กรุงเทพฯ 6 พ.ย.ดีป้า ชูเทรนด์ใหม่ เรียลไทม์บีเฮฟวิเออร์ กระทบแน่ถ้าไม่เร่งปรับตัว ชี้ธุรกิจไม่ใช้เทคโนโลยีใหม่เสี่ยงเศรษฐกิจเปราะบาง
นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวในงาน “CAT Network Showcase 2020” (ครั้งที่ 11)ในหัวข้อ Now Normal ว่า เทรนด์ใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้ คือ Realtime behavior เทรนด์นี้เกิดขึ้นจากการที่คนเข้าโลกโซเชียลได้มากขึ้นและตลอดเวลา จึงทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปด้วยจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 2,000 คน พบว่ากบุ่มตัวอย่าง 2 พันคน ใช้เวลาตอบสนองกับเนื้อหาในโซเขียลมีเดียครั้งละ 8 วินาที ดังนั้นเนื้อหา Realtime จึงเป็นที่อยู่ในความสนใจของคน พฤติกรรมนี้ทำให้คนอฝเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยมีความอดทนรอน้อยลงดั้งนั้นแพลตฟอร์มที่ทำให้คนเชื่อมถึงกันด้วยความรวดเร็วจึงเป็นที่ต้องการมากขึ้น ขณะที่แพลตฟอร์มของไทยในบริการต่างๆจะต้องมีการจัดการเวลาที่ดี เพื่อไม่ให้คนต้องรอนานนี่คือควาทเปลี่ยนแปลงที่มีต่อเวลาและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้เกิดมาจากช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่เป็นการเปลี่ยนแปลตามแนวโน้มการบริโภคสื่อที่เปลี่ยนไปเรียกว่า NowNormal เป็นความเคยชิน สิ่งที่อยากได้และต้องการในชีวิตประจำวัน
ความต้องการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนนี้มีผลต่ออุตสาหกรรมหลายอุตสาหกรรมโดยเฉพาะพฤติกรรมอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยความต้องการใช้บริการดิจิทัล ทั้งดิจิทัลคอนเทนท์ โดยมีความต้องการมากขึ้นร้อยละ 11 หรือมีมูลค่า30,000 ล้านบาท นอกจากนี้ความต้องการในการใช้บิ๊กดาต้าก็เพิ่มขึ้น รวมถึงมูลค่าของตลาดซอฟแวร์ที่ทำให้ธุรกิจเชื่อมกับลูกค้าก็มีความต้องการเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เป็นสิ่งที่ตอกย้ำว่าพฤติกรรมที่ผู้บริโภคมีต่อสื่อดิจิทัลทำให้มูลค่าของอุตสาหกรรมเติบโตเพิ่มขึ้นด้วย กลายเป็น New Normal ที่เป็นมNow Normal แต่ยังมีอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบและมีความเปลี่ยนแปลงที่เล็กลง อุปกรณ์ต้องมีความสามารถมากขึ้น
ความเปลี่ยนแปลงนี้มีผลให้แพลตฟอร์มมีขนาดเล็กลงเมื่อเรามีชีวิตในโลกเสมือนจริงมากกว่าโลกที่แท้จริง การทำธุรกิจได้เปลี่ยนจากการอยู่โดยโดดเดี่ยวเป็นการแสวงหาพันธมิตรทั้งเขิงสังคมและเศรษฐกิจ Realtime behavior จะทำให้การทำธุรกิจต้องมีเครือข่าย เทคโนโลยีทำให้คนเชื่อมกันง่ายจึงมีความร่วมมือทางธุรกิจเกิดขึ้น ระบบเศรษฐกิจที่ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงจะเป็นระบบเศรษฐกิจทีเปราะบาง ธุรกิจที่ใช้บล็อกเชนจ์ ไอโอทีดาต้า และเอไอจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลได้ ความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจถ้าเราไม่เตรียมการรับมือจะเกิดผลกระทบกับทั้งธุรกิจและประชาชน เช่น เราอาจจะได้เห็นเกษตรกรเชื่อมโยงกับลูกค้าโดยตรงโดยไม่ผ่านคนกลางระบบรีเทลและตัวกลางจะได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยี ธุรกิจเอสเอ็มอีที่อยู่ตรงกลางจึงน่าเป็นห่วง แพลตฟอร์มที่เข้ามารองรับเทรนด์ใหม่มีทั้งแพลตฟอร์มของไทยและต่างประเทศ หากเราปรับตัวไม่ทันเราจะไม่สามารถสร้างจุดแข็งให้เศรษฐกิจไทยอยู่รอดได้ ความอยู่รอดของธุกิจในยุค Realtime behavior ธุรกิจต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูล มีระบบและเทคโนโลยีในการจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การตัดสินใจที่ชาญฉลาด และเข้าใจความต้องการของลูกค้า -สำนักข่าวไทย.