สวทช.เตือนผู้นำเข้าเพาเวอร์แบงก์เร่งนำสินค้าตรวจสอบก่อน1ธ.ค.

กรุงเทพฯ 6 พ.ย. สวทช. แนะผู้ประกอบการเร่งนำเพาเวอร์แบงก์มาตรวจสอบมาตรฐานเพื่อยื่นขอเครื่องหมาย มอก. ภายใน1 ธันวาคมนี้ ก่อนมีความผิดอาญา นางเกศวรงค์  หงส์ลดารมภ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. กล่าวถึงมาตรการที่ให้ผู้ประกอบการนำเข้าแบตเตอรี่สำรอง (เพาเวอร์แบงก์) ให้เร่งนำสินค้ามาตรวจสอบมาตรฐานที่ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ หรือ PTEC ของ สวทช. เพื่อยื่นขอเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดของกระทรวงอุตสาหกรรม วันที่ 1 ธันวาคมนี้ ว่า สวทช.พร้อมสนับสนุนการตรวจสอบมาตรฐานของเพาเวอร์แบงก์ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในความปลอดภัย โดย สวทช.มีศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) ซึ่งเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานแบตเตอรี่ครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล จึงอยากจะแนะนำให้ผู้ประกอบการที่นำเข้าเพาเวอร์แบงก์ ให้รีบนำสินค้าไปทดสอบมาตรฐานที่ PTEC เนื่องจากมีเวลาอีก  ไม่มากนักก่อนที่จะถึงกำหนดการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ โดยผู้ประกอบสามารถนำผลิตภัณฑ์เพาเวอร์แบงก์ที่ผลิตและนำเข้ามาทดสอบมาตรฐาน และนำผลรายงานการทดสอบไปยื่นต่อ สมอ. เพื่อขอ มอก. สำหรับผลิตภัณฑ์ของตนเองต่อไป ด้านนายไกรสร อัญชลีวรพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) สวทช. กล่าวถึงมาตรฐานการตรวจสอบเพาเวอร์แบงก์ของ PTEC ว่า PTEC เป็นศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ที่ทันสมัยสามารถตรวจสอบมาตรฐานได้ถึงระดับเซลล์ ระดับโมดูล และ ระดับแพ็ค ที่เป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 2217 หรือ IEC62133 และยังเป็นศูนย์ทดสอบแห่งเดียวในประเทศไทยที่สามารถรองรับการให้บริการแก่ผู้ประกอบการที่สนใจนำอุปกรณ์เข้ามาให้ทดสอบแบตเตอรี่ พร้อมรองรับมาตรการควบคุมได้ทันภายในวันที่ 1 ธันวาคมนี้อีกด้วย ขอแนะนำผู้บริโภคถึงวิธีการสังเกตความผิดปกติของแบตเตอรี่ โดยให้สังเกตจากรูปลักษณ์ภายนอก หากมีการบวมแตกหรือบิ่น ถือว่าไม่ปลอดภัย ควรนำไปตรวจสอบก่อนใช้งานต่อ และผู้บริโภคไม่ควรเลือกใช้แบตเตอรี่ที่มีราคาถูกเกินจริง ที่สำคัญให้ตรวจสอบว่าสินค้าได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้บริโภคเอง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้ประกาศให้มาตรฐานเพาเวอร์แบงก์ เป็นมาตรฐานบังคับ คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แบตเตอรี่สำรองไฟฟ้าสำหรับการใช้งานแบบพกพา คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย มอก. 2879-2560 ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นขอ มอก.เพื่อรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ของตนเองได้ โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ส่งผลให้เพาเวอร์แบงก์ในท้องตลาดทุกยี่ห้อ ต้องมีเครื่องหมาย มอก. รับรองตามที่มาตรฐานกำหนด หากละเมิดผู้นำเข้าจะมีความผิดทางอาญา สำหรับท่านที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หมายเลขโทรศัพท์ 02-564-7000 (ในวันและเวลาราชการ) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป-สำนักข่าวไทย.

เฟซบุ๊กชี้5เทรนด์มาแรงนักช้อป

กรุงเทพฯ 6 พ.ย. เฟซบุ๊ก ชี้ 5 เทรนด์มาแรงของนักช้อปไทย พร้อมนำเสนอมิติใหม่ของการช้อปปิ้งผ่านไลฟ์สด นางสาวชวดี วงศ์พยัต หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจเฟซบุ๊ก ประเทศไทย กล่าวว่า เรามองเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของพฤติกรรมและความคาดหวังต่อการช้อปปิ้งของผู้บริโภคในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ในขณะที่เรากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ยุค ‘เน็กซ์ นอร์มอล’ แม้ว่าช่วงเทศกาลที่กำลังจะมาถึงจะสร้างโอกาสในการสร้างผลกำไรให้กับแบรนด์ต่างๆ แต่พวกเขาก็ยังจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพผลการศึกษาข้อมูลเชิงลึก Mega Sales & Holiday 2020 ของเฟซบุ๊กไอคิว ได้สรุปเทรนด์ที่กำลังมาแรง 5 ข้อที่แบรนด์ควรพิจารณาระหว่างการวางแผนกลยุทธ์สำหรับช่วงเทศกาลวันหยุด ดังนี้กลุ่ม Gen X และเบบี้บูมเมอร์มีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของมือถือและอีคอมเมิร์ซในระดับโลก ผู้คนทุกช่วงอายุต่างใช้งานมือถือเพื่อเชื่อมต่อ รับข่าวสาร และช้อปปิ้งในช่วงโควิด-19 โดยร้อยละ 71 ของชาวไทยใช้ “เวลาเล่นมือถือมากขึ้น” และที่น่าสนใจคือ ร้อยละ 65  ของ Gen X และเบบี้บูมเมอร์ใช้เวลาเล่นมือถือมากขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยร้อยละ 36 ช้อปปิ้งผ่านช่องทางออนไลน์ในปัจจุบัน การชะลอตัวของเศรษฐกิจจะนำมาซึ่งการเติบโตของมหกรรมลดราคาสินค้า สภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย อันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคอย่างชัดเจน โดยผู้บริโภคจะมีความอ่อนไหวต่อราคาสินค้ามากขึ้น และเราคาดการณ์ว่าผู้ซื้อจำนวนมากรอวันมหกรรมลดราคา โดยนักช้อปที่ร่วมตอบแบบสำรวจระบุว่า มหกรรมลดราคา 12.12 และ 11.11 เป็นอีเวนต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด การซื้อของขวัญให้ตัวเองและการช้อปปิ้งช่วงเทศกาลเป็นเทรนด์ที่ครองมหกรรมลดราคาในปีนี้ ผู้คนจำนวนมากเลื่อนช่วงเวลาช้อปปิ้งซึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และเมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายมากขึ้น ผลการศึกษาของเราเผยว่าเกือบร้อยละ 82 ของนักช้อปในไทยมองหารางวัลให้ตัวเองในช่วงเทศกาลสิ้นปี ซึ่งเป็นที่มาของเทรนด์ที่กำลังมาแรง […]

