้นทุนและรายได้ ในการผลิตเห็ดหลินจือ โดยการใช้ระบบการควบคุมโรงเรือนอัตโนมัติ เปรียบเทียบกับกระบวนการปลูกแบบเดิม ประกอบด้วยการศึกษาปริมาณผลผลิตทุกช่วงการปลูกตลอดทั้งปี รายได้จากการปลูก ปริมาณสารสำคัญ ต้นทุนการผลิต ต้นทุนอุปกรณ์ ต้นทุนค่าแรง ต้นทุนสาธารณูปโภค และต้นทุนค่าบำรุงรักษา ร่วมกับนักวิจัยเนคเทค-สำนักข่าวไทย.

ดีอีเอสกำหนดภารกิจหลัก บ.เอ็นที มุ่งขับเคลื่อน 5G เพื่อประโยชน์กับคนทุกกลุ่ม

กรุงเทพฯ 5 พ.ย. ดีอีเอส หนุนผุดบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) ขับเคลื่อนการใช้ 5G ให้เกิดประโยชน์กับคนทุกกลุ่ม นายพุทธิพงษ์  ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวใน งาน “CAT Network Showcase 2020” (ครั้งที่ 11) ว่า โลกเปลี่ยนไปแล้ว เราต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลง คำถามที่ท้ายคือท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง เราจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไรด้วยเครื่องมืออะไร กระทรวงดีอีเอส พร้อมให้การสนับสนุนรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลมีโครงการที่เกี่ยวกับดิจิทัลของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อมูลกลางของภาครัฐ ที่นำไปสู่การใช้บิ๊กดาต้าเพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน  รวมถึงนโยบายของภาครัฐที่พัฒนา การสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนในพื้นฐานระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC เป็นความตั้งใจพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัยเพื่อการปรับตัวของตัวเองเตรียมพร้อมสำหรับการแข็งแข่ง หน่วยราชการเอกก็เตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขัน รวมไปถึงการควบรวมของบริษัท กสท โทรคมนาคมจำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (เอ็นที) ที่จะเพิ่มศักยภาพในการแข็งขัน การควบรวมในครั้งนี้จะทำให้เกิดหน่วยงานใหม่ที่จะพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของ 5G ไปสู่ประชาชน เพราะ 5G จะต้องเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกกลุ่ม  ทุกจังหวัด ทุกเป้าหมาย ทุกอุตสาหกรรม เราจะเห็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดอย่างแน่นอน กระทรวงดีอีเอสยืนยันจะพัฒนาเพื่อให้ประชาชนสามารถเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้เป็นประโยชน์มากำที่สุด การสัมมนาในครั้งนี้จะเป็นประโยน์กับประชาชนอย่างมากที่สุด -สำนักข่าวไทย.

วช.หนุนประกวดนวัตกรรมจัดการขยะให้เป็นศูนย์

หนุนการประกวดการจัดการขยะให้เป็นศูนย์ ชิงเงินรางวัลสูงสุด 100,000 บาท หวังให้ผลงานนักวิจัยเป็นที่รู้จักและได้รับการต่อยอดทางธุรกิจ เพื่อแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในประเทศ

