ชัวร์ก่อนแชร์ : นอนกัดฟัน ทำให้หน้าสั้น-หน้าบานจริงหรือ?

15 เม.ย. – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ ว่าการนอนกัดฟันจะทำให้หน้าสั้น และหน้าบาน เรื่องนี้จะจริงหรือไม่ ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.ทพญ.พนมพร วานิชชานนท์ หัวหน้าภาควิชาทันตกรรมบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐวัฒน์ จิตรมั่น สรุป : ไม่ควรแชร์ต่อ หน้าสั้น หน้าบาน มีหลายสาเหตุหากกังวลควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวิเคราะห์หาสาเหตุต่อไป 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshareFB :: https://www.facebook.com/SureAndShareTwitter :: https://www.twitter.com/SureAndShareIG :: https://instagram.com/SureAndShareWebsite :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.comTikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ชัวร์ก่อนแชร์ : สธ.ออกแนวทาง “ติดโควิด แยกกักตัวที่บ้านได้” จริงหรือ ?

21 เมษายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์ แชร์ข้อมูลว่า สธ.ออกแนวทางการพิจารณาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เหมาะสมสำหรับการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบจาก การแถลงข่าวสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข พบว่า “จริงเพียงบางส่วน” บทสรุป : จริงบางส่วน และ ยังไม่ควรแชร์• กรมการแพทย์ยืนยันเมื่อ 19 เม.ย.64 ว่า ยังไม่ได้ประกาศใช้แนวทางดังกล่าว เป็นเพียงการเตรียมรับมือล่วงหน้า ในกรณีหากยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงและเตียงไม่เพียงพอ• ปัจจุบันเตียงยังเพียงพอ และผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทุกราย ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ข้อมูลที่ถูกแชร์แนวทางการพิจารณาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เหมาะสมสำหรับการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ถูกแชร์มาในลักษณะภาพใบประกาศ 3 ใบ มีใจความสำคัญว่า โรงพยาบาลอาจพิจารณาให้ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ใช้ที่พักอาศัยเป็นสถานที่แยกกักตัวได้ หากได้รับความยินยอมจากเจ้าของสถานที่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ฉีดวัคซีนแล้วไม่มีอาการ จะไม่เกิดภูมิคุ้มกัน จริงหรือ ?

21 เมษายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที สังคมออนไลน์ ตั้งคำถาม “ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วไม่มีอาการ จะไม่เกิดภูมิคุ้มกัน จริงหรือ ?” ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ยืนยันว่า “ไม่เป็นความจริง” บทสรุป : ไม่เป็นความจริง• ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่า ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วไม่มีอาการ จะไม่เกิดภูมิคุ้มกัน ข้อสงสัยบนสังคมออนไลน์จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน วัคซีนถือเป็นตัวช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด – 19 ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ แต่การฉีดวัคซีนอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น ปวดบวมแดงร้อน เป็นไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยร่างกาย ถือเป็นปฏิกิริยาตามปกติที่ร่างกายต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม อย่างไรก็ตามบนสังคมออนไลน์ มีผู้เกิดความสงสัย และตั้งคำถามว่า หากฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วร่างกายไม่มีอาการเจ็บปวดหรือปฏิกิริยาใดเลย จะไม่เกิดภูมิคุ้มกัน หรือไม่? FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริงศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินฟ้าทะลายโจรป้องกันโควิด-19 ได้ จริงหรือ?

