กระทรวงดีอีเอสเตือนอย่าหลงเชื่อทวิตเตอร์ชื่อคล้าย

กรุงเทพฯ 19 ก.ย. กระทรวงดีอีเอส แจงผ่านเฟสบุ๊ก มีการใช้บัญชีทวิตเตอร์ชื่อคล้าย ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ ผู้สื่อข่าวรายง เพจเฟซบุ๊ก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสีงคม (ดีอีเอส ) โพสต์แจ้ง การใช้บัญชีทวิตเตอร์ชื่อเดียวกับกระทรวงฯ ว่า #บัญชีทวิตเตอร์ปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) แจ้งเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลใดๆจากบัญชีทวิตเตอร์ด้านล่าง (ใช้ชื่อว่า MDES @MDES_Thailand (ซึ่งเป็นชื่อคล้ายกับชื่อย่อของกระทรวงดีอีเอส)) ขอชี้แจงว่าผู้ใช้รายนี้ทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดไป และทำให้กระทรวงฯ เกิดความเสียหาย กระทรวงฯ อยู่ระหว่างพิจารณาการดำเนินคดีต่อบัญชีผู้ใช้ทวิตเตอร์ดังกล่าว-สำนักข่าวไทย.

รมว.ดีอีเอสวอนผู้ชุมชนอย่าใช้โซเชียลสร้างความแตกแยก

กรุงเทพฯ 19 ก.ย. “พุทธิพงษ์” เตือนผู้ชุมนุมอย่าใช้โซเชียล บิดเบือน ยุยง ปลุกปั่น สร้างความแตกแยก ย้ำห้ามละเมิดสถาบันหลักของชาติ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส  โพสต์ข้อความในบัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัว กรณีการชุมนุมของกลุ่มกลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ว่า การร่วมชุมนุม สามารถทำได้ตามหลักสิทธิเสรีภาพ ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย  โดยเฉพาะการโพสต์ข้อความ ผ่านทางโซเชียลมีเดียทุกช่องทาง ขอให้กระทำด้วยความระมัดระวัง ไม่เผยแพร่ข้อความที่เป็นเท็จ บิดเบือนหรือข่าวปลอม  รวมถึงต้อง ไม่ยุยง ปลุกปั่น สร้างความแตกแยกในสังคม  ไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ ที่สำคัญ ต้องไม่ละเมิดสถาบันหลักของประเทศ  เพราะการ กระทำดังกล่าว จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กระทรวงดิจิทัลฯ จะติดตามและเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน  หากมีการกระทำความผิด เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องดำเนินการในทางคดีอย่างจริงจัง-สำนักข่าวไทย.