สมาคมโทรคมนาคมเชื่อสหรัฐยังคุมความได้เปรียบทางเศรษฐกิจไม่ว่าใครเป็นประธานาธิบดี

กรุงเทพฯ 6 พ.ย.เลขาฯสมาคมโทรคมนาคมชี้ ผลการเลือกตั้งสหรัฐกระทบอุตฯโทรคมนาคม เชื่อใครได้เก้าอี้ยังคงเข้มรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันของอเมริกา นายสืบศักดิ์ สืบภักดี เลขาธิการ สมาคมโทรคมนาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่จะมีผลต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยว่า ไม่ว่าผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจะเป็นชัยชนะของใคร การเลือกตั้งที่กำลังได้รับความสนใจทั่วโลก สะท้อนถึงการรับความสนใจจากหลายวงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายของผู้ท้าชิงทั้งสองพรรคที่ดูเหมือนจะอยู่กันคนละขั้ว ดังนั้นความน่าสนใจจึงถูกโฟกัสว่า หากทรัมป์หรือไบเดนขึ้นเป็นผู้นำจะส่งผลต่อการค้าขาย ธุรกิจโดยเฉพาะอุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไร สำหรับส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคม น่าจะมีผลกระทบที่มาจากนโยบายของสหรัฐอเมริกาโดยประธานธิบดีโดนัล ทรัมป์ ที่ประกาศอย่างชัดเจนถึงการตั้งกำแพงการค้ากับยักษ์ใหญ่อย่างจีน หรือคู่แข่งสำคัญอย่างบริษัทหัวเหว่ย จนมีการออกมาตรการที่นำไปสู่แบนอุปกรณ์หรือการตัดบริการที่พัฒนาโดยบริษัทของอเมริกาGoogle Mobile Service หรือ GMS บนเครื่องมือถือหัวเว่ย มาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการที่สหรัฐใช้ตอบโต้หรือใช้เพื่อตั้งกำแพง สกัดคู่แข่งทางการค้ารูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้คาดว่าจะมีผลต่อการกำหนดนโยบายการย้ายฐานการผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมของบริษัทสัญชาติอเมริกากลับแผ่นดินแม่ ทั้งหลายล้วนมาจากนโยบายของผู้นำสหรัฐ หากทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดีต่อไปคาดว่าแนวนโยบายคงเป็นไปตามที่มี หรืออาจจะเข้มข้นกว่าเดิมใน ขณะที่นายโจ ไบเดน พูดในนโยบายที่หาเสียงว่าค่อนข้างเดินหน้าใช้กรอบการค้าเสรีหรือการเจรจาทางการค้าผ่านเวทีต่างๆ เป็นหลักแต่ก็เชื่อว่าเรื่องการคงความได้เปรียบของอเมริกายังคงเป็นเป้าหมายเดียวกัน อาจจะเร็วไปที่เราจะยินดีจากผลการเลือกตั้งที่ออกมาเลยในทันทีทันใด เพราะท้ายที่สุดการบริหารนโยบายธุรกิจหรือการปกป้องอุตสาหกรรมหลักอย่างโทรคม ไอที หรือเรื่องความมั่นคงเครือข่ายซึ่งในยุคนี้โยงไปได้ถึงความมั่นคงของชาติ สำหรับประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกาเชื่อว่าผู้นำเบอร์หนึ่ง -สำนักข่าวไทย.

ดีอีเอสชูบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ ขับเคลื่อน 5G

กรุงเทพฯ 5 พ.ย. ดีอีเอส เชื่อ แคท ผนึก ทีโอที นำบริษัทใหม่ขับเคลื่อน 5G  นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวปาฐกถาในงานงาน“CAT Network Showcase 2020” (ครั้งที่ 11) ว่า การระบาดของของโรคโควิด-19 โลกเปลี่ยนไปมาก และมีผลกระทบกับวิถีชีวิตและธุรกิจ จึงขอมาเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ภาครัฐจะทำ ในงานของ CAT คงต้องพูดถึงแนวโน้มของ CAT ว่าจะเกิดอะไรขึ้นแบะ คงต้องพูดถึงการควบรวม บริษัท กสท โทรคมนาคมจำกัด(มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เพื่อลดความซ้ำซ้อนเพื่อดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมร่วมกัน เพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ให้บริการแก่สังคม สนับสนุนงานนโยบายภาครัฐ และเพื่อคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ โดยเฉพาะการเอา 5G มาพัฒนาเพื่อให้บริการในอุตสาหกรรม ไม่เกินปีหน้าบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ (NT)จะเกิดขึ้นเพื่อเอา 5G มายกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ทุกด้านให้ดีขึ้น 5G ที่จะเกิดขึ้นจะต้องสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของทุกคน งานนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะรับรูแล้วทางการนำ 5G มาใช้งาน เพื่อให้ธุรกิจได้เตรียมตัวและทราบว่าจะมีส่วนร่วมอย่างใดได้บ้าง รัฐบาลมีโอกาสใช้โอกาสและช่องทางในการวางโครงสร้างพื้นฐานของบริการเคเบิ้ลใต้น้ำ โดยรัฐบาลจะใช้โอกาสของที่ตั้งของประเทศไทยที่อยู่ระหว่าจีนและญี่ปุ่น ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางข้อมูลและการเชื่อมต่อก่อนที่จะเขื่อมโยงไปที่สิงคโปร์ ด้วยโอกาสและเวลาประเทศไทยมีความเหมาะสมที่สุดที่ตะใช้โอกาสนี้ นอกจากนี้ในส่วนของกิจการดาวเทียม หลายประเทศให้ความสำคัญกับการพัฒนาดาวเทียมวงโคตรต่ำ ดาวเทียมมีขนาดเล็กลงในระยะอันใกล้ด้วยการเตรียมการร่วมพัฒนาระบบดาวเทียม วงโคจรต่ำ Low Earth Orbit (LEO) ซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ CAT จึงได้เตรียมบุคลากรและความพร้อมในการเสนอทางเลือกในการให้บริการดาวเทียมวงโคจรต่ำ รองรับความต้องการของทุกอุตสาหกรรม ส่วนการบริหารจัดการอุตสาหกรรมดาวเทียมด้วยเป็นช่วงเวลาที่สัมปทานดาวเทียมไทยคมจะหมดลง รัฐบาลคาดว่าการประมูลจะเกิดขึ้นภายในปลายปี 2564 หากทำได้ตามกำหนดภายใน 1-2 ปีเราจะได้เห็นการใช้งานจากดาวเทียมวงโคจรต่ำ  นายพุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการใช้งานฐานข้อมูลหรือ BigDataให้เป็นประโยชน์ รัฐบาลได้พัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Service : GDCC) เพื่อทำหน้าที่ปกป้องข้อมูลของประชาชน รวมถึงการออกพ.ร.บ.การค้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คลาวด์กลางของภาครัฐ หรือ GDCC จะรวบรวมข้อมูลของรัฐทั้งหมดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์เพื่อให้บริการ ตั้งแต่ปี 2564 ข้อมูลของรัฐจะมาอยู่ที่ GDCC ทั้งหมด ปัจจุบันมีการขอใช้งานแล้วกว่า 25,000 VM มากกว่าที่ประมาณการไว้ที่ 8,000 VM อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนการทำงานในช่วงโควิด-19 กระทรวงฯ จึงต้องเร่งดำเนินการด้านงบประมาณเพื่อเพิ่มความสามารถให้รองรับได้ทั้งหมด กระทรวงฯยังได้วางระบบในการสื่อสารระบบใหม่ ด้วยเทคโนโลยีของ CAT คือ LoRa IoT sensor ที่จะมีการนำเซ็นเซอร์กระจายออกไปในพื้นที่ห่างไกล เช่น ในป่า ระบบจะตรวจจับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงและแจ้งเตือนกรณีเกิดไฟป่า รวมถึงการเอาไปใช้กับการติดตามสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมลภาวะของPM2.5  จากนี้ไปเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ประเทศไทยจะใช้โอกาสที่มีอยู่เพื่อการเดินหน้าและใช้เวลาที่ดีนี้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนทั้งด้านสังคม การศึกษา และสาธารณสุข -สำนักข่าวไทย.

