ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสันคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด พบได้ในคนกลุ่มไหน 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “พาร์กินสัน” (Parkinson’s disease) เป็นโรคที่มีการเสื่อมของระบบประสาท เริ่มต้นที่ศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่บริเวณก้านสมอง ทำให้การผลิตสารสื่อประสาทสำคัญ ที่เรียกว่าโดพามีน (dopamine) ลดลง ผู้ป่วยจะมีปัญหาหลายเรื่องทางด้านการเคลื่อนไหว 4 อาการหลัก ได้แก่ (1) อาการสั่น (2) การเคลื่อนไหวช้า (3) เกร็ง (4) เดินลำบาก ปัจจุบันมีความรู้มากมายพบว่าผู้ป่วยพาร์กินสันมีอาการที่ไม่ใช่การเคลื่อนไหวอีกหลายอย่าง โรคพาร์กินสันมีสาเหตุหลากหลาย เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมารวมกัน เช่น ผู้ป่วยบางรายมีประวัติครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน เคยได้รับสารพิษปราบศัตรูพืช และอายุที่มากขึ้นก็มีความเสี่ยงโรคพาร์กินสันเพิ่มขึ้น ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคพาร์กินสัน จะมีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสันหรือไม่ ? ต้องบอกว่าความเสี่ยงของคนที่มีญาติสายตรงเป็นพาร์กินสันเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่ไม่ได้หมายถึงทุกคนจะต้องเป็นเสมอไป ยีนในปัจจุบันมีหลายแบบมาก ความเสี่ยงของแต่ละคนไม่เท่ากัน ที่สำคัญคือร่างกายคนเรามีความมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง การมียีนไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีอาการเสมอไป เพราะมีปัจจัยร่วมต่าง ๆ อีกหลายอย่าง โรคพาร์กินสันจะเกิดได้ในคนอายุเท่าไหร่ ? ตามสถิติที่เก็บในประเทศไทยอายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 63 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิดเป็นอันตรายต่อผู้มีประวัติลิ่มเลือดอุดตัน จริงหรือ?

ผู้มีประวัติลิ่มเลือดอุดตันสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้ เพราะอาการลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนหรือ VITT มีความแตกต่างจากลิ่มเลือดอุดตันทั่วไป ไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนโควิด-19 เพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้มีประวัติลิ่มเลือดอุดตันมากกว่าคนทั่วไป

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไรขนตา

ไรขนตาคืออะไร อันตรายต่อดวงตาหรือไม่ และมีวิธีการป้องกันอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “ไรขนตา” ชื่อทางการแพทย์เรียกว่า Demodex folliculorum เป็นปรสิตขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่พบได้บริเวณขนตาของมนุษย์ กรณีดึงขนตาออกมา แล้วนำไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ มีโอกาสพบไรขนตาได้สูงเกิน 60-70 เปอร์เซ็นต์ เช่น ผู้สูงอายุ หรือคนที่ดูแลความสะอาดบริเวณขนตาหรือเปลือกตาไม่ดี ในผู้ใหญ่สามารถพบไรขนตาได้ที่บริเวณรูขนตา แต่โดยทั่วไปของคนเกิน 80-90 เปอร์เซ็นต์ มักจะไม่มีอาการผิดปกติ ถ้ามีปริมาณไม่มากก็ไม่จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาอะไร สำหรับในคนที่มีไรขนตาจำนวนมาก อาจทำให้เกิดภาวะเปลือกตาอักเสบ หรือขนตาอักเสบได้ ทำให้เกิดความผิดปกติของดวงตา เช่น เคือง คันบริเวณขอบเปลือกตา รวมไปถึงอาจมีอาการแดงและขนตาร่วง ซึ่งมีลักษณะคล้ายรังแคเกาะบริเวณขนตา ประกอบด้วยตัวไรเองหรือเซลล์เศษเนื้อเยื่อบริเวณเปลือกตาที่หลุดติดขนตาจากการทำลายของไรขนตาได้ “ไรขนตา” เพิ่มมากขึ้นได้อย่างไร “ไรขนตา” แม้จะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดขนาดเล็ก ๆ ที่อยู่บริเวณดวงตา แต่ช่วงนี้คนที่มีปัญหาเรื่องไรขนตาเพิ่มจำนวนมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มของจำนวนตัวไรมากผิดปกติบริเวณเปลือกตา ทำให้เปลือกตาอักเสบ ปัญหาไรขนตาเกิดจากหลายปัจจัย ที่สำคัญเป็นเรื่องการดูแลความสะอาดที่บริเวณขนตาหรือเปลือกตาไม่ดี รวมทั้งการใช้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปสัมผัส เช่น การต่อขนตา การติดขนตาปลอม ป้องกันไม่ให้เกิดไรขนตาได้อย่างไร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 9 ประโยชน์ของไข่ต้ม จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิป 9 ประโยชน์ของไข่ต้ม เช่น ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ เสริมภูมิคุ้มกัน บำรุงกระดูก เล็บ เส้นผม สายตา สมอง และ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ ดร.อชิรญา คำจันทร์ศุภสิน นักปฏิบัติการวิจัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ประโยชน์ของไข่ต้ม 9 ข้อที่แชร์กันนี้ “จริง” “ไข่ต้ม” เป็นอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการ ราคาถูก และหากินได้ง่ายด้วย ข้อ 1 : ไข่ต้มอุดมด้วยสารอาหารที่จำเป็น ? จริง… ไข่ต้มให้สารอาหารหลักคือ “โปรตีน” นั่นเอง แต่ยังมีสารอาหารอื่น ๆ มีวิตามิน แร่ธาตุ รวมถึงในกลุ่มต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่ช่วยดูแลสุขภาพร่างกายได้อีกด้วย ถ้ามีสุขภาพแข็งแรงดีโดยไม่มีโรคประจำตัวอะไร ก็สามารถกินไข่ได้วันละ 1 ฟอง หรืออาจจะมากกว่านั้นก็ได้ ถ้ามั่นใจว่าไม่ได้มีปัญหาเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases : NCDs) […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ควรกินยาละลายลิ่มเลือดหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

