ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แมลงวัน

21 พฤศจิกายน 2567 – ทำไมแมลงวันเข้ามาในบ้าน เมื่อแมลงวันตอมอาหารยังกินต่อได้หรือไม่ แมลงวันจะแพร่เชื้อสู่คนได้อย่างไร และจะมีวิธีการจัดการกับแมลงวันด้วยวิธีไหน ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.รัชฎาวรรณ เงินกลั่น รองหัวหน้าศูนย์วิจัยและเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านกีฏวิทยาชุมชนและสิ่งแวดล้อม และ อาจารย์ประจำ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2566 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : HURDLESO IFRUNGS ? — เทคนิคคนร้าย อันตรายเพียงแอบมอง !

16 พฤศจิกายน 2567 – สิ่งนี้…เป็นกลอุบายการขโมยข้อมูลส่วนตัวทุกรูปแบบ ผ่านการสังเกตโดยตรง และ สิ่งนี้ …มักเกิดขึ้นในที่สาธารณะ ที่ใกล้ตัวจนอาจคาดไม่ถึง คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน 🎯 ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สัมภาษณ์เมื่อ : 28 สิงหาคม 2567 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อันตรายและการป้องกันไข้เลือดออก

17 พฤศจิกายน 2567 – ไข้เลือดออกเป็นซ้ำแล้วเสี่ยงเสียชีวิตจริงหรือไม่ และเราควรป้องกันไข้เลือดออกด้วยวิธีใดจึงจะดีที่สุด ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.ดร.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สัมภาษณ์เมื่อ : 22 ตุลาคม 2567 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดสูตรล้างลำไส้ จริงหรือ ?

20 พฤศจิกายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์สารพัดสูตรล้างลำไส้ ทั้งการกินน้ำส้มสาย ผสมด้วยน้ำอัดลมและโยเกิร์ต ช่วยให้ลำไส้สะอาด และหากท้องผูก ให้ดื่มน้ำผึ้ง น้ำมะขาม ช่วยแก้อาการท้องผูกได้ ?! 🎯 ตรวจสอบกับ อชิรญา คำจันทร์ศุภสิน นักปฏิบัติการวิจัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ นายแพทย์ ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช หน่วยโรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.อมรรัตน์ อรุณนวล ภาควิชาโภชนศาสตร์เขตร้อนและวิทยาศาสตร์อาหาร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ หัวหน้าสาขาวิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม หลักสูตรพิษวิทยาฯ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก ระบบเบรกรถยนต์

19 พฤศจิกายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบเบรกของรถยนต์ว่า มีหน้าที่อย่างไร แบ่งเป็นกี่รูปแบบ และมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญใน ชัวร์ก่อนแชร์ MOTOR CHECK กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 25 ตุลาคม 2567 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: โดนัลด์ ทรัมป์ เคยเชื่อว่าเดโมแครตกระตุ้นเศรษฐกิจดีกว่ารีพับลิกัน จริงหรือ?

20 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : ในช่วงก่อนการชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อปี 2023 มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอบุคคลที่คล้ายกับอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวว่า ตนเองเป็นผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครต และเชื่อว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไปได้ดีกว่า ถ้ารัฐบาลอยู่ภายใต้การบริหารโดยผู้นำจากพรรคเดโมแครต บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย Snopes พบว่า คลิปวิดีโอดังกล่าว เป็นการให้สัมภาษณ์ของ โดนัลด์ ทรัมป์ ของจริง เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ให้สัมภาษณ์ต่อสำนักข่าว CNN เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2004 ตรงกับช่วงที่รายการเรียลิตี โชว์ The Apprentice ของ โดนัลด์ ทรัมป์ ออกอากาศทางโทรทัศน์เป็นฤดูกาลแรก เมื่อถูกถามว่าเขาเป็นผู้สนับสนุนพรรคการเมืองใดในขณะนั้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Sanewashing เมื่อสื่อพยายามใช้เหตุผลกับ โดนัลด์ ทรัมป์

