ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิดเป็นอันตรายต่อผู้มีประวัติลิ่มเลือดอุดตัน จริงหรือ?

20 มีนาคม 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีคลิปวิดีโอข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกา เมื่อ แดน บอนจิโน นักจัดรายการวิทยุผู้มีประวัติเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 อ้างในคลิปวิดีโอที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 ธันวาคมปี 2022 ว่า ข้อยกเว้นสำหรับการปฏิเสธวัคซีนโควิด-19 ในสหรัฐอเมริกา ไม่นับรวมผู้มีประวัติลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้การบังคับฉีดวัคซีนเป็นอันตราย


บทสรุป :

1.ผู้มีประวัติลิ่มเลือดอุดตันสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้ เพราะอาการลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนหรือ VITT มีความแตกต่างจากลิ่มเลือดอุดตันทั่วไป
2.ไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนโควิด-19 เพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้มีประวัติลิ่มเลือดอุดตันมากกว่าคนทั่วไป

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :


คลิปดังกล่าวนำมาจากรายการ The Dan Bongino Show ที่ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 มกราคมปี 2022 เนื้อหาในรายการกล่าวถึงงานเสวนาเรื่องอันตรายของวัคซีนโควิด-19 ที่จัดโดยวุฒิสมาชิก รอน จอห์นสัน ร่วมกับกลุ่มต่อต้านวัคซีนหลายราย อาทิ โรเบิร์ต มาโลน, ปีเตอร์ แม็คคัลลาห์, ไรอัน โคล และปีแอร์ คอรี

โดยเนื้อหาในงานเต็มไปด้วยข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ทั้งการอ้างว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบบไม่มีอาการจะไม่แพร่เชื้อไปยังผู้อื่น, ภูมิธรรมชาติจะไม่ทำให้ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 กลับมาติดเชื้ออีก และยาอย่าง Hydroxychloroquine และ Ivermectin สามารถใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ได้ โดยคลิปวิดีโอในงานเสวนาสามารถทำยอดรับชมทางเว็บไซต์ Rumble กว่า 4.5 ล้านวิว

ในรายการดังกล่าว แดน บอนจิโน อ้างว่า คนบางกลุ่มควรได้รับการยกเว้นจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติลิ่มเลือดอุดตัน

ผู้ที่มีประวัติลิ่มเลือดอุดตันสามารถเลือกฉีดวัคซีนชนิดอื่น ๆ แทนได้

ความกังวลเรื่องภาวะลิ่มเลือดอุดตันกับวัคซีนโควิด-19 เริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนปี 2021 เมื่อหน่วยงานสาธารณสุขทั่วโลก เตือนถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาวะลิ่มเลือดอุดตันและเกล็ดเลือดต่ำกับการใช้วัคซีนโควิด-19 ชนิด Adenovirus Vector ของบริษัท AstraZeneca และ Johnson & Johnson หรืออาการที่เรียกว่า Vaccine-induced Immune Thrombotic Thrombocytopenia หรือ VITT ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

อย่างไรก็ดี ซานต์-ริน พาสริชา และ พอล โมนาเกิล 2 นักโลหิตวิทยา ให้ความเห็นผ่านเว็บไซต์ The Conversation ว่า อาการ VITT มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก และยังเป็นอาการที่แตกต่างจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันทั่ว ๆ ไป เช่น อาการลิ่มเลือดอุดตันบริเวณหลอดเลือดดำส่วนลึกหรืออาการลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด ซึ่งมักมีปัจจัยจากกิจวัตรประจำวัน เช่นการสูบบุหรี่หรือการไม่ขยับตัวเป็นเวลานานๆ ที่เรียกว่า พฤติกรรมเนือยนิ่ง

ส่วน อาการ VITT คืออาการลิ่มเลือดอุดตันที่เกิดขึ้นจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ และส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกล็ดเลือด นำไปสู่การรวมตัวจนกลายเป็นลิ่มเลือด ปัจจุบันมีงานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่า ประวัติการป่วยเป็นลิ่มเลือดอุดตันทั่วไป ไม่เพิ่มความเสี่ยงการป่วยด้วยอาการ VITT

อย่างไรก็ดี ในหลายประเทศทั้งในสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย ต่างระบุให้บุคคลที่มีประวัติเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่สมองและบริเวณท้อง, ผู้มีอาการ Antiphospholipid Syndrome (APS) และอาการ Heparin-induced thrombocytopenia (HIT) หลีกเลี่ยงการใช้วัคซีน Adenovirus Vector

(Antiphospholipid Syndrome เป็นโรคความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันทำลายตนเองชนิดหนึ่ง ทำให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ต่อโปรตีนที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ส่งผลให้เลือดแข็งตัวตามบริเวณต่าง ๆ ทั้ง สมอง ปอด ไต และขา ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดศีรษะ, มีปัญหาด้านความจำ, การทรงตัว, การมองเห็น, ภาวะสมองเสื่อม รวมถึงปัญหาการแท้งบุตรหรือปัญหาทารกเสียชีวิตในครรภ์ ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุของอาการและยังมีวิธีรักษาให้หายขาด แนวทางการรักษาคือการใช้ยาบรรเทาอาการหรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดแข็งตัว)

(Heparin-induced thrombocytopenia เป็นอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Heparin ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันจากลิ่มเลือดร่วมกับมีภาวะเลือดออกง่าย)

ดังนั้น ข้ออ้างว่าผู้ป่วยที่มีประวัติลิ่มเลือดอุดตันไม่ควรฉีดวัคซีนจึงไม่เป็นความจริง เพราะไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนโควิด-19 เพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว

นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้ป่วยที่แพทย์ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีน Adenovirus Vector ยังสามารถรับวัคซีน mRNA ซึ่งเป็นวัคซีนที่ไม่มีความสัมพันธ์กับอาการ VITT อีกด้วย

และในกรณีที่ผู้รับวัคซีนมีอาการแพ้ต่อสารประกอบในวัคซีน mRNA หรือมีข้อจำกัดในการใช้วัคซีน mRNA ผู้รับวัคซีนยังสามารถใช้วัคซีนโควิด-19 จากบริษัท Johnson & Johnson แทนได้เช่นกัน

นอกจากนี้ การติดเชื้อโควิด-19 ยังเพิ่มความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตันยิ่งกว่าการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีประวัติลิ่มเลือดอุดตัน, มีความเสี่ยงด้านหลอดเลือดหัวใจ, เบาหวาน และความเสี่ยงอื่น ๆ

สภาภาวะหลอดเลือดอุดตันทวีปอเมริกาเหนือ (North American Thrombosis Forum) ยังแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีประวัติลิ่มเลือดอุดตันเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 อีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง :

https://healthfeedback.org/claimreview/medical-exemptions-covid-19-vaccines-granted-contraindications-not-including-blood-clots-adverse-reaction-prior-vaccine-dan-bongino/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น

ฉายารัฐบาลปี67

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี 67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง”

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง” ฉายานายกฯ “แพทองโพย” ด้าน 7 รัฐมนตรีติดโผ “บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี” พ่วง 3 รัฐมนตรีโลกลืม ส่วนวาทะแห่งปี “สามีเป็นคนใต้”

เลือกตั้ง อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี พร้อมขอบคุณคนเสื้อแดง และนายทักษิณ ชินวัตร ที่ช่วยผลักดัน