ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 3 สิ่งไม่ควรทำเมื่อล้างรถยนต์ จริงหรือ?
ห้ามล้างรถยนต์ด้วยน้ำยาล้างจานเด็ดขาด เพราะอาจทำให้สีรถยนต์ลอก สารในน้ำยาล้างจานมีฤทธิ์รุนแรงจะทำให้แล็กเกอร์หรือแว็กซ์เคลือบตัวรถหลุดออกไปด้วย
ห้ามล้างรถยนต์ด้วยน้ำยาล้างจานเด็ดขาด เพราะอาจทำให้สีรถยนต์ลอก สารในน้ำยาล้างจานมีฤทธิ์รุนแรงจะทำให้แล็กเกอร์หรือแว็กซ์เคลือบตัวรถหลุดออกไปด้วย
บ่อยครั้งที่บทสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อเท็จจริง พัฒนาเป็นการโต้แย้งระหว่างคนในครอบครัว และนำไปสู่ความบาดหมางที่ยากจะเยียวยา
🎯 ตามที่มีการแชร์ประกาศรับสมัครพนักงานบริษัทไทยออยล์ เงินเดือนสูง พร้อมโบนัส นั้น 📌 บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ เป็นข้อมูลเท็จที่ถูกนำกลับมาแชร์วนซ้ำ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เพจ ‘Thaioil Recruitment’ ได้มีการประกาศยืนยันหลายครั้งถึงข้อความดังกล่าวว่า ไม่จริงและไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทไทยออยล์แต่อย่างใด โดยการรับสมัครงานบริษัทไทยออยล์ จะเผยแพร่ผ่านทางบริษัทฯ เท่านั้น ได้แก่ ภาพประกาศยืนยันจากทางบริษัทไทยออยล์ ตรวจสอบจากฐานข้อมูล ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า ข้อความดังกล่าว เริ่มแพร่กระจายในช่วงปี 2561 โดยเริ่มจาก มีเพจต่าง ๆ ได้นำรูปภาพแบนเนอร์เปิดรับสมัครงาน ตำแหน่งพนักงานปฏิบัติการ ประจำโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ ในปี 2561 ซึ่งรูปดังกล่าวเป็นรูปภาพจริงของทางบริษัท ฯ โดยนำมาโยงเข้ากับข้อความที่ไม่เป็นความจริง ภาพและข้อความที่แชร์ตั้งแต่ปี 2561 ในปี 2566 ทางศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ยังได้รับการสอบถามเข้ามาเกี่ยวกับประเด็นการรับสมัครงานของบริษัทไทยออยล์ แต่มาในลักษณะข้อความที่เหมือนในปี 2561 เท่านั้น แต่ไม่ปรากฏภาพแบนเนอร์❌ดังนั้นข้อความที่แชร์กันนี้ เป็นข้อความเก่าและไม่เป็นความจริง งดส่งต่อข้อความที่สร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง❌ อ้างอิง : https://www.facebook.com/ThaioilGroupRecruitment/posts/1853242994761804/ […]
24 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีที่มีการแชร์ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าหุงข้าวใส่น้ำมันมะพร้าวช่วยลดน้ำตาล อีกทั้งยังช่วยรักษาโรคเริมอีกด้วย เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ไขมันมะพร้าวดีจริงหรือ ? มีการแชร์ถึงสรรพคุณของน้ำมันมะพร้าวว่า ไขมันอิ่มตัวจากน้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันดี ร่างกายมนุษย์สามารถขับออกได้ และสิ่งที่คนเชื่อคือการกินไขมันนั้นทำให้อ้วน แต่ความจริง คือ ร่างกายต้องการไขมันในการละลายวิตามิน การกินไขมันจึงเป็นสิ่งจำเป็น ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ดร.นัฐพล ตั้งสุภูมิ อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ “ไขมันมะพร้าวถือว่าเป็นไขมันอิ่มตัวที่มีประโยชน์กว่าไขมันอิ่มตัวชนิดอื่น ๆ ร่างกายสามารถขับออกได้น้อยมาก การกินน้ำมันจึงไม่ควรกินมากเกินความต้องการของร่างกาย” อันดับที่ 2 : น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคเริม จริงหรือ ? มีการแชร์สูตรรักษาโรคเริมได้ โดยการทาน้ำมันมะพร้าวบริเวณที่เป็นเริม 2-3 ครั้ง แผลจะหายสนิท ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ หัวหน้าสาขาวิชาตจวิทยา (หน่วยผิวหนัง) […]
