ชัวร์ก่อนแชร์ : กินปลาแถมปรอท จริงหรือ ?

26 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์คลิปเตือนว่า เชยแล้ว “กินปลาแล้วฉลาด” เพราะสมัยนี้ “กินปลาแถมปรอท” น่าตกใจ ไทย อันดับ 9 ของโลกนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร​์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี อาจารย์หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “จากคลิปเป็นการนำข้อมูลมาจากหลายแหล่ง มีการตัดต่อคำพูดจนทำให้ผู้บริโภคตระหนกตกใจ” สารปรอท มักพบปนเปื้อนอยู่ใน อากาศ น้ำ และดิน สาเหตุมาจากการเผาขยะ โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งสารปรอทสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายรูปฟอร์ม ได้แก่  Methyl Mercury และ Ethyl Mercury ผศ.ดร.ปรัญรัชต์ กล่าวต่อว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รวบรวมข้อมูลผลตรวจวิเคราะห์ปรอททั้งหมดในปลา ก็ไม่ได้พบค่าปนเปื้อนสูงกว่ามาตรฐาน แสดงว่าการรับประทานปลาของคนไทยยังคงมีความปลอดภัย สัมภาษณ์เมื่อ : 18 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

จาก Tinder Swindler สู่ Pig Butchering สารคดีเปิดโปงขบวนการ Romance Scam

26 กุมภาพันธ์ 2566แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ในแต่ละปี จำนวนผู้ได้รับผลกระทบและจำนวนเงินที่ต้องสูญไปกับการหลอกลวงผ่านวิธีการ Romance Scam เพิ่มขึ้นทุกปี หลายภาคส่วนได้รณรงค์เพื่อเตือนภัยประชาชนจากการตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพที่หวังผลประโยชน์จากกลุ่มคนที่ตามหาความสัมพันธ์จากเว็บไซต์และแอปพลิเคชันหาคู่ทางออนไลน์ ผู้ผลิตภาพยนตร์และสำนักข่าวต่างประเทศ นำเรื่องราวของเหล่ามิจฉาชีพ Romance Scammer มาถ่ายทอดในรูปแบบภาพยนตร์สารคดี เพื่อเปิดโปงเทคนิคการหลอกลวงที่เคยทำลายชีวิตผู้คนมาแล้วนับไม่ถ้วน The Tinder Swindler ทายาทนักธุรกิจจอมลวงโลก The Tinder Swindler คือภาพยนตร์สารคดีที่เผยแพร่ทาง Netflix เมื่อปี 2022 เล่าถึงชะตากรรมของผู้หญิงชาวยุโรป 3 ราย ที่ตกเป็นเหยื่อการต้มตุ๋นโดย ไซมอน เลอไว ผู้อ้างตัวว่าเป็นทายาทนักธุรกิจค้าเพชรในประเทศอิสราเอล เรื่องเล่าจากเหยื่อสาวทั้ง 3 เปรียบดังกระจกเงาที่สะท้อนชะตากรรมของกันและกัน เมื่อพวกเธอต่างได้รับการปรนเปรอดั่งเจ้าหญิงตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รู้จักไซมอน ทั้งพาไปดินเนอร์สุดหรูและเดินทางด้วยเครื่องบินเจ็ตส่วนตัว แต่ไม่นาน ทั้งสามก็ได้รับแจ้งขอความช่วยเหลือจากไซมอนแบบเดียวกัน ที่อ้างว่าเขากำลังถูกปองร้ายจากคู่อริและต้องการเงินอย่างเร่งด่วน โดยสัญญาว่าจะคืนเงินในจำนวนที่มากกว่าที่เขายืมไป แต่กลายเป็นว่า เงินที่พวกเธอโอนไปให้ แท้จริงแล้วถูกนำไปปรนเปรอเหยื่อรายอื่น ๆ ของไซมอนอีกทอดหนึ่ง จึงเท่ากับว่า บรรดาสิ่งปรนเปรอที่พวกเธอเคยได้รับจากไซมอน คือเงินของเหยื่อที่ไซมอนยักยอกมาก่อนหน้านี้นั่นเอง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: เปิดใจ Romance Scammer หลอกเพราะโลภหรือความจำเป็น?

