ชัวร์ก่อนแชร์ : ไขมันในเลือดสูง ให้กินกระเทียมสด และ หอมหัวใหญ่ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์ข้อมูลเรื่องโรงพยาบาลธรรมชาติ โดยมีข้อหนึ่งระบุว่า ไขมันในเลือดสูง แทนที่จะหายามากินให้กินกระเทียมสดวันละ 10 กลีบ กินหอมหัวใหญ่สดวันละครึ่งหัว เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ ประธานหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จากข้อมูลที่แชร์กันว่า “ไขมันในเลือดสูง ให้กินกระเทียมสดและหอมหัวใหญ่” นั้นมีส่วนที่ถูกต้องบ้าง แต่รายละเอียดไม่ครบ อาจจะมีข้อควรระวังของอาหารบางอย่างกับโรคบางอย่างที่ไม่ได้กล่าวถึง ไขมันในเลือดสูงมีหลายระดับ ถ้าหากเป็นไขมันในเลือดสูงที่มีระดับสูงมาก คือมากกว่า 190 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะต้องไปพบแพทย์ กินกระเทียมวันละ 10 กลีบ ช่วยอะไรได้บ้าง ? กระเทียมเป็นพืชสมุนไพรที่มีการศึกษามาก จนกระทั่งมีการนำหลายข้อมูล หลายการศึกษา มาทำการวิเคราะห์รวมกัน พบว่าการกินกระเทียมมีส่วนช่วยลดไขมันในเลือดได้ “หอมหัวใหญ่” ก็เช่นเดียวกัน เพราะเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกระเทียม มีการศึกษาหอมหัวใหญ่บ้างแต่น้อยกว่ากระเทียม และพบว่าหอมหัวใหญ่สามารถช่วยลดไขมันในเลือดได้ ที่บอกว่าให้กินกระเทียมมากถึง 10 กลีบ ในการศึกษาไม่ได้ยืนยันจำนวน 10 กลีบ แต่ส่วนใหญ่จะบอกว่ากินอยู่ที่ 5 กรัม ก็สามารถช่วยลด (ไขมันในเลือด) ได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โรนัลโดเสี่ยงถูกเฆี่ยน 99 ครั้งหลังกอดจิตรกรหญิงในอิหร่าน จริงหรือ?

สถานทูตอิหร่านประจำประเทศสเปนชี้แจงว่าข่าวลือดังกล่าวไม่เป็นความจริง และไม่มีคำสั่งลงโทษ คริสเตียนโน โรนัลโด หรือนักกีฬาต่างชาติรายใดในอิหร่านทั้งสิ้น

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เข้าใจการบำรุงตา

24 มิถุนายน 2567 บำรุงสายตา ทำด้วยวิธีใดได้บ้าง เราต้องการกินหรือทำอะไร ที่จะทำให้ดวงตาของเราดีขึ้นกว่าเดิม 🎯 ตรวจสอบกับ พันโท นายแพทย์ ศีตธัช วงศ์กุลศิริ ประธานคณะทำงานฝ่ายวิชาการด้านส่งเสริมสุขภาพตาเพื่อสังคม ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 25 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ฟลูออไรด์เป็นสารพิษ ทำให้ไอคิวต่ำ ก่อมะเร็ง เบาหวาน จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์คำเตือนเกี่ยวกับ “ฟลูออไรด์” ที่คุ้นเคยกันว่าอยู่ในยาสีฟันหลายชนิด เป็นพิษต่อร่างกาย ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้ไอคิวต่ำ และเป็นโรคต่าง ๆ หลายโรค เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ทพญ.ดร.วลีรัตน์ ศุกรวรรณ ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์​ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่แชร์กันว่า “ฟลูออไรด์” คือสารเคมีเป็นพิษ เรื่องนี้ “ไม่เป็นความจริง” ในชีวิตประจำวันมีการใช้ฟลูออไรด์ถือว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย และมีประโยชน์มากกว่าโทษ “ฟลูออไรด์” สามารถพบได้ทั่วไป ทั้งในอากาศ ดิน หิน หรือน้ำ โดยเฉพาะจากแหล่งน้ำธรรมชาติ นอกจากนี้ อาหาร พืชผัก ผลไม้บางชนิด ก็มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบอยู่ในนั้น ความเป็นพิษของฟลูออไรด์ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรับปริมาณมาก ๆ หรือปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง สะสมเป็นระยะเวลายาวนาน ฟลูออไรด์ทำให้ไอคิวต่ำและเกิดอีกหลายโรค จริงหรือไม่ ? การได้รับฟลูออไรด์กับระดับไอคิว หรือความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก เรื่องนี้ไม่พบความสัมพันธ์และไม่เกี่ยวข้องกันเลย การได้รับฟลูออไรด์ก็ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือโรคต่อมไร้ท่ออื่น ๆ นอกจากนี้ ที่มีการอ้างอิงงานวิจัยเกี่ยวกับฟลูออไรด์นั้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดผลไม้อันตราย จริงหรือ ?