ดีป้าแนะธุรกิจปรับตัวรับเรียลไทม์บีเฮฟวิเออร์

กรุงเทพฯ 6 พ.ย.ดีป้า ชูเทรนด์ใหม่ เรียลไทม์บีเฮฟวิเออร์ กระทบแน่ถ้าไม่เร่งปรับตัว ชี้ธุรกิจไม่ใช้เทคโนโลยีใหม่เสี่ยงเศรษฐกิจเปราะบาง นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวในงาน “CAT Network Showcase 2020” (ครั้งที่ 11)ในหัวข้อ Now Normal ว่า เทรนด์ใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้ คือ Realtime behavior เทรนด์นี้เกิดขึ้นจากการที่คนเข้าโลกโซเชียลได้มากขึ้นและตลอดเวลา จึงทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปด้วยจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 2,000 คน พบว่ากบุ่มตัวอย่าง 2 พันคน ใช้เวลาตอบสนองกับเนื้อหาในโซเขียลมีเดียครั้งละ 8 วินาที ดังนั้นเนื้อหา Realtime จึงเป็นที่อยู่ในความสนใจของคน พฤติกรรมนี้ทำให้คนอฝเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยมีความอดทนรอน้อยลงดั้งนั้นแพลตฟอร์มที่ทำให้คนเชื่อมถึงกันด้วยความรวดเร็วจึงเป็นที่ต้องการมากขึ้น ขณะที่แพลตฟอร์มของไทยในบริการต่างๆจะต้องมีการจัดการเวลาที่ดี เพื่อไม่ให้คนต้องรอนานนี่คือควาทเปลี่ยนแปลงที่มีต่อเวลาและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้เกิดมาจากช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่เป็นการเปลี่ยนแปลตามแนวโน้มการบริโภคสื่อที่เปลี่ยนไปเรียกว่า NowNormal เป็นความเคยชิน สิ่งที่อยากได้และต้องการในชีวิตประจำวัน ความต้องการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนนี้มีผลต่ออุตสาหกรรมหลายอุตสาหกรรมโดยเฉพาะพฤติกรรมอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยความต้องการใช้บริการดิจิทัล ทั้งดิจิทัลคอนเทนท์ โดยมีความต้องการมากขึ้นร้อยละ 11 หรือมีมูลค่า30,000 ล้านบาท นอกจากนี้ความต้องการในการใช้บิ๊กดาต้าก็เพิ่มขึ้น รวมถึงมูลค่าของตลาดซอฟแวร์ที่ทำให้ธุรกิจเชื่อมกับลูกค้าก็มีความต้องการเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เป็นสิ่งที่ตอกย้ำว่าพฤติกรรมที่ผู้บริโภคมีต่อสื่อดิจิทัลทำให้มูลค่าของอุตสาหกรรมเติบโตเพิ่มขึ้นด้วย กลายเป็น New Normal ที่เป็นมNow Normal แต่ยังมีอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบและมีความเปลี่ยนแปลงที่เล็กลง อุปกรณ์ต้องมีความสามารถมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงนี้มีผลให้แพลตฟอร์มมีขนาดเล็กลงเมื่อเรามีชีวิตในโลกเสมือนจริงมากกว่าโลกที่แท้จริง การทำธุรกิจได้เปลี่ยนจากการอยู่โดยโดดเดี่ยวเป็นการแสวงหาพันธมิตรทั้งเขิงสังคมและเศรษฐกิจ  Realtime behavior จะทำให้การทำธุรกิจต้องมีเครือข่าย เทคโนโลยีทำให้คนเชื่อมกันง่ายจึงมีความร่วมมือทางธุรกิจเกิดขึ้น ระบบเศรษฐกิจที่ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงจะเป็นระบบเศรษฐกิจทีเปราะบาง ธุรกิจที่ใช้บล็อกเชนจ์ ไอโอทีดาต้า และเอไอจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลได้ ความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจถ้าเราไม่เตรียมการรับมือจะเกิดผลกระทบกับทั้งธุรกิจและประชาชน เช่น เราอาจจะได้เห็นเกษตรกรเชื่อมโยงกับลูกค้าโดยตรงโดยไม่ผ่านคนกลางระบบรีเทลและตัวกลางจะได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยี ธุรกิจเอสเอ็มอีที่อยู่ตรงกลางจึงน่าเป็นห่วง แพลตฟอร์มที่เข้ามารองรับเทรนด์ใหม่มีทั้งแพลตฟอร์มของไทยและต่างประเทศ หากเราปรับตัวไม่ทันเราจะไม่สามารถสร้างจุดแข็งให้เศรษฐกิจไทยอยู่รอดได้ ความอยู่รอดของธุกิจในยุค Realtime behavior ธุรกิจต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูล มีระบบและเทคโนโลยีในการจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การตัดสินใจที่ชาญฉลาด และเข้าใจความต้องการของลูกค้า -สำนักข่าวไทย.

รมว.ดีอีเอสวอนเลือกบริโภคสื่อที่เชื่อถือได้

กรุงเทพฯ 6 พ.ย. รมว.ดีอีเอส วอนคนไทยบริโภคสื่อที่เชื่อถือได้ แนะอย่าเขื่อสื่อโซเชียลที่ตรวจสอบไม่ได้ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงการบริโภคข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโซเชียลมีเดียว่า การบริโภคสื่อเป็นเรื่องปกติ เพียงแต่ในการเลือกรับสื่อควรเลือกรับสื่อที่อ้างอิงได้การทำสื่อโซเชียลเป็นสิ่วที่ทำได้ง่าย เข้าถึงง่าย แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าถูกต้องหรือไม่ ตนไม่ติดใจการทำหน้าที่ของสื่อกระแสหลักหรือสื่อต่างประเทศ เพราะมีบรรณาธิการ และรู้ว่าผู้สื่อข่าวคนนั้นคือใคร สื่อโซเชียลไม่สามารถยืนยันได้ถึงความถูกต้อง ไม่สามารถเชื่อได้ว่าเป็นใครจึงขอให้ผู้รับสื่อเข้าใจและพิจารณาเลือกรับสื่อที่เชื่อถือได้ ที่ผ่านมาตนและกระทรวงไม่เคยใช้อำนาจหน้าที่ในการปิดกั้นสื่อ มีแต่การจัดการกับเว็บไซต์หรือสื่อที่มีการละเมิดหรือทำผิดกฎหมาย ตนไม่เหนื่อยที่จะแม้จะมีปัญหามากแต่เป็นการทำหน้าที่ กระทรวงดีอีเอสควรเป็นกระทรวงที่ทำหน้าที่พัฒนาให้เกิดสิ่งดีๆในประเทศ แต่เมื่อมีภาระหน้าที่เกิดขึ้นก็ต้องทำงาน-สำนักข่าวไทย.