20 เมษายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ ตามที่มีการแชร์ผ่านสื่อโซเซียลมีเดียว่า กินฟ้าทะลายโจรสามารถป้องกันโควิด-19 ได้ รวมถึงเป็นทางเลือกที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องไปฉีดวัคซีนนั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบข้อมูลกับ ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งของประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (สยส.) ระบุตรงกันว่า ไม่เป็นความจริง บทสรุป : ไม่เป็นความจริง ไม่ควรแชร์ต่อ ยังไม่มีหลักฐานรองรับว่าการใช้ฟ้าทะลายโจรสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ และการกินฟ้าทะลายโจรไม่สามารถทดแทนการฉีดวัคซีนได้ ไม่ควรกินสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรจำนวนมาก เสี่ยงตับพัง หากติดเชื้อโควิด-19 จริงจะทำให้การรักษาโควิดทำได้ยาก เมื่อมีอาการเข้าข่ายติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ควรรีบพบแพทย์ “ผู้เชี่ยวชาญ” ยืนยัน ยังไม่มีผลการศึกษาว่าฟ้าทะลายโจรสามารถป้องกันการเชื้อโควิด-19 ได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวกับ ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โดย ภญ.ดร.ผกากรอง กล่าวยืนยันกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลระบุว่าฟ้าทะลายโจรสามารถใช้เป็นทางเลือกแทนวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้นั้น  ไม่เป็นความจริง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ฟ้าทะลายโจร ป้องกันโควิด ไม่ต้องฉีดวัคซีน จริงหรือ ?

19 เม.ย. – บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำว่า การกินยาฟ้าทะลายโจร สามารถช่วยป้องกันโควิด-19 ได้ อาจเป็นหนึ่งในทางเลือกแทนการฉีดวัคซีน เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามกับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ… ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งของประชาชน ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.)🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ 📌 สรุป : ❌ไม่ควรแชร์ต่ออย่างยิ่ง ❌ เป็นเรื่องที่ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshareFB :: https://www.facebook.com/SureAndShareTwitter :: https://www.twitter.com/SureAndShareIG :: https://instagram.com/SureAndShareWebsite :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.comTikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ชัวร์ก่อนแชร์ : 9 ท่าพิชิตโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จริงหรือ ?

18 เม.ย. – บนสังคมออนไลน์ แชร์คลิปแนะนำ 9 ท่าพิชิตหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.ชัชวาลย์ เจริญธรรมรักษา อาจารย์ประจำภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มศว🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พงศ์อิทธิ์ เชิดชูวงศ์ 📌 สรุป : ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ เพราะว่าโอกาสเกิดผลเสียมากกว่าได้ผลดี 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshareFB :: https://www.facebook.com/SureAndShareTwitter :: https://www.twitter.com/SureAndShareIG :: https://instagram.com/SureAndShareWebsite :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.comTikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ชัวร์ก่อนแชร์ : อย่าเพิ่งหลงเชื่อ ข้อมูลเท็จ “โควิด-19” มั่ว-เก่า-วนซ้ำ

12 เมษายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที เมื่อเกิดการแพร่ระบาดที่เป็นข่าวใหญ่ ความตระหนักและความตระหนกเกี่ยวกับภัยจาก “โควิด-19” ก็กลับมาอยู่ในความสนใจของผู้คนอีกครั้ง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ประมวลหลากหลายข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ เรื่องมั่ว เรื่องเก่า วนซ้ำกลับมาแชร์ใหม่ ให้เป็นภูมิคุ้มกัน INFODEMIC ไว้ล่วงหน้า “ เช็กอาการโควิด ” แชร์กันว่า : “สัญญาณ Covid-19 สรุปจาก สธ. น่าจะช่วยกันได้บ้าง อาการวันต่อวัน…”บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ และอาจก่ออันตรายต่อตนเองและคนรอบข้างข้อเท็จจริง : การรอเช็กอาการตนเอง รอจนถึงวันที่ 3-4 ว่ามีไข้หรือไม่นั้น อาจจะทำให้เข้ารับการรักษาล่าช้าและระหว่างนั้นอาจแพร่เชื้อให้คนรอบข้างไปแล้ว ดังนั้น หากมีประวัติเสี่ยง หรือ มีอาการคล้ายไข้หวัด ควรเพิ่มความระมัดระวัง หรือกักตัว สังเกตอาการ และปรึกษาแพทย์หรือหน่วยงานสาธารณสุขข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=0xfIirHcuB0 […]

ชัวร์ก่อนแชร์:ห้ามกินแอปเปิ้ลทุกชนิดเพราะมีเชื้อแบคทีเรียอันตรายถึงชีวิตจริงหรือ?

