ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามใช้หูฟังบลูทูทใกล้รางรถไฟ จริงหรือ ?

28 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์คลิปพร้อมคำเตือนคนที่นั่งรถไฟฟ้า ว่า หลีกเลี่ยงการใช้หูฟังบลูทูทใกล้รางรถไฟ เพราะอาจเป็นการเหนี่ยวนำไฟฟ้าแรงสูงบนรางรถไฟ เข้ามาช็อตผ่านหูสู่สมองได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ เหตุการณ์ในคลิป เป็นอุบัติเหตุไฟฟ้าช็อตที่ประเทศอินเดีย ไม่มีหลักฐานหรือการรายงานว่าเกี่ยวกับหูฟังบลูทูท ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เหตุการณ์ในคลิป มีการรายงานโดยหลายสื่อในประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ว่าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ตรวจตั๋วรถไฟ โดยมีสายไฟตกมาพาดโดนศีรษะ ก่อนจะเกิดประกายไฟ และทำให้เขาล้มตกไปที่รางรถไฟ เหตุการณ์ในคลิป เกิดขึ้นที่ สถานีรถไฟขรรคปุระ รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย โดยสำนักข่าว India Today รายงานบทสัมภาษณ์ของ Mohammad Sujat Hashmi ผู้จัดการการรถไฟในท้องถิ่น กล่าวว่า “เราไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่มีสายไฟตกแต่งบางส่วนที่หล่นลงมา ทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าวขึ้น” ซึ่งในรายงานไม่ได้กล่าวถึงอุปกรณ์หูฟังบลูทูทแต่อย่างใด สำนักข่าวรอยเตอร์ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และเผยแพร่เมื่อ 17 มกราคม 2566 ยังระบุรายงานถ้อยคำของตัวแทนคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดไอออน (ICNIRP) ว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: เลือดบริจาคของผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ไม่ปลอดภัย จริงหรือ?

3 ปีที่ผ่านมามีการนำโลหิตจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 มาใช้ในการแพทย์อย่างแพร่หลาย และไม่พบความผิดปกติต่อผู้รับบริจาคโลหิตแม้แต่น้อย

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀: SMS ยังเสี่ยง! เผยมิจฯ ยังกระหน่ำส่งข้อความ SMS หลอกลวงหลายรูปแบบ พนัน-ปล่อยกู้-แอบอ้าง

28 มีนาคม 2567 แอปพลิเคชัน Whoscall เผยรายงานประจำปี 2566 พบมิจฉาชีพทำงานหนักก่อกวนคนไทยเพิ่มขึ้น 12.2 ล้านครั้ง คนไทยรับข้อความหลอกลวงมากที่สุดในเอเชียถึง 58 ล้านข้อความ ทั้งแนบลิงก์ปลอม ลิงก์ขอล็อกอินปลอม การดาวน์โหลดมัลแวร์อันตราย และเพจปลอมหลอกขายของหลอกลวง เตือนระวังมุขใหม่ แอบอ้างผู้ให้บริการส่งสินค้า หน่วยงานรัฐ เช่น การไฟฟ้า ภาพรวมสถานการณ์การหลอกลวงในเอเชียคลี่คลายลง ข้อมูลจากรายงานปี 2566 พบว่ามีการหลอกลวง ทั้งจากสายโทรเข้าและข้อความ SMS รวม 347.3 ล้านครั้ง ลดลงจาก ปีก่อนหน้า 14% (405.3 ล้านครั้ง ในปี 2565) ลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เนื่องจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ และประชาชน เพื่อสร้างความตระหนักถึงภัยการหลอกลวงออนไลน์  คนไทยเสี่ยงถูกหลอกมากขึ้นกว่าเดิม ขณะที่เทรนด์การหลอกลวงในเอเชียดูเหมือนจะคลี่คลายลง ปี 2566 คนไทยกลับเสี่ยงโดนหลอกจากสายโทรเข้าและข้อความ รวม 79 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 18% จากยอดรวม 66.7 ล้านครั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดประโยชน์ของสับปะรด จริงหรือ ?

