ระวัง ! เว็บไซต์การประปานครหลวงปลอม หลอกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : แอบอ้างชื่อ และสื่อประกอบคล้ายคลึงกับเว็บไซต์จริงของการประปานครหลวง (กปน.)อุบาย : ใช้เว็บไซต์ปลอม หลอกให้กรอก และบันทึกข้อมูลส่วนตัว เพื่อนำไปใช้โจรกรรมข้อมูลทางการเงินช่องทาง : เว็บไซต์ การประปานครหลวงเตือนภัย มิจฉาชีพปลอมเว็บไซต์ขององค์กร หลอกให้บันทึกข้อมูลส่วนตัว หวังฉวยไปใช้โจรกรรมข้อมูลทางการเงิน ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ย้ำ ! ไม่มีการเปลี่ยนแปลง URL ใหม่แต่อย่างใด กรุงเทพฯ 8 พ.ค. 66 – นางชวิณา วิรัตน์โยสินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร การประปานครหลวง (กปน.) ประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพปลอมเว็บไซต์ขององค์กร หลอกให้กรอก และบันทึกข้อมูลส่วนตัว เพื่อนำไปใช้โจรกรรมข้อมูลทางการเงิน สร้างเว็บไซต์ปลอม หลอกชิงข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าจากการตรวจสอบของการประปานครหลวง (กปน.) พบว่า ปัจจุบันมีเว็บไซต์ปลอมขององค์กรจำนวนมากกำลังระบาดอยู่ตามช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ โดยมิจฉาชีพคิดฉวยโอกาสจากความไม่รู้ของประชาชน ประกอบกับเจตนาร้าย หวังสร้างความเสียหายจึงเลือกใช้วิธีเลียนแบบเว็บไซต์ ให้มีชื่อและสื่อประกอบคล้ายคลึงกันกับเว็บไซต์ของจริง เมื่อลูกค้าคลิกเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ดังกล่าวก็จะพบกับหน้ากรอกข้อมูลส่วนตัว กับดักสำคัญที่มิจฉาชีพจะดึงข้อมูลไปใช้โจรกรรมข้อมูลทางการเงินได้ ซึ่งในขั้นตอนนี้ หากลูกค้าหลงเชื่อจนบันทึกข้อมูลจริงจะถือว่าตกเป็นเหยื่อทันที การประปานครหลวง ย้ำ ! ไม่มีการเปลี่ยนแปลง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีการใช้หน้ากากอนามัย ป้องกันไวรัสอย่างถูกต้อง จริงหรือ ?

3 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีที่มีการแชร์เกี่ยวกับวิธีการใช้หน้ากากอนามัยไว้มากมาย เช่น ห้ามใช้แอลกอฮอล์พ่นหน้ากากอนามัยเพราะจะทำให้เสื่อมประสิทธิภาพ หรือ หน้ากากผ้าที่เราใช้กันนั้นป้องกันโควิด-19 ไม่ได้ เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1  : มีวิธีใช้หน้ากากอนามัยหลายวิธี จริงหรือ ? บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำวิธีใช้หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง โดยผู้ป่วยกับคนที่ไม่ป่วยจะต้องใช้สลับด้านกัน เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : พญ.จริยา แสงสัจจา ผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “การใส่หน้ากากอนามัยมีแบบเดียว คือใส่ให้ด้านที่มีสารเคลือบกันน้ำหรือด้านมัน ออกข้างนอกเสมอ และเมื่อสวมใส่ก็ควรจะกดพลาสติกให้แนบกับสันจมูกและใบหน้าของเราอยู่เสมอ” อันดับที่ 2  : หน้ากากผ้าป้องกันโควิด-19 ไม่ได้ จริงหรือ ? บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่าหน้ากากผ้าอาจไม่สามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 และการแพร่กระจายได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ :  นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย […]

Negative Campaigning กลยุทธ์โจมตีคู่แข่งทางการเมืองช่วงหาเสียง

Negative Campaigning คือรูปแบบการโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยจงใจเผยแพร่ข้อมูลในแง่ลบ เพื่อให้ภาพลักษณ์ทางสังคมของสิ่งนั้น ๆ หรือบุคคลนั้น ๆ ได้รับความเสื่อมเสีย

