ชัวร์ก่อนแชร์: อาหารทะเลเป็นพิษเพราะน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีของญี่ปุ่น จริงหรือ?

ทริเทียมในน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่บำบัดบัดแล้วมีปริมาณไม่เกิน 1,500 เบ็กเคอเรลต่อลิตร ต่ำกว่าปริมาณทริเทียมที่ WHO แนะนำให้มีในน้ำดื่มอย่างมาก

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : ภัยไซเบอร์ SMS ชวนเชื่อ หลอกดูดเงิน

20 กันยายน 2566 – ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีใครหลายคนได้รับ SMS ชวนเชื่อจากมิจฉาชีพ บ้างอ้างว่ามาจากธนาคารให้กรอกข้อมูลตัวส่วนตัวต่าง ๆ จนกระทั่งถูกดูดเงิน ?! ร่วมเรียนรู้กลโกงของมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่ในโลกไซเบอร์ และศึกษาหาทางสร้างภูมิคุ้มกันกับชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 5 : เตือนภัย SMS เงินกู้  ตรวจสอบข้อมูลกับ : นายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย วิธีการของมิจฉาชีพกลุ่มนี้ จะหลอกให้กดลิงก์เข้าไป จากนั้นให้กรอกข้อมูลส่วนตัวแต่เมื่อกดลิงก์หรือกรอกข้อมูลไปแล้วกลายเป็นสมัครสินเชื่อเงินกู้ดอกเบี้ยแพงมหาโหดโดยทันที ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของท่าน อย่าให้ข้อมูลส่วนตัว และไม่กดลิงก์จาก sms ต้องสงสัยที่ไม่ทราบที่มาโดยเด็ดขาด อันดับที่ 4 : อย่าตกใจได้อีเมลใบเสร็จที่ไม่ได้ซื้อ ตรวจสอบข้อมูลกับ : พ.ต.อ.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ การส่งอีเมลมาหลอกให้เราตกใจว่าเราไปสมัครใช้บริการ หรือไปซื้อสินค้า เป็นใบเสร็จรับเงินมา เป็นเทคนิคที่คนร้ายใช้หลอกลวงกันเยอะมากในปัจจุบัน โดยมิจฉาชีพจะมีลิงก์มาให้ แล้วบอกว่าหากคุณไม่ได้ซื้อสินค้าตัวนี้จริง ให้คลิกที่ลิงก์ พอเราคลิกก็จะพาเราไปสู่เว็บ ดูหน้าตาเหมือนเว็บของจริงทุกอย่าง แต่หากสังเกตดีๆ จะพบความแตกต่างระหว่างเว็บจริงกับเว็บปลอม ซึ่งต่างกันตรงคำว่า “apple” […]

ชัวร์ก่อนแชร์: พบสัตว์น้ำกลายพันธุ์จากน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีของญี่ปุ่น จริงหรือ?

เป็นภาพสัตว์ป่วย สัตว์หายาก และภาพตัดต่อ ที่ถูกนำมาอ้างอย่างผิด ๆ ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการปล่อยน้ำบำบัดกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใบค่าปรับจราจร ไม่มีรูปรถ ห้ามจ่าย จริงหรือ ?