กฝผ.จับมือสวทช.พัฒนาระบบเก็บพลังงานไฟฟ้า

กรุงเทพฯ 18 ก.ย. สวทช.จับมือ กฟผ. ชูความสําเร็จ ระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ สู่ความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าตอบโจทย์ สภาวะฉุกเฉิน  นางเกศวรงค์ หงส์ลดารมภ์ ผู้ช่วยผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. พร้อมและสนับสนุนให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานด้าน คุณภาพของประเทศ หรือNational Quality Infrastructure หรือ NQI ซึ่งปัจจุบันสวทช.ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ด้านนี้เป็นมูลค่ากว่าพันล้านบาทครอบคลุมหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยหนึ่งในนั้นคือ ระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ หรือ Energy Storage ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไว้วางใจให้ สวทช.ร่วมดําเนินการ ซึ่งเป็นการใช้ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่อัจฉริยะ มาบริหารจัดการพลังงานจากแหล่งผลิตและการใช้งาน โดยที่การใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานลม หรือโซล่าร์เซลล์นั้น เป็นที่ทราบกันว่ามีความไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับแสงแดด ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกัน การใช้ไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งาน (Load) การที่จะทําให้แหล่งผลิต (Source) และLoad มีความสัมพันธ์กันนั้นเป็นเรื่องลําบาก ดังนั้นในโครงการนี้จึงใช้ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่อัจฉริยะในการบริหารจัดการให้มีความสัมพันธ์กัน โดยอาศัยองค์ความรู้และศักยภาพของศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบ และวิศวกรรมหรือ DECC ในการออกแบบนําแบตเตอรี่ในระดับเซลล์มาประกอบเป็น แบตเตอรี่ระดับ โมดูลแพ็ค เพื่อนําไปใช้งานเฉพาะแบบทางด้านกักเก็บพลังงานทดแทนและปัจจุบันใช้งานจริงโดยมี Proven sites อยู่ที่ลําตะคองจ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นระบบกักเก็บจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ทับสะแก จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นระบบกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์จึงมีความสําคัญและนับเป็นก้าวสําคัญในการการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานยุคใหม่ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมการใช้พลังงานสีเขียวในประเทศ ให้มีพลังงานไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เช่นช่วงวิกฤต โควิด-19 ทั้งนี้ปัจจุบันระบบกักเก็บพลังงานดังกล่าวได้รับการรับรองให้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นายอัมพร โพธิ์ใย ผู้อํานวยการศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์ (Cell battery) สําหรับยานยนต์ไฟฟ้าและแหล่งกักเก็บพลังงานในประเทศเนื่องจากไทยไม่มีวัตถุดิบในการทําขั้วแบตเตอรี่เหมือนกับประเทศจีนและประเทศในอเมริกากลาง ดังนั้นอุตสาหกรรมในประเทศจึงมีการซื้อแบตเตอรี่ระดับเซลล์มาจาก ต่างประเทศแล้วนํามาประกอบกันเป็น แบตเตอรี่โมดูล (Battery module) และแบตเตอรี่แพ็ค (Battery