ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสันคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด พบได้ในคนกลุ่มไหน


🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

“พาร์กินสัน” (Parkinson’s disease) เป็นโรคที่มีการเสื่อมของระบบประสาท เริ่มต้นที่ศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่บริเวณก้านสมอง ทำให้การผลิตสารสื่อประสาทสำคัญ ที่เรียกว่าโดพามีน (dopamine) ลดลง ผู้ป่วยจะมีปัญหาหลายเรื่องทางด้านการเคลื่อนไหว 4 อาการหลัก ได้แก่ (1) อาการสั่น (2) การเคลื่อนไหวช้า (3) เกร็ง (4) เดินลำบาก


ปัจจุบันมีความรู้มากมายพบว่าผู้ป่วยพาร์กินสันมีอาการที่ไม่ใช่การเคลื่อนไหวอีกหลายอย่าง

โรคพาร์กินสันมีสาเหตุหลากหลาย เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมารวมกัน เช่น ผู้ป่วยบางรายมีประวัติครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน เคยได้รับสารพิษปราบศัตรูพืช และอายุที่มากขึ้นก็มีความเสี่ยงโรคพาร์กินสันเพิ่มขึ้น

ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคพาร์กินสัน จะมีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสันหรือไม่ ?


ต้องบอกว่าความเสี่ยงของคนที่มีญาติสายตรงเป็นพาร์กินสันเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่ไม่ได้หมายถึงทุกคนจะต้องเป็นเสมอไป ยีนในปัจจุบันมีหลายแบบมาก ความเสี่ยงของแต่ละคนไม่เท่ากัน

ที่สำคัญคือร่างกายคนเรามีความมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง การมียีนไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีอาการเสมอไป เพราะมีปัจจัยร่วมต่าง ๆ อีกหลายอย่าง

โรคพาร์กินสันจะเกิดได้ในคนอายุเท่าไหร่ ?

ตามสถิติที่เก็บในประเทศไทยอายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 63 ปี ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่าโรคพาร์กินสันคือโรคของผู้สูงอายุ ซึ่งถูกเพียงส่วนเดียว เพราะมีการเก็บสถิติในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน 1 เปอร์เซ็นต์

อายุที่เพิ่มขึ้น อัตราส่วนของพาร์กินสันก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้แก่ อายุเกิน 60 ปี 1 เปอร์เซ็นต์ อายุเกิน 80 ปี 3 เปอร์เซ็นต์

พบว่า 10 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้ป่วยโรคพาร์กินสันอายุน้อย คือมีอาการพาร์กินสันก่อนอายุ 50 ปี

กลุ่มพาร์กินสันอายุน้อยที่พบมีทั้งอายุมากกว่า 20 ปี และอายุมากกว่า 30 ปี

โรคพาร์กินสันมีกี่ระยะ ?

ในทางการแพทย์แบ่งพาร์กินสันออกเป็น 5 ระยะ

ระยะที่ 1 มีอาการข้างเดียว

ระยะที่ 2 มีอาการ 2 ข้าง

ระยะที่ 2.5 มีอาการ 2 ข้าง และแกนกลางของร่างกาย การทรงตัวดีและสามารถเคลื่อนไหวได้

ระยะที่ 3 การทรงตัวเริ่มมีปัญหา

ระยะที่ 4 เริ่มใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือเพื่อการเคลื่อนไหว

ระยะที่ 5 ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือในการเคลื่อนไหว หรือติดเตียง หรือติดเก้าอี้รถเข็น

ระยะต่าง ๆ เหล่านี้ อาจไม่ใช่สิ่งสำคัญ เพราะเปลี่ยนแปลงได้ถ้าผู้ป่วยอาการดีขึ้น

เนื่องจากในชีวิตจริง แนวคิดเรื่องการใช้ระยะอาจจะไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

การใช้ “ระยะ” เหมาะสำหรับการแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเพื่อการศึกษาวิจัย 

โรคพาร์กินสัน สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิด ได้ไหม ?