ไลน์เจาะตลาดขายของผ่านโซเชียลไทยโตกว่าร้อยละ 62

กรุงเทพ 4 พ.ย. ไลน์ ชี้ตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซไทยโตสูงกว่าเพื่อนบ้าน ไลน์ช้อปปิ้ง ชู ความสนุก สร้างการมีส่วนร่วมทำให้เกิดการซื้อผ่านโซเชียล นายเลอทัด ศุภดิลก หัวหน้าฝ่ายธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ Line ประเทศไทย กล่าวว่า LINE SHOPPING เปิดให้บริการในฐานะแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์มาเกือบ 2 ปี ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของ online shopper ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปัจจุบันมีผู้ใช้งานเป็นประจำอยู่ที่ 3 ล้านคนต่อเดือน เป็นตัวเลขความสำเร็จที่น่าพอใจและยังมีโอกาสเติบโตได้อีก เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด -19 ผู้ใช้อินเตอร์เนตชาวไทยกว่าร้อยละ 83 หันมาซื้อของทางออนไลน์และ ร้อยละ 71 ซื้อของผ่านมือถือโดยเฉพาะการซื้อขายผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียมากขึ้น โดยข้อมูลปี 2020 ของ LINE ประเทศไทยที่ชี้ให้เห็นว่าในกลุ่มนักช้อปออนไลน์ชาวไทยร้อยละ 62 ซื้อผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซ “ปัจจุบันไลน์ช้อปมีผู้ใช้อยู่ที่ 3 ล้านคน มีการค้นหาสินค้าผ่านช่องทางโซเชียลเพิ่มถึง 3 เท่า เป็นเพิ่มทั้งยอดขายและมูลค่าสินค้าที่ซื้อ ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากร้านค้าบนโซเชียลปิดการขายได้ดีกว่า เพราะผู้ขายกับผู้ซื้อสามารถพูดคุยตกลงกันได้ว่ายกว่า โดยอัตราการปิดการขายในไลน์อยู่ที่ร้อยละ 45 สิ่งที่ต้องทำถัดไป คือการทำให้ช่องทางโซเชียลเติบโตมากขึ้นโดยเน้นสินค้าที่มาจากโซเชียลเท่านั้น พร้อมทั้งนำเสนอสินค้าด้วยคอนเทนท์บันเทิง ทำให้คนซื้อคนขายมีส่วนร่วมกันมากขึ้น เป้าหมายของไลน์คือขึ้นเป็นผู้นำในโซเชียลคอมเมิร์ซภายใน 3 ปี โซเชียลคอมเมิร์ซเรามองเป็น 3 องค์ประกอบ คือ ความบันเทิง การมีส่วนร่วม และการซื้อขาย สินค้าที่คนซื้อผ่านแชทได้ เป็นสินค้าที่มีคนซื้อมาก ตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซของไทยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 62 มาากว่าเวียดนามที่อยู่ที่ร้อยละ […]

ช้อปพลัสชี้เทรนด์ไลฟ์สดขายสินค้ากำลังมาแรง

กรุงเทพฯ 4 พ.ย. ช้อปพลัส ชี้แนวโน้มไลฟ์สดขายสินค้าในไทยโตเร็วสุดในอาเซียนแตะร้อยละ 173 ชี้ผลโควิด-19 ดันการค้าออนไลน์ การไลฟ์สดกลายเป็นของยอดฮิตคาดเทศกาล 11.11 ทำยอดการค้าออนไลน์โต นางสาวคิมมี เฉิน ผู้จัดการทั่วไป ช้อปพลัส กล่าวว่า ช้อปพลัสเป็นบริษัทในเครือ iKalaผู้นำด้านการให้บริการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI สำหรับระบบจัดการร้านค้า การไลฟ์สดและการจัดคำสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ได้รวบรวมสถิติพบว่าการไลฟ์สดขายสินค้าในประเทศไทยเติบโตขึ้นมากตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาโดยอัตราการเติบโตของปริมาณคำสั่งซื้อในปี 2563  มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 116 โดยปรเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 173 นับเป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสิงคโปร์ มีอัตราการเติบโตร้อยละ 155 เวียดนาม ร้อยละ 101 และฟิลิปปินส์ มากกว่าร้อยละ 36 โดยยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นต่อเนื่องทั้งนี้มูลค่าสินค้ารวม (GMV) หรือมูลค่าสินค้าที่ขายได้ทั้งหมดของร้านค้า โดยผู้ใช้บริการระบบไลฟ์สดของช้อปพลัส เติบโตขึ้นสามเท่าในช่วงครึ่งปีแรกหรือมากกว่าร้อยละ307 โดยสิงคโปร์ที่มียอดมูลค่าสินค้ารวมเติบโตสูงสุด ร้อยละ 678 รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ ร้อยละ309 และ ประเทศไทย ร้อยละ 212  จากข้อมูลสะท้อนว่าถึงความต้องการซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นโดยมีนัยยะในการซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูงเพิ่มขึ้นด้วย โดยแนวโน้มการไลฟ์สดขายสินค้าเป็นช่องทางที่นิยมเนื่องจากแบรนด์สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ดีที่สุด การไลฟ์ขายสินค้าไม่ได้หมายถึงการขายอย่างเดียวแต่เป็นการรีวิวการใช้สินค้า การนำเสนอวิธีการใช้สินค้า หรือภาพลักษณ์ความน่าสนใจของสินค้าไปยังผู้บริโภค ทั้งนี้พบว่าประสิทธิภาพการไลฟ์สดขายสินค้าบนเฟซบุ๊ก เริ่มตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้ายาวต่อเนื่องตลอดวัน ทั้งนี้ในเทศกาลวันที่ 11 เดือน 11 หรือ 11.11 ช้อปพลัสคาดว่าจะมีการซื้อขายสินค้าออนไลน์ตลอดทั้งวันจากการกระตุ้นของโครงการส่งเสริมการตลาดของผู้ขาย หรือแบรนด์สินค้าทั้งไทยและต่างประเทศที่เตรียมใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึงผู้บริโภคโดยระบบได้ถูกเตรียมการให้รองรับการซื้อขายสินค้าต่อเนื่องทั้งวัน จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของช้อปพลัสยังพบว่า เทรนด์โซเชียลคอมเมิร์ซโดยเฉพาะไลฟ์คอมเมิร์ซ หรือการไลฟ์สดขายสินค้าจะได้รับความนิยมสูง จากสถิติในช่วงโควิด-19 เพราะผู้บริโภคร้อยละ 40 นิยมซื้อออนไลน์มากกว่าออฟไลน์ โดยร้อยละ […]