24 กุมภาพันธ์ 2566แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ขณะที่ชะตากรรมของเหยื่อการหลอกให้รักแล้วขโมยเงิน เป็นเรื่องที่สื่อถึงภัยของการ Romance Scam ที่สร้างปัญหาไปทั่วโลก แต่เบื้องหลังการตัดสินใจเข้าสู่วงการ Romance Scam ของเหล่ามิจฉาชีพ ก็มีหลายเรื่องที่ผู้คนอาจคิดไม่ถึง เมื่อมิจฉาชีพหลายรายใช้ข้ออ้างว่า สิ่งที่กระตุ้นให้พวกเขาหารายได้ด้วยการหลอกลวงเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เกิดจากความยากไร้ที่ผลักดันให้พวกเขาทำทุกอย่างเพื่อความอยู่รอดเช่นกัน Yahoo Boys แห่งไนจีเรีย เอริกา จอห์นสัน สาวใหญ่ชาวแคนาดาวัย 59 ปี ได้รับคำชมเรื่องรอยยิ้มที่สดใสจากชายหนุ่มรูปงามวัยประมาณ 40 ปีที่ชื่อว่า บ็อบบี บราวน์ ที่เข้ามาแนะนำตัวผ่านทางบัญชี Instagram บ็อบบี บราวน์ เล่าว่าเขาเป็นชาวอเมริกันจากแคลิฟอร์เนีย ตอนนี้ทำงานเป็นวิศวกรแท่นขุดเจาะน้ำมันอยู่ในประเทศสกอตแลนด์ และมีลูกชายวัย 9 ขวบกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนประจำ โดยปรกติแล้ว เอริกา จอห์นสัน จะไม่คุยทางออนไลน์กับคนแปลกหน้า แต่กับ บ็อบบี บราวน์ เธอรู้สึกว่า เขามีอะไรบางอย่างที่น่าค้นหาแอบซ่อนอยู่ลึก ๆ หลังจากคุยกันได้ 2 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กระดาษชำระ สาเหตุการเกิดมะเร็งปากมดลูก จริงหรือ ?

 ตามที่มีการแชร์ข้อความ “นักศึกษาสาวชาวจีน อายุ 20 ปี ตรวจพบมะเร็งปากมดลูก จากการซักประวัติ พบว่ามีสาเหตุจากกระดาษชำระ” ที่ใช้นั้น  บทสรุป :  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ข้อมูลที่ปรากฏในข่าวไม่สามารถอธิบายว่ากระดาษชำระเป็นสาเหตุการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลกับ ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ อาจารย์แพทย์สาขาวิชามะเร็งวิทยานรีเวช ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ยืนยันว่า การใช้กระดาษทิชชู ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นต้นเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก 1. กระดาษทิชชูที่แห้ง ไวรัสอยู่ไม่ได้นาน ส่วนแบคทีเรียก็ไม่ได้เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก 2. การใช้กระดาษทิชชูเช็ด คงจะเช็ดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ไม่น่าเช็ดล้วงลึกไปจนถึงปากมดลูก จนทำให้ติดเชื้ออะไรก็ตามที่ปากมดลูกได้ “อย่างไรก็ตาม ควรเลือกทิชชูที่สะอาดถูกสุขลักษณะในการทำความสะอาดบริเวณที่จำเพาะนี้ และไม่ควรมีน้ำหอมที่จะทำให้ระคายเคืองต่อผิวด้วย” ศ.พญ.สฤกพรรณ กล่าว สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูก เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human papilloma virus หรือ HPV) สามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่น ๆ ได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โดยในปัจจุบัน มีคำแนะนำว่า ควรมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ เพื่อหากพบโรคจะสามารถรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ นอกจากนี้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: 11 เทคนิคจับผิด Romance Scammer โดย FBI

