ชัวร์ก่อนแชร์ : ให้ความเย็นทั้งร่างกาย รักษาได้หลายโรค จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์แนะนำการบำบัดที่เรียกว่า Whole body Cryotherapy เดินเข้าไปในตู้ที่มีความเย็นจัด รักษาโรค ช่วยชะลอวัย แก้นอนไม่หลับ แก้ออฟฟิศซินโดรม จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.กภ.วรรธนะ ชลายนเดชะ อาจารย์คณะกายภาพบำบัด และศูนย์กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา การบำบัดที่เรียกว่า Whole body Cryotherapy ยังไม่มีหลักฐานการวิจัยที่ยืนยันแน่นอน แต่น่าจะมีผลกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว เหมือนกับการออกกำลังกาย มีอะไรกระตุ้นผิวหนังทำให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว มีการหลั่งของสารเอ็นดอร์ฟินส์ (Endorphins) ทำให้รู้สึกสบาย ถ้าเปรียบเทียบกับวิธีการรักษาอื่น ๆ ที่ได้ผลมากกว่านี้ แนวคิด วิธีการรักษา Whole body Cryotherapy ? Whole body Cryotherapy คือการบำบัดด้วยความเย็นจัดทั้งตัว คนเข้าไปอยู่ในห้อง Chamber บางชนิดเข้าทั้งตัว บางชนิดโผล่ศีรษะ อุณหภูมิที่ใช้คือ ลบ 130 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-3 นาทีเท่านั้น ส่งผลทำให้ร่างกายตื่นตัวหลั่งเอ็นดอร์ฟินส์ออกมา การให้ความเย็นทั้งร่างกาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ไข่แดงป้องกันโควิด-19 ได้ จริงหรือ?

26 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จพยายามเชื่อมโยงวิกฤตขาดแคลนไข่ไก่ปี 2023 กับวัคซีนโควิด-19 เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าสาเหตุที่ไข่ไก่ขาดแคลนอย่างหนักในหลายประเทศช่วงปี 2023 เนื่องจากมีรายงานพบความสำเร็จในการผลิตไข่แดงที่สามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้ นำไปสู่แผนการทำลายสัตว์ปีกอย่างแพร่หลายเพื่อขัดขวางประชาชนเข้าถึงไข่ไก่แทนการใช้วัคซีน จนนำไปสู่สภาวะขาดแคลนไข่ไก่ไปทั่วโลก บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : การทดลองใช้แอนติบอดีจากไข่แดงยับยั้งไวรัสโควิด-19 ในเซลล์เพาะเลี้ยง ข้ออ้างเรื่องไข่แดงป้องกันโควิด-19 ได้ นำมาจากงานวิจัยที่ทดลองฉีดโปรตีนหนามของไวรัสโควิด-19 ไปในตัวแม่ไก่ เมื่อไข่ถูกฟัก จึงสกัดเอาแอนติบอดีจากไข่แดงของไก่ที่ได้รับโปรตีนหนามมาทดลองกับเซลล์เพาะเลี้ยงที่ถูกทำให้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทีมวิจัยพบว่า แอนติบอดีจากไข่แดงของไก่ที่ได้รับโปรตีนหนาม สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด-19 ในเซลล์เพาะเลี้ยง ต่างจากแอนติบอดีของไข่แดงจากแม่ไก่ทั่วไปที่ใช้ไม่ได้ผล ไข่ไก่ทั่วไปป้องกันโควิด-19 ไม่ได้ จากการทดลองสามารถบอกได้ว่า แอนติบอดีจากไข่แดงของไก่ที่ได้รับโปรตีนหนามเท่านั้น ที่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด-19 ในเซลล์เพาะเลี้ยง ดังนั้นไข่ไก่ทั่วไปที่จำหน่ายในท้องตลาด ไม่สามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้ กินไข่มีแอนติบอดีก็ป้องกันโควิด-19 ไม่ได้ แม้ไข่แดงที่มีแอนติบอดีไวรัสโควิด-19 จะสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด-19 ในเซลล์เพาะเลี้ยงได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดสูตรสำหรับการซักผ้า จริงหรือ ?