19 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ในระหว่างการหาเสียงเพื่อชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คำว่า Sanewashing ถูกกล่าวถึงอย่างแพร่หลายในแวดวงสื่อสารมวลชนของสหรัฐฯ เมื่อสื่อหลายสำนักถูกวิจารณ์เรื่องการพาดหัวข่าวการหาเสียงของ โดนัลด์ ทรัมป์ โดยทำให้ดูเป็นเหมือนเป็นการแสดงวิสัยทัศน์ทั่วไป ทั้ง ๆ ที่เนื้อหาในการหาเสียงของ โดนัลด์ ทรัมป์ เต็มไปด้วยการกล่าวอ้างที่ไม่เป็นจริง หรือสื่อความหมายไม่ตรงกับหัวข้อที่นำเสนอเลยก็ตาม จนคำว่า Sanewashing ถูกกล่าวถึงอย่างมากตลอดช่วงหลังของปี 2024 เป็นต้นมา Sanewashing คือการลดทอนแง่มุมสุดโต่งของบุคคลหรือแนวคิดใด ๆ เพื่อให้ดูเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากขึ้น Poynter Institute องค์กรด้านสื่อมวลชนและการตรวจสอบข้อเท็จจริง นิยามความหมายของ Sanewashing ว่า เป็นการกระทำเพื่อปรับเปลี่ยนความเห็นที่รุนแรงและอุกอาจ ให้ดูเหมือนเป็นสิ่งปกติที่สังคมยอมรับได้ สถิติการโกหกของ โดนัลด์ ทรัมป์ ฝ่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงของหนังสือพิมพ์ Washington Post พบว่า ในช่วงที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เขาได้เผยแพร่ข้อมูลเท็จหรือข้อมูลทำให้เข้าใจผิดรวมกันกว่า 30,573 ครั้ง หรือเฉลี่ย […]

ชัวร์ก่อนแชร์: กมลา แฮร์ริส เป็นคอมมิวนิสต์ จริงหรือ?

18 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : ในระหว่างการหาเสียงเพื่อชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กมลา แฮร์ริส ตัวแทนของพรรคเดโมแครต ถูกผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกัน รวมถึง โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจมตีว่าเธอมีแนวคิดฝักใฝ่ระบอบคอมมิวนิสต์ และไม่มีความเหมาะสมที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำของสหรัฐอเมริกา คำกล่าวอ้างนอกจากจะพุ่งเป้าไปที่นโยบายของเธอแล้ว ยังมีการอ้างว่าเธอมีลูกสาวของศาสตราจารย์ด้านเศรษฐกิจที่มีแนวคิดสนับสนุนลัทธิมากซ์ และมีการนำรูปภาพบุคคลคล้าย กมลา แฮร์ริส ที่แสดงตนเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ มาเผยแพร่ทางโลกออนไลน์ โดย อิลอน มัสก์ มหาเศรษฐีผู้สนับสนุน โดนัลด์ ทรัมป์ ก็นำภาพดังกล่าวมาแชร์ทาง X เช่นกัน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบโดยเว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง leadstories พบว่า ภาพที่ถูกแชร์ซึ่งอ้างว่าเป็นบัตรสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ของ กมลา แฮร์ริส แท้จริงแล้วเป็นเพียงเทมเพลตที่ผลิตมาเพื่อการล้อเลียนบนโลกออนไลน์เท่านั้น โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถนำภาพหรือข้อมูลมาตัดต่อให้ดูเหมือนเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ส่วนภาพที่ โดนัลด์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โดนัลด์ ทรัมป์ IQ สูงกว่า กมลา แฮร์ริส จริงหรือ?