pack) และนําไปประยุกต์ใช้งานตามความต้องการการใช้พลังงานในแต่ละแบบอย่างไรก็ตามหากจะซื้อ แบตเตอรี่ในระดับโมดูล แล้วมาประกอบเป็นแบตเตอรี่แพ็คนั้น มักจะประสบปัญหาการนําไปใช้งาน เนื่องจาก แบตเตอรี่ในระดับโมดูลนั้น ผู้ผลิตมักจะจํากัดจํานวนเซลล์เป็นจํานวนเฉพาะมาด้วย และกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็จะขึ้นกับจํานวนเซลล์ที่นํามาต่อกัน หากเราต้องการออกแบบแบตเตอรี่ ให้มีแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้งานเฉพาะ จะไม่สามารถทําได้ เนื่องจากบริษัทที่ขายแบตเตอรี่โมดูลจะไม่ทําตามขนาดของเราเป็นการเฉพาะ หรือหากทําได้ก็ต้องใช้วงจร อิเล็กทรอนิกส์ในการแปลงแรงดันและกระแสไฟฟ้าเพิ่มเข้าไปอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งวิธีการนี้จะทําให้ราคาของแบตเตอรี่ โมดูลสูงขึ้น ทําให้มีน้ําหนักเพิ่ม แต่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายตามมาได้อีกเช่น การติดไฟ การเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ในเวลาสั้น ฯลฯ นายอัมพร กล่าวว่า ความเชี่ยวชาญและความสามารถในการออกแบบแบตเตอรี่ระดับโมดูล แพ็คของ DECCในการพัฒนาและออกแบบแบตเตอรี่ระดับโมดูล ต้องอาศัยระบบการบริหารจัดการพลังงานของแบตเตอรี่ (Battery Management System: BMS) ในระดับเซลล์ที่ถูกนํามาต่อร่วมกันจํานวนมาก โดยต้องบริหารจัดการ ทั้งการประจุไฟฟ้า (Charge) การคายประจุไฟฟ้า (Discharge) และการควบคุมทั้งอุณหภูมิ แรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าทั้งนี้เพื่อให้ประสิทธิภาพการทํางานออกมาตามที่ออกแบบ และมีความปลอดภัยสามารถนําไปใช้ งานได้ในการบริหารจัดการทํางานของแบตเตอรี่ (Battery Management System, BMS) จะมีวงจร อิเล็กทรอนิกส์และเซ็นเซอร์(Sensors) เช่นระบบควบคุมด้านความร้อน (Thermal Management System) กระแสไฟฟ้า และแรงดันไฟฟ้าประกอบกัน จากนั้นการนําแบตเตอรี่หลายๆโมดูลไปต่อรวมกันกลายเป็นแบตเตอรี่ แพ็ค ก็จะมีวงจรควบคุมตัวหลัก (Master BMS) คอยบริหารจัดการแบตเตอรี่ในระดับโมดูลอีกที จะเห็นได้ว่าหาก สามารถออกแบบแบตเตอรี่ในระดับโมดูลได้ก็จะเป็นการง่ายที่จะนําไปต่อขยายกันกลายเป็นแบตเตอรี่ ในระดับแพ็คได้ และทําให้สามารถออกแบบได้ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานแต่ละประเภทได้ทั้งนี้การออกแบบแบตเตอรี่โดยมีวงจรควบคุม BMS เป็นเรื่องใหม่สําหรับประเทศไทย ต้องใช้ความรู้ขั้นสูง แต่ก็มีความสําคัญอย่างมาก การนําเซลล์ที่ผลิตจากแหล่งอื่นมารวมกันแบบอนุกรมและแบบขนานเป็นแบตเตอรี่ โมดูล (Battery module) ต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติทางไฟฟ้าในแต่ละเซลล์และนํามาบริหารจัดการเพื่อให้ได้ พลังงานทั้งการประจุและการคายประจุตามที่ต้องการ ทั้งนี้หากอุตสาหกรรมหรือนักออกแบบในประเทศสามารถพัฒนาวิธีการควบคุมแบตเตอรี่ได้ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมเพื่อการนําแบตเตอรี่ไปใช้ขึ้นอีก มากมาย เช่น ใช้ในเครื่องมือแพทย์ การบิน การทหาร การขนส่ง ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสร้างความมั่นคงด้าน พลังงานของประเทศได้อย่างยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้อุตสาหกรรมที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 025646310 -11 หรือwww.decc.or.th-สำนักข่าวไทย.