ดีอีเอสเล็งปิดเว็บผิดกฎหมายอีก 209 ยูอาร์แอล

กรุงเทพฯ 3 พ.ย.- ดีอีเอส เผยศาลสั่งปิดเว็บและระงับการเข้าถึงโซเชียลผิดกฎหมายอีก 209 ยูอาร์แอล นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทสร้างความขัดแย้งในสังคม การปลุกปั่นยั่วยุ และการแสดงออกอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งกระทรวงดิจิทัลฯ ตระหนักถึงความเร่งด่วนในการแก้ไข รวมถึงเร่งเพิ่มการสื่อสารสร้างความตระหนักให้ประชาชน ตลอดเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแส โดยเฉพาะการสร้างช่องทางเพจอาสา จับตา ออนไลน์ หรือ m.me/DESMonitor มีเจ้าหน้าที่รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง และตั้งกฎเหล็กให้เร่งดำเนินการรวบรวมหลักฐาน เพื่อยื่นขอคำสั่งศาลให้เจ้าของแพลตฟอร์มออนไลน์/โซเชียล ดำเนินการปิดกั้น/ลบยูอาร์แอลที่ผิดกฎหมาย ภายใน 48 ชั่วโมง โดยมีการรายงานผลการดำเนินการตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม-1 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย และมีคำสั่งศาล 5 คำสั่ง ให้เจ้าของแพลตฟอร์มดำเนินการระงับการเข้าถึง/ปิดกั้นรายการผิดกฎหมาย จำนวนรวม 209 ยูอาร์แอล แบ่งเป็น เฟซบุ๊ก 139 ยูอาร์แอล, ยูทูบ 20 ยูอาร์แอล, ทวิตเตอร์24 ยูอาร์แอล และอื่นๆ 26 ยูอาร์แอล รวมทั้งดำเนินการแจ้งความเอาผิดผู้กระทำความผิดอีก 12 ยูอาร์แอล ได้แก่ กลุ่มเฟซบุ๊กรอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส – ตลาดหลวง จำนวน 11 ยูอาร์แอล และบัญชีทวิตเตอร์ Nicky @Pari_2532 จำนวน 1 ยูอาร์แอล ที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้มีการดำเนินการแจ้งความเอาผิดผู้ให้บริการแพลตฟอร์มที่ไม่ปิดกั้นรายการเนื้อหาผิดกฎหมายตามคาสั่งศาลไปแล้ว 4 ชุด จำนวนรายการรวม 6,582 ยูอาร์แอล โดยจากการติดตามผลล่าสุดเมื่อวันที่ 1 พ.ย.63 พบว่ามีการดำเนินการลบ/ปิดให้แล้ว จำนวน 4,114 ยูอาร์แอล ยังคงเหลืออยู่อีก 2,468 ยูอาร์แอล ซึ่งขั้นตอนจากนี้จะรวบรวมคำสั่งศาลในช่วงวันที่ 2-18 ต.ค. 63 เพื่อสรุปจำนวนยูอาร์แอลที่ที่ยังไม่ปิดกั้นหลังมีหนังสือเตือน 15 วัน เพื่อดำเนินการแจ้งความเอาผิดไอเอสพีและแพลตฟอร์มต่างๆ เป็นชุดที่ 5 ต่อไป นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้กระทรวงฯ ได้มีการแจ้งความเอาผิดผู้ให้บริการที่ไม่ปิดกั้นตามคำสั่งศาล ในช่วงวันที่ 26 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2563  ซึ่งเป็นการเข้าแจ้งความชุดที่ 3 และชุดที่ 4 ตามคำสั่งศาลช่วงเดือน ส.ค.- 2 ก.ย. 63 และเดือน ก.ย.-2 ต.ค.63 ตามลำดับ ซึ่งทำให้แพลตฟอร์มต่างๆ เกิดความตื่นตัวให้ความร่วมมือดำเนินการกฎหมายเพิ่มขึ้น โดยมีความคืบหน้า ดังนี้ การแจ้งความเอาผิดชุดที่ 3 จำนวน 3,097 ยูอาร์แอล ประกอบด้วย เฟซบุ๊ก 1,748 ยูอาร์แอล ปิดแล้ว 1,003 ยูอาร์แอล คงเหลือ 745 ยูอาร์แอล, ยูทูบ 607 ยูอาร์แอล ปิดครบแล้ว, ทวิตเตอร์จำนวน 261 ยูอาร์แอล ปิดแล้ว 31 ยูอาร์แอล คงเหลือ 230 ยูอาร์แอล และเว็บอื่นๆ  481 ยูอาร์แอล ปิดแล้ว 127 ยูอาร์แอล คงเหลือ 354 ยูอาร์แอล ขณะที่ การแจ้งความเอาผิดชุดที่ 4 จำนวน 1,185 รายการ ประกอบด้วย เฟซบุ๊ก 735 ยูอาร์แอล ปิดแล้ว 204 ยูอาร์แอล คงเหลือ 531 ยูอาร์แอล, ยูทูบ จำนวน 332 ยูอาร์แอล ปิดครบแล้ว, ทวิตเตอร์ 107 ยูอาร์แอล ปิดแล้ว 17 ยูอาร์แอล คงเหลือ 90 ยูอาร์แอล และเว็บอื่นๆ จำนวน 11 ยูอาร์แอล โดยยังไม่มีการปิดให้ตามคำสั่งศาล นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้รายงานการแจ้งเตือนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) และแพลตฟอร์มต่างๆ ตามคำสั่งศาลที่มีการอนุมัติในช่วงเดือนตุลาคม เกี่ยวกับเนื้อหาที่ผิดกฎหมายจำนวนรวม 70 ยูอาร์แอล โดยสัดส่วนหลักๆ ยังอยู่บนเฟซบุ๊ก 29 ยูอาร์แอล และตามมาด้วย ยูทูบ 26 ยูอาร์แอล, ทวิตเตอร์ 7 ยูอาร์แอล และเว็บอื่นๆ 8 ยูอาร์แอล “กระทรวงฯ มีนโยบายในการบูรณาการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเว็บ/สื่อผิดกฎหมายบนโซเชียลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการขอความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด รวมถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) ในประเทศ และแพลตฟอร์มต่างประเทศ” นายพุทธิพงษ์กล่าว-สำนักข่าวไทย.

