ชัวร์ก่อนแชร์: พายุมิลตันถูกสร้างโดยมนุษย์ เพราะทิศทางผิดปกติ จริงหรือ?

31 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อนหรือเฮอริเคนเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดยทฤษฎีสมคบคิดอ้างว่า พายุมิลตันที่พัดขึ้นฝั่งที่รัฐฟลอริดาเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2024 จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 30 รายและสร้างความเสียหายมูลค่ากว่า 8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แท้จริงแล้วไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่บงการให้เกิดขึ้นโดยมนุษย์ เนื่องจากมีทิศทางการพัดที่ผิดปกติจากพายุเฮอริเคนทั่วไป ที่มักจะพัดมาจากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก แต่เฮอริเคนมิลตันกลับก่อตัวในอ่าวเม็กซิโกและพัดมายังแผ่นดินอเมริกา ซึ่งก่อนหน้านี้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้ง จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นผลจากวิศวกรรมธรณีที่สร้างโดยฝีมือมนุษย์ บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : พายุจากอ่าวเม็กซิโกไม่ใช่เรื่องแปลก พายุเฮอริเคนมีจุดกำเนิดจากแอ่งมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งประกอบไปด้วยทะเลแอตแลนติก ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก รวมถึงทะเลแปซิฟิกเหนือฝั่งตะวันออกและตอนกลาง มีปัจจัยหลายประการก่อให้เกิดพายุหมุนเขตร้อนหรือเฮอริเคน ทั้งกระแสลม ความชื้น และอุณหภูมิของน้ำทะเล โดยอุณหภูมิน้ำทะเลที่เป็นตัวเร่งให้เกิดพายุเฮอริเคนจะมีความร้อนอย่างน้อย 26.5 องศาเซลเซียส พายุหมุนเขตร้อนซึ่งมีความเร็วมากกว่า 119 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะถูกจัดให้เป็นพายุเฮอริเคน แม้พายุเฮอริเคนที่พัดขึ้นชายฝั่งของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะก่อตัวจากทะเลแอตแลนติกเหนือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : ข้อเสียของรถติดตั้งแก๊ส จริงหรือ ?

29 ตุลาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อเสียของการดัดแปลงติดตั้งระบบแก๊สรถยนต์ เช่น ราคาขายต่อตกลง และ เครื่องยนต์เสื่อมสภาพไวกว่าปกติ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามได้ใน ซีรีส์ ชัวร์ก่อนแชร์ มอเตอร์เช็ก กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สรุป : ✅ แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม 🎯 ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 18 ตุลาคม 2567 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดอันตรายของเมนูก๋วยเตี๋ยว จริงหรือ ?

30 ตุลาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์สารพัดอันตรายของเมนูก๋วยเตี๋ยว ทั้งเตือนให้ระวังการกินเส้นเล็กเพราะมีสารกันบูดมากกว่าเส้นอื่น รวมถึงการกินกากหมู หากกินมาก ๆ เสี่ยงเกิดโรคได้ ?! 🎯 ตรวจสอบกับ ดร.นัฐพล ตั้งสุภูมิ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.วิวรพรรณ สรรประเสริฐ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.ดร.กิตณา แมคึเน็น ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ พิมพ์นภาณัท ศรีดอนไผ่ นักวิจัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการ สำนักอาหาร อย. 