ชัวร์ก่อนแชร์: ชั้นบรรยากาศมี CO2 แค่ 0.04% ไม่จำเป็นลดปริมาณ CO2 จริงหรือ?

แม้ CO2 ในชั้นบรรยากาศจะมีเพียง 0.04% แต่ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม โลกมีปริมาณ CO2 เพียง 0.028% CO2 ที่มากขึ้น ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส หาก CO2 เพิ่มเป็น 0.05% อุณหภูมิโลกจะสูงมากกว่า 1.5 องศา และจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต อันตรายของอาหารทอด อาหารมัน จริงหรือ ?

31 มกราคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์อันตรายจากของทอดของมัน ทั้งเตือนห้ามกินกากหมูและสาหร่ายทอดกรอบ และหม้อทอดไร้น้ำมัน ทำให้อาหารมีสารก่อมะเร็ง ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธุ์ อาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.อิทาวุธ สรรพวรสถิตย์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.กิตณา แมคึเน็น อาจารย์ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ กรรมการบริหารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ผศ.ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.ธัญญารัตน์ จิญกาญจน์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.มลฤดี สุขประสารทรัพย์ อาจารย์หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check Factsheet : รู้จัก “น้ำมันเบรก”

30 มกราคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับน้ำมันเบรกว่า น้ำมันเบรกคืออะไร มีกี่รูปแบบ มีหน้าที่อย่างไร และควรดูแลรักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 18 มกราคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: ดวงอาทิตย์คือสาเหตุของสภาวะโลกร้อน จริงหรือ?

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกจากการโคจรของโลกกับดวงอาทิตย์จะเกิดขึ้นทุกหมื่น-แสนปี ต่างจากสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในเวลาไม่กี่ร้อยปี นาซาไม่พบว่าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่งมายังโลกเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 วิธีแก้ปัญหา อาการแพนิก จริงหรือ ?

29 มกราคม 2567 – ตามที่มีการแชร์แนะนำ 5 วิธีแก้ปัญหา อาการแพนิก คือ หาถุงมาครอบปากกับจมูกแล้วหายใจเข้าออกลึก ๆ ประคบท้องด้วยน้ำอุ่น ข้ามมื้อเย็น หลัก 5 อ. และกลั้นหายใจนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 21 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้เป็นโรคงูสวัด จริงหรือ?

แม้มีรายงานว่าระบบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนโควิด-19 อาจไปกระตุ้นให้ผู้มีเชื้อไวรัสในร่างกายเกิดโรคงูสวัด แต่การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถกระตุ้นการเกิดโรคงูสวัดได้มากกว่า

โดนหลอกออนไลน์ แจ้งใครดี ฉบับปี 2567  | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

30 มกราคม 2567 พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์เกี่ยวกับวิธีการแจ้งความออนไลน์ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ ฉบับปี 2567 มาดูกันว่ามีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง ?  ปัจจุบันการแจ้งความออนไลน์ สามารถแจ้งความในคดีที่เกี่ยวกับการหลอกลวงที่ทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สิน  รวมถึงมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง  เช่น หลอกโอนเงิน กรรโชกทรัพย์ หลอกซื้อของไม่ได้ของ และตอนนี้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เปลี่ยนชื่อเว็บไซต์เป็น https://thaipoliceonline.go.th แล้ว เพื่อให้ประชาชนสามารถแยกแยะเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการกับมิจฉาชีพออกจากกันได้ แต่ขั้นตอนการแจ้งความยังคงเหมือนเดิม (ดูขั้นตอนการแจ้งความออนไลน์ ได้ที่นี่)  หากเคยลงทะเบียนไว้กับเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์เดิม สามารถใช้บัญชีเดิมในการแจ้งความออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องสมัครใหม่ ข้อดีของการแจ้งความออนไลน์ คือ ผู้เสียหายสามารถเข้าไปดูความคืบหน้าได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปสถานีตำรวจ แต่อย่างไรก็ตามหากคดีมีความคืบหน้า พนักงานสอบสวนจะมีการนัดผู้เสียหายให้เดินทางไปพบพนักงานสอบสวน เพื่อลงลายมือชื่อและให้รายละเอียดต่าง ๆ ต่อไป  นอกจากการแจ้งความออนไลน์แล้ว ตอนนี้ยังมีเบอร์สายด่วน 1441 ที่สามารถติดต่อแจ้งความหรือปรึกษาได้ 24 ชั่วโมง ช่องทางนี้จะมีพนักงานสอบสวนกรอกข้อมูลให้ทั้งหมด โดยที่ผู้เสียหายไม่ต้องดำเนินการเอง และสำหรับกรณีเร่งด่วนที่มีการโอนเงินออกไปแล้ว พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน ได้ให้คำแนะนำว่า ให้ผู้เสียหายรีบโทรศัพท์ไปยังธนาคารที่เราใช้โอนเงินออกไป เพื่อยับยั้งเส้นทางการเงิน ก่อนที่มิจฉาชีพจะโอนเงินเหล่านั้นไปยังบัญชีอื่น หากดำเนินการเร็ว โอกาสที่จะยับยั้งเงินไว้ได้ทันก็สูงขึ้น ดังนั้นข้อสำคัญ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 8 ประโยชน์ของแก้วมังกร จริงหรือ ?