9 เมษายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ บนสังคมออนไลน์ มีการแชร์ข้อความที่ระบุว่า ประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียมีคำสั่งห้ามนำเข้าแอปเปิ้ลจากสหรัฐอเมริกา เพราะตรวจพบเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งหากรับประทานเข้าไปจะมีผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวแล้วพบว่า เป็นเรื่องจริง แต่ต้องอธิบายเพิ่ม     บทสรุป :  จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ เป็นข้อมูลจากข่าวเก่าในต่างประเทศ และไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลิตภัณฑ์ที่ขายในประเทศไทย·  สิงคโปร์และมาเลเซียมีคำสั่งห้ามนำเข้าแอปเปิ้ลจากสหรัฐอเมริกาจริง แต่เป็นเรื่องเก่าที่มีการแชร์ข้อมูลในเดือนมกราคม 2558· กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยืนยัน แอปเปิ้ลที่จัดจำหน่ายในประเทศไทยยังปลอดภัยและสามารถรับประทานได้  ข้อมูลที่ถูกแชร์“มาเลเซียและ สิงคโปร์ กระทรวงสาธารณสุข ห้าม แล้ว แอปเปิ้ล จาก สหรัฐอเมริกา และยุโรป ตั้งแต่ 10 วันที่แล้ว ให้ความสำคัญกับ ทุกคน อย่า รับประทานแอปเปิ้ลทุกชนิด ในขณะ นี้ ไม่ว่าจะเป็น แกรนนี่สมิ ธ , Enza , กาล่าดินเนอร์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตำรวจช่างซ่อมรถฟรีทั่วประเทศจริงหรือ ?

6 เมษายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์ แชร์รายการหมายเลขโทรศัพท์ พร้อมข้อความระบุว่า ตำรวจช่างซ่อมรถฟรีทั่วประเทศ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ หน่วยงานที่ดูแลตำรวจช่าง ยืนยันว่า “จริงเพียงบางส่วน” บทสรุป : จริงบางส่วน และ แชร์ได้ถ้าอธิบายเพิ่ม• ตำรวจช่าง ให้บริการฟรีจริง แต่ยังครอบคลุมเฉพาะกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเท่านั้น• 02-354-6324 ติดต่อตำรวจช่างได้จริง แต่ควรติดต่อที่ 1197 สายด่วน บก.จร. โดยตรง• รายการหมายเลขโทรศัพท์ เป็นหมายเลขฉุกเฉินของแต่ละจังหวัดจริง แต่ควรติดต่อที่ 191, 1784 และ 1669 สืบหาต้นตอ ข้อมูลที่ถูกแชร์รายการหมายเลขโทรศัพท์จำนวนมาก ถูกแชร์มาพร้อมกับข้อความระบุว่า ตำรวจช่าง ในโครงการพระราชดำริ ช่วยซ่อมรถฟรีทั่วประเทศ เพียงจ่ายเงินค่าอะไหล่ และขอถ่ายรูปเท่านั้น ชุดข้อมูลที่ใกล้เคียงกันนี้เริ่มมีการแชร์กันตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2557 ซึ่งในเดือนมิถุนายน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : น้ำอัดลมผสมลูกอมรสมินต์ เทใส่หลุมที่ขุดไว้ใช้จับปลาได้ จริงหรือ ?

31 มี.ค. – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปวิธีการจับปลาด้วยการเทน้ำอัดลมผสมลูกอมรสมินต์ลงในหลุมที่ขุดไว้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐี วัฒนกูล 📌 สรุป : ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshareFB :: https://www.facebook.com/SureAndShareTwitter :: https://www.twitter.com/SureAndShareIG :: https://instagram.com/SureAndShareWebsite :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.comTikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปโปรยเงินแจก อาลัยเพื่อนที่เสียชีวิตเพราะโควิด-19 จริงหรือ ?