ปัจจุบัน สามารถ “ชะลอ” การเกิดโรคพาร์กินสันได้

“การป้องกัน” สามารถทำได้บางส่วน

เวลาพูดถึง “มีปัจจัยเสี่ยง” คำว่า “เสี่ยง” ไม่ได้หมายถึง “เป็น” แต่มีโอกาส “ทั้งเป็น” และ “ไม่เป็น”

ถ้ามีความเสี่ยงก็พยายามมองหาวิธีการป้องกัน ทำให้มีระบบสำรองที่ดีขึ้น เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะเป็นหรือมีอาการเกิดขึ้น ก็อาจจะเป็นช่วงที่อายุมาก หรือตอนที่อายุมากอาการที่เป็นก็จะน้อย หรืออาจจะไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้

“พาร์กินสัน” มีอาการสำคัญอะไรให้สังเกต ?

อาการที่สังเกตง่ายที่สุดคือ “อาการสั่น” แต่อาการสั่นไม่จำเป็นจะต้องเกิดในผู้ป่วยพาร์กินสันทุกราย

อาการสั่นมีลักษณะเฉพาะ คือส่วนใหญ่เริ่มสั่นที่มือข้างเดียว (ขณะที่มืออยู่เฉย ๆ)

อาการสั่นของผู้ป่วยพาร์กินสันมักเกิดร่วมกับการเคลื่อนไหวที่ช้าลงและยากขึ้นในส่วนที่มีอาการสั่น ซึ่งในช่วงแรกผู้ป่วยอาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำว่ามีอาการสั่น

กุญแจสำคัญของการรักษาโรคพาร์กินสัน ?

ปัจจุบันนี้ เน้นเลยว่าให้ผู้ป่วยพาร์กินสันมาพบแพทย์โดยเร็ว วินิจฉัยเร็ว และเริ่มการรักษาเร็ว

ถ้าเริ่มการรักษาเร็วเท่าไหร่ จะทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นได้เร็วมากเท่านั้น โดยใช้ปริมาณยาไม่มาก ผลข้างเคียงก็น้อย เรื่องค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยแต่ละคนก็ถูกลง และสำคัญที่สุดก็คือคุณภาพชีวิตของตัวผู้ป่วยเองและครอบครัว

สัมภาษณ์โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

เรียบเรียงโดย คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล

ดูเพิ่มเติมรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักโรคพาร์กินสัน

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อาการและการรักษาโรคพาร์กินสัน

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยิงสส.กัมพูชา

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” ดับกลางกรุงเทพฯ

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ดับใกล้วัดดังกลางกรุง พบเหยื่อมีบทบาทในการตรวจสอบรัฐบาลฮุนเซน

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงเพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม

ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดการประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา เพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม พร้อมกำหนดบทลงโทษหากพบเข้าไปข้องเกี่ยว

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา-วอศ.สระบุรี ชนะเลิศแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา และ วอศ.สระบุรี ชนะเลิศในการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025 ณ เมืองฮาร์บิน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ข่าวแนะนำ

burned houses alongside of road in Pacific Palisades

คนดังแห่อพยพออกจากบ้านในแอลเอ หนีไฟป่า

ผู้มีชื่อเสียงหลายคน รวมถึงคนในแวดวงบันเทิงฮอลลีวูดของสหรัฐ อยู่ในกลุ่มประชาชนหลายหมื่นคนที่ต้องอพยพออกจากบ้านเรือน หนีไฟป่าที่กำลังโหมไหม้เหนือการควบคุมรอบนครลอสแอนเจลิสหรือแอลเอ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย

นายกฯไปภูเก็ต

นายกฯ ปฏิบัติภารกิจภูเก็ต ประชุมบูรณาการแก้ปัญหาพื้นที่

นายกฯ ปฏิบัติภารกิจภูเก็ต ประชุมบูรณาการแก้ปัญหาพื้นที่ รองรับการเติบโตด้านท่องเที่ยว ก่อนเปิดงานแสดงเรือนานาชาติ ผลักดันภูเก็ตเป็น Premium Destination และการรองรับกิจกรรม Big Event

ปล่อยตัว “แซม ยุรนันท์” สวมกอดครอบครัว ขอกลับบ้านก่อน

“แซม ยุรนันท์” ได้รับการปล่อยตัวแล้ว สวมกอดครอบครัวด้วยสีหน้ามีความสุข พร้อมขอบคุณสื่อมวลชนที่มาต้อนรับ ขอกลับบ้านก่อน ขอบคุณกระบวนการยุติธรรม