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 ท่าบริหารบรรเทาปวดหลอดเลือดขอด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปแนะนำ 5 ท่าบริหารเพื่อบรรเทาอาการปวดจากหลอดเลือดขอด มีตั้งแต่ท่ายืนเหยียดขาตรง กระดกขึ้นลง และท่านั่งประกบฝ่าเท้าคล้ายท่าผีเสื้อ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.นพ.เทิดภูมิ เบญญากร สาขาวิชาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยภาพรวม การออกกำลังกายหรือการยืดเหยียด จะทำให้อาการหลอดเลือดขอดดีขึ้น แต่บางท่าก็ไม่สามารถทำให้อาการหลอดเลือดขอดดีขึ้นได้ ท่าที่ 1 ยืนเหยียดขาตรง แล้วกระดกข้อเท้าขึ้น-ลง ทำข้างละ 20 ครั้ง จำนวน 3 เซ็ต ช่วยลดปวดได้ จริงหรือไม่ ? ท่ากระดกข้อเท้า ช่วยให้อาการหลอดเลือดขอดดีขึ้น การกระดกข้อเท้า ถ้าทำมากต่อวัน ยิ่งจะทำให้อาการหลอดเลือดขอดดีขึ้น การไหลเวียนเลือดดีขึ้น การกระดกข้อเท้าข้างละ 10 ครั้ง จำนวน 3 เซ็ตต่อวัน ก็อาจจะช่วยลดอาการหลอดเลือดขอดได้ดีขึ้น ท่าที่ 2 เหยียดขาตึงไปด้านหน้า ดันสะโพกไปด้านหลัง ก้มจับปลายเท้า นับ 1-20 ทำข้างละ 15 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แพ้ยา ทำให้ตาบอด

โรคสตีเวนส์จอห์นสันคืออะไร ส่งผลต่อดวงตา และทำให้ตาบอดได้อย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอาการที่เกิดจากการแพ้ยาอย่างรุนแรง เรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้กันว่า มีอาการของโรคสตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens Johnson Syndrome) โรคสตีเวนส์จอห์นสันเป็นอาการแพ้อย่างรุนแรง เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายมีความไวต่อสิ่งที่มากระตุ้น เกิดจากสาเหตุหลายอย่าง ได้แก่ การใช้ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยอาจมีอาการผิดปกติทันทีหลังใช้ยา หรือแสดงอาการประมาณ 1-2 สัปดาห์ 1. ยาต้านการติดเชื้อ เช่น เพนิซิลลิน (Penicillin) โคไตรม็อกซาโซล (Co-trimoxazole) 2. ยาระงับอาการปวด เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพรอกเซน (Naproxen) 3. ยากันชักหรือยารักษาอาการป่วยทางจิต เช่น ฟีโนบาร์บิทัล (Phenobarbital) เฟนิโทอิน (Phenytoin) เซอร์ทราลีน (Sertraline) คาร์บามาซีพีน (Carbamazepine) และอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากอยู่ในระหว่างเข้ารับการรักษาโรคด้วยวิธีฉายรังสี 4. ยารักษาโรคเกาต์ เช่น อัลโลพูรินอล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กด-หมุน-รีด รักษาหลอดเลือดขอด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ คลิปการแก้ปัญหาหลอดเลือดขอด ด้วยการกด หมุน รีดรอบ ๆ บริเวณที่เกิดหลอดเลือดขอด จะช่วยให้ปัญหาหลอดเลือดขอดหายไปได้ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.นพ.เทิดภูมิ เบญญากร สาขาวิชาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คลิปที่แชร์แก้ปัญหาหลอดเลือดขอดด้วยการ “กด-หมุน-รีด” ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ในคลิปที่แชร์กัน แนะนำให้ใช้นิ้วชี้กดหมุนบริเวณที่หลอดเลือดขอด นับ 1-20 แล้วใช้หัวแม่มือกดรีดรอบ ๆ นับ 1-20 หลังจากนั้น ใช้นิ้วหัวแม่มือกดบริเวณหลอดเลือดขอด นับ 1-3 แล้วปล่อย ทำทั้งหมด 10 ครั้ง จะช่วยแก้ปัญหาหลอดเลือดขอดได้ จริงหรือไม่ ? เรื่องนี้ไม่จริง เพราะการกดหมุนบริเวณหลอดเลือดขอดหรือการนวดบริเวณต่าง ๆ ไม่ได้ช่วยทำให้อาการหลอดเลือดขอดดีขึ้น หรือชะลอการเกิดหลอดเลือดขอด การกดหมุนนวดต่าง ๆ อาจจะทำให้อาการปวด เมื่อย ตึง จากหลอดเลือดขอดดีขึ้น สาเหตุการเกิด “หลอดเลือดขอด” ? “หลอดเลือดขอด” เกิดจากภาวะความดันในหลอดเลือดดำที่สูงขึ้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อะไรเข้าตา

