ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : สบู่เหลวอาบแล้วตายเร็ว จริงหรือ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือน การอาบน้ำด้วยสบู่เหลวนั้นเป็นอันตรายนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ “สาร SLS หรือ Sodium Lauryl Sulfate เป็นสารใช้ทำความสะอาด มีการใช้ทั่วโลกและใช้ทั่วไป เป็นสารที่มีมาตรฐานการใช้อยู่ ฉะนั้นจริง ๆ แล้วก็ไม่ได้เป็นเรื่องอันตรายตามที่แชร์กัน” ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : เภสัชกร กิติยศ ยศสมบัติ อาจารย์พิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดร.ไฉน น้อยแสง รองผู้อำนวยการวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีรศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “สบู่เหลวไม่ได้ทำให้ตายเร็วขึ้น สารโซเดียม ลอริล ซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulfate) เป็นสารที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั่วไป เช่น น้ำยาล้างจาน แชมพู ยาสีฟัน ซึ่งไม่มีอันตรายต่อสุขภาพแต่อย่างใด ทั้งนี้ การใช้สาร Sodium Lauryl Sulfate ในระยะยาวก็ไม่ได้ทำให้กลายเป็นสารก่อมะเร็ง รวมทั้งร่างกายก็ไม่ได้มีการดูดซึมสารดังกล่าวผ่านผิวหนัง จึงทำให้ไว้ใจได้ว่าสบู่เหลวนั้นมีความปลอดภัย แต่ถ้าหากผู้ใช้มีอาการแพ้สารดังกล่าวก็สามารถเปลี่ยนไปใช้ผลิต­­­ภัณฑ์อื่นได้” […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Nearer, My God, to Thee คือเพลงสุดท้ายที่บรรเลงบนเรือ Titanic จริงหรือ?

ไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่าเพลงใดคือเพลงสุดท้ายที่บรรเลงบนเรือ Titanic แม้ผู้รอดชีวิตส่วนใหญ่จะเล่าว่าเป็นเพลง Nearer, My God, to Thee ก็ตาม

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต เรื่องปิ้งย่างและหมูกระทะ จริงหรือ ?

5 กรกฎาคม 2566 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับเมนูฮิตอย่างปิ้งย่างหรือหมูกระทะเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าก่อนกินหมูกระทะตองถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อน และยังมีวิธีกินปิ้งย่างที่ห่างไกลมะเร็งอีกด้วย ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : มันหมูเป็นอาหารสุขภาพอันดับ 8 ของโลก จริงหรือ ? มีการแชร์แนะนำว่าไขมันหมูคืออาหารสุขภาพที่ได้รับการจัดเป็นอันดับ 8 ของอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่สุดในโลก ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลSeunghyeon Kim ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัย Hong Kong BaptistPan-Jun Kim ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัย Hong Kong Baptist บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌  “แม้งานวิจัยระบุว่ามันหมูมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายก็จริง แต่ไม่ควรกินมากเกินไปจนลืมนึกถึงโทษที่ตามมา” อันดับที่ 2 : อะลูมิเนียมฟอยล์ย่างหมู อันตรายจริงหรือ ? มีการแชร์คลิปการทำหม้อชาบู-ย่างหมูกระทะ โดยใช้กระดาษอะลูมิเนียมฟอยล์กับเทียนไข ต่อมาก็มีการแชร์กันว่าวิธีดังกล่าวเป็นอันตราย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ MotorCheck : รถยนต์ EV ระเบิดง่ายกว่ารถอื่น แม้ขณะจอด จริงหรือ ?

4 กรกฎาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์คำเตือนว่า รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ระเบิดง่ายกว่ารถอื่น ๆ แม้ขณะจอด หรือขณะชาร์จไฟ นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับนายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ระบุว่า จากสถิติกลุ่มรถยนต์ที่เกิดไฟไหม้มากที่สุดไม่ใช่รถยนต์ไฟฟ้า แต่เป็นรถยนต์ Hybrid เพราะ มี 2 ระบบ ทั้งน้ำมัน และ ไฟฟ้า  มีทั้งการรั่วไหลของเชื้อเพลิงกับไฟฟ้าแบตเตอรี่ สาเหตุของการเกิดไฟไหม้ของรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ เรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญ รถไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ ยังต้องมีการทดสอบความปลอดภัยค่อนข้างมากทั้ง รถไฟฟ้า แบตเตอรี่ และสถานีชาร์จที่มีกำลังไฟฟ้าสูง ในประเทศไทยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) มีแผนกำหนดมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้ประชาชนมีความมั่นใจที่จะเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : สุทธิมนัส ชินอัครพงศ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต ปัญหาสุขภาพฟัน จริงหรือ ?