ระบบเตือนภัยด้วยเครือข่ายวิทยุสื่อสาร

กระบี่ 6 พ.ย.63 – กทปส. เปิดตัวระบบแทรคกิ้งสภาพอากาศอัตโนมัติ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ VHF สามารถเตือนเหตุภัยพิบัติ และระบุพิกัดในการกู้ภัยได้อย่างแม่นยำ แม้สัญญานอินเตอร์เน็ตในพื้นที่จะใช้การไม่ได้ กองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือกทปส. ร่วมกับสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดตัวต้นแบบสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ ที่จังหวัดกระบี่ เป็นระบบติดตามสภาพอากาศเรียลไทม์ ด้วยคลื่นความถี่และเน็ตไฮสปีด โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ VHF ซึ่งเดิมสมาคมวิทยาสมัครเล่นฯ ใช้สำหรับการสื่อสารเท่านั้น ปรับปรุงเพิ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ได้เป็นโครงข่ายสื่อสำรองฉุกเฉินไร้สายระบุพิกัดอัจฉริยะ เพื่อการติดตามเฝ้าระวังภัยธรรมชาติและ SAR ที่สามารถสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินแนวทางป้องกันภัยพิบัติ ระบุพิกัดทีมค้นหา และช่วยเกษตรกรวางแผนเพาะปลูกแนวใหม่ได้อย่างแม่นยำ เป็นการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายไร้สายให้มีประสิทธิภาพสูง โดยจุดเด่นของระบบนี้จะสามารถจับและแจ้งเตือนภัยพิบัติ รวมทั้งการระบุพิกัดได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสัญญานอินเตอร์เน็ต ทำให้ในยามฉุกเฉินหรือเกิดพิบัติภัยที่ระบบอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่ายโทรศัพท์มือถือล่ม ระบบนี้ก็ยังสามารถทำงานได้ มำให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงพื้นที่ช่วยเหลือ และแจ้งเตือนได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ ดร.จักรี ห่านทองคํา นายกสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า ต้นแบบสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ มีอุปกรณ์สำคัญ 4 ส่วน  1. สถานีรับข้อมูล ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางธรรมชาติและข้อมูลประกอบแต่ละจังหวัด 2. อุปกรณ์ตรวจวัด เพื่อส่งข้อมูลต่อไปยังสถานีรับข้อมูล 3.อุปกรณ์ระบบสายอากาศย่าน VHF และ 4. สายนำสัญญาณแหล่งจ่ายพลังงาน พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วงส่วนต่าง ๆ  โดยสถานีฯ จะตรวจวัดค่าทุก 10 นาที แล้วส่งข้อมูลมาที่สถานีรับข้อมูล จากนั้นจะส่งต่อข้อมูลมายังศูนย์รวมกลางเพื่อเก็บรวบรวม เพื่อนำข้อมูลมาประมวล ซึ่งระบบจะรายงานข้อมูลทางธรรมชาติที่จำเป็นแบบเรียลไทม์ เช่น อุณหภูมิความชื่นสัมพัทธ์ ความกดอากาศ ปริมาณน้ำฝน ทิศทางลม ค่าฝุ่นในอากาศ หรือ PM2.5 ใช้ในการติดตามเฝ้าระวังและวางแผนป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล ผ่านการสื่อสารในรูปแบบคลื่นความถี่วิทยุย่านความถี่ VHF นอกจากนี้ระบบที่พัฒนาขึ้น สามารถใช้ติดตามค้นหาในพื้นที่ห่างไกล เสริมอุปกรณ์แทรคกิ้งเป็นตัวจับสัญญานเพื่อช่วยปักหมุดค้นหาและแสดงผลแบบเรียลไทม์ ระบุตำแหน่งจำแนกสิ่งต่าง ๆ ได้ทั้งบุคคล รถยนต์ เครื่องบิน เรือ และพาหนะ ติดตามความเคลื่อนไหวได้ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะงานกู้ภัยที่ลดความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่ได้อย่างมาก นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในด้านการเกษตรช่วยเกษตรกรวางแผนเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิต ด้วยระบบจะแสดงข้อมูลที่จำเป็นต่อการวางแผนเพาะปลูกเป็นเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming)  ปัจจุบันทางสมาคมฯ ได้ดำเนินการติดตั้งสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ รวม 40 จุด ครอบคลุม 40 จังหวัดทั่วประเทศโดยพร้อมรองรับการใช้งานได้ในทุกแพลตฟอร์ม ซึ่งมั่นใจว่าจะเป็นอีกนวัตกรรมฝีมือคนไทยที่ทำให้คลื่นความถี่เกิดประโยชน์ของสังคมและประเทศได้มากยิ่งขึ้น นายนิพนธ์ จงวิชิต ผู้อำนวยการกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) กล่าวว่า กทปส. พร้อมเป็นหน่วยงานที่มอบทุนส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  เกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นรูปธรรมทั้งนวัตกรรมและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เศรษฐกิจ และสังคม โดยปี 2563 กทปส. จัดสรรเงินกองทุนมูลค่ากว่า 2,600 ล้านบาท ใน 85 โครงการเพื่อประโยชน์สาธารณะ .-สำนักข่าวไทย

