ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้เป็นโรคเรื้อน จริงหรือ?

แม้มีรายงานว่าระบบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนโควิด-19 อาจไปกระตุ้นให้ผู้มีเชื้อในร่างกายเกิดโรคเรื้อน แต่การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถกระตุ้นการเกิดโรคเรื้อนมากกว่า

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : น้ำตาเทียม และวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง

น้ำตาเทียมมีกี่ชนิด ชนิดไหนเหมาะกับใคร วิธีการใช้งานที่ถูกต้องเป็นอย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์  ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ธรรมชาติของดวงตาคนเราจำเป็นต้องมี “น้ำ” หล่อเลี้ยงดวงตา ฉาบบริเวณผิวตาดำและตาขาวอยู่ตลอดเวลา เพื่อช่วยในการหักเหของแสงให้ดวงตาทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เห็นภาพชัดขึ้น ภาวะที่น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาน้อยจะทำให้คนคนนั้นรู้สึกเคืองตา ตาแดง ตาแห้ง แก้ปัญหา “ตาแห้ง” ด้วยน้ำตาเทียม ปัจจุบันมีการใช้น้ำตาเทียมเพื่อแก้ปัญหาตาแห้ง โดยทั่วไป “น้ำตาเทียม” ไม่ค่อยมีผลข้างเคียงหรือเป็นอันตรายกับดวงตา จึงมีการนำน้ำตาเทียมมาใช้อย่างแพร่หลาย แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องเคืองตา ฝืดตา ตาแห้งมาก แนะนำว่าครั้งแรกควรจะไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจว่าภาวะนั้นไม่ได้เกิดจากโรคตาอื่น ๆ แต่เป็นจากภาวะตาแห้งอย่างเดียว เพราะถ้าเกิดจากโรคต่าง ๆ จะได้รักษาที่ต้นเหตุอย่างเหมาะสม ภาวะ “ตาแห้ง” เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง ผลจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือนานมากขึ้น รวมทั้งมลภาวะทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐาน ก็จะยิ่งทำให้น้ำที่หล่อเลี้ยงลูกตาระเหยผิดปกติ อีกสาเหตุที่พบบ่อยคือการมีโรคประจำตัวหรือกินยาบางชนิด แต่มีผลข้างเคียงทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาน้อยลง ประเภทของน้ำตาเทียม “น้ำตาเทียม” แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ชนิดที่ต้องใช้ให้หมดภายใน 24 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาโหล เบ้าตาลึก

ตาโหล เบ้าตาลึก เป็นอย่างไร และวิธีการแก้ไข ทำอย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง “ตาโหล” และ “เบ้าตาลึก” เป็นลักษณะกายภาพของแต่ละคน บางคนที่มีโหนกของบริเวณคิ้วสูง หรือบริเวณกระดูกเบ้าตาข้างล่างนูนเด่นชัดขึ้นมา จะทำให้รู้สึกเหมือนตาลึกเข้าไป คนที่ “ตาโหล เบ้าตาลึก” มีขนาดลูกตาปกติถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ แต่บางคนอาจรู้สึกว่าทำให้ดวงตาดูไม่สวยงาม ตาโหล เบ้าตาลึก เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ? โดยทั่วไปภาวะ “ตาโหล เบ้าตาลึก” ถ้าไม่ได้เกิดจากโรคหรือความผิดปกติของโครโมโซมที่มีส่วนอื่นของร่างกายผิดปกติไปด้วย มักจะเป็นกรรมพันธุ์ที่ถ่ายทอดมาจากยีนคุณพ่อคุณแม่ ทำให้ลักษณะหน้าตาคล้าย ๆ กัน และมีโครงสร้างใบหน้าที่มีตาโหลหรือเบ้าตาลึกได้ คนที่มี “ตาโหล เบ้าตาลึก” มาตั้งแต่เกิด พบว่าช่วง 5-6 ขวบแรก จะมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก มีทั้งตาโหลหรือเบ้าตาลึกดีขึ้นและแย่ลง เมื่อเด็กโตขึ้นอายุเกิน 5-6 ขวบไปแล้ว โครงสร้างของกระดูกบริเวณใบหน้าค่อนข้างอยู่ตัว อาจทำให้ลักษณะ “ตาโหล เบ้าตาลึก” ติดตัวจนโตเป็นผู้ใหญ่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีแก้อาการปวดหลัง จริงหรือ ?