28 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพฟันเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าเกลือช่วยรักษาฟันผุ และมีวิธีขจัดหินปูนแบบธรรมชาติโดยไม่ต้องรักษากับแพทย์นั้น เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : จะผ่าฟันคุดต้องรอให้เห็นฟันขึ้นก่อน  จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อสงสัยว่า คนที่มีฟันคุดจะต้องรอให้ฟันขึ้นมาจนหมดค่อยผ่าออกนั้น ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : รศ.ทพ.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ ประธานราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย  บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “หากอายุระหว่าง 17-21 ปี สามารถผ่าฟันคุดออกได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ฟันคุดขึ้นทะลุเหงือกออกมา และหากยิ่งทำเร็วการผ่าตัดก็ยิ่งง่าย ทั้งยังช่วยลดอาการบอบช้ำของเหงือกได้ด้วย” อันดับที่ 2 : วิธีขจัดคราบหินปูนที่ฟันด้วยวิธีธรรมชาติ จริงหรือ ? มีการแชร์ 10 วิธีขจัดคราบหินปูนที่ฟันด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น การทำออยล์พูลลิ่ง การใช้น้ำมันดูดสารพิษ การใช้เบกกิ้งโซดา ไปจนถึงการใช้พืชหรือสมุนไพรต่าง ๆ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ :  อ.ทพ.ดร.อรรถวุฒิ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Titanic อับปางเพราะอาถรรพ์ Unlucky Mummy จริงหรือ?

ข้อมูลจากบัญชีสินค้าของเรือ Titanic ยืนยันว่าไม่มีการบรรทุกหีบศพมัมมี่ขึ้นเรือ ส่วนหีบศพ Unlucky Mummy ก็ยังถูกเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ British Museum

ชัวร์ก่อนแชร์ : แชร์คลิปหนังสั้นมูลนิธิเวชดุสิต 1 วิว = 1 บาท จริงหรือ ?

4 กรกฎาคม 2566 ตามที่มีการส่งต่อข้อความขอให้ช่วยแชร์คลิปหนังสั้น ที่อ้างว่าสร้างขึ้นโดย “มูลนิธิเวชดุสิต” เพื่อหาทุนช่วยเหลือการศึกษาให้เด็ก โดย 1 ยอดวิว = 1 บาท และมีเป้าหมายที่ 2 ล้านบาท นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า คลิปที่แชร์พร้อมข้อความนั้น เป็นคลิปให้กำลังใจของศิลปินคนตาบอด S2S ซึ่งทางวงดนตรีก็ได้ชี้แจงไว้แล้วว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อความที่แชร์กัน [Official MV] กำลังใจ by ศิลปิน S2S ด้านมูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอดและมูลนิธิเวชดุสิต ต่างยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อความและขอรับบริจาคตามที่แชร์กันแต่อย่างใด โดยที่ผ่านมาในปี 2558 ทางมูลนิธิเวชดุสิตเคยจัดทำคลิป Unlimited Dreams เพราะความฝันไม่มีวันพิการ ปีที่ 1 2558 โดย 1 วิวที่เข้าชม มูลนิธิได้ร่วมสมทบทุน 1 บาทผ่านโครงการความฝันไม่มีวันพิการ และโครงการดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้วเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่ปลายปี 2558 ดังนั้น จึงแนะนำว่า ❌ ข้อความที่แชร์กันไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ หากท่านใดมีความประสงค์ต้องการจะบริจาคสมทบทุนให้แก่มูลนิธิเวชดุสิตฯ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ไมยราบ หญ้าวิเศษ รักษาสารพัดโรค จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิปแนะนำ สมุนไพร “ไมยราบ”เป็น “หญ้าวิเศษ” แก้ลมพิษทันใจ แก้ได้หลายโรคนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ระบุว่า ในตำราสมุนไพรมีการกล่าวถึงสรรพคุณของไมยราบว่าสามารถเอาไปตำละเอียดมาโปะทาแก้ลมพิษใช้ในการขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวง รักษาการตกขาว ช่วยเรื่องการนอนหลับได้ สามารถนำมากินเพื่อบรรเทาอาการชั่วคราวได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรกินทุกวันหรือระยะยาว เพราะอาจมีทำให้เซลล์ผิดปกติได้หรือมีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : เทคนิคสังเกต ขบวนการหลอกสมัครงาน 