23 ตุลาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์สารพัดสูตรสำหรับการซักผ้า ทั้งการใช้น้ำอัดลมที่มีสีใสแช่ผ้าแล้วปล่อยทิ้งไว้จะช่วยให้ผ้าขาวสะอาด อย่างไรก็ตามกลับมีการเตือนให้ระวังภัยแฝงจากน้ำยาปรับผ้านุ่ม ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.กาวี ศรีกูลกิจ ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ หัวหน้าหน่วยผิวหนัง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.กนกวรรณ ฤดีสิริศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ศิริชัย แดงเอม ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ดร.สุภาวดี ปาทาธนานนท์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: กินไข่เสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันในหัวใจ จริงหรือ?

24 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการกินไข่ไก่เผยแพร่ทาง Facebook และเว็บไซต์ในสหรัฐอเมริกา เมื่อมีการอ้างว่าพบงานวิจัยที่พิสูจน์ได้ว่าการกินไข่ไก่คือสาเหตุทำให้ชาวอเมริกันมีอาการลิ่มเลือดอุดตันหลายพันราย บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ข้ออ้างที่เผยแพร่ทางออนไลน์ นำมาจาก NewsPunch หรือ The People’s Voice เว็บไซต์ที่มีประวัติเผยแพร่ข่าวปลอมบ่อยครั้ง โดยบทความอ้างงานวิจัยที่พบว่า โคลีน (Choline) สารที่อยู่ในไข่แดงคือตัวการทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจจากลิ่มเลือดอุดตัน Choline โคลีน (Choline) คือสารที่จำเป็นต่อร่างกาย และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ วงการแพทย์เคยจัดให้โคลีนเป็นหนึ่งในวิตามินบี 4 แม้ร่างกายสามารถผลิตโคลีนได้เอง แต่มีในปริมาณน้อย จึงจำเป็นต้องได้รับโคลีนที่มีอยู่ในอาหาร ได้แก่ เนื้อแดง ไข่แดง ผลิตภัณฑ์จากนม และถั่วต่าง ๆ การขาดโคลีนนำไปสู่โรคไขมันพอกตับและการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ แต่หากได้รับโคลีนมากเกินไป นำไปสู่ปัญหาความดันต่ำ ท้องเสีย และการมีกลิ่นตัวเหมือนกลิ่นปลา […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แช่น้ำแข็งบำบัดโรค จริงหรือ ?

21 ตุลาคม 2567 – บนโซเชียลแชร์แนะนำ การแช่น้ำแข็งเพื่อบำบัดโรค ช่วยลดการอักเสบ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดความเครียด แก้อาการปวดได้ สรุป : ✅ แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.กภ. วรรธนะ ชลายนเดชะ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล สัมภาษณ์เมื่อ : 21 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ปิดฉาก “มหกรรมหนังสือฯ” ยอดนักอ่านทะลุเป้า เงินสะพัดกว่า 438 ล้านบาท

ปิดฉาก “มหกรรมหนังสือฯ” ทะลุเป้า คนทะลักเข้าร่วมงาน เพียงวันเดียว!สูงสุดกว่า 2.3 แสนคน จารึกประวัติศาสตร์หน้าใหม่! เงินสะพัดกว่า 438 ล้านบาท โตสวนกระแสเศรษฐกิจ ที่กำลังเริ่มฟื้นตัว คนเข้าร่วมงานประทับใจในกิจกรรมซอฟต์พาวเวอร์ปิดฉากอย่างงดงาม พร้อมสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ ให้งาน “มหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29” เผยมีผู้เข้าร่วมงานทะลุกว่า 1.4 ล้านคน เงินสะพัดกว่า 438 ล้านบาท พร้อมทำ ”นิวไฮ“ ยอดนักอ่านทะลุ 236,686 คน ในวันที่ 19 ต.ค.2567 สูงสุด หลังโควิดระบาด ปลุกอุตสาหกรรมหนังสือคึกคัก สวนกระแสเศรษฐกิจ ที่กำลังเริ่มฟื้นตัว  ลั่น! พร้อมขยายพื้นที่เพิ่มเป็น 25,000 ตร.ม. ในงานสัปดาห์หนังสือฯ ครั้งต่อไป หวังเปิดกว้างให้สำนักพิมพ์เข้าร่วมเพิ่ม สร้างโอกาสให้นักอ่านได้เลือกซื้อหนังสือเพิ่มในราคาสุดพิเศษ นายสุวิช รุ่งวัฒนไพบูลย์ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) เปิดเผยถึงความสำเร็จในการจัดงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 พร้อมบันทึกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม […]

ชัวร์ก่อนแชร์: การกินไข่กับความเสี่ยงโรคหัวใจ (2024)

