ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต ประโยชน์และโทษของการดื่มชา จริงหรือ ?

22 สิงหาคม 2566 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับการดื่มชาเอาไว้มากมาย บ้างก็ว่าชาเขียวแช่เย็นอันตราย กรมอนามัยประกาศห้ามไม่ให้ดื่ม และถุงชาปล่อยพลาสติกพันล้านในน้ำชาอีกด้วย?!  เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ชามีกาเฟอีนมากกว่ากาแฟ จริงหรือ ? มีการแชร์ว่า ชาร้อน 1 แก้ว มีกาเฟอีนมากกว่ากาแฟ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ผศ.ดร.ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “ชาและกาแฟมีกาเฟอีนมากน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ซึ่งชา 1 ถุง เทียบกาแฟที่ตักและชงประมาณ 2 ช้อนชาจะมีกาเฟอีนเต็มที่ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม” อันดับที่ 2 : ชาใบหม่อน ลดความดัน ตาใสแจ๋ว  จริงหรือ ? มีการแชร์คำแนะนำ ให้กินชาใบหม่อน 3-5 ใบ ต้มนาน 5 นาที ลดความดัน ถ้าบีบมะนาว ยิ่งทำให้ตาใสแจ๋ว ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : แพทย์แผนไทยคมสัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ! มิจฉาชีพอ้าง แจกเงินดิจิทัล 10,000

24 สิงหาคม 2566 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า ได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยีว่า ตรวจสอบพบผู้เสียหายหลายได้รับข้อความสั้น (SMS) จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาแจ้งว่า “ คุณได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ ” พร้อมกับแนบลิงก์ให้เพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ ใช้ชื่อบัญชีไลน์ว่า Thaid online โดยมิจฉาชีพจงใจตั้งให้คล้ายกับระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของกรมการปกครอง ( อ่านกลโกงมิจฉาชีพเรื่อง ระวัง SMS โจร หลอกติดตั้ง ThaID ปลอม ) ล่อกดลิงก์ แอดไลน์และหลอกโหลดแอปพลิเคชันปลอม ! เมื่อผู้เสียหายติดต่อไปยังไลน์ดังกล่าว มิจฉาชีพจะหลอกลวงสอบถามข้อมูลเบื้องต้นว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินดิจิทัลหรือไม่ จากนั้นจะให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน “ ลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล 10000 ” ผ่าน Play Store เมื่อทำการติดตั้งเสร็จสิ้น จะหลอกลวงให้ผู้เสียหายทำตามขั้นตอนต่าง ๆ เริ่มจากการให้ลงทะเบียนกรอกข้อมูลส่วนบุคคล ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน อาชีพ และรายได้ เพื่อตรวจสอบสิทธิ์ ต่อมาจะให้ทำการตั้งค่าให้สิทธิการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือ หรือการให้สิทธิควบคุมโทรศัพท์มือถือที่ผู้เสียหายใช้งานอยู่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ระเบิดนิวเคลียร์คิดค้นโดยนักเขียนนิยาย เอช. จี. เวลส์ จริงหรือ?

เอช. จี. เวลส์ กล่าวถึงการผลิตระเบิดจากธาตุยูเรเนียมในนิยาย แต่ไม่ใช่ผู้คิดค้นระเบิดนิวเคลียร์

ชัวร์ก่อนแชร์ MotorCheck : ใช้โซดาแทนน้ำกลั่นเติมแบตเตอรี่ได้ จริงหรือ?

22 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คำแนะนำ หากไม่มีน้ำกลั่นสำหรับเติมแบตเตอรี่ สามารถใช้โซดาเติมแทนได้นั้น สรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ทำได้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ระบุว่า หากไม่มีอะไรที่สามารถเติมได้ และแบตเตอรี่แห้งจริง ๆ หาสิ่งทดแทนอื่นไม่ได้แล้ว ก็สามารถใช้โซดาเติมแทนน้ำกลั่นได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญย้ำว่าควรใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น จริง ๆ แล้วน้ำที่อยู่ภายในแบตเตอรี่ก็คือน้ำกรด สาเหตุที่ต้องใช้น้ำกลั่นบริสุทธิ์เติมแบตเตอรี่ เป็นเพราะว่าน้ำเปล่า หรือน้ำอื่น ๆ มีส่วนผสมของแร่ธาตุมากมายซึ่งไม่จำเป็นสำหรับแบตเตอรี่ และจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี เช่น อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ อย่างไรก็ตาม เมื่อน้ำในแบตเตอรี่แห้งหรือลดลง ควรเอาน้ำกลั่นบริสุทธิ์มาเติม ไม่ควรนำน้ำเปล่า หรือน้ำอื่น ๆ มาเติม เพราะจะทำให้แบตเตอรี่ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และอาจจะส่งผลต่ออายุการใช้งานแบตเตอรี่สั้นลง ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : สุทธิมนัส ชินอัครพงศ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์​ : ทำใบขับขี่ออนไลน์ โดยไม่ต้องไปขนส่ง จริงหรือ ?

