ชัวร์ก่อนแชร์: มิชิแกนมีผู้ขอใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าผู้มีสิทธิ 5 แสนคน จริงหรือ?

05 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีการอ้างถึงความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้งที่รัฐมิชิแกน เมื่อพบว่าในมิชิแกนมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 7.9 ล้านคน แต่มีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง 8.4 ล้านคน นำไปสู่การกล่าวอ้างว่ามีแผนแทรกแซงผลเลือกตั้งในมิชิแกน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี การมีจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง (Registered Voter) มากกว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (Eligible Voter) ไม่ใช่หลักฐานว่ามีการโกงเลือกตั้งเกิดขึ้น เนื่องจากรัฐบัญญัติของสหรัฐฯ และกฎหมายระดับมลรัฐ ห้ามการยกเลิกสิทธิเลือกตั้งของผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง เพียงเพราะไม่ได้ไปลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง จึงมีการแบ่งผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งออกเป็นกลุ่ม Active Voter หรือผู้ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสม่ำเสมอหรือมีที่อยู่อาศัยชัดเจน และกลุ่ม Inactive Voter หรือผู้ที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นเวลานานหรือมีที่อยู่อาศัยไม่ชัดเจน เช่นมีการย้ายถิ่นฐานไปที่อื่นหรือเสียชีวิตไปแล้ว ผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งที่เข้าข่ายเป็น Inactive Voter คือผู้ที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนาน 6 ปีติดต่อกัน หรือไม่ตอบรับการแจ้งเตือนเพื่อยืนยันที่อยู่อาศัย โดยผู้มีสถานะ Inactive […]

ชัวร์ก่อนแชร์: เรดาร์ตรวจอากาศ NEXRAD เปลี่ยนแปลงทิศทางเฮอริเคน จริงหรือ?

04 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับพายุเฮอริเคนในรัฐฟลอริดาเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าเบื้องหลังเหตุพายุเฮอริเคนพัดกระหน่ำในรัฐฟลอริดาหลายครั้งติดต่อกัน มีสาเหตุมาจากการส่งเรดาร์ตรวจอากาศ NEXRAD ที่ทำให้พายุเฮอริเคนเปลี่ยนแปลงทิศทาง บทสรุป : 1.NEXRAD คือเรดาร์ตรวจสอบทิศทางพายุ2.ภาพที่อ้างว่าเป็นสัญญาณควบคุมทิศทางพายุของ NEXRAD แท้จริงแล้วคือภาพแสดงการอพยพของฝูงนกระหว่างที่พายุเฮลีนพัดขึ้นฝั่งฟลอริดา FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : NEXRAD เรดาร์ตรวจสอบทิศทางพายุ NEXRAD (Next-Generation Radar) เป็นเครือข่ายการส่งเรดาร์ความละเอียดสูงจำนวน 160 แห่งที่ดำเนินงานโดยองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) และใช้งานมาตั้งแต่ปี 1988 NEXRAD เป็นระบบเพื่อตรวจสอบปริมาณฝนและทิศทางลมสำหรับการพยากรณ์อากาศ การสะท้อนของเรดาร์ที่ส่งออกไปสามารถคำนวณได้ทั้ง ตำแหน่งและระยะทาง ขนาดและจำนวน รวมถึงทิศทางการเคลื่อนที่และความเร็วของวัตถุที่ตรวจสอบ โดยแยกได้ว่าเป็นสัญญาณจากสิ่งมีชีวิต (สัตว์ปีกหรือแมลง) หรือไม่มีชีวิต (ฝนหรือลมหรือลูกเห็บ) โดยคลิปวิดีโอที่แสดงแผนที่ NEXRAD ในช่วงที่พายุเฮอริเคนเฮลีนพัดขึ้นฝั่งในรัฐฟลอริดา มีภาพจุดสีฟ้าจำนวนมากเกิดขึ้นรอบ ๆ พายุ ซึ่งผู้โพสต์อ้างว่าเป็นหลักฐานการใช้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : VERGEEN NPRO ? — ภัยคุกคาม เพื่อหวังแก้แค้น !

2 พฤศจิกายน 2567 สิ่งนี้…ถือเป็นความรุนแรงทางเพศบนโลกออนไลน์ เพื่อหวังแก้แค้น และ สิ่งนี้ …ผู้กระทำมักเป็นคนใกล้ชิด ที่เหยื่อที่เหยื่อให้ความรัก และไว้วางใจ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 4 กันยายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์: ทำไม “แชร์ลูกโซ่” ถึงรู้จักในชื่อ Ponzi Scheme ?