ธปท.เร่งพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลพร้อมวางโครงสร้างพื้นฐานในการทำธุรกรรม

กรุงเทพฯ 18 ก.ย. ผู้ว่าธปท.ย้ำภารกิจสำคัญพัฒนาสกุลเงินดิจิทัล พร้อมเร่งพัฒนาโครงสร้างการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำธุรกรรมช่วยเอาเอ็มอี – ภาคธุรกิจเข้าถึงบริการทางการเงิน  นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวปาฐกถาในงาน  Digital Transformation for the New Normal : พร้อมรับวิถีใหม่ SME ก้าวต่อไปด้วยดิจิทัล ว่า ประเด็นสำคัญที่ธนาคารกลางทั่วโลกให้ความสำคัญคือ การพัฒนาเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency) ธปท ได้พัฒนาต้นแบบและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องในการชำระเงินระหว่างธนาคารพาณิชย์ ระหว่าธปท.กับธนาคารในประเทศ และเชื่อมต่อไปสู่ธนาคารกลางระหว่างประเทศโดยมีการทดลองเชื่อมต่อกับธนาคารกลางฮ่องกง รวมถึงการชำระเงินของตราสารพันธบัตร รวมถึงการใช้เทคโนโลยีชีวะมิติหรือไบโอเมทริตมายืนยันตัวตน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาแพลตฟอร์มการยืนยันตัวตนระดับชาติเพื่อไปสู่การมีดิจิทัลไอดีสำหรับประชาชนทุกคนใช้สำหรับการทำธุรกรรมทุกด้านนอกจากธุรกรรมทางการเงินธปท.ยีงราวมกับกระทรวงการคลังในการพัฒนาแพลตฟอร์มการให้บริการทางการเงินเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการทางการเงินได้ได้ง่ายขึ้นตามแนวโน้มที่โลกกำลังเปลี่ยนไปสู่แพลตฟอร์มอีโคโนมี่มากขึ้น  นอกจากนี้ยังมีแผนงาน ในการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่ขยายไปสู่ภาคธุรกิจให้มากขึ้นบนมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงิน ISO 20022 การเปลี่ยนแปลงไปสู่มาตรฐานนี้จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยธปท.คาดว่าจะใช้เวลาพัฒนาจากนี้อีก 1ปีครึ่งจะสามารถเห็นผลได้  และยังมีโครงการการนำข้อมูลเชิงลึกรายธุรกรรมมาพัฒนาตอบโจทย์ลูกค้าโดยการใช้สิ่งที่เกิดจึ้นหลังจากการทำธุรกรรม คือ Digital Footprints (รอยเท้าธุรกรรม) โดยธปท.ได้ว่างระบบในการนำข้อมูลเชิงลึกในการทำธุรกรรมการชำระเงินมาใช้ประโยชน์  และได้พัฒนาหลักเกณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลที่จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินด้วยการใช้การประเมินความเสี่ยงที่ยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงการพัฒนารับบฐานข้อมูลกลางเพื่อการพัฒนาดิจิทัลแฟคเทอริ่ง ให้ภาคเอสเอ็มอีได้นำไปใช้ประโยชน์ -สำนักข่าวไทย.

เผยยอดกล่องไปรษณีย์เก่ารีไซเคิลเป็นโต๊ะนักเรียนถึง10,000กิโลกรัมแล้ว