นายกฯสั่งการดีอีเอสผุดเมืองอัจฉริยะอันดามัน

ภูเก็ต 3 พ.ย. นายกฯกำชับดีอีเอส เร่งพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองอัจฉริยะอันดามัน เน้นประโยชน์การท่องเที่ยวและธุรกิจ พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มอบหมายข้อสั่งการแก่นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้นำเสนอโครงการ “Phuket Smart City” ว่าในการทำ City Data Platform อยากให้ขยายผลให้เต็มพื้นที่จังหวัดภูเก็ต กระบี่ และพังงา เพื่อให้เกิดภาพอันดามันสมาร์ทซิตี้ ทั้งนี้เพื่อให้แพลตฟอร์มดังกล่าวถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยวต่อเนื่องถึงภาคเอกชน ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะภูเก็ต สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) ร่วมมือกับบริษัท City Data Analytics ภายใต้บริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง ในการพัฒนาระบบ  City data platform ระบบในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ทั้งข้อมูลปัจจุบันจนถึงวิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งข้อมูลมีความแม่นยำ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายมิติ เช่น ความปลอดภัย การท่องเที่ยว การบริหารจัดการเมือง ที่ดิน เป็นต้น ระบบจะประมวลผลและนำเสนอข้อมูลเพื่อให้นายกเทศมนตรี สามารถติดตามการทำงานและข้อมูลในมิติต่างๆ ของเมือง ผ่าน Dash Board รวมถึงเรื่องความปลอดภัย ซึ่งมีการเชื่อมโยงข้อมูลจากกล้อง CCTV ซึ่งเริ่มใช้งานจริงแล้วในเทศบาลป่าตอง หากมีการทำครบทุกท้องถิ่น ก็จะได้ระบบ Data Platform ของทั้งจังหวัด ทั้งนี้ระบบดังกล่าว ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยได้ประสานข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวที่ตกค้างมีอยู่จุดไหนบ้าง จำนวนกี่คน และสถานพยาบาลใกล้เคียงในพื้นที่ เพื่อให้ทางโรงพยาบาลในพื้นที่เข้าไปดูแลได้ทันที  โดยมีการเตรียมความพร้อมเพื่อการเชื่อมต่อกับระบบมอนิเตอร์นักท่องเที่ยวบริเวณท่าเรือ รวมถึงต่อยอด หากนักลงทุนที่มีความสนใจร่วมลงทุนในพื้นที่ต่อไปในอนาคต-สำนักข่าวไทย.