17 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : ในระหว่างการหาเสียงเพื่อชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีการนำระดับเชาวน์ปัญญา หรือ IQ จากตัวแทนของทั้ง 2 พรรคมาวิพากษ์วิจารณ์ทางโลกออนไลน์ โดยอ้างว่า กมลา แฮร์ริส ตัวแทนของพรรคเดโมแครตมี IQ ที่ต่ำ หรือเพียง 78 ต่างจาก โดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนของพรรครีพับลิกันที่มี IQ สูงถึง 156 บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี ไม่พบหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า ผู้ชิงตำแหน่งทั้ง 2 มีระดับเชาวน์ปัญญาตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด ข่าวลือเรื่อง IQ ของ กมลา แฮร์ริส ถูกเผยแพร่โดยผู้ใช้แพลตฟอร์ม X ที่อ้างอิงข้อความที่โพสต์ในเว็บไซต์ Reddit อีกทอดหนึ่ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังขนมเค้กยัดยาทำให้เป็นอัมพาต จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความเตือน ระวังขนมเค้กที่ผลิตในอิสราเอลและส่งออกไปยังประเทศอาหรับ มียาเม็ดทำให้เป็นอัมพาต นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของตุรกี Teyit ได้ตรวจสอบ พบคลิปวิดีโอต้นฉบับเผยแพร่บน youtube ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2562 และคาดว่าวิดีโอดังกล่าวน่าจะถ่ายทำที่เคอร์ดิสถานทางตอนเหนือของอิรัก เนื่องจากตอนท้ายคลิปมีการใช้ภาษาโซรานี ซึ่งเป็นภาษาเคิร์ด และยี่ห้อไก่ “As Piliç” ที่อยู่ในตู้เย็น จำหน่ายอย่างแพร่หลายในภูมิภาคนั้น รวมถึงได้ตั้งข้อสังเกตว่า ขนมเค้กในวิดีโอมีร่องรอยของการถูกเจาะ สำหรับคลิปวิดิโอที่แชร์กันนั้น แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีความเป็นจริงมากเพียงใด หรือมีการหลอกลวงมากเพียงใด แต่หากมองในแง่โอกาสการจงใจสร้างวิดีโอเพื่อให้เกิดความตื่นตระหนก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทำ อาจจะใช้วิธีเปิดห่อขนมอีกด้านหนึ่ง เพื่อกดเม็ดยาเข้าไปในขนม จากนั้นปิดห่อกลับให้คล้ายเดิมแล้ววางไว้ใต้ขนมห่ออื่น และเมื่อถ่ายทำ ก็จงใจหยิบห่อที่ได้ดัดแปลงนั้นมาฉีกดู นอกจากนั้น หากมียาเม็ดในขนมเค้กที่มีลักษณะนุ่ม และวางขายเป็นอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวางระดับประเทศ เป็นไปได้ยากที่จะมีคลิปวิดีโอเพียงคลิปเดียว หรือขนมห่อเดียวถูกค้นพบ ขณะที่เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่าง snopes และ factly.in ก็ยืนยันในทางเดียวกันว่า ไม่จริงและไม่มีหลักฐานยืนยันว่ายาที่อยู่ในขนมนั้นทำให้เป็นอัมพาตได้ ในทางการแพทย์ ยาไม่สามารถทำให้เกิดโรคสมองพิการในเด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรง ด้านโฆษกบริษัทผู้ผลิตขนมเค้ก Luppo ได้ออกประกาศยืนยันว่า โรงงานมีกระบวนการผลิตที่มีความปลอดภัย ใช้เครื่องจักรทุกขั้นตอน ปราศจากการสัมผัสด้วยมือของมนุษย์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ทางรอดเหยื่อแชร์ลูกโซ่โดย FBI

16 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ FBI ได้เผยแพร่แนวทางจับผิดและป้องกันตัวจากการตกเป็นเหยื่อการฉ้อโกงด้านการลงทุน รวมถึงการตกเป็นเหยื่อขบวนการธุรกิจแชร์ลูกโซ่ซึ่งสร้างความเสียหายเป็นเงินมหาศาล การล่อลวงสุดอันตรายที่ต้องจับตา 1.มักมาในรูปแบบคำสัญญาว่าเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยมีความเสี่ยงน้อยหรือไม่มีความเสี่ยงเลย 2.การลงทุนมาในหลาย ๆ รูปแบบ ทั้งลงทุนในหลักทรัพย์ สินค้าโภคภัณฑ์ อสังหาริมทรัพย์ โลหะมีค่า เป็นต้น 3.คำโฆษณาถึงโอกาสในการลงทุนที่ “ดีจนเหลือเชื่อ” 4.ผู้ก่อการมักติดต่อเหยื่อในหลายช่องทาง ทั้ง โทรศัพท์ อีเมล หรือ การเข้าถึงตัวโดยตรง 1.นำเงินลงทุนจากเหยื่อรายใหม่ ไปมอบเป็นผลตอบแทนระดับสูงที่เคยสัญญาไว้กับเหยื่อรายเก่า 2.อ้างถึงการประกอบธุรกิจที่ถูกกฎหมาย เพื่อบังหน้าแผนฉ้อโกงที่อยู่เบื้องหลัง 3.สุดท้าย เงินของนักลงทุนคือรายได้ทั้งหมดของการฉ้อโกง สัญญาณเสี่ยงการตกเป็นเหยื่อการฉ้อโกงด้านการลงทุน กลยุทธ์ป้องกันการตกเป็นเหยื่อการฉ้อโกงการลงทุน แนวทางปฏิบัติเมื่อตกเป็นเหยื่อการฉ้อโกงการลงทุน ข้อมูลอ้างอิง : https://www.fbi.gov/stats-services/publications/securities-fraud

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดข้อห้ามและวิธีสังเกตอาการแมว จริงหรือ ?

13 พฤศจิกายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์สารพัดข้อห้ามและวิธีสังเกตอาการแมว ทั้งหนวดแมวห้ามตัด เพราะแมวใช้หนวดในการวัดระยะ รวมถึงอาเจียนและปัสสาวะของแมวนั้นบ่งบอกอาการบาดเจ็บของแมวได้ 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.สพ.ญ.ดร.รสมา ภู่สุนทรธรรม หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.น.สพ.ดร.สถาพร จิตตปาลพงศ์ คณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ ม.เกษตรศาสตร์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

1 2 3 125
...