วัคซีนโควิด-19 ที่มีความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตันคือวัคซีนชนิด Viral Vector ไม่ใช่ชนิดวัคซีน mRNA หรือชนิดเชื้อตาย ไม่แนะนำให้กินยาละลายลิ่มเลือดด้วยตัวเอง เพราะอาจเสี่ยงเกิดภาวะเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สัญญาณ อาการ และการรักษาภาวะจอประสาทตาหลุดลอก

15 มีนาคม 2567 – จอประสาทตาหลุดลอกคืออะไร อาการเป็นอย่างไร และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย อาการจอประสาทตาหลุดลอก โรคจอตาหลุดลอก คือ ภาวะที่มีการลอกตัวของจอตาออกจากผนังด้านในของลูกตา เกิดจาก มีการฉีกขาดของจอตาทำให้น้ำในน้ำวุ้นตาไหลผ่านรอยฉีกหรือรูรั่วที่จอประสาทตาเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างชั้นจอประสาทตา และผนังด้านหลังของตา นอกจากนี้ยังมีโรคจอประสาทตาลอกซึ่งเกิดจากโรคทางดวงตาอื่น ๆ เช่น การอักเสบอย่างรุนแรงหรือจอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน  โรคจอประสาทตาเสื่อมประเภทนี้จะไม่มีรูรั่วที่จะประสาทตา การรักษาจึงต้องมุ่งไปที่สาเหตุของโรคเป็นสำคัญ วิธีสังเกตอาการ 1. เห็นเงาดำเป็นจุดหรือเห็นหยากไย่ที่เกิดขึ้นโดยทันที หรือหากเคยเห็นอยู่ก่อนแล้วจะเห็นเพิ่มมากขึ้น 2. มีฟ้าแล่บเกิดในลูกตา ทั้งขณะลืมตาหรือหลับตา 3. มีเงาคล้ายม่านดำมาบัง ทำให้สายตามัวและมืดลงในที่สุด เมื่อเกิดอาการดังกล่าว แม้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจจากจักษุแพทย์อย่างละเอียดทันที เพื่อตรวจดูว่ามีรอยฉีกขาดหรือลอกหลุดของจอประสาทตาหรือไม่ เพราะหากมีแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยอาจเกิดโรคจอประสาทตาลอกหลุดขั้นรุนแรงจนตาบอดได้ สัมภาษณ์เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย :

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : CANCEL CULTURE ? — วัฒนธรรมบนโซเชียล ที่ส่งผลชั่วข้ามคืน

16 มีนาคม 2567 สิ่งนี้…เป็นวัฒนธรรมที่เกิดมากขึ้นในปัจจุบัน จนกลายเป็นเรื่องปกติในโซเชียลมีเดีย และสิ่งนี้… ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือแห่งอำนาจของบุคคลธรรมดาทั่วไปต่อบุคคลผู้มีชื่อเสียง คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 12 กุมภาพันธ์ 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปวดหลัง

17 มีนาคม 2567 อาการปวดหลัง มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง ปวดหลัง ตอนอายุน้อย กับ อายุมาก ต่างกันอย่างไร แล้วแค่ปวดหลัง จะเป็นสัญญาณความเสี่ยง หรือ ลุกลามรุนแรงได้หรือไม่ ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวริสา วงศ์ภาณุวิชญ์ นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานประสาทศัลยศาสตร์ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ อาการปวดหลัง มีสาเหตุมาจากอะไร ? 1.การปวดหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบ เส้นเอ็นฉีก ส่วนใหญ่เป็นอาการที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการแบกของหนัก 2.ปวดหลังจากโครงสร้าง สาเหตุเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังอักเสบ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือจากสาเหตุอื่น ๆ อาการปวดหลัง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยเรียน วัยทำงาน หรือวัยสูงอายุ ซึ่งบางคนอาจไม่ได้มีอาการปวดรุนแรงมากนัก เมื่อเวลาผ่านไปสามารถหายเองหรือบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองจากการรับประทานยาและท่าบริหารยืดกล้ามเนื้อส่วนหลัง แต่ในผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการปวดรุนแรงเป็นระยะเวลานานจนเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งอาการปวดหลังในลักษณะนี้มีความจำเป็นที่ต้องไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและการรักษาที่ถูกต้อง สัมภาษณ์เมื่อ : 8 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์: “น้ำส้มสายชูหมัก” ลดลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

ปัจจุบันไม่ยังพบวิธีป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 การอ้างว่าดื่มน้ำส้มสายชูหมักช่วยลดความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด-19 จึงไม่เป็นความจริง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักภาวะจอประสาทตาหลุดลอก

14 มีนาคม 2567 – จอประสาทตาหลุดลอกคืออะไร เกิดได้จากสาเหตุใด อันตรายแค่ไหน และใครที่มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะนี้ได้บ้าง ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะจอประสาทตาหลุดลอก คืออะไร ? คือ ภาวะที่จอตาหลุดลอกออกจากผนังลูกตาด้านหลัง ซึ่งเป็นชั้นของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงจอตา ทำให้จอตาบริเวณนั้นขาดสารอาหารและออกซิเจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เมื่อเส้นเลือดในดวงตาผิดปกติ การมองเห็นแย่ลง หรือเห็นเหมือนสายฟ้าแล่บ มีความอันตรายอย่างไร ? หากปล่อยทิ้งไว้นานเซลล์ประสาทอาจจะเสื่อมและตายจากการขาดเลือด จอตาบริเวณดังกล่าวอาจจะสูญเสียการทำงานอย่างถาวร ผู้ที่มีความเสี่ยงจอประสาทตาหลุดลอก สัมภาษณ์เมื่อ : 27 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดวิธีบำรุงสมอง จริงหรือ ?

13 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับวิธีบำรุงสมองเอาไว้มากมาย ทั้งนอนห้อยหัว แลบลิ้น ช่วยป้องกันสมองเสื่อม และการดื่มกาแฟ ดื่มโกโก้ จะทำให้สมองดีขึ้นได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ดื่มโกโก้ช่วยบำรุงสมอง จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความบอกว่าวิธีบำรุงสมองและความจำด้วยการรับประทานโกโก้ทุกวันนั้น ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ :  ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น อาจารย์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ราชบัณฑิต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประสาทวิทยา บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ การกินโกโก้จะได้ประโยชน์สูงสุด ไม่ควรผสมนม ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ซึ่งเป็นผู้แนะนำให้ดื่มโกโก้ร้อนเพื่อบำรุงสมอง ระบุงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษรองรับว่าการดื่มโกโก้วันละ 2 ช้อนโต๊ะ หรือ 1,000 มิลลิกรัม วันละครั้งทุกวันจะช่วยบำรุงสมอง จากการทดลองต้วยตนเองพบว่าเซลล์สมองทำงานดีขึ้น ไม่ซึมเศร้า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ผลส่องกล้องพบเลือดเป็นลิ่มอย่างรวดเร็วหลังผสมวัคซีน Pfizer จริงหรือ?

เลือดจะแข็งตัวอย่างรวดเร็วเมื่อกระทบกับอากาศ การแข็งตัวของเลือดไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด

1 37 38 39 40 41 127
...