23 กุมภาพันธ์ 2566แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล Romance Scam คือกลวิธีที่มิจฉาชีพใช้การสานสัมพันธ์ทางแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์หาคู่ทางออนไลน์โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลอกลวงทรัพย์สินจากเหยื่อโดยเฉพาะ ข้อมูลจากคณะกรรมาธิการว่าด้วยการค้าแห่งสหพันธรัฐ (Federal Trade Commission หรือ FTC) พบว่าในปี 2022 มีชาวอเมริกันตกเป็นเหยื่อ Romance Scam มากกว่า 70,000 ราย รวมมูลค่าความเสียหาย 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเฉลี่ย 4,400 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อราย (ประมาณ 154,000 บาท) โดยเหยื่อส่วนใหญ่คือผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีสถานะการเงินมั่นคง โดยข้อมูลจากการสำรวจโดยเว็บไซต์ Bedbible.com พบว่าในปี 2022 ช่วงอายุของเหยื่อที่สูญเงินจาก Romance Scam มากที่สุดได้แก่ผู้อยู่ในวัย 60-69 ปี โดยสูญเงินจากการใช้แอปพลิเคชันหาคู่เฉลี่ยต่อรายที่ 18.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐอเมริกา (Federal Bureau of Investigation หรือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ พบปลาหน้าเหมือนมนุษย์ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความว่ามีการค้นพบปลาที่มีใบหน้าเหมือนมนุษย์นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อเป็นภาพที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์ (เอไอ-ปัญญาประดิษฐ์) และไม่เคยมีหลักฐานการค้นพบปลาชนิดดังกล่าว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง factly.in ได้ตรวจสอบและเผยแพร่เมื่อ 2 ก.พ. 2567 ยืนยันว่า ไม่มีรายงานการค้นพบปลาดังกล่าว และทะเลสาบที่อ้างว่าชื่อ Samsara ก็ไม่มีอยู่จริง ขณะที่ sportskeeda ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อ 22 ม.ค. 2567 ก็ยืนยันในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ หากมีการค้นพบดังกล่าว จะต้องมีการรายงานทางวิทยาศาสตร์ และเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก แต่กลับไม่พบการรายงานข่าวอย่างกว้างขวางแต่อย่างใด และปลา Homo Piscis ที่กล่าวอ้างก็ไม่อยู่จริงแต่อย่างใด [เว็บตรวจสอบข้อเท็จจริง] https://factly.in/an-ai-generated-video-of-a-human-faced-fish-is-being-shared-as-real/https://www.sportskeeda.com/pop-culture/fact-check-is-homo-piscis-fish-real-fake-story-behind-human-faced-fish-explored ขณะที่ภาพประกอบในคลิปทั้งหมดนั้น ตรวจสอบย้อนรอยภาพ พบว่า มาจากช่อง YouTube ชื่อ Headtap Videos ซึ่งระบุคำอธิบายช่องว่าเป็น “การทดลองในด้านวิดีโอและกราฟิก” (Experiements in video and […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check Factsheet : รู้จัก และเข้าใจ “น้ำมันเครื่อง”

20 กุมภาพันธ์ 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องทำหน้าที่อะไร และมีให้เลือกใช้กี่รูปแบบ รวมทั้งควรดูแลรักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ น้ำมันเครื่องคืออะไร ? น้ำมันเครื่อง คือ สารหล่อลื่นที่ป้องกันไม่ให้ชิ้นโลหะเสียดสีกันทำหน้าที่เป็นฟิล์มเคลือบชิ้นส่วนโลหะ สามารถช่วยลดการเสียดสีและการสึกหรอของวัตถุโลหะขณะที่มีการเคลื่อนไหวของเครื่องยนต์ อีกทั้งช่วยระบายความร้อนให้ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ป้องกันการเกิดสนิม คราบตะกรันเหนียวที่อาจทำให้เกิดการอุดตันภายในชิ้นส่วนเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องแบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้ 1. น้ำมันเครื่องจากปิโตรเลียม  เป็นน้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ประมาณ 5,000 กิโลเมตร หรือไม่เกิน 6 เดือน  2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) เป็นน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้น้ำมันธรรมชาติเป็นฐานและเติมสารสังเคราะห์เพิ่ม เพื่อให้มีคุณสมบัติสูงขึ้น ใช้งานได้ประมาณ 7,000-10,000 กิโลเมตร หรือไม่เกิน 6 เดือน  3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ (Fully Synthetic) เป็นน้ำมันหล่อลื่นที่เป็นสารสังเคราะห์ดัดแปลง 100% มีสิ่งแปลกปลอมเจือปนน้อย ใช้งานได้ประมาณ 10,000-20,000 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ชนชั้นสูงในนิวซีแลนด์ได้สิทธิ์ยกเว้นวัคซีนโควิด-19 นับหมื่นราย จริงหรือ?