20 กันยายน 2566 ตามที่มีการแชร์เตือนใบค่าปรับจราจร ไม่มีรูปรถห้ามจ่าย นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ อย่าแชร์ -เป็นเอกสารจริง เพื่อเตือนให้ชำระค่าปรับ ซึ่งจะไม่มีรูปรถขณะกระทำผิด  👉  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันผ่าน กรมประชาสัมพันธ์ ว่า รูปภาพเอกสารที่แชร์กันนั้น เป็นเอกสารจริง โดยเป็นเอกสารการแจ้งเตือน ครั้งที่ 2 เพื่อให้ชำระค่าปรับ หลังจากที่มีการส่งเอกสารครั้งแรก ซึ่งจะมีภาพรถขณะกระทำผิด แล้วผู้กระทำผิดยังไม่ชำระเงินค่าปรับ “ใบสั่งที่ส่งถึงท่านครั้งแรกจะปรากฏรูป รถ ทะเบียน ข้อหาที่กระทำความผิดโดยระบบอัตโนมัติ แต่หากไม่ชำระค่าปรับภายใน 7 วัน ระบบจะส่งใบเตือนไปยังเจ้าของรถทางไปรษณีย์ ซึ่งในใบเตือนจะไม่มีภาพรถ โดยในใบสั่งมีสาระสำคัญจะมีนายตำรวจระดับสารวัตรขึ้นไปเป็นผู้ลงนาม ประกอบกับข้อมูลการชำระค่าปรับทางระบบอิเล็กทรอนิกส์” พ.ต.อ.ชินวุฒิ ตั้งวงษ์เลิศ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าว 👉 อย่างไรก็ตาม การสแกน QR CODE เพื่อชำระเงินใด ๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : หยอดน้ำเย็น แก้ปวดเข่า ไม่ต้องผ่าตัด จริงหรือ ?

18 กันยายน 2566 – ตามที่มีการแนะนำว่า หากมีอาการเจ็บหัวเข่า ถึงขั้นต้องผ่าตัด ให้ใช้น้ำเย็น ใส่น้ำแข็ง หรือ แช่เย็นจัด เทหยอดราดหัวเข่าทั้งสองข้าง 10 วัน หายปวดเข่า ไม่ต้องผ่าตัดเลย  บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.กภ. วรรธนะ ชลายนเดชะ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ระบุว่า “วิธีดังกล่าวเป็นเพียงการรักษา หรือบรรเทาอาการเพียงชั่วคราว ไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุ หากมีอาการปวดมาก ควรพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาอย่างถูกทางและหายอย่างถาวร” สัมภาษณ์เมื่อ : 21 สิงหาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : แก๊สจากท่อไอเสีย สามารถเติมลมยางได้ จริงหรือ ?

19 กันยายน 2566 – ตามที่มีการแชร์คลิปเกี่ยวกับการเติมลมรถจักรยานยนต์ว่า สามารถต่อท่อยางเข้ากับท่อไอเสีย เพื่อนำแก๊สไอเสียมาเติมลมยางรถได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์จักรวาล บุญหวาน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อธิบายว่า “การเอาท่อยางไปต่อกับท่อไอเสียแบบในคลิปนั้น จะส่งผลเสียกับเครื่องยนต์ ดังนั้นจึงไม่ควรทำ ❌ การเอาอะไรไปอุด หมายความว่า เราพยายามสร้างแรงดัน เพื่อที่จะป้อนเข้าไปในลมยาง เครื่องยนต์จะไม่สามารถทนได้ การกระทำดังกล่าวจะทำให้เครื่องยนต์จะดับ เช่น รถจักรยานยนต์ หากเอาอะไรไปอุดมันจะทำให้ลมย้อนตีกลับ  มีโอกาสทำให้แหวนลูกสูบหักได้ วิธีดังกล่าวจึงไม่ควรทำตาม” ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์: ปลาตายเกลื่อนทะเลหลังญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี จริงหรือ?

เป็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดกับสัตว์น้ำจากที่อื่น ๆ มาอ้างอย่างผิด ๆ ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการปล่อยน้ำบำบัดกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ

ชัวร์ก่อนแชร์: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะปล่อยน้ำเสียสีดำสู่ทะเล จริงหรือ?

เป็นภาพการปล่อยน้ำเสียจากสถานที่อื่น ๆ ที่อ้างอย่างผิด ๆ ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการปล่อยน้ำบำบัดกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนภัย ลำไส้โป่งพอง จากยาปฏิชีวนะ จริงหรือ ?