26 มกราคม 2567 – ตามที่มีการแชร์ว่า แก้วมังกร ผลไม้ของสายสุขภาพ มีประโยชน์อย่างน้อย 8 อย่าง เช่น เป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อสู้โรคเรื้อรัง มีไฟเบอร์สูง มีพรีไบโอติก เสริมภูมิคุ้มกัน อุดมด้วยธาตุเหล็ก บำรุงหัวใจ และบำรุงผิวนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ : 3 มกราคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : ZIPNO SECHEM ? — ธุรกิจความโลภ ภัยร้ายของคนอยากรวย !

27 มกราคม 2567 สิ่งนี้… เป็นภัยการหลอกลวงระดมเงินจากประชาชนที่ทำกันเป็นเครือข่าย และสิ่งนี้… เคยเป็นคดีมาแล้วกว่า 138 คดี สร้างความเสียหายกว่า 52,000 ล้านบาทในประเทศไทย คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ คำนี้คือคำว่า  PONZI SCHEME หมายถึง แชร์ลูกโซ่ หลอกล่อเพื่อให้ผู้ลงทุนติดกับดัก โดยใช้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินทุน ไปหลอกชักชวนกันมาลงทุนมากขึ้น สัมภาษณ์เมื่อ : 28 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 สัญญาณเตือนโรคแพนิก จริงหรือ ?

28 มกราคม 2567 – บนโซเชียลแชร์เตือน 10 สัญญาณอาการโรคแพนิกที่คุณอาจไม่รู้ เช่น เสียขวัญกะทันหัน ใจสั่น หายใจถี่ คลื่นไส้หรือปวดท้องนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี แชร์ว่า 10 สัญญาณอาการโรคแพนิก มีดังนี้   สัมภาษณ์เมื่อ : 21 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ข้อดี-ข้อเสีย ของการกินเผ็ด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์บทความ “ข้อดี-ข้อเสีย ของการกินเผ็ด” ข้อดี : ช่วยให้เจริญอาหาร กระเพาะอาหารขยายตัว ลดอาการแสบร้อนในทางเดินอาหาร อายุยืนขึ้น เร่งกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย ต้านเชื้อแบคทีเรีย ป้องกัน/บรรเทาอาการเจ็บป่วย ข้อเสีย : ทำให้ปวดแสบร้อนในช่องปากและทางเดินอาหารและถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้น ระคายเคืองต่อเยื่อบุต่าง ๆ ในร่างกาย เกิดการท้องเสีย อาจจะเกิดโรคกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อน 🎯 ตรวจสอบกับ อาจารย์ นพ.อาลันณ์ จันท์จารุณี อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีบางส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงที่จริง แต่ว่าการกินเผ็ดก็อาจจะไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน การกินเผ็ด : “ข้อดี” ? ที่แชร์กัน 1. กินเผ็ดช่วยให้เจริญอาหาร จริง… แต่ไม่ได้เป็นสำหรับทุกคน เพราะคนที่ไม่ได้ชื่นชอบการกินอาหารเผ็ด กินแล้วไม่สบายช่องปาก ก็อาจทำให้การกินลดลงได้ 2. สารแคปไซซิน (capsaicin) ช่วยให้กระเพาะอาหารขยายตัวและรับอาหารได้นานขึ้น จริง… สารแคปไซซินจะทำให้กระเพาะอาหารทำงานได้นานขึ้น ผลิตน้ำย่อยที่มากขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องกินเพื่อให้กระเพาะอาหารขยายตัว 3. กินเผ็ดลดอาการแสบร้อนในทางเดินอาหาร เพราะร่างกายจะชินและทนได้มากขึ้น จริงบางส่วน… […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รสเผ็ด ในตำราแพทย์ (แผนไทย-แผนปัจจุบัน)

“รสเผ็ด” กินอย่างไร “เป็นยา” และ “มีประโยชน์หรือโทษ” ต้องกินอะไร “แก้เผ็ด” ได้ผล 🎯 มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ 1. ภกญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี 2. อาจารย์ นพ.อาลันณ์ จันท์จารุณี อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  “แพทย์แผนไทย” กับรสเผ็ด ภกญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว กล่าวถึง “ความเผ็ดร้อน” ที่แพทย์แผนไทยเรียกว่า “รสยา” คำว่า “รส” แสดงถึงคุณสมบัติของตัวสมุนไพรที่ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง คนโบราณเรียนรู้สรรพคุณของยาผ่านการ “ชิม” “รสเผ็ดร้อน” จะไปช่วยการไหลเวียนของเลือด และทำให้ลม ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ธาตุของร่างกายกระจายออกไปจากจุดกำเนิดได้ดีมากยิ่งขึ้น ลดอาการปวดและอาการชาลงได้ ความเผ็ดร้อนในทางการแพทย์แผนไทยบอกว่าไปเพิ่มไฟย่อย เพิ่มน้ำย่อย ทำให้รู้สึกอยากอาหารแล้วกินอาหารได้ดีขึ้น “อาหารรสเผ็ด” ปริมาณเท่าไหร่ที่มีความเหมาะสม ซึ่งแต่ละคนก็จะมีความสามารถทนรับความเผ็ดแตกต่างกัน ถ้ากินแล้วยังรู้สึกว่าปกติดี ไม่ได้แสบร้อนมากเกินไป ไม่มีท้องเสีย […]

1 38 39 40 41 42 120
...