เตือนภัยสายเที่ยว ! เพจปลอม-บัญชีอวตาร หลอกสำรองค่าที่พักดัง ก่อนเชิดเงินหนี | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : แอบอ้างชื่อที่พักดัง ในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่งอุบาย : มีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ 1. ใช้เพจปลอม มิจฉาชีพจะแอบอ้างเป็นแอดมิน มีการคัดลอกเนื้อหาจากเพจจริง โดยอาศัยการยิงโฆษณาเพื่อสร้างความเข้าใจผิด 2. ใช้บัญชีเฟซบุ๊กอวตารแฝงตัวเข้าไปในกลุ่มแนะนำโรงแรม หรือที่พักต่าง ๆ เพื่อโพสต์ข้อความในลักษณะ “มีที่พักราคาดีหลุดจองอยู่”เมื่อเหยื่อสนใจตลอดจนติดต่อเข้าไปก็จะถูกลวงให้โอนเงินสำรองที่พัก ไปยังบัญชีบุคคลธรรมดา แน่นอนว่าการสำรองดังกล่าวไม่เป็นความจริง หากเหยื่อเดินทางไปเข้าพักยังสถานที่จริงย่อมไม่สามารถเข้าพักได้ช่องทาง : แอปพลิเคชัน Facebook ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพใช้เพจปลอม-บัญชีอวตารแนะนำที่พัก ก่อนแอบอ้างเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ลวงให้โอนเงินสำรองที่พัก ด้าน ‘โฆษก’ ขอให้ประชาชนระมัดระวังมากขึ้น พร้อมแนบวิธีการป้องกัน กรุงเทพฯ 4 พ.ค. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ ออกประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพปลอมช่องทางการติดต่อของที่พักดัง แอบอ้างเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ลวงเหยื่อให้โอนเงินสำรองค่าที่พักก่อนชิ่งหนีไป ฉวยโอกาสฤดูกาลท่องเที่ยว ปลอมช่องทางการติดต่อ แอบอ้างชื่อที่พักดัง มิจฉาชีพอ้างตนเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับที่พัก ซึ่งมีรูปแบบของอุบายที่แตกต่างกัน ดังนี้1. […]

เตือนภัย ! จ้างกดโหวตภาพยนตร์ พาสูญเงินเกลี้ยงบัญชี  | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : ส่งลิงก์ปลอมให้ผู้เสียหายกดโหวต กดไลก์ เพิ่มยอดวิวภาพยนตร์อุบาย : อ้างเป็นบริษัทหารายได้พิเศษหลอกจ้างโปรโมตภาพยนตร์เรื่อง “เสือเผ่น 1” โดยส่งลิงก์ปลอมให้กดไลก์ กดโหวต จากนั้นหลอกให้โอนเงินแลกเป็นคะแนนโหวต อ้างให้ค่าจ้างตอบแทนคืน 10-15%ช่องทาง : โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ ตร.ไซเบอร์เตือนมิจฉาชีพอ้างตัวเป็นบริษัทหารายได้เสริม ส่งลิงก์จ้างกดโปรโมตภาพยนตร์เรื่อง “เสือเผ่น 1” ก่อนหลอกโอนเงิน อ้างใช้เป็นคะแนนโหวต แลกค่าตอบแทน 10-15% กรุงเทพ 4 พ.ค. 66 – ตำรวจไซเบอร์เตือนภัยแก๊งมิจฉาชีพแอบอ้างตัวเป็นบริษัทหารายได้พิเศษหลอกจ้างผู้เสียหายโปรโมตภาพยนตร์ โดยใช้ขั้นตอนการหลอก ดังนี้1. แอบอ้างเป็นบริษัทโฆษณาชักชวนหารายได้พิเศษ เพียงกดโหวต กดไลก์ เพิ่มยอดวิว เพื่อโปรโมตภาพยนตร์ ออกใหม่ที่กําลังเข้าฉาย พบเคสที่ผ่านมานําภาพยนตร์ตลกเรื่อง “เสือเผ่น 1” มาแอบอ้าง2. มิจฉาชีพจะใช้วิธีการส่งลิงก์ปลอมให้ผู้เสียหายกดไลก์ กดโหวต เพื่อเพิ่มยอดวิว จากนั้นหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินแลกเป็นคะแนนโหวต โดยอ้างว่า จะให้ค่าจ้างตอบแทนคืน 10-15% 3. จากนั้น มิจฉาชีพจะทำให้ผู้เสียหายตายใจ โดยจ่ายค่าจ้างให้ในครั้งแรก แต่ต่อมาจะเริ่มให้ทำภารกิจที่ยากขึ้น และต้องโอนเงินให้ประมาณหลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : หน้ากากอนามัยเพียงพอสำหรับป้องกัน PM2.5 จริงหรือ ?

