สำรวจพบบริษัทไทย 1 ใน 4 พร้อมสู้ภัยไซเบอร์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

22 มีนาคม 2566 กรุงเทพฯ  – 22 มีนาคม 2566 — จากผลสำรวจพบ  27% ขององค์กรในประเทศไทยมีความพร้อมในระดับ ‘มีความพร้อมอย่างเต็มที่’ ในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์สมัยใหม่ ตามรายงานดัชนีความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ของซิสโก้ จากผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าทุกองค์กรสามารถดำเนินงานได้เป็นอย่างดีและมีความพร้อมสำหรับความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้น  รายงานดัชนีความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของซิสโก้: ความยืดหยุ่นในโลกไฮบริดรายงานดัชนีความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของซิสโก้ : ความยืดหยุ่นในโลกไฮบริด (Cisco Cybersecurity Readiness Index : Resilience in a Hybrid World) ได้ศึกษาความพร้อมของบริษัทต่าง ๆ ที่ได้เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานแบบอยู่กับที่ ซึ่งบุคลากรทำงานโดยใช้อุปกรณ์เครื่องเดียวในสถานที่ตั้งแห่งเดียว เชื่อมต่อกับเครือข่ายที่คงที่ตายตัว ไปสู่โลกไฮบริดที่พนักงานทำงานจากอุปกรณ์หลายเครื่องในหลากหลายสถานที่มากขึ้น โดยเชื่อมต่อกับหลาย ๆ เครือข่าย พร้อมทั้งสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันบนระบบคลาวด์ได้ในขณะเดินทาง และสร้างข้อมูลจำนวนมหาศาล ความเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดปัญหาท้าทายในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์กับบริษัทต่าง ๆ การสำรวจในครั้งนี้เป็นการสำรวจความเห็นแบบปกปิดสองทาง (double-blind) ดำเนินการโดยองค์กรอิสระ โดยสัมภาษณ์ผู้บริหารฝ่ายไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในภาคเอกชน 6,700 คนใน 27 ประเทศ เกี่ยวกับการปรับใช้โซลูชั่น และระดับของการปรับใช้ โดยบริษัทต่าง […]

UNICEF เผยเยาวชนไทย 1.4 ล้านคนเป็นกลุ่ม “NEET” ห่วงท้อแท้ เมินพัฒนาทักษะ

22 มีนาคม 2566 UNICEF จัดงานนำเสนอผลการศึกษางานวิจัยฯ เยาวชน NEET พบเยาวชนที่ว่างงานเกือบ 7 ใน 10 คนของประเทศไทย ขาดแรงกระตุ้นให้พัฒนาทักษะ พร้อมแนะแนวทางแก้ไขจากกลุ่มตัวอย่าง และองค์กรชั้นนำในประเทศไทย กรุงเทพฯ 22 มีนาคม 2566 — องค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ประเทศไทย กระทรวงแรงงาน และศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-ColLaR) จัดงาน การนำเสนอผลการศึกษา “งานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม (Youth Not in Employment, Education, or Training: NEET) ในประเทศไทย” เพื่อร่วมแบ่งปันความรู้ในระดับประเทศเกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขเยาวชน NEET  นางคยองซัน คิม ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวเปิดงานและแสดงความห่วงใยปัญหา NEET ของเยาวชนไทยสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 15 ของเยาวชนไทยทั้งหมด รายงานพบปัจจัยหลักมาจากครอบครัว และสภาพจิตใจที่ส่งผลอย่างมากในปัจจุบัน พร้อมย้ำความตั้งใจที่จะร่วมมือกับภาครัฐและองค์กรต่าง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE : ข้อเท็จจริง เรื่อง ซีเซียม 

20 มีนาคม 2566 อัปเดตแวดวงข่าวปลอมข้อมูลเท็จในแบบ “คุยสด เรียนรู้ เท่าทัน” ชวนคุยในหัวข้อ : ข้อเท็จจริง เรื่อง ซีเซียม คืออะไร – อันตรายแค่ไหน – สังเกตอาการอย่างไร ? กับ นพ. เพชร อลิสานันท์ แพทย์ประจำหน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา แผนกรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ชัวร์ก่อนแชร์: คนหนุ่มสาวตายมากขึ้นในปี 2021-2022 เพราะวัคซีน จริงหรือ?

มีหลักฐานมากมายยืนยันว่าการเสียชีวิตส่วนเกินในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีสาเหตุจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ใช่วัคซีนตามที่กล่าวอ้าง

เปิดวิธีลงทะเบียน! รับสิทธิลดค่าไฟ-ค่าน้ำ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รอบใหม่ |ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

20 มีนาคม 2566 ผู้ที่ผ่านการยืนยันตัวตนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 รอบใหม่จะต้องลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาใหม่ทุกคน โดยสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป กรุงเทพฯ 20 มี.ค. 66 – ในวันที่ 15 มีนาคม 2566 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยข้อมูลจากกระทรวงการคลังว่า มีผู้ที่ยืนยันตัวตนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสำเร็จ จำนวน 8,948,121 คน มีผู้ยื่นอุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติ จำนวน 1,014,730 คน ทั้งนี้ ขอให้ผู้ที่ยืนยันตัวตนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไปลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมมาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ซึ่งต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิใหม่ทุกคน มีเงื่อนไขให้รับสิทธิได้ 1 ครัวเรือนต่อ 1 สิทธิต่อ 1 รหัสประจำบ้าน กล่าวคือ สามารถลงทะเบียนรับสิทธิค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาได้เพียง 1 หน่วยงาน โดยสามารถลงทะเบียนได้แล้วตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป วิธีการรับสิทธิบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา เงื่อนไขการรับสิทธิ *หมายเหตุ : […]