เทคนิคสังเกต ขบวนการหลอกสมัครงาน ระวังไว้ …หางานผ่านออนไลน์ ได้งานง่ายเงินดี ชวนลงทุนเพิ่ม เสริมกำไรแต่สุดท้าย อาจเงินหาย ได้หนี้เพียบ สังเกตไว้ก่อนปัจจุบันคนร้ายมีวิธีใหม่ๆ ที่เข้าถึงเราได้ง่ายดายยิ่งขึ้นแค่พิมพ์ผลการค้นคำว่า “สมัครงานออนไลน์”ก็สามารถนำไปสู่คนร้ายที่วางกับดักไว้รออยู่แล้วต้องตั้งสติและลองมองหาจุดน่าสงสัยเหล่านี้ บริษัทน่าเชื่อถือไหม ?ทำไมรับเข้าทำงานง่ายจัง ?ทำไมประกาศรับสมัครงานดูไม่เป็นทางการ ?ทำไมค่าตอบแทนถึงเยอะผิดปกติ ? เตือนใจไว้เสมอโลกออนไลน์มีหลายภัยที่ปลอมตัวมาอย่างแนบเนียนอย่าลืมตระหนักความเสี่ยง และระวังตัวไว้เสมอหากจะสมัครงานต้องอย่าลืมคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ ไม่มีงานไหนให้โอนเงินก่อนการทำงานทั่ว ๆ ไป จะไม่มีการให้คนสมัครงานโอนเงินเข้าไปก่อนและเสียเงินจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆเช่น จ่ายค่าประกันสินค้าก่อน หรือยิ่งทำไปยิ่งเริ่มให้ไปเล่นคล้าย ๆ เล่นการพนันแทงสูงแทงต่ำ ลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆให้ระวังไว้ก่อนว่า อาจจะถูกมิจฉาชีพหลอกได้ เช็กความน่าเชื่อถือของบริษัททุกครั้งเช็กความน่าเชื่อถือของบริษัทควรโทรสอบถามว่าบริษัทมีการให้บริการในลักษณะนี้จริงไหมมีงานในลักษณะนี้หรือไม่ ลงทุนต่ำค่าตอบแทนสูงยิ่งเสี่ยงถูกหลอกงานลงทุนน้อยแต่ได้เงินมาก ๆ มีอยู่น้อยมากลงทุนต่ำ ๆ แต่ได้ผลตอบแทนสูงมากผิดปกติลักษณะนี้อาจจะเป็นการถูกหลอกได้ ต้องไม่โอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัวเด็ดขาดส่วนใหญ่การหลอกให้โอนเงิน จะให้โอนเงินเข้าสู่บัญชีของบุคคลธรรมดา ซึ่งบริษัทใหญ่ ๆ ทั่ว ๆ ไปจะไม่มีการให้โอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัวของพนักงานเด็ดขาดถ้ามีให้สงสัยไว้ก่อนว่า ไม่ปกติ ทางออกไว้แก้หากเริ่มไม่แน่ใจว่าถูกหลอกแบบนี้อยู่หรือไม่หรือโดนหลอกไปแล้วขอแนะนำให้เก็บหลักฐานไว้โดยด่วน ตั้งแต่เริ่มการคุยแชทครั้งแรกไปจนถึงการโอนเงิน แคปภาพเก็บหลักฐานโอนไปที่บัญชีใครจำนวนกี่ครั้งแต่ละครั้งจำนวนเท่าไรและพิมพ์บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้วไปแจ้งความ

ชัวร์ก่อนแชร์ : ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก จริงหรือ ?

3 กรกฎาคม 2566 ตามที่มีการแชร์ข้อความ “ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก” นั้น สรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่า เพจเฟซบุ๊กของ บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน ได้ออกประกาศยืนยันว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับโฆษณาชวนเชื่อและไม่มีนโยบายชวนลงทุนใด ๆ ทั้งการเทรดหุ้นระยะสั้น ระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนสูง ผ่านสื่อออนไลน์หรือโทรศัพท์ ทั้งสิ้น 🎯 บริษัทอมตะ มีเพจเฟซบุ๊กเดียว คือ “AMATA” เท่านั้น เพจอื่น ล้วนเป็นเพจปลอมที่ถูกสร้างขึ้นโดยมิจฉาชีพ มีทั้งการแอบอ้างใช้รูปคุณวิกรม กรมดิษฐ์ สัญลักษณ์ของบริษัทอมตะ รวมถึงมีการสร้างจดหมายปลอมขึ้น ทำให้เหยื่อหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ เกิดการเสียทรัพย์จำนวนมาก ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนทุกครั้ง 🎯 ทั้งนี้บริษัทอมตะได้รวบรวมรายชื่อเพจปลอมได้ตามลิงก์ด้านล่างรวมเพจปลอมแอบอ้างบริษัทอมตะหมายเหตุ: รายชื่อที่เพจปลอมข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น มิจฉาชีพอาจมีการปรับเปลี่ยนชื่อไปเรื่อย ๆ 3 กรกฎาคม 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

1 76 77 78 79 80 120
...