กรุงเทพฯ 18 ก.ย.ไปรษณีย์ไทย เผยยอดส่งกล่อง ซองเก่า “ไปรษณีย์ reBOX” จากคนไทยกว่า 10,000 กก. นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทยได้ดทำโครงการ“ไปรษณีย์ reBOX เปลี่ยนกล่อง/ซองเป็นของขวัญปีใหม่ 2564” ตั้งแต่ ช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ขณะนี้มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ซึ่งตั้งแต่ ที่เปิดรับกล่องพัสดุ และซองที่ไม่สามารถใช้ซ้ำได้แล้วผ่านที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ จนถึงปัจจุบันพบว่ามีปริมาณกล่องพัสดุและซองที่เตรียมเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลกับทาง บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) แล้วกว่า 10,000 กิโลกรัม และยังคาดว่าหลังจากช่วงเทศกาลช็อปออนไลน์ 9.9 ไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2563 นี้ จะยิ่งมีปริมาณกล่องพัสดุและซองที่เกิดจากกิจกรรมอีคอมเมิร์ซเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก “ในช่วงเทศกาล 9.9 นี้ เป็นช่วงที่คนไทยสั่งซื้อสินค้าผ่านร้านออนไลน์ และช่องทางอีมาร์เก็ตเพลสเป็นจำนวนมากเนื่องจากกิจกรรมส่งเสริมการขาย การลดราคา รวมถึงแคมเปญต่างๆ ที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคหันมาจับจ่ายใช้สอยกันในหลายหมวดหมู่ ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่น อาหาร สินค้าไลฟ์สไตล์ ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องดีที่จะทำให้เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าจากกิจกรรมนี้จะทำให้มีปริมาณกล่องพัสดุเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน ไปรษณีย์ไทยจึงขอใช้โอกาสนี้เชิญชวนนักช็อป ประชาชนทั่วไป พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ องค์กรธุรกิจ นำกล่องพัสดุทุกประเภทรวมทั้งซองกระดาษที่ได้รับจากช่วงเทศกาลดังกล่าวมาส่งให้โครงการไปรษณีย์ reBOX เปลี่ยนกล่อง/ซองเป็นของขวัญปีใหม่ 2564 ได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ รวมทั้งจุดรับกล่อง/ซอง ณ อาคารอเนกประสงค์ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ เป็นต้น โดยสามารถนำกล่องและซองมามอบให้ได้ไม่จำกัดจำนวนชิ้น จนถึงวันที่ 31 ตุลาคมนี้ นายก่อกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการไปรษณีย์ reBOX เปลี่ยนกล่อง/ซองเป็นของขวัญปีใหม่ 2564 นั้น ทางไปรษณีย์ร่วมกับเอสซีจี แพคเกจจิ้งฯ รีไซเคิลกล่องและซองให้เป็นชุดโต๊ะเก้าอี้มอบให้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทุกแห่งทั่วประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับการศึกษาต่อไป-สำนักข่าวไทย.