22 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อสงสัยเรื่องการบริโภคไข่กับความเสี่ยงการป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ กลายเป็นประเด็นโต้เถียงมาอย่างยาวนาน เนื่องจากมีข้อสรุปที่พบว่าการกินไข่ส่งผลเสียต่อหัวใจ กินไข่ส่งผลดีต่อหัวใจ และการกินไข่ไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ ต่อโรคหัวใจ อย่างไรก็ดี การวิจัยเกี่ยวกับการบริโภคไข่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับไข่และสุขภาพมีความชัดเจนมากกว่าการศึกษาไข่กับผลกระทบต่อโรคหัวใจในอดีตที่ผ่านมา คอเลสเตอรอลและไขมันในไข่ แคลอรีครึ่งหนึ่งที่ได้รับจากการกินไข่ มาจากไขมันที่อยู่ในไข่แดง ไขมันในไข่แดงประมาณ 2 ใน 3 คือไขมันไม่อิ่มตัว ส่วน 1 ใน 3 คือไขมันอิ่มตัว ไข่ไก่ทั่วไปจะมีปริมาณคอเลสเตอรอลสูงประมาณ 200 มิลลิกรัม ในขณะที่ไข่แดงอุดมไปด้วยคอเลสเตอรอล แต่ไข่ขาวมีไขมันอยู่เพียง 0.2% และไม่มีคอเลสเตอรอลเลย โทษของไข่แดงกับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ? ปี 2021 มีบทความวิชาการตีพิมพ์ทางวารสารของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (American Heart Association) ในหัวข้อ Cardiovascular Harm From Egg Yolk and Meat : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดข้อสงสัยของการผ่าฟันคุด จริงหรือ ?

25 ตุลาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์สารพัดข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพฟันและการผ่าฟันคุด บ้างก็ว่าตำกระเทียมและเกลือป่นนำไปอุด แก้ปวดฟันได้ อย่างไรก็ตามก็มีเตือนอันตรายถึงการผ่าฟันคุดอาจทำให้เป็นอัมพาต ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ทพ.ดร.ธนภูมิ โอสถานนท์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แพทย์แผนไทย คมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณบดี วิทยาลัยตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ผศ.ทพญ.ดร.ภัคสินี กมลรัตนกุล ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ทพ.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ ประธานราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: เมืองในกลุ่ม C40 ห้ามกินเนื้อสัตว์ภายในปี 2030 จริงหรือ?

19 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลบิดเบือนเกี่ยวกับนโยบายลดการกินเนื้อสัตว์เพื่อสิ่งแวดล้อมถูกนำมาเผยแพร่ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าประชาชนใน 14 เมืองในสหรัฐฯ จะถูกสั่งห้ามกินเนื้อสัตว์ภายในปี 2030 เนื่องจากทั้ง 14 เมืองล้วนเป็นสมาชิกของกลุ่ม C40 ซึ่งเป็นการรวมตัวของเมืองที่มีนโยบายรณรงค์แก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มองว่าการบริโภคเนื้อสัตว์จากการทำปศุสัตว์ คือตัวการนำไปสู่สภาวะโลกร้อน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : C40 เป็นการรวมตัวของผู้นำจาก 96 เมืองทั่วโลก มีจุดประสงค์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละเมืองให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 โดยให้ความสำคัญผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากวัฒนธรรมการบริโภคของชาวเมือง (Urban Consumption) ทั้งการเลือกวัสดุในการก่อสร้าง อาหาร เสื้อผ้า การขนส่ง พลังงานไฟฟ้า อุปกรณ์ที่ใช้ในครัวเรือน เป็นต้น ในรายงานชื่อ The Future of Urban Consumption in a […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้แพ้เนื้อสัตว์ จริงหรือ?

17 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 เผยแพร่โดยนักทฤษฎีสมคบคิดในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าสาเหตุที่ประชากรโลกมีอาการแพ้อาหารเพิ่มขึ้น มาจากส่วนประกอบโปรตีนในวัคซีนโควิด-19 ที่ชื่อว่า Alpha-Gal ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ผู้ได้รับวัคซีนเกิดอาการแพ้เนื้อสัตว์ และเป็นส่วนหนึ่งของแผนการให้ประชากรโลกลดการกินเนื้อสัตว์เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Alpha-Gal Syndrome โรคแพ้เนื้อแดงจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Alpha-Gal Syndrome คืออาการแพ้ที่เกิดจาการบริโภคเนื้อแดงจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 2002 ระดับความรุนแรงของอาการมีตั้งแต่ ผิวหนังเป็นผื่น คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก ความดันต่ำ เวียนศีรษะ ท้องร่วง ปอดท้องรุนแรง สาเหตุหลักเชื่อว่ามาจากการถูกกัดโดยแมลงดูดกินเลือด เช่น หมัด เมื่อตัวแมลงเหล่านี้ไปดูดเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งมี Alpha-Gal (Galactose-α-1,3-galactose) โมเลกุลน้ำตาลคาร์โบไฮเดรตอยู่ในร่างกาย แมลงเหล่านี้จะกลายเป็นพาหะนำ Alpha-Gal มาสู่คน เมื่อถูกแมลงกัด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง ทำให้เป็นมะเร็ง Turbo Cancer จริงหรือ?

