ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : วัยเกษียณ ระวัง ! 3 มุกยอดฮิตภัยไซเบอร์

28 กันยายน 2566 เดือนกันยายนของทุกปี ถือเป็นช่วงครบกำหนดอายุการรับราชการ หรือที่เรียกว่า เกษียณอายุราชการ ทำให้มิจฉาชีพมักอาศัยช่วงเวลาดังกล่าวมาหลอกลวงและแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย จากสถิติการแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – 17 กันยายน 2566 พบว่า มีหลายกลโกงที่มักใช้หลอกคนวัยเกษียณ วันนี้ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูมุกยอดฮิตของเหล่าโจรออนไลน์ว่ามีอะไรกันบ้าง 1. หลอกลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จำนวน 26,827 เรื่อง มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 14,313 ล้านบาท 🚨กลโกง 🚨 มิจฉาชีพจะสร้างบัญชีทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยแอบอ้างบุคคล หรือบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านการลงุทน หลอกลวงผู้เสียหายให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เหรียญดิจิทัล พลังงาน เป็นต้น โดยมีการใช้คำโฆษณาสวยหรู อ้างว่าเป็นการลงทุนของผู้สูงวัยใกล้เกษียณอายุ เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินหลักพันบาท แต่ได้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว  อ่านกลโกงเพิ่มเติม : ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก จริงหรือ ? 2. หลอกติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์มือถือ จำนวน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : ใช้ที่ชาร์จฉุกเฉินบ่อย ระบบไฟฟ้ารถ EV จะเสียหาย จริงหรือ ?

26 กันยายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนเกี่ยวกับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหรือรถ EV ว่า หากใช้เครื่องชาร์จฉุกเฉิน (Emergency Charger) บ่อย ๆ จะทำให้ระบบไฟฟ้าของรถ EV เสียหายได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ อธิบายว่า การใช้เครื่องชาร์จฉุกเฉินบ่อยแล้วจะทำให้ระบบรถยนต์ไฟฟ้าเสื่อมสภาพไวนั้นไม่เป็นความจริง แต่มีจุดที่ต้องระวังเป็นพิเศษเมื่อใช้เครื่องชาร์จฉุกเฉินนี้ คือเรื่องปลั๊กและสายไฟภายในตัวบ้าน เนื่องจากการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าฉุกเฉิน กระแสไฟจะเข้าแบตเตอรี่น้อย (3kW) และใช้เวลาค่อนข้างนานอาจทำให้เกิดความร้อนสะสม และสายไฟบ้านโดยทั่วไปทนกระแสไฟได้ 10A หรือน้อยกว่าแล้วแต่สภาพใช้งาน ดังนั้นจึงควรเลือกปลั๊กและสายไฟที่ได้มาตรฐานสามารถรับกำลังไฟได้เทียบเท่าหรือมากกว่าเครื่องชาร์จฉุกเฉิน เพราะอาจทำให้สายปลั๊กละลาย เกิดการไหม้ได้ การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยใช้ไฟบ้านแบบปลอดภัยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้ Home Charger ซึ่งรับกระแสไฟขั้นต่ำได้ 16A สามารถชาร์จได้เต็มประสิทธิภาพของรถยนต์แต่ละรุ่น และมีระบบตัดไฟเมื่อชาร์จเต็มหรือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม เมื่อมีรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว สิ่งที่จะต้องคำนึงตามมานั่นคือเรื่อง EV Charger และสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปด้วยคือการรองรับระบบสายไฟภายในบ้าน เพราะการชาร์จรถไฟฟ้าต้องใช้กำลังไฟเยอะขึ้นแต่หากสายไฟในบ้านยังเป็นแบบเดิม หากใช้งานไปเรื่อย ๆ อาจทำให้สายไฟร้อน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET :รู้จักโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือ โรค MS