สวทช.โชว์ต้นแบบรถเข็นสตรีทฟู๊ดไฮเทค

กรุงเทพฯ 17 ก.ย. สวทช. โชว์การออกแบบรถเข็นรักษ์โลกเวอร์ชั่น 3 แปลงโฉมรถขายข้าวแกงธรรมดา เป็นรถเข็นน้ําหนักเบาพร้อมระบบดูดควัน ระบบน้ําดี เพื่อสตรีทฟู้ด สะอาด ปลอดภัย ยกระดับพ่อค้า – แม่ค้าอาหารริมทาง นางเกศวรงค์ หงส์ลดารมภ์ ผู้ช่วยผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่าสวทช.ดําเนินการตามพันธกิจ ด้านการเตรียมพร้อมและสนับสนุนให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการ พัฒนาขีดความสามารถของประเทศ รวมถึงมีระบบคุณภาพการปฏิบัติงานทดสอบ สอบเทียบตรวจสอบรับรอง ในระดับสากล ซึ่งได้รับการยอมรับและทํางานร่วมกับหน่วยงานควบคุมภาครัฐ ตลอดจนมีประสิทธิภาพและความสามารถ ในการออกแบบวิศวกรรม ,การสร้างเครื่องจักรอุตสาหกรรม รวมไปถึงการพัฒนาแอปพลิเคชั่นทางด้าน simulation , AI และ Big Data และความสามารถในการตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะของวัสดุ อาหาร โลหะ ฯลฯ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมหลักตามเป้าหมายของประเทศอย่างครอบคลุมและทั่วถึง และบริการให้คำปรึกษาในด้านการออกแบบวิศวกรรมที่ตอบโจทย์การใช้งานภาคอุตสาหกรรมและเอสเอ็มอี สําหรับการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาและตอบโจทย์ให้กับผู้ประกอบธุรกิจสตรีทฟู๊ดแบบตรงเป้านั้น นางเกศวรงค์ กล่าวว่าสวทช.เข้ามามีส่วนร่วมที่สําคัญ เพราะเล็งเห็นประโยชน์ที่เกิดกับผู้ประกอบอาหารริมทาง และผู้บริโภคโดยตรงที่จะได้จําหน่ายและบริโภคอาหารที่นอกจากเรื่องความอร่อยแล้วยังมีคุณภาพปลอดภัย และลดการปลดปล่อยของเสียเข้าสู่สิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากนี้ ยังเล็งเห็นว่าธุรกิจสตรีทฟู๊ดยังเชื่อมโยงกับธุรกิจอื่นอีกมาก อาทิ ผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ประกอบเป็นรถเข็น อุปกรณ์ ที่ใช้ในรถเข็น และหรือ Food truck และอื่นๆ รวมถึงการใช้วัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์อาหารจากโรงงานแปรรูป ประเภทต่างๆ และยังมีอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องจําพวกบรรจุ ภัณฑ์ ภาชนะใส่อาหาร อุปกรณ์เครื่องครัวต่างๆ ที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของสตรีทฟู๊ดโดยตรงอีกด้วย ทั้งนี้ สวทช. โดยศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรมหรือ DECC นําความรู้ทางด้าน วิศวกรรมและการออกแบบเข้ามาช่วย Matching ความต้องการที่แท้จริงของสตรีทฟู๊ดเพราะการตอบโจทย์ หรือแก้ปัญหาให้ลูกค้านับวันจะเป็นปัจจัยสําคัญที่จะทําให้ตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ ใช้หรือไม่ใช้โดยนอกเหนือจากการ สนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีแล้วยังมีการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระผู้ประกอบการ และกระตุ้นให้เกิดการขยายงานใช้จริงในวงกว้างต่อไปด้วย นายอัมพร โพธิ์ใย ผู้อํานวยการ ศูนย์บริการศึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) กล่าวว่า รถเข็นรักษ์โลกสําหรับStreet food ในเวอร์ชั่นที่ 3 เป็นการต่อยอดจาก รถเข็นเวอร์ชั่นแรกที่ผู้ประกอบการกะเพราซาวห้า ได้รับการสนับสนุนจากDECC สวทช. ในการพัฒนาปรับปรุงเพื่อพลิกโฉมรถกะเพราซาวห้า