04 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ธุรกิจแชร์ลูกโซ่กลายเป็นข่าวดังในสหรัฐฯ เมื่อปี 1920 เมื่อชาวอิตาเลียนอพยพที่ชื่อว่า ชาร์ลส์ พอนซี ได้เสนอแผนรวยทางลัดให้กับชาวอเมริกันจำนวนมากหลงเชื่อไปกับผลตอบแทนมหาศาลในเวลาอันสั้นของเขา จนรูปแบบธุรกิจกลโกงแบบแชร์ลูกโซ่ เป็นที่รู้จักในชื่อ แผนร้ายของพอนซี หรือ Ponzi Scheme จนถึงวันนี้ ชาร์ลส์ พอนซี เกิดในเมืองลูโก ประเทศอิตาลี เมื่อปี 1882 ในครอบครัวที่เคยมีฐานะแต่ประสบปัญหาทางการเงินในภายหลัง หลังไม่ประสบความสำเร็จในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ครอบครัวของพอนซีจึงสนับสนุนให้เขาไปเสี่ยงโชคยังสหรัฐอเมริกา เพื่อหวังกลับมาฟื้นฟูสถานะของครอบครัวอีกครั้ง ชาร์ลส์ พอนซี เดินทางถึงเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ เมื่อปี 1903 ด้วยเงินติดตัวเพียง 2.5 ดอลลาร์ หลังสูญเงินส่วนใหญ่ไปกับการพนัน แต่เขาก็ตั้งความหวังว่าจะต้องเป็นเศรษฐีเงินล้านในแผ่นดินแห่งโอกาสให้จงได้ แต่กลายเป็นว่า เส้นทางสร้างความร่ำรวยของ ชาร์ลส์ พอนซี กลับเต็มไปด้วยการข้องเกี่ยวกับความฉ้อฉล จนถูกจำคุกถึง 2 ครั้ง ทั้งคดีลักลอบพาผู้อพยพผิดกฎหมายเข้าเมืองในสหรัฐฯ และคดีปลอมแปลงเช็คในแคนาดา ซึ่งช่วงที่ทำงานในประเทศแคนดานี่เอง ที่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อันตรายจากเชื้อราใต้ขวดแชมพู จริงหรือ ?

3 พฤศจิกายน 2567 – ตามที่มีการแชร์เตือน อันตรายจากเชื้อราใต้ขวดแชมพูที่หลายคนไม่เคยสังเกต ซึ่งถ้าหากเชื้อรานั้นเข้าสู้ร่างกายจะเป็นพิษและเป็นอันตรายมากนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์  ตรวจสอบกับ รศ.ดร.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สัมภาษณ์เมื่อ : 22 ตุลาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: เครื่องลงคะแนนเปลี่ยนชื่อ “ทรัมป์” เป็น “แฮร์ริส” จริงหรือ?

03 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีผู้อ้างว่า การเลือกตั้งล่วงหน้าด้วยเครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีความโปร่งใส เมื่อพบว่าชื่อที่อยู่บนบัตรลงคะแนน ถูกเปลี่ยนไปจากตอนที่เลือกบนเครื่องลงคะแนนเลือกตั้ง บทสรุป : ฝ่ายดูแลการเลือกตั้งของแทร์แรนต์ เคาตี ยืนยันว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดส่วนบุคคล ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของเครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ผู้โพสต์อ้างว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นที่คูหาเลือกตั้งใน แทร์แรนต์ เคาตี รัฐเท็กซัส โดยผู้ร้องเรียนที่ชื่อว่า เจมส์ คริสโตเฟอร์ เล่าว่า ตนเองกดเลือกอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่เครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่เมื่อตรวจสอบบัตรลงคะแนนที่พิมพ์ออกมาแล้ว ปรากฏว่าชื่อที่พิมพ์ออกมา กลับเป็นชื่อของรองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส นำไปสู่เสียงวิจารณ์ต่อความบกพร่องของเครื่องลงคะแนนเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ จนถึงข่าวลือเรื่องแผนการแทรกแซงผลเลือกตั้งโดยพรรคคู่แข่ง อย่างไรก็ดี คลินต์ ลุดวิก หัวหน้าฝ่ายดูแลการเลือกตั้งของแทร์แรนต์ เคาตี ยืนยันว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดส่วนบุคคล ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของเครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์แต่อย่างใด แถลงการณ์ของ คลินต์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โครงการ HAARP อยู่เบื้องหลังเฮอริเคนในฟลอริดา จริงหรือ?