ผู้เชี่ยวชาญอุตฯโทรคมนาคมชี้ถ้า“ไบเดน”มาเทควอร์ยังอยู่

กรุงเทพฯ 6 พ.ย.  ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมชี้ ไบเดน มา เทควอร์ จะยังคงอยู่ เชื่อท่าทีต่อจีนอาจผ่อนปรนลง  นายเจษฎา ศิวรักษ์  ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม  เพื่อเศรษฐกิจและสังคม สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นต่อโฉมหน้าของอุตสาหกรรมไฮเทคของประเทศมหาอำนาจ อิทธิพลที่จะส่งผลต่อประเทศไทยหากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เป็นชัยชนะของพรรคเดโมแครตและส่งผลให้นายโจ ไบเดน มีความเป็นไปได้ที่จะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ว่า เชื่อว่า Tech war หรือการแข่งขันทางการค้าและเทคโนโลยีระหว่างประเทศมหาอำนาจอาจจะยังคงมีอยู่ แต่การมาของไบเดนน่าจะมีความประนีประนอมกับประเทศจีนมากขึ้น เพราะบริษัทไฮเทคของสหรัฐจำนวนมากอยากขายของให้จีนอยู่ รวมถึงความต้องการมีส่วนแบ่งตลาดที่ยังมีความสำคัญ เช่น Apple ก็ยังต้องการให้มีส่วนแบ่งตลาดในจีนรวมทั้งบริษัทที่ขายชิพ เช่น อินเทล และเอเอ็มดี  ในส่วนของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยเฉพาะกับเทคโนโลยี 5G น่าจะมีความร่วมมือกับสหภาพยุโรปมากขึ้น แต่ในอาเซียนจะมีบางประเทศได้ประโยชน์ ไบเดนคงพยายามสนับสนุน ประเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย รวมทั้งออสเตรเลีย ขณะที่อาจมีการสกัดกั้นหัวเว่ยผ่านประเทศที่มีการเลือกพัฒนา 5G core ด้วยเทคโนโลยีจากจีน ในส่วนประเทศไทยขึ้นอยู่กับสหรัฐว่าจะตีความให้ไทยเป็นประเทศภายใต้การครอบงำของจีน หรือไม่ ถ้าถูกมองเช่นนั้นเราอาจไม่ได้ประโยชน์จากการสนับสนุนของอเมริกา ก่อนหน้านี้เคยประเด็นที่เกิดขึ้นกับเวียดนามที่มีการห้ามใช้าเทคโนโลยีหลัก หรือ5G core จากจีน และบางประเทศมีการแสดงท่าทีชัดเจนเช่น ออสเตรเลีย อินเดียที่มีนโยบายกีดกัน 5G จากหัวเว่ย ท่าทีที่เหมาะสมที่สุดของรัฐบาลไทยคือการวางตัวเป็นกลางจะเหมาะสมที่สุด เราเปิดรับเทคโนโลยีจากทุกด้าน เพราะรัฐบาลเชื่อในการแข่งขัน การเปิดให้มีการแข่งข้ไม่มีการกีดกัน จะทำให้เกิดนวัตกรรม และการสร้างสรรค์ หากมีการออกนโยบายกีดกัน จะทำให้การสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมหายไป ดังนั้นนโยบายเป็นกลางและสนับสนุนการแข่งขัน จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย อย่างไรก็ดีรัฐบาลควรมต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในการปกป้องเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology Safeguard Agreement)  การปกป้องเทคโนโลยีของประเทศต้นทาง จะได้รับการคุ้มครองไม่ให้รั่วไหลไปยังประเทศปลายทางที่ทางต้นทางไม่ต้องการได้-สำนักข่าวไทย.

รุดหน้า “ต้นแบบสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ”

กทปส.สรุปผลการจัดสรรเงินกองทุนปี 63 กว่า 2,600 ล้านบาท สู่ 85 โครงการ พร้อมลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าและตรวจสอบการใช้งาน “ต้นแบบสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ” ของสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยฯ

เอไอเอสเผยไตรมาส3 ยังกำไร เตรียมงบ 3.5 หมื่นล้านบาทพัฒนา5Gต่อ

กรุงเทพฯ 5 พ.ย. เอไอเอส เผยไตรมาส 3 รายได้รวม 41,715 ล้านบาท เตรียมทุ่ม 3.5 หมื่นล้านบาท ลงทุนขยายเครือข่าย 5G  นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่าการปรับตัวของภาคเศรษฐกิจไทยในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา เอไอเอสเห็นทิศทางในการปรับตัวสู้กับภาวะวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าในหลากหลายรูปแบบ แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรในทุกระดับ คือการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในแง่ของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และการช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับเอไอเอส มองว่า เทคโนโลยี 5G เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่สำคัญต่อการพลิกฟื้นเศรษฐกิจและเป็นฟันเฟืองที่จำเป็นต่อการยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน ในไตรมาส 3 เอไอเอส มีรายได้รวม 41,715 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และลดลงร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า  สำหรับธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่เอไอเอส มีจำนวนลูกค้าโทรศัพท์มือถือสูงที่สุดในตลาดที่ 40.9 ล้านเลขหมาย เป็นลูกค้าระบบรายเดือน จำนวน 9.7 ล้านราย เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ จำนวน 235,000 ราย และมีลูกค้าระบบเติมเงินอยู่ที่ 31.2 ล้านราย ลดลง313,000 ราย โดยมีสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์ COVID-19ที่ได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี และส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจต่อเนื่องมายังไตรมาส 3 ส่วนการใช้งานดาต้าเฉลี่ยอยู่ที่ 17.2 กิกะไบต์ต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.3 และสัดส่วนลูกค้าที่ใช้ 4G ยังเติบโตสูงขึ้นต่อเนื่องเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 76ของฐานลูกค้าทั้งหมด ส่วนธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน เอไอเอส ไฟเบอร์ยังคงเติบโตต่อเนื่อง ด้วยจำนวนลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 53,000 ราย ส่งผลให้มีลูกค้ารวม 1.26 ล้านราย และมีรายได้จากธุรกิจเน็ตบ้าน 1,785 ล้านบาท เติบโตขึ้นร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยคาดว่าจะมีลูกค้ารวมไม่น้อยกว่า 1.3 ล้านรายภายในสิ้นปีนี้ ด้านธุรกิจบริการลูกค้าองค์กรเติบโตสูงต่อเนื่องจากความต้องการใช้บริการCloud, Data Center และ IT Solutionที่เพิ่มขึ้นด้วยความต้องการปรับเปลี่ยนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และเดินหน้าสร้างโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กรด้วยขีดความสามารถโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยลบทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังภาคธุรกิจไทยในภาพรวม ทั้งกำลังซื้อที่อ่อนตัว และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป ทั้งนี้ บริษัทยังคงมุ่งเน้นการบริหารต้นทุนและการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาความสามารถในการทำกำไรสำหรับการเตรียมพร้อมต่อสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ส่งผลให้เอไอเอส มีกำไรสุทธิ 6,764 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.5 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยหากไม่รวมผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ผลกำไรสุทธิทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทั้งนี้ เอไอเอสยังมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง โดยมีการกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เพียงพอต่อการลงทุนขยายโครงข่าย ทั้งบริการ 5G และ 4G รวมทั้งค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ ซึ่งบริษัทยังคงลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม โดยมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานใน 9 เดือนแรกรวม 65,000 ล้านบาท และคงงบลงทุนทั้งปี 2563 อยู่ที่ประมาณ 35,000 ล้านบาท การลงทุนเครือข่าย โดยเฉพาะ 5G ในปีนี้ เอไอเอส เชื่อว่าเป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับประเทศไทย ที่จะดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติได้ ขณะที่การใช้บริการในระดับแพร่หลายอาจต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 2 ปี ถึงจะเห็นประโยชน์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เนื่องจากการนำไปใช้งานจริง นอกจากคุณภาพของเครือข่ายแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้อีก 2 อย่าง คือการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ ที่รองรับการใช้งานในราคาที่เหมาะสม รวมทั้ง การสร้างแอปพลิเคชันเฉพาะด้านที่จะเกิดประโยชน์กับกลุ่มผู้ใช้งานที่ชัดเจน -สำนักข่าวไทย.