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และอาการเป็นอย่างไร มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.พญ.จิราพร จิตประไพกุลศาล อาจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือโรคที่รู้จักกันในชื่อ MS คืออะไร “MS” เป็นชื่อย่อของ “โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง” ที่ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจง่าย สื่อสารกันง่าย ย่อมาจากคำว่า Multiple Sclerosis โรค MS เป็นโรคที่พบน้อย ประเทศไทยมีประมาณ 0.7 รายต่อประชากรแสนราย ระบบการทำงานของประสาทและหน้าที่ของปลอกประสาท เซลล์ประสาทของคนเราจะมีการนำกระแสประสาท จากเซลล์หนึ่งต่อไปที่เซลล์ถัดไป ระหว่างการเดินทางของกระแสประสาท จะผ่านปลอกประสาท ทำให้กระแสประสาทเคลื่อนที่ได้เร็ว อย่างเช่นเวลาเราคิด แล้วเราจะขยับมือ จะเร็วมาก เราจะไม่รู้ตัว ปลอกประสาทเป็นตัวที่ช่วยนำความเร็วของกระแสประสาท  ในภาวะของโรค MS คือมีการอักเสบ การนำกระแสประสาทของผู้ป่วยก็จะช้าลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ ประชากรกลุ่มที่พบโรค MS มีหลายวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยกลางคน ผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็นผู้สูงอายุได้ ผู้ป่วยกลุ่มที่พบมากที่สุดอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ อายุประมาณ 10 กว่าปี ไปจนถึง 20-30 ปี […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สีดวงตาบอกโรคได้ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์แนะนำว่า สีของดวงตา สามารถบอกโรคต่าง ๆ ได้ เช่น ที่หัวตามีจุดสีเหลือง แปลว่ามีคอเลสเตอรอลสูง 🎯 ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย 📌 สรุป : ✅ จริงบางส่วน ❌บางส่วนมีความคลาดเคลื่อน หากจะแชร์ต่อต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการดูสีของดวงตา 1.ดวงตาดำคล้ำ แสดงว่าเป็นโรคภูมิแพ้ ไซนัส หรือโพรงจมูกอักเสบ เรื่องนี้จริง เพราะว่าคนที่มีอาการภูมิแพ้หรือไซนัส อาจจะมีอาการคันบริเวณดวงตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก ด้วยลักษณะนิสัยที่เคยชิน ก็คือเวลาคันจะขยี้ตา ทำให้รอบ ๆ ดวงตามีอาการบวมช้ำ และสีค่อนข้างเข้มข้น 2.ดวงตามีสีเหลือง แสดงว่าตับทำงานผิดปกติ เสี่ยงต่อโรคตับอักเสบหรือโรคดีซ่าน ภาวะที่มีอาการเหลืองของบริเวณตาขาว ที่อยู่นอกตาดำทั้งหมดนี้ พบได้บ่อยในคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบตับหรือท่อน้ำดี เพราะว่ามีการอุดตันจะทำให้บิลิรูบินซึ่งอยู่ในตับและน้ำดีกระจายไปทั่วร่างกาย มักจะมาติดหรือย้อมติดบริเวณตาขาว จะเห็นเป็นสีเหลืองซึ่งบอกได้ชัดเจนว่าน่าจะมีปัญหาเรื่องโรคตับหรือระบบท่อน้ำดี 3.ที่ตาขาวมีจุดสีเหลืองที่หัวตา แสดงว่ามีคอเลสเตอรอลสูง ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีคอเลสเตอรอลสูง ในคนปกติก็อาจจะเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ เรื่องนี้คงบอกไม่ได้ว่าการที่มีปื้นสีเหลือง ๆ อยู่บริเวณรอบเปลือกตาจะเป็นอาการบอกว่าคอเลสเตอรอลสูง ในกรณีของคนที่มีไขมันหรือคอเลสเตอรอลในเลือดสูงจะมีความผิดปกติที่สังเกตได้ที่ดวงตา ก็คือบริเวณรอบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ขี้เถ้าช่วยให้ผลไม้หวานขึ้น จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปแนะนำวิธีทำให้ผลไม้หวานขึ้น ด้วยการฝาน ตัดขั้ว แล้วจุ่มขี้เถ้าวางไว้ 1 คืน จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ ดร.กาญจนา บุญเรือง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 📌 สรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ จากที่เห็นในสื่อสังคมออนไลน์ การปาดผลไม้แล้วใช้ขี้เถ้าทา เพื่อให้ผลไม้มีรสหวานขึ้น เรื่องนี้ยังไม่พบข้อมูลที่มีการพิสูจน์ โพแทสเซียม : สารให้ความหวาน จริงหรือ ? ในคลิปที่แชร์กันบอกว่าในขี้เถ้ามีโพแทสเซียมช่วยให้ผลไม้หวานนั้น “ไม่จริง” “โพแทสเซียม” ไม่ใช่สารให้ความหวาน แถมมีรสชาติแปร่ง ๆ กร่อย ๆ ด้วยซ้ำ ในขี้เถ้าพบโพแทสเซียมประมาณ 1-5 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นกับชนิดของเนื้อไม้ที่นำมาเผาถ่านด้วย วิธีที่แนะนำอาจทำให้องค์ประกอบภายในของผลไม้ส่วนที่สัมผัสกับขี้เถ้าเปลี่ยนไปได้ ใน “ขี้เถ้า” มีส่วนที่หลงเหลือจากการเผาคือแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม ซิลิกา อาจจะอยู่ในรูปของเกลือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: นายกญี่ปุ่นล้มป่วยเพราะกินอาหารทะเลปนเปื้อนกัมมันตรังสี จริงหรือ?

ไม่มีรายงานว่า ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นมีอาการป่วยและยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหารต้องห้าม สำหรับไขมันพอกตับ จริงหรือ ?