โดยมีโจทย์ที่ท้าทายคือ ต้องสามารถลดน้ําหนักรถเข็นให้มีน้ําหนักเบาที่สุด เพิ่มประสิทธิภาพ การดูดควันให้สามารถใช้งานในพื้นที่ปิดได้ รวมทั้งปรับปรุงระบบบําบัดน้ําให้ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และในวันนี้ DECC สวทช. ได้ดําเนินการพัฒนานวัตกรรมรถเข็นรักษ์โลกเพื่อสตรีทฟู้ดที่สมบูรณ์แบบที่สุดสําเร็จ แล้วโดยการพัฒนาในเวอร์ชั่นที่ 3 นี้ เป็นรถเข็นน้ําหนักเบาพร้อมระบบน้ําดี, ถังบําบัดและซิงค์น้ํา+ ระบบ ดูดควัน + หัวเตาแก๊ส 2 หัว โดยคุณสมบัติที่สําคัญของรถ มีระบบน้ําทิ้งและน้ําดี โดยมีชุดถังดักไขมันด้านในของรถเข็นจากระบบน้ําทิ้ง และสํารองน้ําดี เพื่อใช้ ล้างกระทะและซิงค์ ระบบดูดและบําบัดควัน เพื่อทําการดูดควันจากการใช้เตาแก๊สและบําบัดควัน ก่อนปล่อยควันที่ไม่เป็น มลพิษคืนสู่อากาศ ระบบสํารองไฟส่องสว่างแบบ LED ช่วยลดพลังงานการใช้ไฟฟ้า ระบบต่างๆ เช่น ระบบดูดควัน และระบบสํารองน้ํา และสามารถถอดประกอบได้ อย่างไรก็ตามพร้อมที่จะพัฒนารถเข็นเพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการในอนาคต โดยอาจใช้ระบบโซล่าเซลล์เข้ามาใช้แทนเตาแก๊สเพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน คุณพงษ์ศรชัย สมิตะสิริ เจ้าของร้านคั่วกลิ้งผักสดโฮมเมดรสจัดจ้านแนวอาหารใต้ที่ขายมานานกว่า 13 ปี และเจ้าของร้านข้าวแกงพ่อมหา แบรนด์ใหม่ กล่าวว่าในช่วงโควิด-19 เล็งเห็นว่ารูปแบบการซื้อขายอาหารเปลี่ยนแปลงไป เป็นยุคNew Normal ที่ต้องสะอาดสะดวกปลอดภัยได้มาตรฐาน จึงได้สั่งรถเข็นรักษ์โลกเวอร์ชั่น 3 มาใช้ซึ่งตอบโจทย์กับทางร้านเป็นอย่างมากเนื่องจากร้านเปิดขายในเมืองที่มีคนพลุกพล่าน จึงต้องใส่ใจในเรื่องความสะอาดที่เป็นหัวใจสำคัญ อีกทั้งคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยทั้งในเรื่องของกลิ่นอาหาร และระบบน้ําดี ระบบบําบัดน้ํา และรถเข็นยังมีน้ําหนักเบาจึงสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก ประกอบกับการออกแบบที่ลงตัวทําให้ใช้งานได้ง่าย เหมาะกับช่วงเวลาเร่งด่วนของคนเมืองได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเสริมสร้าง ภาพลักษณ์ที่ดีของการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศ กระตุ้นภาคธุรกิจในเรื่องการสร้างอาชีพหลังจากทดลองใช้งานรถเข็นรักษ์โลกเวอร์ชั่น 3 คันแรกต่อมาจึงได้ทําการสั่งจองรถเข็นรักษ์โลกเพิ่มเติมอีก 1 คัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนํารถมาต่อยอดกิจการสําหรับการขายอาหารประเภทข้าวแกง โดยให้ DECC สวทช.ปรับรูปแบบฟังก์ชั่นการใช้งานให้เหมาะสําหรับการจําหน่ายข้าวแกงโดยเฉพาะ ได้แก่ การเพิ่มช่องใส่อาหารจํานวน 10 ช่อง พร้อมระบบอุ่นอาหาร ตัดซิงค์ด้านข้างออก ปรับขนาดเครื่องดูดควันให้มีขนาดเล็กลงเพื่อความคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจรถเข็น สะดวก สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน 2-3 โมเดลที่มีอยู่ในราคาพิเศษประมาณ 20,000- 35,000 บาท จากราคาเต็ม ประมาณ70,000 บาท สำหรับ100 คันแรกเท่านั้นสามารถสั่งจอง ผ่านทางออนไลน์ หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 025646310 -11 หรือ www.decc.or.th/streetfood -สำนักข่าวไทย.