ดีอีเอสแจงปิดเว็บอนาจารทำตามหน้าที่

ภูเก็ต 3 พ.ย. “พุทธิพงษ์” ยืนยัน ปิดกั้นเว็บอนาจาร 191 URLs ทำตามคำสั่งศาล เพราะผิดกฎหมายเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการ ไม่ได้รังแกใคร ชี้ เร่งปราบทั้งเว็บอนาจาร-พนันออนไลน์ บ่อนทำลายเยาวชนอนาคตของชาติ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงกรณีมีคำสั่งศาลให้การปิดกั้นการเข้าถึงเว็บลามกอนาจารจำนวน 191 URLs  ว่า เป็นเว็บไซต์ที่ผิดกฏหมาย มีคนร้องเรียนมาจำนวนมาก  ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็รวบรวมหลักฐาน ไป 190 กว่า URLs  มีการรวบรวมทยอยมาเรื่อยๆ เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนการปิดเว็บปกติ แต่เนื่องจากเว็บอนาจารมาจากต่างประเทศ อาจจะเป็นเว็บที่ถูกกฏหมายในหลายประเทศ แต่ผิดกฏหมายไทย จึงใช้การปิดกั้นการเข้าถึงในไทย  ซึ่งเมื่อได้คำสั่งศาลแล้ว จึงส่งคำสั่งให้โอเปอร์เรเตอร์ และ ISP ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ทำการปิดการเข้าถึงในประเทศตามกฏหมายไทย ซึ่งในต่างประเทศยังเข้าได้ตามปกติ “เราบังคับใช้กฏหมาย ซึ่งเข้าใจในวิธีคิด ของทุกคน แต่ต้องขอความเห็นใจ ไม่ได้คิดเอง แต่เป็นการดำเนินการตามกฏหมาย ทำตามหน้าที่ โดยหน้าที่แล้วก็ต้องทำ โดยส่งศาลตามปกติ ไม่ได้ใช้อำนาจของตัวเอง หรือ ของกระทรวง  เราทำตามกฎหมาย”  นายพุทธิพงษ์ กล่าว รัฐมนตรีดีอีเอส ยังย้ำด้วยว่า เรื่องเว็บลามกอนาจารมีพ่อแม่ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ที่เป็นห่วงเยาวชน เจ้าหน้าที่ก็จำเป็นต้องเคร่งครัดตาม กฏหมาย ทำตามหน้าที่ เพราะกฏหมายไทยเป็นแบบนี้ และกระทรวงดิจิทัลฯ ต้องดูแลประชาชนโดยเฉพาะบุตรหลาน ที่เป็นอนาคตของชาติ ทั้งนี้ไม่ใช่เพียงแค่เว็บลามกอนาจาร เรื่องเว็บพนันออนไลน์  เจ้าหน้าที่ก็ทำงานอย่างจริงจังต่อเนื่อง ล่าสุด เว็บไซต์พนัน ได้ดำเนินการไปแล้วประมาณกว่า 2,000 เว็บไซต์ เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการเข้าจับกุม นำผู้กระทำความผิดถูกนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งหมด ส่วนเว็บลามกอนาจารส่วนใหญ่อยู่ต่างประเทศ จึงต้องปิดกั้นการเข้าถึงในประเทศเท่านั้น-สำนักข่าวไทย.