16 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง (Lab-Grown Meat หรือ Cultured Meat) เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่า มีการศึกษาพบว่า เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงที่พัฒนาโดย บิลล์ เกตส์ ทำให้ผู้บริโภคป่วยเป็นมะเร็งร้ายแรงที่รู้จักในชื่อ Turbo-Cancer บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Turbo-Cancer โรคมะเร็งที่ไม่มีอยู่จริง Turbo-Cancer ที่ถูกอ้างว่าเป็นมะเร็งร้ายแรงที่ลุกลามได้อย่างรวดเร็วในผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 แท้จริงแล้วคือโรคที่ไม่มีอยู่จริงซึ่งอ้างโดยกลุ่มต่อต้านวัคซีน ซึ่งหน่วยงานสาธารณสุขทั่วโลกยืนยันว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไม่เพิ่มความเสี่ยงการป่วยเป็นมะเร็ง หรือทำให้มะเร็งกำเริบ บิลล์ เกตส์ มหาเศรษฐีเหยื่อข่าวปลอม บิลล์ เกตส์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoft ถือเป็นมหาเศรษฐีที่คอยบริจาคเงินเพื่อการกุศลและการวิจัยด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ รวมถึงการสนับสนุนการบริโภคเนื้อสัตว์ทางเลือก จากการลงทุนในบริษัทผลิตเนื้อสัตว์จากพืชและเนื้อสัตว์ที่ผลิตจากเซลล์ในห้องปฏิบัติการ ข้ออ้างจากเว็บไซต์ข่าวปลอม จากการตรวจสอบโดย Fact Checker พบว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: กินเนื้อวัว-ไก่ ทำให้ผู้ชายหน้าอกใหญ่ จริงหรือ?

14 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการบริโภคเนื้อสัตว์เผยแพร่ในหลายประเทศ โดยอ้างว่าผู้ชายไม่ควรกินเนื้อวัวหรือเนื้อไก่ เนื่องจากมีปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงชนิดเอสโตรเจนสูง หากได้รับปริมาณมากจะทำให้ผู้ชายสูญเสียความสมดุลของระดับฮอร์โมนเพศในร่างกาย นำไปสู่อาการ Gynecomastia ทำให้ผมร่วง ศีรษะล้าน สูญเสียศักยภาพในการสร้างกล้ามเนื้อ และทำให้เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Gynecomastia เต้านมผู้ชายจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ Gynecomastia คืออาการที่ร่างกายของผู้ชายสูญเสียความสมดุลของระดับฮอร์โมนเพศ เมื่อร่างกายได้รับปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเพศชายทั้งแอนโดรเจนและเทสโทสเทอโรนในกระแสเลือดลดลง ก่อให้เกิดการยับยั้งการสร้างกล้ามเนื้อ และไปกระตุ้นการขยายตัวของเนื้อเยื่อบริเวณเต้านม สาเหตุมาจากการได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากการใช้ยา การดื่มสุรามากเกินไป หรือจากความเครียด อย่างไรก็ดี ผมร่วงไม่ใช่หนึ่งในอาการจากโรค Gynecomastia สาเหตุของผมร่วงมีปัจจัยจากกรรมพันธุ์และความเครียดสะสมเป็นตัวกระตุ้น แม้ Gynecomastia จะมีผลจากการได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป แต่การได้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้อสัตว์ไม่ทำให้ร่างกายได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนในระดับที่เป็นอันตราย ดร. แบรดลีย์ อันนาวอลต์ ศาสตราจารย์ด้านวิทยาต่อมไร้ท่อ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา อธิบายว่า การที่ผู้ชายจะได้รับผลกระทบจากฮอร์โมนเอสโตรเจน […]

1 4 5 6 7 8 125
...