1 เมษายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์แชร์คลิปวิดีโอ ชายโปรยเงินแจกที่นิวยอร์ก ไทม์สแควร์ พร้อมข้อความระบุว่า แจกเงินเพื่อระลึกถึงเพื่อนที่เสียชีวิตเพราะโควิด-19  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบแล้วพบว่า “จริงเพียงบางส่วน” บทสรุป : จริงบางส่วน และ  ไม่ควรแชร์ต่อ• ชายในคลิปวิดีโอแจกเงินเพื่อระลึกถึงเพื่อนที่เสียชีวิตไปแล้วจริง• แต่ยังไม่พบหลักฐานยืนยันว่า เพื่อนของเขาเสียชีวิตเพราะโควิด-19 คลิปวิดีโอและข้อความที่ถูกแชร์คลิปวิดีโอความยาว 02.33 นาที ถูกแชร์มาพร้อมกับข้อความระบุว่า “เพื่อนของชายในคลิปวิดีโอ เสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19 และขอร้องให้ชายคนดังกล่าวนำเงินของตัวเองไปโปรยแจกที่นิวยอร์ก ไทม์สแควร์ สหรัฐอเมริกา” เมื่อวิเคราะห์แล้ว พบว่า เป็นการนำคลิปวิดีโอจาก 2 เหตุการณ์มาตัดต่อรวมกัน เหตุการณ์แรก ในนาทีที่ 0.00 – 02.05 เป็นภาพชายสวมเสื้อกันหนาวสีดำโปรยเงินแจก ที่นิวยอร์ก ไทม์สแควร์ สหรัฐอเมริกา และหันมาพูดกับกล้องเป็นระยะ  เหตุการณ์ที่สอง ในนาทีที่ 02.05 – 02.33 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : พ่นแอลกอฮอล์ใส่กุญแจรถ ทำให้รถระเบิด จริงหรือ ?

30 มีนาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์ แชร์ข้อความ “ห้ามพ่นหรือทาแอลกอฮอลล์ที่กุญแจรถ” พร้อมกับคลิปวิดีโอ ที่ทำให้เข้าใจว่า อาจเป็นเหตุให้รถยนต์ระเบิดได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย ยืนยันว่า “ไม่เป็นความเป็นจริง” บทสรุป : ไม่จริง และ ไม่ควรแชร์ต่อ• พ่นแอลกอฮอล์ใส่กุญแจแล้วสตาร์ทรถ ไม่ทำให้รถระเบิด• คลิปวิดีโอที่มีการระเบิดไม่ใช่เหตุการณ์จริง แต่เป็นฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง “Narcos Season 3”• แต่แอลกอฮอล์เป็นสารไวไฟที่ต้องใช้และจัดเก็บอย่างถูกต้อง สืบหาต้นตอ ข้อมูลที่ถูกแชร์คลิปวิดีโอความยาว 1 นาที ถูกแชร์มาพร้อมข้อความระบุว่า “ห้ามพ่นหรือทาแอลกอฮอลล์ที่กุญแจรถ” โดยในคลิปวิดีโอมีภาพชายคนหนึ่งพ่นสเปรย์แอลกอฮอล์ปริมาณมากใส่กุญแจรถและภายในรถ เมื่อสตาร์ทรถ ภาพเปลี่ยนเป็นเหตุการณ์รถระเบิดอย่างรุนแรง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สืบหาต้นตอคลิปวิดีโอดังกล่าว พบคลิปต้นฉบับ บนแอปพลิเคชัน TikTok อัปโหลดตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2563 โดยผู้ใช้ที่ชื่อว่า @suleymanics ซึ่งอาศัยอยู่ที่สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน […]

1 145 146 147 148 149 278
...