23 สิงหาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์ว่า “รับทำใบขับขี่ออนไลน์ ไม่ต้องสอบและอบรม รวมถึงไม่ต้องไปขนส่ง” นั้น  📌 บทสรุป :  ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบไปยัง กรมการขนส่งทางบก ย้ำชัด ไม่จริง ใบขับขี่ทุกชนิด ต้องทำที่กรมการขนส่งทางบกหรือโรงเรียนที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น มีแค่การจองคิวล่วงหน้าในแอป DLT Smart Queue หรืออบรมผ่าน www.dlt-elearning.com เท่านั้นที่ทำผ่านออนไลน์ได้ อุบายของคนร้าย จะสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอม ใช้โลโก้กรมการขนส่งทางบก และลงรูปหน้าม้าพร้อมใบขับขี่ สร้างความน่าเชื่อถือ พบทั้ง บริการรับทำใบขับขี่ และ เข้าอมรมต่ออายุใบขับขี่แทน หลอกเก็บเงินเหยื่อ ตั้งแต่ 1,000 – 6,000 บาท เมื่อเหยื่อหลงเชื่อโอนเงิน มิจฉาชีพจะหลอกล่อให้โอนเงินเพิ่มและเงียบหาย ไม่สามารถตามคืนได้หรืออาจได้รับใบขับขี่ปลอม ซึ่งมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารทางราชการหรือใช้เอกสารราชการปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Manhattan Project และผลกระทบต่อเหยื่อผู้ถูกหลงลืม

เกิดเสียงวิจารณ์ต่อภาพยนตร์ Oppenheimer เรื่องการละเลยผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้สถานที่ทดสอบการจุดระเบิดนิวเคลียร์ ทั้งกลุ่มคนที่ถูกบังคับได้ย้ายถิ่นฐาน และผู้ล้มป่วยจากการสัมผัสกัมมันตรังสี

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : DOOMSCROLLING ? — การเสพติดข่าว ที่บั่นทอนสุขภาพโดยไม่รู้ตัว !

19 สิงหาคม 2566 สิ่งนี้…เป็นอาการฮิตเสพติดข่าวร้าย จนกระทบสุขภาพจิต สิ่งนี้…อาจกลายเป็นความเคยชินที่เรามักทำโดยอัตโนมัติและไม่รู้ตัว และ สิ่งนี้…เคยถูกยกให้เป็นคำศัพท์แห่งปีของพจนานุกรม Oxford ในปี 2563 ที่ผ่านมา คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบกับชัวร์ก่อนแชร์ Keyword และคำนั้นก็คือ ? DOOMSCROLLING คืออะไร ? DOOMSCROLLING คือ พฤติกรรมการเสพติดข่าวร้ายบนโซเชียลมีเดีย คำนี้มาจากไหน ? Doomscrolling มาจาก doom ที่แปลว่าหายนะ บวกกับคำว่า scrolling ที่เป็นพฤติกรรมการไถเลื่อนหน้าจอ หรือ new feed นั่นเอง พฤติกรรม Doomscrolling นี้สามารถบั่นทอนสุขภาพจิตโดยที่เจ้าตัวอาจจะไม่ทันรู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่าสภาพจิตของตัวเองกำลังแย่ลง บางคนเสพติดการติดตามข่าวร้ายแล้วใช้เวลาไปกับการเลื่อนดูมันเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจจะรู้สึกหดหู่หรือสิ้นหวังไปเลย Social Media มักจะทำให้คนเราต้องเจอกับเรื่องหดหู่อยู่ทุกวัน และยิ่งคุณไปกดดูข่าวร้ายก็ยิ่งกลายเป็นการเปิดประตูสู่ความหดหู่ให้กับตัวเองดังนั้นควรจะเลือกเสพสื่อที่เป็นไปในทางสร้างสรรค์,  แบ่งเวลาเพื่อไม่ให้ตัวเองเสพสื่อตลอดทั้งวันทั้งคืน หรือการออกไปพูดคุยกับเพื่อนบ้างก็จะช่วยได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ : ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ […]

เผยไต๋..ดูดเงิน (กรณีแอปกรมที่ดินปลอม)| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET SPECIAL

19 สิงหาคม 2566 สืบเนื่องจากกรณีที่มีนักข่าวท่านหนึ่งถูกมิจฉาชีพปลอมเป็นเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน และสร้างความเสียหายมูลค่ากว่าล้านบาท อาจารย์ปริญญา หอมเอนก จึงได้ลองไปเป็นเหยื่อ เพื่อดูว่ามิจฉาชีพนี้ ทำให้เราหลงเชื่อได้อย่างไร มาร่วมติดตามและเผยไต๋ของเหล่ามิจฉาชีพไปพร้อม ๆ กันได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET ตอนพิเศษ กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ป้องกัน..ดูดเงิน (กรณีแอปกรมที่ดินปลอม)| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET SPECIAL

19 สิงหาคม 2566 สืบเนื่องจากกรณีที่มีนักข่าวท่านหนึ่งถูกมิจฉาชีพปลอมเป็นเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน และสร้างความเสียหายมูลค่ากว่าล้านบาท เราจะมีวิธีป้องกันตัวจากเหล่ามิจฉาชีพอย่างไร และเมื่อตกเป็นเหยื่อแล้ว เราจะต้องจัดการกับมันแบบไหน ติดตามได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET ตอนพิเศษ กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ภัยเงียบไซเบอร์ ที่คุณอาจไม่รู้ตัว| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

22 สิงหาคม 2566 บางครั้ง การท่องโลกไซเบอร์ก็อาจมีภัยที่คุณไม่รู้ตัว อาจเรียกว่าเป็น ภัยเงียบ ก็ได้ ดังนั้น การที่เราจะใช้โลกออนไลน์ให้ปลอดภัย เราควรต้องบริหารความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด มาร่วมหาวิธีบริหารความเสี่ยงได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์: หนัง Oppenheimer ใช้ระเบิดนิวเคลียร์ของจริงในการถ่ายทำ จริงหรือ?

ทีมงานของหนัง Oppenheimer ร่วมกันทำฉากระเบิดนิวเคลียร์ด้วยการทดลองการจุดการระเบิดด้วยเชื้อเพลิงหลากหลายชนิด และถ่ายทำด้วยเทคนิค Forced Perspective ซึ่งเป็นการใช้มุมกล้องทำให้วัตถุในภาพมีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าความเป็นจริง

1 74 75 76 77 78 127
...