“เอนก” ชู มหา’ลัยแพะ ต้นแบบขับเคลื่อนท้องถิ่น

รมว.อุดมศึกษาฯ ยกคณะเยือนมหา’ลัยแพะ ยกเป็นต้นแบบสถาบันอุดมศึกษาขับเคลื่อนท้องถิ่น สร้างงาน สร้างเงินให้คนกระบี่ เตรียมถอดความสำเร็จขยายผลสู่พื้นที่อื่น

ดีอีเอสย้ำเอาผิดกับคนสร้างความแตกแยกบนสื่อโซเชียล

พังงา 2 พ.ย. “พุทธิพงษ์” ยืนยัน ดำเนินการทางกฎหมายกับคนที่ใช้โซเชียลสร้างความสับสน แตกแยกในสังคม ย้ำทำอย่างเต็มที่เพื่อดูแลประชาชนไม่ให้รับผลกระทบจากข่าวบิดเบือน นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ให้สัมภาษณ์หลังการสัมมนา“สร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ครั้งที่ 3” จ.พังงา ว่า วันนี้มีการเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือน ข่าวปลอมได้ง่าย  ไม่ทราบแหล่งข้อมูลที่มาที่ไป บางครั้งมีการนำเสนอข่าวที่ไม่เป็นความจริงทำให้เกิดความสับสน กระทรวงดิจิทัลฯมีหน้าที่คัดกรองชี้แจงให้ประชาชนรู้ว่าข้อมูลไหนบิดเบือน โดยให้หน่วยงานต้นสังกัดรายงานชี้แจงข้อเท็จจริง ตอบกลับมาว่าข่าวนี้บิดเบือนหรือไม่ ภายใน 2 ชั่วโมง หากประชาชนไม่แน่ใจข้อมูลว่าจริงหรือไม่ เบื้องต้นวิธีที่ดีที่สุดคือไม่ต้องแชร์ ไม่ส่งต่อไป   ซึ่งตอนนี้พบว่ามีหลายเรื่องทั้งการค้าขาย,ภัยพิบัติ,การรักษาพยาบาล กระทรวงได้ประสานเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกภูมิภาคต่างๆ เพื่อสร้างเครือข่าย หากมีข่าวปลอมเข้ามาต้องรีบออกมาแก้ไขชี้แจงให้เร็วที่สุด  ส่วนเรื่องการยื่นฟ้องแพลตฟอร์ม เรื่องการปิดกั้นหรือลบข้อมูลที่ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลที่ผิดกฎหมายก็จะรวบรวมส่งขอคำสั่งศาลปิดกั้น และแนบคำสั่งศาลส่งไปยังแพลตฟอร์มต่างประเทศ และหากเลยกำหนดระยะเวลา 15 วัน ยังไม่ดำเนินการถือว่าแฟลตฟอร์มต่างประเทศทำผิดกฎหมายไทย กระทรวงก็มีหน้าที่ต้องส่งสำนวนให้ทางตำรวจเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป  ซึ่งได้ทำไปหลายร้อยคดีแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล กล่าวทิ้งท้าวว่า กระทรวงดิจิทัลฯ ได้ทำงานอย่างจริงจังเต็มที่ที่สุดแล้ว ทั้งการรณรงค์ตรวจสอบ ติดตาม ประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตั้งวอร์รูมติดตามทำตลอด 24 ชั่วโมง  ซึ่งไม่ได้จับผิดใครแต่ต้องการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องให้กับประชาชน ไม่ให้รับข้อมูลที่บิดเบือนสร้างความเสียหาย ความแตกแยกให้กับสังคม ขอย้ำว่ากระทรวงดิจิทัล ทำงานหนักมาก ยิ่งช่วงที่มีสถานการณ์ในช่วงนี้-สำนักข่าวไทย.