ทวิตเตอร์ชี้โควิด-19ส่งผลซื้อของออนไลน์โต

กรุงเทพฯ 5 พ.ย. ทวิตเตอร์เผยช้อปปิ้งออนไลน์โตแรงยุคโควิด-19 ชาวทวิตภพมากกว่า 4ใน 5 คนนิยมซื้อของออนไลน์ นายอาร์วินเดอร์ กุจรัล กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทวิตเตอร์ กล่าวว่า ข้อมูลจาก สตาติสต้าบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด พบว่า ในปี 2562 มีการใช้จ่ายผ่านอีคอมเมิร์ซทั่วโลกเป็นมูลค่ากว่า 3.53 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ข้อมูลจาก MediaRadar บริษัทที่ปรึกษาด้านการตลาดและโฆษณา พบว่ามีการใช้จ่ายค่าโฆษณาเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นจากเดิม 4.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 9.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 สำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซ (eCommerce) และ เอ็มคอมเมิร์ซ (mCommerce) ในประเทศไทยมีมูลค่ารวมกันราว 3.98 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ห้างสรรพสินค้าเกือบทุกแห่งในประเทศไทยต้องปิดตามมาตรการของรัฐที่ขอให้ทุกคนอยู่บ้าน #StayAtHome กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาช้อปปิ้งออนไลน์ การดิสรัปต์ที่สำคัญครั้งนี้ส่งผลไปถึงไลฟ์สไตล์ของผู้คนในการเลือกซื้อสินค้าทำให้อีคอมเมิร์ซในประเทศมีการเติบโตขึ้นอย่างมหาศาลเนื่องจาก การช้อปปิ้งออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในชีวิตประจำวันไปแล้ว แบรนด์ต่างๆ จึงหันมาลงทุนศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้ทำความเข้าใจว่าผู้บริโภคเลือกสิ่งที่ชอบและไม่ชอบอย่างไร อะไรคือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ และการซื้อของออนไลน์มีลำดับขั้นตอนอย่างไร เป็นต้น “ไม่แปลกใจเลยว่าบทสนทนาที่พูดคุยเกี่ยวกับการช้อปปิ้งบนทวิตเตอร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเพิ่มมากขึ้น และเราจะเห็นช่วงพีคที่สุดในช่วงใกล้ๆ วันแห่งการช้อปปิ้งออนไลน์ทั้งก่อนและหลังวันที่มีการจัดโปรโมชั่น ทั้งนี้ การช้อปปิ้งยังเป็นหัวข้อการสนทนาที่มีการพูดคุยได้ตลอดทั้งปีบนทวิตเตอร์ ยิ่งผู้บริโภคหันมาใช้อีคอมเมิร์ซและเอ็มคอมเมิร์ซมากขึ้นจะพบว่าเทรนด์การสนทนาในหัวข้อที่เกี่ยวกับการช้อปปิ้งออนไลน์ยังคงมีการเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่องแบรนด์ต่างๆ ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีในการทำการตลาด โดยเฉพาะจะต้องมีความเข้าใจว่าทำไมผู้บริโภคจึงเลือกซื้อของทางออนไลน์และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อดังกล่าว เราพบว่าแบรนด์ในประเทศไทยต่างหันมาใช้ทวิตเตอร์ในการคอนเน็คกับกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มผู้ใช้งานทวิตเตอร์ประเทศไทย” วันแห่งการช้อปปิ้งกลายเป็นเหมือนแม่เหล็กดึงดูดทั้งแบรนด์และผู้บริโภค ทวิตเตอร์นับเป็นแพลตฟอร์มที่แบรนด์เลือกใช้สร้างคอนเน็คกับนักช้อปออนไลน์ จากการวิจัยล่าสุดพบว่าผู้ใช้งานทวิตเตอร์ประเทศไทยมากกว่า 4 ใน 5 คน มีการซื้อของออนไลน์ ทั้งนี้แบรนด์สามารถทำความเข้าใจเทรนด์ของผู้บริโภคได้ถือเป็นเรื่องที่จำเป็น ทวิตเตอร์ขอแนะนำ 3 พฤติกรรมหลักในการช้อปปิ้งเพื่อช่วยให้เข้าใจเทรนด์การช้อปออนไลน์ของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น ผู้บริโภคเลือกซื้ออะไรกันบ้าง  5 ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ในประเทศไทยนิยมสั่งซื้อผ่านทางออนไลน์เมื่อเดือนที่ผ่านมาอันดับหนึ่ง แชมพู ร้อยละ84.7 รอลงมาคือ  น้ำยาปรับผ้านุ่ม ร้อยละ 75.6น้ำยาซักผ้า / ผงซักฟอก ร้อยละ 74.2 ครีมนวดผมร้อยละ 66.9 และเสื้อผ้า ร้อยละ66.7 ปัจจัยหลักในการช่วยกระตุ้นผู้บริโภคตัดสินใจซื้อของทางออนไลน์ มาจาก 4 เหตุผลหลักคือ การจัดส่งฟรี ส่วนลดต่างๆ การจ่ายเงินเมื่อได้รับสินค้า และเสียงสนับสนุนและการพูดถึงของผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคสนใจในเรื่องอะไรเป็นพิเศษผู้หญิงคือกลุ่มที่นิยมพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องช้อปปิ้งบนทวิตเตอร์มากที่สุดในประเทศไทยเพียงแค่รู้ว่าผู้บริโภคมีความสนใจทั่วไปในเรื่องอะไร ก็จะสามารถช่วยให้แบรนด์ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดและกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการทำโฆษณาได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ สาวๆ นักช้อปบนทวิตเตอร์มีความสนใจในเรื่องของดนตรี, อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ, การทำอาหาร, ความงามและเครื่องสำอาง ในขณะที่หนุ่มนักช้อปมีความสนใจในเรื่องเทคโนโลยี, ดนตรี, การเล่นกีฬาและข่าวสาร การซื้อของออนไลน์ไม่ได้เป็นเพียงแค่การล็อกอินเพื่อเข้าไปซื้อแล้วล็อกออฟออกจากระบบเท่านั้น แต่ขั้นตอนในการช้อปปิ้งออนไลน์นั้นยาวนานกว่าที่คิด และมีความแตกต่างจากเดิมไปมาก การศึกษาหาข้อมูลและการวางแผนก่อนจ่ายเงินซื้อของถือเป็นส่วนที่สำคัญในขั้นตอนการซื้อของ โดยร้อยละ 94 ของนักช้อปออนไลน์บนทวิตเตอร์มักจะหาข้อมูลจากรายการสิ่งของที่อยากได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ โปรโมชั่นของวันแห่งการช้อปปิ้งที่สร้างปรากฎการณ์ ไม่ว่าจะเป็น 7/7, 8/8, 9/9, 10/10, 11/11 และ 12/12 กลายเป็นช่วงเวลาของการสร้างมูลค่ามหาศาลสำหรับวงการค้าปลีกในประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 4.57 พันล้านคนทั่วโลกและในประเทศไทยมีการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตราวร้อยละ 75 จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมวันแห่งการช้อปปิ้งจึงเป็นการจัดโปรโมชั่นออนไลน์และกลายเป็นช่วงเวลาสำคัญในการทำอีคอมเมิร์ซ ซึ่งทวิตเตอร์ถือเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่ผู้บริโภคนิยมพูดคุยเกี่ยวกับการช้อปปิ้งในประเทศไทย-สำนักข่าวไทย.