การหันมาพัฒนาเทคโนโลยี AI เพื่อใช้ในงานตรวจสอบข้อเท็จจริง จึงมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในงานด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ก้าวทันเทคโนโลยีที่พัฒนาไปเรื่อย ๆ
22 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์คลิปเตือนว่า หินปูนที่เกาะตามฟัน เกิดจากการสะสมของแคลเซียมที่หลุดออกมาจากเนื้อฟันเมื่อเราแปรงฟัน เพราะไม่ใช้ยาสีฟันบางชนิดนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ทพญ.ศิริกาญจน์ อรัณยะนาค ผู้เชี่ยวชาญสาขาปริทันตวิทยา ภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า แคลเซียมไม่สามารถหลุดออกมาได้ด้วยการใช้ยาสีฟันและการแปรงฟัน แต่จะมีการสูญเสียแคลเซียมในชั้นเคลือบฟันได้ ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่าการเกิดโรคฟันผุ ซึ่งเกิดจากการสร้างกรดอินทรีย์ของเชื้อแบคทีเรียที่จะเป็นสาเหตุทำลายชั้นเคลือบฟันและเกิดการสลายของแร่ธาตุในชั้นเคลือบฟัน ส่วนสารผสมในยาสีฟันจะมีสารขัดที่มีชื่อว่า ABRASIVE ช่วยขจัดคราบจุลินทรีย์ คราบสี หรือคราบอาหารที่ตกค้างอยู่บนผิวฟัน เนื่องจากสารตัวนี้ (ABRASIVE) มีขนาดเล็กจึงไม่ไปทำลายพื้นผิวของชั้นเคลือบฟัน สารพวกนี้จึงมีความปลอดภัย ดังนั้น เรื่องหินปูน คือ แคลเซียมที่หลุดออกมาจากฟัน จึงไม่เป็นความจริง และไม่ควรแชร์ต่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด สัมภาษณ์เมื่อ : 16 พฤษภาคม 2565ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส
19 พฤษภาคม 2566 – โรคประสาทหูเสื่อมเกิดจากอะไร เมื่อไหร่ควรพบแพทย์ และมีวิธีชะลอการเสื่อมหรือรักษาหรือไม่ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรคประสาทหูเสื่อมเกิดจากอะไร ? เกิดจากการสูญเสียที่หูชั้นใน เช่น ความพิการแต่กำเนิด โรคทางพันธุกรรม ความเสื่อมตามอายุ หรือการได้รับเสียงดังเป็นเวลานาน ๆ โดยมากมักจะเป็นแบบถาวร ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้การได้ยินกลับมาเป็นปกติได้ วิธีการป้องกันตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะประสาทหูเสื่อม 1. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดัง 2. หากจำเป็นต้องอยู่สิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังตลอด ควรใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ที่อุดหูกันเสียง ที่ครอบหู 3. ตั้งความดังเสียงในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น หูฟัง ให้อยู่ในระดับปลอดภัย 4.หากเกิดความผิดปกติในการได้ยิน เช่น รู้สึกได้ยินลดลง มีเสียงดังรบกวนในหู ควรรีบปรึกษาแพทย์ สัมภาษณ์เมื่อ : 15 มีนาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]
23 พฤษภาคม 2566 มุกหลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยมิจฉาชีพจะเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน เนื้อหาไปตามสถานการณ์ ทั้ง แจ้งว่าได้รับสิทธิ์ ได้รับเงินคืน อัปเดตข้อมูล โดยในขั้นตอนสุดท้ายจะหลอกลวงให้เหยื่อกดลิงก์ ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมของหน่วยงานที่แอบอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชน อย่าง การไฟฟ้า และการประปา มักโดนแอบอ้างชื่อ ทำให้ประชาชนหลงเชื่อ และเสียเงินจำนวนมาก วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ จึงได้รวบรวมกลโกงที่เกี่ยวข้องกับการไฟฟ้า และการประปามาเตือนภัยให้ทุกคนไม่ตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพ สารพัดกลโกงมิจฉาชีพแอบอ้าง “การไฟฟ้า” สารพัดกลโกงมิจฉาชีพแอบอ้าง “การประปา”1. แอบอ้างเป็นพนักงานการประปา เปลี่ยนมาตรวัดน้ำให้ฟรี พร้อมให้ส่วนลดค่าน้ำ 2. ปลอมไลน์การประปา หลอกให้จ่ายค่าน้ำ3.