25 กันยายน 2566 – ตามที่มีการแชร์บทความว่า 5 อาหารต้องห้าม สำหรับไขมันพอกตับ ห้ามกินทั้ง น้ำตาล เกลือ แอลกอฮอล์ เนื้อแดง และของทอดนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย อธิบายว่า “อาหารกลุ่มที่แชร์มามักจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ภาวะไขมันตับแย่ลง โรคไขมันพอกตับ ชื่อโรคตับคั่งไขมัน เป็นชื่อที่ถูกต้องตามราชบัณฑิต คำว่าไขมันพอกตับมักไม่ค่อยใช้กัน เพราะเราจะรู้สึกว่ามันแค่พอก ล้างออกได้ แต่จริง ๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นยา อาหาร หรือ สมุนไพรไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของสกปรกที่เราจะนำมาล้างออกได้ เนื่องจากมันแทรกเข้าไปในทุกอณูของเซลล์ตับ การเอาออกต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย” อาหารต้องห้ามสำหรับไขมันพอกตับ จริงหรือ ? Q : น้ำตาล ?A : อาหารกลุ่มนี้แพทย์แนะนำให้ลดเท่าที่จำเป็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยากษัยเส้นบำรุงไต จริงหรือ ?

24 กันยายน 2566 – บนโซเชียลแชร์แนะนำ “ยากษัยเส้นบำรุงไต” เพียงชุดละ 5 เม็ด แก้ปวดหลัง ปวดเอว ปวดกล้ามเนื้อ เส้นแข็งขึ้น ขัดยอกไปทั้งตัวได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาลัย ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) อธิบายว่า ยากษัยเส้นไม่ได้บำรุงไตแต่อย่างใด กลับกันฤทธิ์ของมันทำให้ไตวาย ไตเสื่อมได้ ยาในซอง จะเป็นยากลุ่ม NSAIDs (ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์) ยากษัยเส้นบำรุงไตแก้เมื่อยได้ จริงหรือ ? ตัวยามีสรรพคุณช่วยให้หายปวดเมื่อยตามจุดต่าง ๆ ได้จริง เนื่องจากยา NSAIDs มีฤทธิ์บรรเทาปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เจ็บปวดตามข้อ ยากลุ่ม NSAIDs อันตรายได้หลายประการ อย่างไรก็ตาม การขายยาแบบนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากประชาชนเห็นยาแบบนี้ ให้หลีกเลี่ยงและอย่าใช้เป็นอันขาด หากมีปัญหาสุขภาพจริง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : HATE SPEECH ? — ต้นตอผิด พร้อมทำลายผู้คิดต่าง

23 กันยายน 2566 สิ่งนี้… ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้รับสารได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม สิ่งนี้… สร้างความเกลียดชัง ทำให้เกิดความรุนแรง จนนำไปสู่อาชญากรรมได้ และ สิ่งนี้…เคยถูกใช้เป็นเครื่องมือ จนเกิดเหตุการณ์ที่สะเทือนใจมนุษยชาติที่สุด สร้างความสูญเสียนับล้านชีวิต คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 17 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ดวงตาบอกโรค

22 กันยายน 2566 – ดวงตาสามารถบอกโรคเราได้อย่างไร อาการทางตาแบบใดสามารถบอกโรคทางร่างกายได้บ้าง ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 23 สิงหาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: สิงคโปร์ห้ามนำเข้าอาหารปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่น จริงหรือ?

เป็นการนำข่าวเก่าที่สิงคโปร์พบอาหารปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเมื่อ 12 ปีที่แล้ว มาเผยแพร่ทางพอดแคสต์ในวันที่มีการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่บำบัดแล้วจนเกิดความเข้าใจผิด

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ประคบตา

21 กันยายน 2566 – การประคบตาที่ถูกต้องควรทำอย่างไร ? อาการแบบไหนควรประคบอุ่น หรือประคบเย็น ? ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การประคบตาเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการปวด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบดวงตา กรณีไหนบ้างที่จะแพทย์แนะนำให้ประคบอุ่นหรือประคบเย็น ? อาการที่ควรประคบเย็น โรคภูมิแพ้ : การประคบเย็นทำให้หลอดเลือดหดตัว ลดอาการคันบริเวณดวงตาและลดอาการบวมจากภูมิแพ้ ตาล้า : ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบดวงตา บรรเทาอาการปวดตา ลดอาการแสบเคืองตา บวมช้ำรอบดวงตาจากอุบัติเหตุ : การประคบเย็นช่วยลดการอักเสบจากอุบัติเหตุ และช่วยให้หลอดเลือดหดตัว ลดอาการบวมช้ำได้ วิธีประคบเย็นตา – นำน้ำแข็งและน้ำใส่ในชามใบเล็ก– นำผ้าขนหนูผืนเล็กมาชุบน้ำเย็นในชาม บิดให้หมาดๆ หรือนำน้ำแข็งมาใส่ในผ้าขนหนู– นำผ้าขนหนูมาวางประคบบริเวณดวงตา อาการที่ควรประคบอุ่น การประคบอุ่นบริเวณดวงตาช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น บรรเทาอาการปวด กล้ามเนื้อรอบดวงตาทำให้เส้นเลือดขยายตัว ได้ประโยชน์ในกลุ่มที่อักเสบหรือติดเชื้อ วิธีประคบอุ่นตา – นำผ้าขนหนูผืนเล็กอุ่นหม้อที่ต้มน้ำบิดผ้าให้หมาด– นำออกมาแตะหลังมือตรวจความร้อนให้พอเหมาะ– นำผ้าแห้งมาห่ออีกชั้นหนึ่ง– วางประคบบนตา ในบางกรณี […]

1 74 75 76 77 78 278
...