ชัวร์ก่อนแชร์: CDC ยอมรับผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดตันจะเพิ่มขึ้นเพราะวัคซีนโควิด จริงหรือ?

21 มีนาคม 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา เมื่อมีการอ้างว่าศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ยอมรับในคลิปวิดีโอว่า ภายในปี 2050 จะมีผู้ป่วยรักษาตัวด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า จากปัญหาการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด-19


บทสรุป :

1.ปัจจัยทำให้ผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดเพิ่มขึ้นมาจากการขยายตัวของประชากรสูงวัยและผู้ป่วยโรคอ้วน ไม่เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19

  1. นอกจากนี้การติดเชื้อโควิด-19 ยังเพิ่มความเสี่ยงการเป็นลิ่มเลือดอุดตันอีกด้วย

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :


คลิปวิดีโอดังกล่าว นำมาจากการประชุมทางออนไลน์เรื่องแนวทางการรักษาลิ่มเลือดอุดตันโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 กันยายนปี 2022 โดย 73% ของผู้ร่วมประชุมเป็นบุคลากรทางการแพทย์ และทำยอดวิวทาง YouTube เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2022 ที่ 89 วิว

ผู้ร่วมประชุมทางออนไลน์ในวันนั้นได้แก่ อัลลิสัน เบิร์นเนตต์ ประธานองค์กร Anticoagulation Forum ซึ่งทำงานร่วมกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพเพื่อพัฒนาการรักษาผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดตัน และ ดร. คาโรไลน์ ครอมเวลล์ ผู้อำนวยการโครงการรักษาผู้ป่วยโรคลิ่มเลือด เครือข่ายโรงพยาบาล Mount Sinai Health System ในสหรัฐอเมริกา

หัวใจของการประชุมทางออนไลน์ คือการอ้างงานวิจัยที่ประเมินว่า ภายในปี 2050 จำนวนผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

อย่างไรก็ดี ข้อมูลดังกล่าวถูกกลุ่มต่อต้านวัคซีนนำไปเชื่อมโยงว่า ปัญหาการเพิ่มผู้ป่วยลิ่มเลือดมาจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจทางโลกออนไลน์ในเวลาต่อมา

แคนไดซ์ โอเวนส์ นักวิพากษ์การเมืองแนวคิดอนุรักษ์นิยมที่มีแนวคิดต่อต้านวัคซีน นำข้อความบิดเบือนไปแชร์ต่อทาง Instagram จนมียอดไลก์กว่า 31,000 ครั้ง ส่วน คริส สโคเชีย นักเผยแพร่ทฤษฎีสมคบคิด ก็นำข้อความบิดเบือนไปเผยแพร่ทางคลิปวิดีโอใน Telegram จนทำยอดวิวไปกว่า 24,000 ครั้ง

การนำข้อมูลที่ประเมินว่าจะมีผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดตันเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในปี 2050 มาเชื่อมโยงกับวัคซีนโควิด-19 เป็นการอ้างอิงที่ไม่ถูกต้อง เพราะงานวิจัยที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ เป็นการศึกษาที่ทำขึ้นก่อนการผลิตวัคซีนโควิด-19 นานนับทศวรรษ

อัลลิสัน เบิร์นเนตต์ ประธานองค์กร Anticoagulation Forum ชี้แจงว่า ปัจจัยที่ทำให้เชื่อว่าจะทำให้ผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดตันเพิ่มมากในอนาคต มาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและการเพิ่มขึ้นของผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน

ปัจจัยทั้งสองคือสาเหตุที่นำไปสู่ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำอุดตันหรือ VTE (Venous Thrombosis) ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก มักเกิดขึ้นบริเวณขา หากลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันที่ปอดอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

รวมถึงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หรือ A-Fib (Atrial Fibrillation) ซึ่งเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ส่งผลให้หัวใจห้องบนทั้งสองห้องไม่บีบตัวตามปกติ ทำให้มีเลือดคั่ง อาจนำไปสู่การเกิดลิ่มเลือดได้ หากลิ่มเลือดเข้าสู่กระแสเลือดก็จะทำให้เกิดหลอดเลือดในสมองอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดอัมพาต

อัลลิสัน เบิร์นเนตต์ ยังย้ำว่าวัคซีนโควิด-19 ไม่ใช่ปัจจัยที่ก่อให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ในทางตรงกันข้าม การติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตันมากกว่า ดังนั้นการฉีดวัคซีนโควิด-19 ถือเป็นการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันอีกทางหนึ่ง

งานวิจัยจากสหราชอาณาจักรที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Circulation เมื่อเดือนกันยายนปี 2022 พบว่า หลังติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้วนานถึง 49 สัปดาห์ ยังพบความเสี่ยงของการเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำอุดตัน (VTE) และ ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงอุดตัน (ATE)

แม้วัคซีนโควิด-19 ชนิดไวรัล เวกเตอร์ อย่าง AstraZeneca และ Johnson & Johnson จะได้รับการรายงานว่า เพิ่มความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในกลุ่มผู้รับวัคซีน โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี แต่สัดส่วนการพบยังถือว่าน้อยมาก และประโยชน์ของวัคซีนในการป้องกันโรคยังมีมากกว่าความเสี่ยงจากอาการข้างเคียงเช่นเดิม

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.factcheck.org/2022/09/scicheck-covid-19-vaccine-opponents-misrepresent-cdc-webcast-on-causes-of-blood-clots/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น

ฉายารัฐบาลปี67

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี 67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง”

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง” ฉายานายกฯ “แพทองโพย” ด้าน 7 รัฐมนตรีติดโผ “บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี” พ่วง 3 รัฐมนตรีโลกลืม ส่วนวาทะแห่งปี “สามีเป็นคนใต้”

เลือกตั้ง อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี พร้อมขอบคุณคนเสื้อแดง และนายทักษิณ ชินวัตร ที่ช่วยผลักดัน