นักการเมืองในรัฐสภาของนิวซีแลนด์เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แบบครบโดสทุกราย รวมถึง จาซินดา อาร์เดิร์น อดีตนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนระวัง หลอดเลือดสมองแตกหลังอาบน้ำ จริงหรือ ?

19 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์ข่าวเตือนว่า ชายหลอดเลือดสมองแตกหลังอาบน้ำ เหตุเจออากาศเย็น ถูกส่งโรงพยาบาลพบความดันสูง หลอดเลือดสมองตีบ อันตรายถึงชีวิตนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวริสา วงศ์ภาณุวิชญ์ นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานประสาทศัลยศาสตร์ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ อธิบายว่า ข้อมูลในเนื้อข่าวยังขาดข้อมูลปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น โรคประจำตัว การดื่มสุราเป็นประจำหรือไม่  “เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง ธรรมชาติของร่างกายจะมีกลไกขยายหรือหดตัวของหลอดเลือดที่ผิวหนัง เพื่อคุมให้อุณภูมิในร่างกายให้คงที่ เพราะฉะนั้นเมื่ออุณหภูมิที่ต่างกันมาก จะมีผลหลัก ๆ ที่เส้นเลือดที่ผิวหนังมากกว่าถึงหลอดเลือดที่อยู่ข้างในตัว” การอาบน้ำส่งผลต่อหลอดเลือดในสมองหรือไม่ ? การอาบน้ำไม่ได้ส่งผลให้เกิดหลอดเลือดในสมองถึงจะมีอุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นจัด ก็ไม่เกี่ยวกับอาการหลอดเลือดในสมองแตกแต่อย่างใด ตามข่าวอาจเป็นความบังเอิญมาเกิดอาการหลอดเลือดในสมองแตกหลังอาบน้ำพอดี ในความเป็นจริง หลอดเลือดสมองสามารถแตกตอนไหนก็ได้ เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกันแต่ไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลเกี่ยวข้องกัน ส่วนโรคเส้นเลือดในสมอง มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ที่ทำให้สมองอยู่ในภาวะขาดเลือด โดยอาจเกิดจากการที่หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน จากการที่มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ หรือไขมันที่สะสมเป็นเวลานาน เข้าไปขวางการไหลเวียนของเลือดที่จะเข้าไปเลี้ยงสมอง และอาจเกิดจากหลอดเลือดสมองปริแตก ฉีกขาด เพราะหลอดเลือดสมองอาจมีความเปราะบาง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิดปนเปื้อนเนื้อเยื่อตัวอ่อนมนุษย์จากการทำแท้ง จริงหรือ?

วัคซีนโควิด-19 ทุกชนิด ไม่มีส่วนประกอบของเซลล์เนื้อเยื่อตัวอ่อนมนุษย์อยู่ในวัคซีน มีวัคซีนหลายชนิดที่พัฒนาจากเซลล์เนื้อเยื่อตัวอ่อนมนุษย์ รวมถึงวัคซีนโรคหัดเยอรมันที่กำหนดให้บุคลากรทางการแพทย์ในนิวยอร์กต้องฉีดมานานแล้ว

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปัญหาการต่อขนตา

15 กุมภาพันธ์ 2567 ปัญหาจากการต่อขนตาปลอมที่พบได้มีอะไรบ้าง และเราควรสังเกต ป้องกัน และดูแลอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 23 มกราคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สังเกต-เยียวยา โรคแพนิก

16 กุมภาพันธ์ 2567 รู้ได้อย่างไร ว่าเข้าข่ายเป็นโรคแพนิก มีสัญญาณความเสี่ยงตรงไหนบ้าง และจะเยียวยารักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 21 ธันวาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

1 34 35 36 37 38 120
...