หน้ากากอนามัยทั่วไปออกแบบเพื่อป้องกันเชื้อโรคที่มีขนาดใหญ่กว่าฝุ่น PM2.5 จึงไม่มีประสิทธิภาพด้านการป้องกันมลพิษทางอากาศเท่าที่ควร

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : รถปลอดภัยหรือไม่ ดูง่ายๆจาก Moose Test จริงหรือ?

2 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์ความรู้ในการเลือกซื้อรถยนต์ว่าถ้าอยากรู้ว่ารถคันไหนปลอดภัยหรือไม่ ให้ดูที่การทดสอบขับหลบหลีก หรือ Moose Test นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ระบุว่า Moose Test เป็นหนึ่งในการทดสอบความปลอดภัยในการหักพวงมาลัยด้วยความเร็วระดับหนึ่ง และ การ Moose Test เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการประกอบการตัดสินใจซื้อรถเท่านั้น ยังมีอีกหลายปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ของแต่ละบุคคล Moose Test  คืออะไร ? การ Moose Test เป็นการทดสอบสมรรถนะของรถยนต์ในการหักหลบสิ่งกีดขวางแบบกะทันหัน เพื่อดูการตอบสนองของรถยนต์ในสภาวะคับขัน ฉุกเฉิน นอกจาก Moose Test ปัจจัยอะไรบ้างชี้ว่ารถยนต์คันนั้นปลอดภัย ? >การบังคับควบคุม >ทัศนวิสัย >ขนาดของตัวรถ > อุปกรณ์ด้านความปลอดภัย การซื้อรถยนต์เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาหลายด้านประกอบกัน นอกเหนือจากเรื่องของฟังก์ชันที่ล้ำสมัย รูปทรง และราคาแล้ว เรื่องระบบของความปลอดภัยถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการเลือกรถยนต์เช่นกัน ซึ่งระบบความปลอดภัยยังช่วยทำให้ขับขี่รถได้อย่างมั่นใจอีกด้วย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อากาศภายในบ้านมี PM2.5 น้อยกว่าอากาศนอกบ้านเสมอ จริงหรือ ?

มีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดควันภายในบ้านมากมายที่อาจทำให้อากาศภายในบ้านมีมลพิษมากกว่าอากาศนอกบ้าน

ชัวร์ก่อนแชร์ : 8 พฤติกรรมการนอนกรน เสี่ยงหยุดหายใจ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์แบบประเมิน 8 ข้อสังเกตพฤติกรรมการนอนกรน ที่อาจเสี่ยงกับการเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับได้ มีตั้งแต่มีท่าทางการนอนที่ผิดปกติ ตื่นมาแล้วคอแห้งมากกว่าปกติ รวมไปถึงมีอาการปวดศีรษะมาก บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สรุปว่า วิธีสังเกตพฤติกรรมนอนกรนตามที่แชร์กันมีความถูกต้อง เป็นการประเมินอาการตัวเองในเบื้องต้น ส่วนเรื่องของการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่เป็นคะแนนอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย แบบประเมิน 8 ข้อสังเกตพฤติกรรมการนอนกรน มีดังนี้ 1.มีคนเห็นหยุดหายใจขณะหลับ 2.มีท่าทางผิดปกติขณะหลับ เช่น กัดฟัน ขากระตุก 3.ตื่นนอน คอแห้ง เจ็บคอมากผิดปกติ 4.ตื่นมามีอาการปวดศีรษะมาก 5.ตื่นมาง่วงนอน เหมือนพักผ่อนไม่พอ 6.เป็นโรคความดันโลหิตสูง 7.เป็นผู้ชายผู้หญิง วัยหมดประจำเดือน 8.มีอายุมากกว่า 50 ปี สัมภาษณ์เมื่อ 23 มีนาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

1 91 92 93 94 95 127
...