สรุปไทม์ไลน์ “ยุบสภา” 14 ครั้ง แห่งประวัติศาสตร์การเมืองไทย | ชัวร์ก่อนแชร์ เลือกตั้ง 66

สรุปไทม์ไลน์ “ยุบสภา” 14 ครั้ง แห่งประวัติศาสตร์การเมืองไทย | FACTSHEET

ชัวร์ก่อนแชร์ เลือกตั้ง 66 โดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ | กัญญาลักษณ์ ยอดเยี่ยมแกร, ปพิชยา นัยเนตร, พีรพล อนุตรโสตถิ์ การยุบสภาในวันที่ 20 มีนาคม 2566 นับเป็นการยุบสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14 ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย หลังเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ซึ่งการยุบสภาในแต่ละครั้ง มีสาเหตุและบริบทแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ดังข้อมูลและข้อเท็จจริงที่รวบรวมมานำเสนอในบทความนี้ รู้จัก “ยุบสภา”          “ยุบสภา” หรือคำเต็มคือ การยุบสภาผู้แทนราษฎร ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Dissolution of Parliament หมายถึง การทำให้การดำรงสภาพของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงพร้อมกันก่อนครบกำหนดตามวาระ โดยพระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกาตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรี มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสภาพ้นจากตำแหน่งพร้อมกัน เพื่อนำไปสู่จัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่         ประเทศไทย เคยมีการประกาศ “ยุบสภา” มาแล้ว 15 ครั้ง โดยแบ่งเป็น การยุบสภาผู้แทนราษฎร 14 ครั้ง และ การยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 1 ครั้ง การยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตากระตุก สัญญาณเตือนของโรคร้าย จริงหรือ ?

อาการตากระตุกเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งหนังตาบริเวณเปลือกตาด้านบน และหนังตาบริเวณเปลือกตาด้านล่าง โดยทั่วไปแล้ว อาการตากระตุกจะเป็นลักษณะอาการที่ไม่รุนแรง ไม่เจ็บปวด เกิดขึ้นและหายได้เอง ยกเว้นในบางกรณีที่อาจมีอาการตากระตุกอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถหยุดกระตุกได้ตามปกติ เนื่องจากอาจเป็นอาการร่วมของโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต รวมปัญหาสุขภาพของผู้หญิง จริงหรือ ?

ไม่จริง ไม่ควรแชร์ หลายคนก็ว่าห้ามออกกำลังกายระหว่างมีประจำเดือน อันตรายถึงชีวิต และการกินยาคุมฉุกเฉินเสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูก

ชัวร์ก่อนแชร์: โควิด-19 ไม่ทำให้คนตายเพิ่มขึ้น แต่วัคซีนทำให้คนตายเพิ่มขึ้น จริงหรือ?

ข้อมูลของ ONS ยืนยันว่าในปี 2020 ที่โควิด-19 เริ่มระบาด มีคนหนุ่มสาวเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ส่วนข้อมูลจากนิวซีแลนด์ยืนยันว่า อัตราการตายส่วนเกินที่เพิ่มขึ้นในปี 2021 ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด-19

ระวัง ! มิจฉาชีพปลอมเว็บกระทรวงพาณิชย์ ลวงโหลดแอปฯ ฉกข้อมูล | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

ตร.ไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพปลอมเว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์ หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม หวังเข้าคุมมือถือเหยื่อ ก่อนดึงข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงรหัส PIN ไปใช้สวมรอยโอนเงิน เร่งประสานปิดเว็บแล้ว กรุงเทพ 19 มี.ค. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ ประชาสัมพันธ์เตือนภัยกรณีการหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม ผ่านทางเว็บไซต์ปลอม หวังสวมรอยขโมยเงินเหยื่อ สร้างความเสียหายแก่ข้อมูลและทรัพย์สินของประชาชน สร้างเว็บฯ ปลอม แอบอ้างใช้สัญลักษณ์กระทรวง บช.สอท. ตรวจสอบพบว่า http://moc-no-th.com เป็นเว็บไซต์ปลอมที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นเพื่อฉวยโอกาสจากความเชื่อถือ และความไม่รู้ของประชาชน โดยสร้างเลียนแบบให้คล้ายคลึงกันกับเว็บไซต์จริงของกระทรวงพาณิชย์ (https://www.moc.go.th) อีกทั้งภายในยังมีการใช้สัญลักษณ์ของหน่วยงาน หากประชาชนไม่ได้สังเกตเห็นความแตกต่างหรือไม่เคยใช้บริการเว็บไซต์จริงมาก่อนอาจตกเป็นเหยื่อได้ หลอกให้ติดตั้งแอปฯ ดึงข้อมูล หวังสวมรอยทำธุรกรรมส่วนสำคัญของหน้าเว็บไซต์ปลอมข้างต้นจะมีปุ่มให้คลิกเพื่อติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมซึ่งแท้จริงแล้วเป็นไฟล์อันตราย นามสกุล .APK โดยอันดับแรกจะมีการขอสิทธิ์เพื่อติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก ขอสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ และขอสิทธิ์ควบคุมอุปกรณ์ จากนั้นทางแอปพลิเคชันดังกล่าวจะให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน ทั้งยังให้ตั้งรหัส PIN 6 หลักจำนวนหลายครั้ง เพื่อหวังให้เหยื่อกรอกเลขชุดเดียวกับรหัสในการทำธุรกรรมทางเงินของแอปพลิเคชันธนาคาร เมื่อมิจฉาชีพได้สิทธิ์ควบคุมอุปกรณ์ไปแล้วจะล็อกหน้าจอโทรศัพท์มือถือของเหยื่อ ทำให้เสมือนว่าโทรศัพท์มือถือค้าง ก่อนจะนำรหัส PIN 6 […]

1 92 93 94 95 96 120
...