ส่ง SMS หลอกว่า ค่าน้ำแพง หลอกให้ทำธุรกรรมผ่านทางไลน์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่า การไฟฟ้าประกาศยืนยันว่า ไม่มีนโยบายคืนเงินให้ผู้ใช้ไฟ หรือขอเบอร์โทรศัพท์ เพื่อแจ้งข้อมูล หรือรับสิทธิ์ใด ๆ ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าผ่านช่องทางใด ๆ ทั้งสิ้น รวมถึงสามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ หรือ 1129 PEA Contact Center ตลอด […]
MITM ATTACK (เอ็ม-ไอ-ที-เอ็ม-แอ็ตแท็ก) ย่อมาจากคำว่า Man-in-the-Middle หมายถึง การแฝงตัวแทรกระหว่างการสื่อสารของสองฝ่ายเข้าใจว่ากำลังติดต่อกับตัวจริง
21 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์คลิปแนะนำวิธีปลูกกล้วย DIY ปลูกง่าย ๆ โดยใช้ผลกล้วยสวย ๆ ปักลงไปในดิน จากนั้นให้นำขวดหรือถุงพลาสติกมาครอบเอาไว้ แล้วจะทำให้มีรากออกมาจากผลกล้วยได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลกับ ผศ.ดร.อารยา อาจเจริญ เทียนหอม ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า เซลล์หรือเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณปลายผลกล้วยไม่มีเนื้อเยื่อเจริญ ดังนั้นการนำผลกล้วยปักลงดินแล้วจะมีรากงอกออกมาจึงไม่สามารถเป็นไปได้ ในคลิปมีการสาธิตให้ดูว่ารากงอกออกมาจากผลกล้วยได้ ? อาจารย์กล่าวว่า “เป็นไปไม่ได้ที่รากจะงอกออกมาจากผล เพราะลักษณะเนื้อเยื่อบริเวณปลายผลนั้นไม่มีส่วนของเนื้อเยื่อที่จะไปกระตุ้นสร้างให้เกิดเป็นรากในสภาพธรรมชาติได้ แม้กระทั่งในห้องปฏิบัติการก็ถือว่าทำได้ยากเช่นกัน ส่วนในเรื่องของการนำขวดพลาสติก หรือถุงพลาสติกมาคลุมเอาไว้ ก็ไม่ได้ช่วยให้ผลกล้วยเจริญเติบโตไปเป็นต้นได้เช่นกัน” ในคลิปยังบอกอีกว่า เมล็ดในผลกล้วยจะสามารถงอกได้ ? อาจารย์กล่าวต่อว่า “โอกาสที่จะติดเมล็ดงอกเป็นต้นเกิดขึ้นได้น้อยมาก ถึงแม้กล้วยบางชนิดจะมีเมล็ด เช่น กล้วยน้ำว้า ซึ่งเราอาจจะพบการติดเมล็ดได้ แต่ในส่วนของกล้วยหอมนั้น ไม่พบการติดเมล็ดแต่อย่างใด และจากคลิปมีการสาธิตด้วยการใช้กล้วยหอม และบอกว่าจะงอกเป็นต้นใน 2 สัปดาห์ โอกาสที่จะเกิดขึ้นได้นั้นจึงไม่มี ส่วนการปลูกกล้วยด้วยหัวปลีนั้นมีโอกาสแต่ก็น้อยมากเช่นกัน” […]
เสียงดังในหู คืออะไร เราจะได้ยินตอนไหน และควรทำอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทำความเข้าใจกับอาการเสียงดังในหู ผศ.พญ.ศิริพร กล่าวว่า “เสียงดังในหูเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยปกติเวลาหูทำงานจะมีการส่งเสียงกลับมาด้วย เมื่ออายุมากขึ้น เซลล์รับเสียงเริ่มเสื่อมลงตามอายุ ต้องกระตุ้นแรงขึ้นเลยส่งเสียงกลับมาแรงขึ้น ทำให้เราได้ยินเสียงดังในหู” ลักษณะเสียงที่ได้ยินเป็นแบบไหน ? “ขึ้นอยู่กับความถี่ที่เสียง ส่วนใหญ่จะเป็นเสียงวี๊ด ถ้าตามอายุหรือตามเซลล์รับเสียงในหูตาย จะตายที่บริเวณเสียงสูงก่อนเป็นอันดับแรก แต่ถ้าหากว่าเสียงต่ำเสียก่อน ก็จะเป็นเสียงหึ่ง ๆ เหมือนเครื่องจักร” ผศ.พญ.ศิริพร กล่าว เราจะได้ยินเสียงแบบนี้ตอนไหน ? “เรามักจะได้ยินเมื่อเวลาเรามีความเครียด นอนไม่หลับ อยู่เงียบ ๆ คนเดียว เช่น เมื่อเราอยู่ในห้องเงียบ ๆ ทุกคนจะได้ยินเสียงดังในหู กลับกันหากยืนอยู่ตามท้องถนนมีเสียงที่ดังกว่า สมองของเราจะเลือกฟังเสียงที่ดังกว่า เหมือนเราทำงานเพลิน ๆ ไม่ได้สนใจเสียงแอร์ เสียงดังในหูก็คล้ายกับเสียงแอร์นั่นเอง” ผศ.พญ.ศิริพร […]