24 มกราคม 2566 – บนโซเชียลมีการแชร์วิธีแก้อาการปวดหลังเอาไว้มากมาย ทั้งดื่มน้ำมะพร้าวผสมพริกไทยช่วยให้หายปวดหลัง และยังมีท่าบริหารที่แก้ปวดหลังได้ถาวร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.ชัชวาลย์ เจริญธรรมรักษา อาจารย์ประจำภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผศ.นพ.ธงชัย ก่อสันติรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผศ.ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.สุวรรณี อาจหาญณรงค์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อ.สง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษา สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : มะเร็งจอประสาทตาในเด็ก

25 มกราคม 2566 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ “โรคมะเร็งจอประสาทตา” ในเด็ก เกิดจากสาเหตุใด อันตรายแค่ไหนและจะมีวิธีการสังเกตอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 26 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: DNA ตกค้างจากวัคซีน mRNA แทรกแซงพันธุกรรมมนุษย์ จริงหรือ?

ดีเอ็นเอตกค้างจากวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ไม่สามารถเข้าสู่นิวเคลียสของเซลล์เพื่อแทรกแซงรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ได้ ดีเอ็นเอตกค้างยังมีในวัคซีนหลายชนิดและไม่มีในปริมาณที่เป็นอันตราย

ชัวร์ก่อนแชร์: มีคนตายจากวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกกว่า 10 ล้านราย จริงหรือ?

1 ปีหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 นิวซีแลนด์มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากยกเลิกการล็อกดาวน์ พร้อมกับการแพร่ระบาดของไวรัสโอไมครอน

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : อาการบอกเกียร์ออโต้เสีย จริงหรือ ?

23 มกราคม 2567 – ตามที่มีการแชร์อาการที่บ่งบอกว่า เกียร์ออโต้เสีย เช่น เกียร์กระตุก และ ใส่เกียร์ D รถไม่เคลื่อนตัวนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 18 มกราคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาเพชร

22 ธันวาคม 2567 ตาเพชรคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด และจะเป็นอันตรายหรือไม่ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 26 ธันวาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนหลับตาไม่สนิท หรือตากระต่าย

ตากระต่าย หรือนอนหลับตาไม่สนิท เกิดจากสาเหตุใด อันตรายหรือไม่ และมีวิธีการรักษาอย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “ตากระต่าย” คือการเรียกลักษณะของคนบางคนที่เวลานอนหลับหรือหลับตาแล้ว เปลือกตาบนและเปลือกตาล่างไม่ลงมาประกบกันสนิท จะทำให้เห็นบริเวณที่เป็นตาขาวหรือตาดำ “นอนหลับตาไม่สนิท” หรือ “ตากระต่าย” ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า Lagophthalmos การเรียกว่า “ตากระต่าย” น่าจะเป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของกระต่าย ที่บางครั้งเวลานอนหลับเปลือกตาบนและเปลือกตาล่างอาจจะหลับไม่สนิท ทำให้คนสมัยก่อนเรียกภาวะนี้ว่า “ตากระต่าย” ลักษณะ “ตากระต่าย” เกิดขึ้นเอง ไม่ได้ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ และภาวะตากระต่ายนี้อาจจะเป็นทุกคน บางคนอาจจะเป็นมาก บางคนอาจจะเป็นน้อย หรือบางคนอาจจะเป็นนาน ๆ ครั้ง เพราะเราอาจจะไม่ได้สังเกตตัวเองว่าตื่นมาตอนเช้ามีอาการเคืองตา หรือมีคนทักว่าเวลานอนหลับแล้วหลับตาไม่สนิท บ่งบอกว่าเกิดภาวะตากระต่าย ภาวะตากระต่ายเกิดจากอะไร  ภาวะตากระต่ายสามารถเกิดได้กับทุกคนที่การทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณรอบเปลือกตาไม่แข็งแรง “ตากระต่าย” อาจเกิดขึ้นได้จากภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดทำตา 2 ชั้น หรือทำศัลยกรรมเปลือกตา โดยเฉพาะช่วงแรกหลังผ่าตัดใหม่ ๆ จะมีปัญหาเรื่องหลับตาไม่สนิท ถ้ามีอาการเคืองตา ตาแดง ต้องรีบกลับไปพบจักษุแพทย์หรือแพทย์ที่ทำการผ่าตัดเปลือกตาให้ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เด็กทารกกับภาวะตากระต่าย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การป้องกันและรักษาภาวะตามัว