03 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับพายุเฮอริเคนในฟลอริดาเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าเบื้องหลังเหตุพายุเฮอริเคนพัดกระหน่ำในรัฐฟลอริดาหลายครั้งติดต่อกัน มีสาเหตุมาจากการทดลองส่งคลื่นวิทยุไปยังชั้นบรรยากาศโลก อันเป็นผลงานของโครงการ HAARP พร้อมหลักฐานคลิปวิดีโอที่อ้างว่ามีการซ่อนอุปกรณ์ของ HAARP บริเวณใต้ทะเลชายฝั่งของรัฐฟลอริดาอีกด้วย บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ที่ผ่านมามีการเชื่อมโยงโครงการ HAARP กับภัยธรรมชาติบ่ายครั้ง แต่ไม่มีหลักฐานว่าเหตุการณ์ทั้งหมดมีสาเหตุจากการทดลองของโครงการ HAARP แต่อย่างใด การทดลองคลื่นวิทยุในบรรยากาศชั้นสูงสุดของ HAARP HAARP (High-frequency Active Auroral Research Program) เป็นโครงการวิจัยบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ ตั้งอยู่ในรัฐอะแลสกา บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์เป็นส่วนหนึ่งของบรรยากาศโลกทั้ง 3 ชั้น ได้แก่ มีโซสเฟียร์ เทอร์โมสเฟียร์ และเอกโซสเฟียร์ มีระยะทางตั้งแต่ 48-965 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล ไอโอโนสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศที่กลายเป็นไอออนเนื่องจากการแผ่รังสีสุริยะ เป็นชั้นที่ดูดซับรังสี […]

ชัวร์ก่อนแชร์: “บอสอเดล” จากอดีตดารา-สู่มารดาแชร์ลูกโซ่

03 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล คดีแชร์ลูกโซ่ที่ดำเนินการโดย อเดล สปิตเซเดอร์ อดีตนักแสดงละครเวทีชาวเยอรมัน ผู้สร้างฐานะจากการหลอกลวงการลงทุน ได้รับการจารึกให้เป็นการก่อคดีแชร์ลูกโซ่ครั้งแรกในประวัติศาสตร์มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เหตุหลอกลวงด้านการลงทุนที่เกิดขึ้นในระยะเวลาเพียง 4 ปีในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ส่งผลให้มีเหยื่อหลงเชื่อกว่า 32,000 ราย รวมค่าเสียหายในอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินปัจจุบันประมาณ 18,000 ล้านบาท อเดล สปิตเซเดอร์ เป็นที่รู้จักในประเทศเยอรมนีในฐานะนักแสดงละครเวที เมื่อความนิยมเสื่อมลงแต่ยังคงใช้ชีวิตอย่างหรูหรา ทำให้เธอมีปัญหาหนี้สิน และใช้ชีวิตอยู่ได้ด้วยเงินช่วยเหลือจากมารดาที่ 50 กูลเดนต่อเดือน จุดกำเนิดแชร์ลูกโซ่ในแคว้นบาวาเรีย กระทั่งในช่วงปี 1869 ณ เมืองมิวนิก แคว้นบาวาเรีย เมืองทางตอนใต้ของเยอรมนีในปัจจุบัน อเดล สปิตเซเดอร์ได้พบกับภรรยาของช่างทาสีบ้านผู้ยากไร้ อเดลเล่าว่าเธอรู้จักกับคนที่สามารถให้ผลตอบแทน 10% ต่อเดือนจากเงินลงทุน ภรรยาช่างทาสีจึงมอบเงินแก่อเดลจำนวน 100 กูลเดน ซึ่งอเดลก็คืนเงินให้เธอจำนวน 20 กูลเดนในฐานะดอกเบี้ยจากการลงทุน 2 เดือน และสัญญาว่าในเดือนที่ 3 ภรรยาช่างทาสีจะได้เงินคืนอีก […]

ชัวร์ก่อนแชร์: จนท.นับคะแนน “ฉีกบัตรเลือกตั้ง” โดนัลด์ ทรัมป์ จริงหรือ?