26 มิถุนายน 2567 บนโซเชียลมีการแชร์สารพัดคำเตือนผลไม้อันตราย ทั้งมะเฟืองมีพิษร้าย กินเข้าไปจะทำให้ไตทำงานหนัก และห้ามนำผลไม้กระป๋องแช่ตู้เย็นเป็นอันขาด เพราะมีโอกาสเกิดสนิม กินเข้าไปอาจถึงตายได้ ?! ตรวจสอบกับ ศ.ดร.ประณัฐ โพธิยะราช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.นพ.ม.ล.ชาครีย์ กิติยากร คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร.ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด รศ.ดร.ครรชิต จุดประสงค์ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร. กนิฐพร วังใน อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แสงแดดกับการปกป้องดวงตา

27 มิถุนายน 2567 แสงแดดทำอันตรายกับดวงตาได้แค่ไหน แว่นกันแดดจำเป็นหรือไม่ และเราควรเลือกแว่นกันแดดอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 5 มิถุนายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือน “น้ำยาบ้วนปาก” ใช้แล้วฟันดำ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์คำเตือนว่า มีน้ำยาบ้วนปากบางชนิด ใช้แล้วจะทำให้ฟันเป็นคราบดำในปาก เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ทพญ.ศิริกาญจน์ อรัณยะนาค ภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีน้ำยาบ้วนปากที่ใช้ต่อเนื่องแล้วฟันจะดำ “เป็นเรื่องจริง” เพราะหลังจากการใช้น้ำยาบ้วนปากบางประเภท อาจจะทำให้เกิดคราบและเกิดหินปูนได้ น้ำยาบ้วนปากชนิดนี้ เป็นอย่างไร ? น้ำยาบ้วนปากที่ว่ามีส่วนผสมยาฆ่าเชื้อ โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือ ตัวยาคลอร์เฮกซิดีน (Chlorhexidine) “คลอร์เฮกซิดีน” ชื่อทางการค้าที่สามารถหาซื้อได้ในประเทศไทย ก็จะมี “ซี 20” “ซีดี 24” การใช้น้ำยาบ้วนปากผสมยาฆ่าเชื้อคลอร์เฮกซิดีน ควรได้รับคำแนะนำภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ ในการสั่งจ่าย และแนะนำวิธีการใช้ น้ำยาบ้วนปากสร้างคราบบนฟันได้อย่างไร ? “คราบบนฟัน” เกิดจากปฏิกิริยาของสารเคมีที่มีผลต่อปฏิกิริยาในช่องปาก ทำให้เกิดคราบสีดำหรือน้ำตาลติดบนตัวฟัน (staining) ซึ่งเป็นผลตามมาจากการบ้วนปากด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อตัวนี้ แต่สามารถขัดออกได้ด้วยการขัดฟันของทันตแพทย์ การใช้น้ำยาบ้วนปากชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าด้วยวัตถุประสงค์ใด โดยหลักการแล้วทันตแพทย์แนะนำดังนี้ 1. ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากเป็นประจำทุกวัน 2. แต่ละครั้งไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากเป็นระยะเวลานาน 3. ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากนานติดต่อกันมากกว่า 2–3 สัปดาห์ คำแนะนำนี้ครอบคลุมถึงน้ำยาบ้วนปากที่สามารถหาซื้อได้โดยทั่วไป […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคลมชักรักษาหายขาดได้ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่าการรักษาโรคลมชักมีหลายวิธี และรักษาให้หายขาดได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.นพ.ชัยยศ คงคติธรรม สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โรคลมชักถือเป็นโรคทางระบบประสาทอย่างหนึ่ง สามารถรักษาให้หายขาดได้ ตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เช่น การใช้ยาที่ตรงกับโรคหรือชนิดของอาการชัก กินยาต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี ผู้ป่วยโรคลมชักสามารถหายขาดได้ การรักษาโรคลมชัก ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เบื้องต้นคือการใช้ยากันชักที่เหมาะสม ถ้าใช้ยาแล้วอาการชักไม่สามารถควบคุมได้ ขั้นต่อไปพิจารณาการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การผ่าตัด หรือบางรายอาจได้ประโยชน์จากการใช้อาหารที่พิเศษกว่าอาหารปกติ ก็อาจจะช่วยทำให้อาการชักดีขึ้น ในบางรายพยายามทำทุกอย่างแล้ว ยังไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ ก็จะมีวิธีการรักษาที่พิเศษวิธีอื่น เช่น ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่สมอง หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 การใช้ยารักษา ?  ยากันชักจะเป็นการรักษาที่แพทย์ทุกคนเลือกใช้กับผู้ป่วยโรคลมชัก เพราะในปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ผ่านมาในช่วง 5-10 ปี ทำให้มียากันชักที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีผลข้างเคียงน้อยลง ด้วยยาอย่างเดียว ผู้ป่วยสามารถหายขาดจากโรคลมชักได้อย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการใช้ยายาวนานแค่ไหนขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยชักด้วย การกินอาหารบำบัด ? การใช้อาหารบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคลมชัก […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ไบเดนจงใจฉลอง “วันคนข้ามเพศ” ตรงกับวันอีสเตอร์ จริงหรือ?