ภาวะตามัวป้องกันได้หรือไม่ และมีวิธีการรักษาอย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการมองสิ่งต่าง ๆ และมีความสำคัญกับทุกคน คำว่า “ตามัว” หมายถึง ภาวะการมองเห็นที่ไม่ชัด โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ตามัวชั่วคราว และตามัวถาวร “สายตาผิดปกติ” กับภาวะ “ตามัว” ภาวะสายตาผิดปกติเป็นปัญหาใหญ่ที่มีการขยายตัวค่อนข้างมากในเด็กยุคใหม่ ในงานวิจัยพบว่าการปรับพฤติกรรมของเด็ก ให้เด็กมีกิจกรรมกลางแจ้งมากขึ้นอย่างน้อยสัปดาห์ละ 11 ชั่วโมง จะช่วยลดโอกาสภาวะสายตาสั้น และการสั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ของเด็กได้ การทำกิจกรรมกลางแจ้งป้องกันตามัวของเด็กได้ เพราะการที่เด็กมีกิจกรรมกลางแจ้ง จะช่วยทำให้เด็กคลายการเพ่งของลูกตา รวมทั้งการได้วิตามินดีจากแสงแดด เพราะมีงานวิจัยเชื่อว่าจะสามารถลดการสั้นมากขึ้นของสายตาเด็กได้ การปล่อยให้ลูกนั่งเล่นมือถือ หรือนั่งเล่นคอมพิวเตอร์ การที่เด็กอยู่แต่ในห้องอาจเป็นต้นเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เด็กไทยยุคใหม่มีภาวะสายตาผิดปกติมากขึ้น “โรคต้อกระจก” กับภาวะ “ตามัว” การป้องกันโรคต้อกระจก ทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นต้นเหตุ ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ (ทั้งชนิดกินและชนิดหยอด) ในคนมีโรคประจำตัวที่เป็นต้นเหตุให้เลนส์ตาเสื่อมเร็วขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ก็ต้องพยายามควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีขึ้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เข้าใจสาเหตุภาวะตามัว

ภาวะตามัวมีกี่แบบ อันตรายหรือไม่ และเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย คำว่า “ตามัว” หมายถึงภาวะที่การมองเห็นไม่ชัด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ตามัวชั่วคราว และตามัวถาวร ตามัวชั่วคราว ตามัวชั่วคราวพบบ่อยในคนนี้มีตาแห้ง บางจังหวะรู้สึกเหมือนมองภาพไม่ชัด พอกะพริบตาก็อาจจะดีขึ้น หรือขยี้ตาเบา ๆ ก็ดีขึ้น อีกกลุ่มเกิดจากการใช้สายตามาก ๆ เช่น คนที่ทำงานอยู่กับคอมพิวเตอร์หรือเล่นมือถือทั้งวัน บางขณะมองภาพโฟกัสไม่ได้เลยเพราะตาล้า ในคนที่มีโรคอย่างอื่นของระบบอื่นร่วมด้วย เช่น ไมเกรน หรือมีความไม่สมบูรณ์ของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณสมองที่เกี่ยวกับการมองเห็นก็อาจจะเกิดตาพร่ามัวชั่วคราวหลาย ๆ วินาทีและก็กลับมามองเห็น จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์เฉพาะทางอย่างถูกต้อง มีอาการ “หน้ามืด” เกี่ยวข้องกับ “ตามัว” ด้วย ที่เรียกกันว่าภาวะ “หน้ามืดตามัว” ซึ่งอาจจะเกิดจากความเหน็ดเหนื่อย หรือระดับน้ำตาลในเลือดตก หรือมีการบีบตัวของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณสมองบางส่วน ก็อาจจะทำให้เหมือนการมองเห็นภาพโทนสีมืดลงและก็อาจจะเป็นลมได้ พวกนี้มักจะไม่ได้เป็นอาการจากดวงตาโดยตรงแต่ว่าอาจเกิดจากระบบอื่นของร่างกายได้ ตามัวถาวร จักษุแพทย์พบตามัวถาวรจำนวนมาก แบ่งตามชนิดได้ 4 กลุ่มใหญ่ […]

1 39 40 41 42 43 120
...