15 กันยายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ภาพและข้อความเตือนว่า อย่ากินยาโดยไม่จำเป็น ผู้ป่วยรายหนึ่งได้รับยาปฏิชีวนะ หลังกินยา 1 สัปดาห์ ท้องเสีย ปวดท้อง ภาพทางซ้ายคือ เอกซเรย์ผู้ป่วย ลำไส้ใหญ่อักเสบ ขยายจนเต็มท้องนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) อธิบายว่า ลำไส้โป่งพองตามภาพเอกซเรย์ที่แชร์มานั้น ในกรณีนี้เรียกว่าเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบ ซึ่งก็จะมีอาการต่าง ๆ อีก ได้แก่ ท้องร่วงรุนแรง ปวดท้อง แน่นท้อง มีไข้ ต่อมาก็จะมีเชื้อเข้าไปในกระแสเลือด แล้วก็อาจจะเสียชีวิตได้ ชื่อโรคนี้เรียกว่า Antibiotic associated colitis (AAC) ก็คือ ท้องร่วงจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ C.diff Clostridium Difficile Diarrhea […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : VICTIM BLAMING ? — พฤติกรรมสนับสนุนผู้กระทำผิดทางอ้อม

15 กันยายน 2566 – สิ่งนี้…เป็นพฤติกรรมการซ้ำเติมผู้ถูกกระทำหรือเหยื่อ ให้ได้รับความเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น สิ่งนี้…ถือเป็นการสนับสนุนผู้กระทำผิดทางอ้อม ทำให้เหยื่อเกิดภาวะซึมเศร้า ที่กว่า 70% อาจเสียชีวิตก่อนวัยอันควร คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ 23 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์: เที่ยวบิน 93 ถูกสั่งยิงทิ้งในเหตุ 11 กันยาฯ จริงหรือ?

ดิ๊ก เชนีย์ ออกคำสั่งยิงเครื่องบินต้องสงสัยว่าถูกไฮแจ็ค แต่คำสั่งยังส่งไปไม่ถึงนักบินของกองทัพตอนที่เที่ยวบิน 93 ตก

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อันตรายจากเมนูอาหารดิบ

14 กันยายน 2566 ในสังคมไทยมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารแตกต่างจากอดีตมาก อาหารสุกดิบค่อนข้างแพร่หลาย เช่น ซอยจุ๊ กุ้งดอง หรือแม้แต่ปลาน้ำจืดดิบ เป็นต้น ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดพยาธิและอาจก่อให้เกิดโรคร้ายได้ จึงเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจร่วมกันถึงพฤติกรรมการทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม ส่วนใหญ่เชื้อที่พบในเนื้อดิบ มีอะไรบ้าง ? 1.ซอยจุ๊ มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับพยาธิตัวตืด ซึ่งเกิดจากการกินตัวอ่อนพยาธิเข้าไป เมื่อตัวอ่อนเจริญเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้ รูปร่างคล้ายก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ พยาธิจะแย่งอาหารในลำไส้ คนติดโรคจะมีอาการหิวบ่อย ปวดบริเวณลิ้นปี่ ไม่สบายท้อง อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน บางครั้งท้องร่วง ท้องผูก น้ำหนักตัวลดลง 2.หมึกซ็อต เมนูยอดฮิตนี้อาจทำให้หมึกดิ้นและสำลักลงหลอดลมหรืออุดตันหลอดอาหาร เสี่ยงอันตราย การกินอาหารทะเลดิบโดยไม่ผ่านความร้อนหรือแช่แข็ง มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย Vibrio ทำให้ติดเชื้อในทางเดินอาหารรุนแรง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลวปริมาณมาก 3.กุ้งดิบแช่น้ำปลาในกุ้งสด ๆ อาจจะปนเปื้อนเชื้อวิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้ตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามชายฝั่งทะเล ในน้ำทะเล อันตรายของเชื้อนี้ทำให้เกิดทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ในบางรายอาจเกิดอาการปวดหัว อาเจียนหรือมีไข้ 4.ปลาน้ำจืดดิบเป็นอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ ในประเทศไทยเป็นแหล่งระบาดของพยาธิใบไม้ตับพบในปลาน้ำจืด ดังนั้นหากจะกินปลาดิบ […]

1 75 76 77 78 79 278
...