เมื่อมีอะไรเข้าตา สิ่งที่ต้องอย่าทำคืออะไร และสิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อนำสิ่งแปลกปลอมออกจากดวงตา เป็นอย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “ดวงตา” เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญ และมีความบอบบาง ในแต่ละวัน คนเราลืมตาเกือบ 20 ชั่วโมง โอกาสเสี่ยงที่จะมีอะไรเข้าตาได้ค่อนข้างมาก ทางการแพทย์ มีการแบ่งสิ่งแปลกปลอมที่เข้าดวงตาได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ สิ่งแปลกปลอมที่มีความเร็วต่ำ และสิ่งแปลกปลอมที่มีความเร็วสูง 1. สิ่งแปลกปลอมที่มีความเร็วต่ำในการปลิวเข้ามาที่ดวงตา เช่น พบบ่อยในคนที่ทำงานเจียเหล็ก และเศษเหล็กปลิวเข้ามาติดบริเวณดวงตา รวมถึงในคนที่เดินหรือขี่รถจักรยานยนต์ และมีลมพัดปะทะดวงตา อาจมีสิ่งแปลกปลอมตั้งแต่ฝุ่นธรรมดา แมลงทั้งตัวหรือชิ้นส่วนของตัวแมลงปลิวเข้าตาได้ 2. สิ่งแปลกปลอมที่มีความเร็วสูงวิ่งเข้าสู่ดวงตา พบได้บ่อย ๆ เช่น ตอกตะปูและเศษตะปูบินสวนทิ่มเข้าสู่ดวงตา ซึ่งจะเกิดอันตรายกับดวงตาค่อนข้างรุนแรงเพราะอาจทำให้ตาบอดได้ จำเป็นต้องผ่าตัดนำสิ่งแปลกปลอมออกจากดวงตา นอกจากนี้ กรณีสิ่งแปลกปลอมมีชีวิตเข้าสู่ดวงตา โดยเฉพาะแมลงชนิดต่าง ๆ พบเข้าตาเด็กได้บ่อย ควรรีบนำออก ถ้าไม่ได้จะต้องรีบไปพบจักษุแพทย์ที่ใกล้ที่สุดเพื่อนำแมลงมีชีวิตออกจากดวงตา บางครั้งพบว่าสิ่งแปลกปลอมมีชีวิตเข้าไปซ่อนอยู่ด้านในของเปลือกตา (ทั้งเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง) บางครั้งการกะพริบตาก็ยังไม่สามารถนำออกจากดวงตาได้  […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 6 วิธีรักษาหลอดเลือดขอด โดยไม่ต้องผ่าตัด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ “6 วิธีรักษาหลอดเลือดขอดได้ โดยไม่ต้องผ่าตัด” มีตั้งแต่ปรับพฤติกรรม เลือกกินอาหารและสมุนไพรบางชนิด ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย และใส่ถุงน่องหลอดเลือดขอด จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ​​รศ.นพ.เทิดภูมิ เบญญากร สาขาวิชาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน 6 วิธีที่แชร์กัน มีทั้งจริงและไม่จริง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดขอดไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเสมอไป ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ข้อ 1. ปรับพฤติกรรม ไม่อยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ข้อนี้จริง เพราะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถช่วยเรื่องหลอดเลือดขอดให้ดีขึ้นได้ การเดิน หรือการขยับปรับเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ สามารถลดความรุนแรงของหลอดเลือดขอดได้ สำหรับรายที่ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดขอดมีมากขึ้นแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเดียวอาจจะยังไม่พอ ควรพบแพทย์เพื่อประเมินวิธีการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมแต่ละรายต่อไป ข้อ 2. เลือกกินผักและผลไม้ที่มีสารฟลาโวนอยด์และไบโอฟลาโวนอยด์ เช่น บลูเบอร์รี หรือผลไม้ตระกูลเบอร์รีและดาร์กช็อกโกแลต ข้อนี้ไม่จริง เพราะอาหารไม่สามารถช่วยรักษาหลอดเลือดขอดได้ ถึงแม้จะมีสารอาหารที่จำเป็นในการรักษาหลอดเลือดขอด แต่ก็มีปริมาณน้อยมากที่ไม่สามารถทำให้อาการของหลอดเลือดขอดดีขึ้น ข้อ 3. กินสมุนไพรรักษาหลอดเลือดขอด