27 มีนาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับประโยชน์ของสับปะรด ทั้งเพิ่มปริมาณอสุจิ ช่วยลดน้ำหนัก อีกทั้งยังช่วยรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ และแก้น้ำวุ้นตาเสื่อม ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ประโยชน์ 16 ข้อของสับปะรด จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความแนะนำว่าสับปะรดมีประโยชน์ 16 ข้อ เช่น ตั้งแต่ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันหรือบรรเทาเบาหวาน ชะลอวัย ผิวขาว ลดริ้วรอย ลดน้ำหนัก รักษาเกาต์ บรรเทาปวด นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : รศ.ดร.รัชนีคงคาฉุยฉาย ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล สับปะรดไม่ได้มีประโยชน์ 16 ข้อตามที่แชร์กัน เป็นเพียงผลไม้ที่มีน้ำมาก กินแล้วสดชื่น แต่หากมีอาการแสบลิ้น ไอ ไม่สบายท้องควรหลีกเลี่ยง   รายละเอียดที่แชร์กัน มีดังนี้ : อันดับที่ 2 : กินสับปะรดแก้น้ำวุ้นตาเสื่อม จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความว่า การกินสับปะรดช่วยแก้ปัญหา “น้ำวุ้นตามเสื่อม” […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ญี่ปุ่นไม่รับบริจาคโลหิตจากผู้รับวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

มีข้อมูลที่สร้างความเข้าใจผิดเผยแพร่ทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกาว่า ประเทศญี่ปุ่นไม่รับบริจาคโลหิตจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 เนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัย

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : มาตรฐานระยะทางรถยนต์ไฟฟ้า

25 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์ข้อสงสัยเกี่ยวกับมาตรฐานระยะทางของรถยนต์ไฟฟ้าว่า มีกี่รูปแบบ และมีความแตกต่างกันอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ มาตรฐานระยะทางรถยนต์ไฟฟ้า เป็นการวัดว่ารถยนต์ไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ระยะทางเท่าไหร่ต่อการชาร์จแบตเตอรีหนึ่งครั้ง ปัจจุบันมีมาตรฐานที่นิยมใช้ ได้แก่ EPA , WLTP, CLTC และ NEDC ซึ่งมาตรฐานของแต่ละตัวมีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีการทดสอบที่แตกต่างกัน รวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ในการวัดก็แตกต่างกัน มาตรฐานที่ 1 : EPA (U.S. Environmental Protection Agency) เป็นมาตรฐานที่ใช้กันในประเทศสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นมาตรฐานล่าสุดที่คนทั่วโลกคุ้นเคย โดยใช้วิธีการจำลองการวิ่งในแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบวิ่งในเมือง (UDDS) และ การทดสอบวิ่งนอกเมือง (HWFET) ซึ่งจะทำสลับกันไปเรื่อย ๆ จนกว่าแบตเตอรี่จะหมด และรถไม่สามารถวิ่งต่อไปได้แล้ว จากนั้นก็จะทำการบันทึกระยะทางที่รถยนต์ไฟฟ้าวิ่งได้สูงสุดเอาไว้ มาตรฐานที่ 2 : WLTP (Worldwide Harmonised Light […]

ชัวร์ก่อนแชร์: กาชาดสหรัฐไม่รับพลาสม่าจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด เพราะเลือดไม่ปลอดภัย จริงหรือ?

สาเหตุที่กาชาดสหรัฐฯ ไม่รับบริจาค Convalescent Plasma ของคนฉีดวัคซีนโควิด-19 เพราะต้องการได้พลาสม่าจากผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การป้องกันปัจจัยเสี่ยงโรคพาร์กินสัน

25 มีนาคม 2567 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อโรคพาร์กินสันได้มีอะไรบ้าง และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 10 กรกฎาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: กาชาดสหรัฐถามประวัติวัคซีนโควิดผู้บริจาคเลือด เพราะเลือดไม่ปลอดภัย จริงหรือ?

สาเหตุที่กาชาดสหรัฐฯ ต้องการข้อมูลการฉีดวัคซีนของผู้บริจาคโลหิต เพื่อป้องกันการรับบริจาคโลหิตจากผู้ฉีดวัคซีนเชื้อเป็นก่อนเวลาอันควร ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อเป็น

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : หินปูนในเยื่อบุตา

24 มีนาคม 2567 หินปูนใต้เปลือกตาคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายต่อดวงตาหรือไม่ และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 27 กุมภาพันธ์ 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้เม็ดเลือดขาวเพิ่มผิดปกติ จริงหรือ?

วัคซีนโควิด-19 ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocytes เพิ่มขึ้นเพิ่มยับยั้งไวรัสโควิด-19 แต่จะอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปัจจัยเสี่ยงโรคพาร์กินสัน

20 มีนาคม 2567 – โรคพาร์กินสันเกิดจากสาเหตุใด ปัจจัยเสี่ยงคืออะไรต่อการเกิดโรคมีอะไรบ้าง ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร​์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 10 กรกฎาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

1 35 36 37 38 39 127
...