02 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีผู้อ้างว่า เจ้าหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้งของ บักส์ เคาตี รัฐเพนซิลเวเนีย ลงมือทำลายบัตรลงคะแนนทางจดหมาย ที่ผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ อย่างจงใจ จนคลิปถูกแชร์ในวงกว้างและกล่าวหาว่าเป็นหลักฐานการแทรกแซงการเลือกตั้งเพื่อประโยชน์แก่พรรคเดโมแครต บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี คณะกรรมการเลือกตั้งของบักส์ เคาตี ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนของพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกัน ยืนยันเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2024 ว่า บัตรลงคะแนนทางจดหมายที่อยู่ในคลิปที่ถูกแชร์เป็นของปลอม เมื่อนำบัตรลงคะแนนทางจดหมายที่ใช้ในบักส์ เคาตี มาเปรียบเทียบกับบัตรลงคะแนนทางจดหมายในวิดีโอที่ถูกแชร์ จะพบความแตกต่างหลายประการ แถบบนซองจดหมายของบัตรลงคะแนนในวิดีโอที่ถูกแชร์จะมีสีเขียวเข้ม ส่วนแถบบนซองจดหมายของบัตรลงคะแนนของจริงจะมีสีเขียวสด ส่วนผิวสัมผัสบนแถบซองจดหมายของบัตรลงคะแนนของปลอมจะมีความมันวาว แต่ผิวสัมผัสบนแถบซองจดหมายของบัตรลงคะแนนของจริงจะมีสัมผัสด้าน นอกจากนี้ การตรวจสอบไม่พบว่า เจ้าหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้งของบักส์ เคาตี ไม่มีใครที่มีคุณลักษณะตรงกับบุคคลที่อยู่ในคลิปวิดีโอที่ถูกแชร์ และการกระทำที่อยู่ในคลิปก็เป็นเรื่องผิดกฎหมาย เนื่องจากรัฐเพนซิลเวเนียห้ามนำบัตรลงคะแนนล่วงหน้าหรือบัตรลงคะแนนทางจดหมายมานับก่อนวันที่ 5 พฤศจิกายน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สหรัฐฯ ใช้ Cloud Seeding เปลี่ยนทิศทางเฮอริเคน จริงหรือ?

01 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : ในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม 2024 รัฐทางฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ โดยเฉพาะรัฐฟลอริดา ประสบภัยจากพายุเฮอริเคนถึง 2 ลูกติดต่อกัน นำไปสู่การกล่าวอ้างว่า สาเหตุของพายุเฮอริเคนเกิดจากกระบวนการที่เรียกว่าการทำ Cloud Seeding ที่เชื่อว่าสามารถสร้างหรือกำหนดทิศทางของพายุเฮอริเคนได้ โดยอ้างว่าในอดีตทางการสหรัฐฯ ก็เคยทดลองใช้เทคนิค Cloud Seeding เพื่อเปลี่ยนแปลงเส้นทางพายุเฮอริเคน และเคยใช้สร้างความได้เปรียบระหว่างสงครามเวียดนามมาแล้วเช่นกัน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Cloud Seeding คือการเพาะเมฆหรือการทำฝนเทียม ด้วยการนำอนุภาคขนาดเล็กของ Silver Iodide หรือ Solid Carbondioxide (น้ำแข็งแห้ง) โปรยลงไปบนก้อนเมฆเพื่อกระตุ้นการควบแน่นให้เกิดเป็นน้ำฝนหรือหิมะ ใช้เพื่อผลิตน้ำฝนหรือหิมะในพื้นที่แห้งแล้ง หรือใช้ป้องกันการเกิดน้ำท่วม ด้วยการทำ Cloud Seeding เพื่อเร่งให้ฝนตกในทะเลก่อนจะมาตกในเขตพื้นที่ชุมชน อย่างไรก็ดี Cloud […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สายตาสั้นในเด็ก

31 ตุลาคม 2567 – สายตาสั้นในเด็กเกิดขึ้นจากสาเหตุใด และจะมีวิธีการชะลอสายตาสั้นได้อย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ 22 ตุลาคม 2567 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : ฮาโลวีนนี้ระวัง ! 5 ผีร้ายที่อาจทำให้กระเป๋าแบน

31 ตุลาคม 2567 – พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีความห่วงใยประชาชนที่อาจตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพที่ก่ออาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลฮาโลวีน สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงขอเตือนระวังภัย 5 ผี มิจฉาชีพ ที่พี่น้องประชาชนต้องระวัง อย่าให้มาหลอกหลอน สร้างความเสียหายในสังคม นอกจากนี้ พี่น้องประชาชนยังต้องระมัดระวังในการเดินทางและท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลฮาโลวีน โดยควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด และสังเกตทางออกฉุกเฉินอยู่เสมอ เพื่อจะได้หนีออกจากสถานที่ดังกล่าวได้หากเกิดเหตุไม่คาดคิด รวมไปถึงการดูแลบุตรหลานของท่านอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการผลัดหลง หรือถูกผู้ไม่หวังดีฉวยโอกาสล่อลวงบุตรหลานของท่านไป ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนพบเห็นการหลอกลวง หรือเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน 191 หรือ 1599 และหากท่านตกเป็นเหยื่อ หรือได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ที่สถานีตำรวจในพื้นที่ หรือแจ้งความออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.thaipoliceonline.go.th หรือสายด่วน 1441 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

1 2 3 4 5 125
...