กองทุนดีอีอนุมัติโครงการยกระดับทักษะรับผลโควิด-19

กรุงเทพฯ 5 พ.ย. กองทุนดีอี อนุมัติโครงการยกระดับทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ครั้งที่ 6/2563 ในวันนี้(5 พฤศจิกายน 2563) ที่ห้องประชุม 301 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล โดยกล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในครั้งนี้ มีหลายประเด็นสำคัญในการบริหารกองทุน และการจัดสรรเงินกองทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาอนุมัติโครงการตามมาตรา 26 (1) และ (2) ที่มีคำขอวงเงินเกิน 10 ล้านบาท ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง การเปิดรับข้อเสนอโครงการ/กิจกรรมของกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ครั้งที่ 2 และได้ผ่านกระบวนการพิจารณามาแล้ว จากคณะทำงานวิเคราะห์โครงการด้านต่าง ๆ ทั้ง 4 คณะ รวมถึงคณะอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณาโครงการซึ่งมีปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน โดยกระบวนการ ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว จึงขอให้คณะกรรมการฯ ช่วยกันพิจารณาให้รอบคอบ เพื่อให้การใช้เงินกองทุนเกิดประโยชน์สูงสุด ด้านนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบอนุมัติโครงการตามมาตรา 26 (4) โครงการเผยแพร่และกระตุ้นการรับรู้พร้อมยกระดับทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจยุค New Normal หลังวิกฤติโควิด 19 งบประมาณ 169,147,350 บาทตามที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เสนอขอการพิจารณา และอนุมัติโครงการตามประกาศเปิดรับข้อเสนอโครงการ/กิจกรรมฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ครั้งที่ 2 ตามมาตรา 26 (1) (2) ที่มีคำขอวงเงิน เกิน 10 ล้านบาท จำนวน 9 โครงการได้รับการอนุมัติ จำนวน 6 โครงการ วงเงิน 402,735,620 บาท โดยเห็นชอบหลักการขอยกเลิกการเปิดรับข้อเสนอโครงการฯ ในสถานการณ์ “ไวรัสโคโรนา” สายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID19) ตามมาตรา 26 (6 ) กรอบวงเงิน 400 ล้านบาท และเสนอคณะกรรมการดิจิทัลฯ พิจารณายกเลิกกรอบวงเงินต่อไป นายพุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมว่าด้วยการบริหารงานบุคคลกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ….  เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับระเบียบฯ ว่าด้วยการบริหารกองทุนฯ พ.ศ.2561 ที่ระบุให้สำนักงานจัดทำโครงสร้างการบริหารงานของกองทุน เพื่อรองรับการดำเนินงานด้านต่าง ๆ โดยให้มีอัตรากำลังที่เหมาะสมในการดำเนินงานและฐานะการเงินของกองทุนเสนอกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาอนุมัติโดยความเห็นชอบ กระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติต่อไป-สำนักข่าวไทย.

1 14 15 16 17 18 51
...