ในช่วงปี 2015-2030 วันอีสเตอร์จะวนมาตรงกับวันที่ 31 มีนาคมเพียงครั้งเดียว กระแสต่อต้านส่วนใหญ่มาจากนักการเมืองฝั่งรีพับลิกันที่นำมาเป็นประเด็นโจมตีทางการเมือง

ชัวร์ก่อนแชร์ : นั่งเล่นเกมนาน ทำให้ หลอดเลือดดำอุดตัน จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์ข้อความเรื่องนักศึกษาหนุ่มวัย 19 ปวดขาซ้าย ก่อนเป็นลมหมดสติ หมอตรวจพบว่าเป็นโรคหลอดเลือดดำอุดตันในปอด คาดเหตุเพราะนั่งเล่นเกมนานเกินไป เรื่องที่แชร์เตือนกันนี้จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ นพ.สัณฑ์ ม่วงน้อยเจริญ โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล หลอดเลือดดำอุดตันที่มีความเสี่ยงจากการนั่งนาน มีความรุนแรงมากจนหมดสติ หรือบางคนอาจจะเสียชีวิตได้ เป็นเรื่องจริง แต่ส่วนอื่น ๆ ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ จึงไม่ควรแชร์ต่อทั้งหมด โรคหลอดเลือดดำอุดตัน มีอาการอะไรบ้าง ? คนในข่าวที่แชร์กันมา มีอาการขาบวมแล้วก็หมดสติ เป็นอาการนำของหลอดเลือดดำอุดตัน “หลอดเลือดดำอุดตัน” เกิดได้หลายแห่ง ส่วนใหญ่เป็นหลอดเลือดบริเวณขา เพราะว่าคนเรานั่งนาน เมื่อมีหลอดเลือดอุดตัน เลือดและน้ำเหลืองไปไม่ได้ จะทำให้ส่วนใต้ของหลอดเลือดที่อุดตันบวม ที่ร้ายแรงมากก็คือ เมื่อการอุดตันเกิดขึ้นที่ปอด ลิ่มเลือดที่อุดตันอาจจะสลายไปได้เอง บางคนถ้าโชคร้าย เพราะลิ่มเลือดไม่สลายเอง แต่ลิ่มเลือดหลุดมาจากหลอดเลือดอุดตันอยู่ ลอยไปเรื่อย ๆ ตามทางของหลอดเลือด สุดท้ายไปที่หลอดเลือดใหญ่ขึ้น ๆ หลอดเลือดดำในท้อง ทรวงอก ไปที่หัวใจห้องบนขวา แล้วก็ห้องล่างขวา จากนั้นจะถูกสูบฉีดไปที่ปอด ลิ่มเลือดก็จะไปอุดตามหลอดเลือดในปอด ถ้าลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดใหญ่ในปอด ก็จะทำให้เลือดกลับไปหัวใจลดลง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เหล้าขาว มะนาว แก้นิ่ว จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์แนะนำ สูตรเหล้าขาวกับมะนาว ดื่มแก้นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ รวมทั้งนิ่วในไต ดื่มก่อนนอน 2 คืนหาย จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ภกญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี เรื่องนี้ไม่มีข้อมูลว่าเป็นความจริง การใช้ยาสูตรเดียวเพื่อรักษานิ่วหลายชนิดที่แตกต่างกัน (นิ่วในไต นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ) โดยหลักการทางการแพทย์ไม่น่าจะมีความเป็นไปได้ 1. ผิดในเรื่องของสูตร 2. ระยะเวลา ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่า “กินสูตรนี้ 2 วัน นิ่วฉันจะหาย” สิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ทุกคนต้องเข้าใจ คือวิธีการรักษานิ่วแต่ละแห่ง ต่างวิธีกัน ? ในคลิปบอกว่าสูตรนี้สามารถใช้ได้กับนิ่วหลายระบบ (นิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในไต) สิ่งที่ต้องรู้ก็คือนิ่วแต่ละประเภทมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกัน นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ เกิดจากสารที่เป็นตัวก่อนิ่วในปริมาณที่ค่อนข้างสูง และปัสสาวะมีความเป็นกรดเป็นด่างที่ไม่เหมาะสม การดื่มน้ำน้อย การใช้ยาชนิดต่าง ๆ ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดนิ่ว นิ่วในทางเดินน้ำดี หลัก ๆ เกิดจากสัดส่วนที่ผิดปกติไปของน้ำดี และคาดว่าน่าจะเกิดจากการกินอาหาร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : มะเร็งเต้านมในผู้ชาย

มะเร็งเต้านมเกิดในผู้ชายได้อย่างไร สามารถตรวจคัดกรองได้ก่อนหรือไม่ และจะมีวิธีการสังเกตอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา อาจารย์ประจำสาขาศัลยศาสตร์เต้านมและต่อมไร้ท่อ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล “มะเร็งเต้านม” เป็นโรคความผิดปกติของเซลล์ที่ท่อน้ำนม ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ พบในเพศหญิง และมีส่วนน้อยที่พบในเพศชาย ความผิดปกติที่เกิดขึ้นก็คือ การเจริญเติบโตที่ควบคุมไม่ได้ของเซลล์และกลายเป็นเนื้อร้าย เนื้อร้ายจะค่อย ๆ เจริญเติบโตจากระยะที่เป็นเล็ก ๆ อาจจะ 1 มิลลิเมตร 2 มิลลิเมตร และค่อย ๆ เป็นก้อนขนาด 1 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร ความสำคัญก็คือ ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือไม่ตระหนักดี รอยโรคนั้นก็จะมีการกระจายแพร่ไปที่ต่อมน้ำเหลืองและกระจายเข้าสู่อวัยวะภายใน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ มะเร็งเต้านมพบในผู้ชายด้วยหรือ ? “มะเร็งเต้านม” เป็นเรื่องของเซลล์เต้านมที่ผู้ชายก็มีเหมือนกับผู้หญิง และสามารถพบมะเร็งเต้านมในผู้ชายได้ แต่น้อย เมื่อไหร่ก็ตามที่พบมะเร็งเต้านมในผู้ชาย ต้องระมัดระวังว่าอาจจะมีความผิดปกติทางพันธุรรมของมะเร็งเต้านมทางด้านยีน ซึ่งยีนที่เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม เรียกว่ายีน BRCA1, BRCA2 (บีอาร์ซีเอวัน, บีอาร์ซีเอทู)  ลักษณะของมะเร็งเต้านมที่สงสัยว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม […]

1 26 27 28 29 30 277
...