นอสตร้าอัพเกรด9คุณสมบัติรองรับแนวโน้มบริการอีคอมเมิร์ซ

กรุงเทพฯ 2 พ.ย. นอสตร้าแมพ ชี้ 3 ปียอดผู้ใช้พุ่ง 110 เปอร์เซ็นต์ ชู 9 คุณสมบัติขยายฐานผู้ใช้เพิ่ม นายวิชัย แสงหิรัญวัฒนา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โกลบเทค จำกัด ในกลุ่มบริษัทซีดีจี กล่าวว่า NOSTRA Map API หรือบริการข้อมูลแผนที่ออนไลน์  สามารถตอบโจทย์การใช้งานหลากหลายธุรกิจ พบผู้ใช้งานใน 3 ปีที่ผ่านมาเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 110 เปอร์เซ็นต์ วิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคปรับตัวไปสู่ดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะใช้งานแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในประเทศโตขึ้นกว่าร้อยละ 35 รวมถึงพฤติกรรมการใช้บริการเดลิเวอรี เช่น บริการส่งอาหารในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาที่โตสูงก้าวกระโดดกว่า ร้อยละ150 นอกจากนี้ผู้คนในยุคนี้ยังมองหาความสะดวกสบาย และมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจซื้อหรือพึงพอใจสูงสุด จากปัจจัยความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้าหรือให้บริการ ธุรกิจหลายประเภทที่หันมาพัฒนาบริการนี้กันมากขึ้น โดยพบว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามียอดผู้ใช้งานบริการแผนที่ออนไลน์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมีฐานลูกค้าใหม่ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซ กลุ่มธุรกิจภาคบริการการจัดส่ง และธุรกิจซอฟต์แวร์ เพิ่มขึ้นจากลูกค้าหลักเดิมในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์  ทั้งนี้ NOSTRA Map API จะเข้าไปมีส่วนในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซ ในเรื่องความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้าและบริการให้กับลูกค้าที่มองหาความรวดเร็วและสะดวกสบาย สามารถใช้การวิเคราะห์พื้นที่ให้บริการของแต่ละสาขา (Service Area) ช่วยวางแผนให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุดได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปใช้ในการพิจารณาเปิดปิดสาขาให้เหมาะสมกับสภาพการแข่งขันในยุคอีคอมเมิร์ซได้ด้วย กลุ่มธุรกิจภาคบริการการจัดส่งสามารถใช้เครื่องมือช่วยวางแผนการจัดส่งหลายเที่ยวและจุดหมายหลายจุด เพิ่มประสิทธิภาพกับแอปพลิเคชันสร้างเส้นทางที่ดีที่สุดในการจัดลำดับการส่งล่วงหน้าให้กับพนักงานจัดส่ง และติดตามสถานะการขนส่งสินค้า ประหยัดต้นทุนและลดเวลาการทำงาน กลุ่มธุรกิจซอฟต์แวร์ สำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันให้กับธุรกิจต่างๆ การเชื่อมต่อกับระบบแผนที่จะช่วยให้ลูกค้าของธุรกิจสามารถค้นหาและนำทางได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น นายวิชัย กล่าวอีกว่า ล่าสุดนอสตร้าได้พัฒนา 9 คุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อเสริมศักยภาพการทำงาน ประกอบด้วย การค้นหาเส้นทางการเดินทางและให้คำแนะนำการเดินทางโดยรถบรรทุก (Truck Routing) การจัดลำดับเส้นทางเพื่อการขนส่งในกรณีส่งสินค้าหลายจุด (Finding the best Route) การจัดเส้นทางการเดินรถส่งของ หรือการจัดลำดับการให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ภายใต้เงื่อนไขการขนส่งต่างๆ เช่น จำนวนจุดส่งสินค้า จำนวนรถ เขตความรับผิดชอบ ปริมาณและขนาดสินค้า และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการขนส่งสินค้า บริการปรับแก้ไขค่าตำแหน่งจากจีพีเอส ให้สอดคล้องกับเส้นทางการวิ่งที่ถูกต้อง (Road Snapping) ข้อมูลแสดงเส้นสถานะข้อมูลจราจร (NOSTRA Traffic) ครอบคลุมทั้งประเทศไทย บริการค้นหาขอบเขตการปกครอง (Administrative Boundary Search 7) การพัฒนาบริการค้นหาเส้นทาง (Routing Service) โดยคำนวณค่าทางด่วน และได้รับค่า Speed Limit บริการชั้นข้อมูลพิเศษเพิ่มเติม(Special Layers Service) ชั้นข้อมูลตำแหน่งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า (Charger Station) และบริการข้อมูลพิเศษ (Special Contents Service) ข้อมูลพิเศษ (Extra Content) หมวด Parking ข้อมูลเหตุการณ์บนท้องถนน (จส.100) -สำนักข่าวไทย.

1 15 16 17 18 19 51
...