เช่น ใบบัวบก พริก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินวิตามินบลูเบอร์รี่ ช่วยให้มองเห็นชัดขึ้น จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์แนะนำให้วิตามินที่มีส่วนผสมของบลูเบอร์รี่ ( Blueberry) กินก่อนดูคอนเสิร์ต 15 นาที ช่วยให้มองเห็นภาพชัดขึ้นได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องนี้ไม่จริง เพราะว่ามีวิตามินบางชนิดเท่านั้นที่เป็นประโยชน์กับดวงตา แต่ไม่ใช่กินช่วงสั้น ๆ แล้วเกิดประโยชน์กับดวงตาทันที จอประสาทตา “ปรับตัวที่มืด” เกี่ยวข้องกับผลไม้ “บลูเบอร์รี่” อย่างไร ? ขณะที่เข้าไปในสถานที่มืด เป็นธรรมชาติของดวงตาที่ช่วงแรกยังเห็นภาพไม่ชัด ประมาณ 5-10 นาที กลไกของดวงตาก็จะมีการปรับตัว ทำให้มองเห็นคอนเสิร์ตหรือภาพยนตร์ได้ชัดเจน ผลไม้กลุ่มตระกูลเบอร์รี่มีการพูดถึงประโยชน์ว่าบำรุงสมอง บำรุงสายตา แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันว่าคนเราจำเป็นต้องกินผลไม้ตระกูลบลูเบอร์รี่เพื่อบำรุงสายตา วิตามินชนิดไหน ส่งผลดีต่อดวงตา ? วิตามินที่ส่งผลดีต่อดวงตาก็คือ วิตามินเอ มีอยู่ทั่วไปในอาหาร (ผักใบเขียว และผลไม้บางชนิด) ร่างกายต้องการวิตามินเอต่อวันจำนวนน้อยมากสำหรับการทำงานของจอประสาทตา การขาดวิตามินเอจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดโรคตาหลายโรคตามมาได้ ขอให้สบายใจได้อย่างหนึ่งว่า ปัจจุบันไม่พบคนไทย (ทั้งเด็กและผู้ใหญ่) ขาดวิตามินเอจนส่งผลให้เกิดความผิดปกติที่ดวงตา ในอาหารทั่วไปก็มีวิตามินเอเพียงพออยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องไปซื้อวิตามินเอหรือกินอาหารเสริมเพื่อบำรุงดวงตา นอกจากวิตามินเอยังมีสารอาหารอื่นอีกหลายชนิดที่เป็นประโยชน์กับดวงตา คือสารลูทีน (Lutein) […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ความเครียดทำให้หลอดเลือดฝอยในตาแตก จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความเตือนว่าความเครียดทำให้หลอดเลือดฝอยในตาแตก จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย 📌 สรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ความเครียดทำให้หลอดเลือดฝอยในตาแตก ? ไม่จริง เพราะว่าหลอดเลือดที่บริเวณตาขาวของคนเราก็เหมือนหลอดเลือดบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย โดยทั่วไปแล้วหลอดเลือดอาจจะเกิดการแตกได้ ก็เหมือนบริเวณผิวหนังทั่ว ๆ ไป เพียงแต่ว่าที่เยื่อบุตาหรือตาขาว มีลักษณะใสและบาง ถ้ามีหลอดเลือดฝอยแตก ก็จะไม่ได้เห็นเป็นสีเขียว ๆ คล้ำ ๆ เหมือนบริเวณใต้ผิวหนัง ซึ่งมีผิวหนังกั้นอยู่ แต่เยื่อบุตามีลักษณะใส เราก็จะเห็นเป็นเลือดสีแดงบริเวณตาขาวข้างใดข้างหนึ่ง เป็นบางบริเวณ ถ้าเป็นมากก็อาจจะเห็นทั่วทั้งบริเวณตาขาว ทำให้ดูน่ากลัว สาเหตุของเยื่อบุตาขาวที่หลอดเลือดบริเวณนี้แตก ส่วนใหญ่จะพบว่าเกิดจากการกระทบกระเทือน ที่พบบ่อยที่สุดก็คือการขยี้ตา ในบางคนที่มีอาการเคืองตาแล้วเผลอไปขยี้ตาอย่างรุนแรง ก็อาจจะทำให้หลอดเลือดฝอยที่บริเวณตาขาวเกิดการแตก ก็กลายเป็นสีแดงทั่วบริเวณดวงตาขาวได้ ที่พบบ่อยอีกอย่างหนึ่งก็คือ ขณะตื่นนอนใหม่ ๆ บางคนอาจจะเผลอขยี้ตาตอนนอน หรืออาจจะนอนกดกับหมอนก็อาจทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นมีความดันสูงขึ้นแล้วเกิดการแตก นอกจากนั้น อาจจะพบในคนที่มีอาการไออย่างรุนแรง ที่สมัยก่อนเรียกว่า “โรคไอกรน” […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สตาร์ตรถนอน เสี่ยงเสียชีวิต จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เตือนว่า ห้ามสตาร์ตรถนอน เพราะอาจเสียชีวิตได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ เรื่องนี้จริงและแชร์ต่อได้ แต่ก็มีคนแย้งว่าทำแล้วไม่เห็นเป็นอะไรเลย เรียกว่าอยู่ที่พื้นที่จอดรถและเวลาในการนอนด้วย ทำไมถึงบอกว่า “ห้ามสตาร์ตรถนอน” ? เครื่องยนต์ระบบสันดาปสามารถปล่อยก๊าซพิษออกมาได้ โดยปกติแล้วขณะที่อยู่ในรถยนต์จะมีก๊าซพิษ 2 ตัวหลัก ๆ คือ 1. คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) ออกจากร่างกายคนเรา 2. คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) ออกจากปลายท่อไอเสียรถยนต์ ทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนอกไซด์ มีน้ำหนักเบากว่าก๊าซออกซิเจน (Oxygen) เวลาขับรถยนต์ปกติและรถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าตลอดเวลา ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่พ่นออกมาก็กระจายอยู่ในบรรยากาศ การขับรถยนต์เคลื่อนที่ไปข้างหน้าก็จะมีก๊าซออกซิเจนเข้ามาในตัวรถด้วย และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่กระจายอยู่ในรถก็ถูกดันออกไปด้านนอกตัวรถด้วย ถึงแม้ว่าคนเราจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาตลอดเวลา แต่รถยนต์ถูกออกแบบให้อากาศภายนอกหมุนเวียนเข้ามาได้ จึงทำให้สามารถขับขี่รถยนต์ได้โดยไม่มีปัญหา กรณีการจอดรถยนต์บริเวณที่อากาศถ่ายเทไม่ดี ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากท่อไอเสียรถยนต์สามารถย้อนกลับเข้ามาในตัวรถยนต์ได้ ก๊าซพิษสามารถเข้าสู่ตัวรถยนต์ทางไหน ? รถยนต์แต่ละคันจะมีช่องระบายที่เปิด-ปิดอัตโนมัติตามแรงลม ดังนั้น การจอดรถยนต์บริเวณที่การถ่ายเทอากาศไม่ดี ก๊าซพิษก็จะอยู่บริเวณรอบตัวรถจะซึมผ่านเข้าตัวรถส่งผลกับคนที่อยู่ในรถยนต์ได้ ขณะที่เราหายใจนำก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย เม็ดเลือดแดงจับกับออกซิเจนไหลเวียนสู่ระบบต่าง ๆ ในร่างกาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : จ้องหน้าจอคอมมากเกินไป ทำให้ม่านตาไหม้ คล้ำ ทำให้ตาเหลือง จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์ข้อความเตือนว่า การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์มากเกินไป ทำให้ม่านตาไหม้ คล้ำ ตาเหลือง จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การที่ “ม่านตา” ของคนเราจะเป็นสีอะไร เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่กำเนิด เป็นกรรมพันธุ์ แสงจากดวงอาทิตย์ หรือแสงที่เกิดจากการใช้สายตา ไม่ได้ทำให้ “ม่านตา” มีสีเข้มขึ้นเหมือนสีของผิวหนัง ในดวงตามีกลไกป้องกันแสงหรือความสว่างที่จะไปเปลี่ยนแปลง หรือทำอันตรายดวงตาอยู่หลายชั้น เช่น เปลือกตาหรือกระจกตา รวมทั้ง การหดและขยายของตัวม่านตา ทำให้สีของม่านตาไม่ได้แปรเปลี่ยนตามการถูกแสง ไม่ว่าจะเป็นแสงอาทิตย์ แสงไฟจากโทรศัพท์มือถือ หรือแสงจากคอมพิวเตอร์ “ภาวะดวงตาเป็นสีเหลือง” โดยทั่วไปคงหมายถึงบริเวณตาขาว หรือเยื่อบุตาขาว แต่สมัยก่อนมักจะได้ยินคำว่า “ดีซ่าน” หรือโรคที่ทำให้ตาเหลือง ซึ่งเกิดจากสารบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งไปสะสมบริเวณต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ทั้งผิวหนัง และเยื่อบุตาทำให้ตามีสีเหลือง ในความเป็นจริงแล้ว นอกจากตาที่เป็นสีเหลือง (คนที่เป็นโรคตับ หรือดีซ่าน) จริง ๆ แล้วภาวะเยื่อบุตาขาวของคนเรา ปกติโดยธรรมชาติจะเป็นสีขาวและใส แต่อาจจะเป็นสีเหลือง […]

1 2 3 4 5 6 125
...