![](https://tna.mcot.net/wp-content/uploads/2024/04/15/1350311/1713140280_290676-tnamcot-685x360.jpg)
ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สมองฝ่อ
บนสื่อสังคมออนไลน์มีหลายข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะสมองฝ่อ สมองฝ่อคืออะไร เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง และจะสามารถรักษาได้หรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ นพ.เจษฎา เขียวขจี นายแพทย์ปฏิบัติการโรคสมองและระบบประสาทไขสันหลัง สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข “สมองฝ่อ” คือการเสื่อมของอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย อาจจะมีอวัยวะส่วนอื่นเสื่อมถอย ลำไส้ทำงานแย่ลง ปอดแย่ลง สมองก็คืออวัยวะที่จะพบเหตุการณ์แบบนั้นได้เหมือนกัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสมองฝ่อขึ้นกับตำแหน่งที่เกิด แต่ที่พบบ่อยสุดคือ “กลุ่มอัลไซเมอร์” มีการฝ่อของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความจำ จะทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องหลงลืมง่าย ถ้ามีการเสื่อมที่สมองส่วนอื่น ๆ เช่น สมองส่วนหน้า อาจจะมีปัญหาเรื่องทักษะด้านความคิด ความจำ การวางแผน การทำงานต่าง ๆ เคยทำอะไรได้บางอย่างแล้วเหมือนกับทำต่อไม่ได้แล้ว สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น จะทำให้มีปัญหาเรื่องหลงทางในพื้นที่ที่คุ้นเคยประจำ ส่วนอื่นก็มีบ้าง เช่น สมองเกี่ยวกับการใช้ภาษา ถ้ามีการฝ่อจะทำให้ผู้ป่วยนึกคำพูดนานขึ้น หรือพูดคุยแล้วผู้ป่วยฟังไม่เข้าใจ หรือฟังสิ่งที่ผู้ป่วยพูดไม่เข้าใจ เป็นต้น ช่วงอายุการเกิดสมองฝ่อแต่ละคนจะแตกต่างกัน ? บางคนสมองฝ่อเร็ว บางคนฝ่อช้า ในบางคนอายุ 70-80 ปี สมองอาจจะยังไม่ฝ่อมาก สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่บางคนถ้ามีกลุ่มรอยโรค หรือมีความผิดปกติที่ทำให้สมองเสื่อมเร็วขึ้น […]