ดีแทคปรับกลยุทธ์บริการซิมเติมเงิน

กรุงเทพฯ 17 ก.ย. ดีแทคเติมเงินปรับกลยุทธ์ซูจุดยืนเป็นมากกว่าซิมเติมเงิน มุ่งเติมความต้องการของผู้ใช้บริการด้วยความเข้าใจ นายฮาว ริเร็น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทคกล่าวว่าความท้าทายจากสถานการณ์โดวิด-19 วิถีชีวิตแบบใหม่และพฤติกรรมออนไลน์ ดีแทคพบว่าผู้ใช้บริการมีปริมาณการใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ปริมาณการใช้งานดาต้าต่อเดือนต่อผู้ใช้งานแบบเติมเงินเมื่อเทียบกับปีก่อน 5 เท่า หรือมีการใช้งานเพิ่มขึ้นร้อยละ 70 ต่อเดือน โดยมีการใช้งานระบบเติมเงินตั้งแต่เดือนม.ค.-ส.ค. ที่ผ่านมาถึง 97 ล้านครั้ง ปริมาณการใช้งานดาต้าในพื้นที่ภูมิภาคนั้นเติบโตสูงกว่ากรุงเทพฯเพิ่มขึ้น 5 เท่าหลังสถานการณ์โดวิด-19 มีจำนวนผู้ใช้งานในระบบเติมเงินเพิ่มขึ้น 2 เท่าบนดีแทคแอปที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดีแทคเห็นว่าการเชื่อมต่อเป็นสิ่งจำเป็นรวมทั้งบริการที่แสดงถึงความหวงใยและต้องการเข้าไปมีบทบาทในการช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินชีวิตประจำวันของลูกค้าการปรับจุดยืนใหม่ของแบรนด์ดีแทคเติมเงินครั้งนี้ยังได้เน้นที่ความเข้าใจในสิ่งที่ลูกค้าต้องการในชีวิตและมีความพยายามที่จะตอบสนองความต้องการให้เป็นมากกว่าแคซิมเติมเงิน แต่เดิมชีวิตให้ไปต่อได้ด้วย 3 สิ่งดีคือ สัญญาณดี ราคาดีและบริการใจดี  ด้วยวิกฤตของโควิด-19 ทำให้ผู้ใช้บริการเปลี่ยนพฤติกรรมโดยนอกจากใช้งานดาต้ามากขึ้น ยังอยู่บ้านมากขึ้นด้วยเราจึงทีการพัฒนาเพื่อเสาส่งสัญญาณเพิมขึ้นเฉลี่ยชัวโมงละ 1 เสา ัเพื่อรองรับผู้ใช้ย่้ดีแทคยังเร่งขยาย Massivo MIMO ในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่นทั่วประเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีกว่าเดิม 3 เท่า และกำลังขยายบริการ 4G เพิ่มขึ้นทั่วประเทศโดยนำคลื่น 700 เมกกะเฮิรตซ์ มาเพิ่มความครอบคลุมของสัญญาณในภูมิภาคสำคัญทั่วไทยโดยพร้อมที่จะให้บริการหลังจากกสทชได้มอบใบอนุญาตใช้งานคลื่นความถี่ 700 เมกกะเฮิรตซ์ ดีแทคตั้งเป้าจะขยายบริการ 4G-TDD บนคลื่น 2300 เมกกะเฮิรตซ์ ที่ให้บริการบนคลื่นทีโอทีเป็นจำนวนมากกว่า 20,000 สถานีฐานภายในปี 2563 เพื่อตอกย้ำในความเป็นผู้นำการให้บริการ 4G-TDD ซึ่งเป็นระบบที่สมาร์ทโฟนและอุปกรณ์สื่อสารของลูกค้าดีแทคมากกว่าร้อยละ 76 รองรับการใช้งาน นอกจากนี้ ดีแทคได้จับมือพันธมิตรข้ามอุตสาหกรรมภายใต้กลยุทธ์การยกระดับบริการซิมเติมเงิน โดยประกาศความร่วมมือกับพันธมิตรที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน อาทิ บริษัท พีทีจีเอนเนอยี จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการสถานีบริการน้ำมัน บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภเดอะโคคา-โคลาคอมปานีและธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ด้วยการแจกฟรี“ ซิมเติมสุข” เพื่อให้ลูกค้าได้ทดลองใช้ซิมดีแทคเติมเงินดีแทคเติมเงินมาสู่ขอคนไทย-สำนักข่าวไทย.

กรมอุตุฯ เตือนอีสาน เหนือตะวันออกรับมือผลกระทบพายุโนอึล

กรุงเทพฯ 16 ก.ย. กรมอุตุฯ เตือนภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลางตอนบนรับผลกระทบจากพายุโนอึล น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา แถลงว่า ขณะนี้พายโซนร้อนโนอึลได้ยกระดับความรุ่นแรกอยู่ในระดับที่ 3 ขึ้นสู่ระดับ 5 และจะขึ้นสู่ระดับ 5 เมื่อเข้าสู่ประเทศเวียดนาม ในช่วงกลางดึกคืนนี้ กรมฯคาดว่าจะมีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 18-2 ก.ย. จากปริมาณน้ำล้นตลิ่ง โดยพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบลำดับแรกคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามมาด้วยภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก ถือเป็นพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวัง กรมฯจึงได้ตั้งศูนย์ประสานงานทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก กรมฯและหน่วยงานเฝ้าระวังได้เตรียมการประสานเพื่อดูแลประชาชนอย่างเต็มที่ ขอให้ประชาชาติดตามข่าวสารจากกรมฯ อย่าเชื่อข่าวลือทางโซเชียล-สำนักข่าวไทย.

โกเจ็กปล่อยแอปใหม่เน้นใช้ง่ายบริการครบ

กรุงเทพฯ 16 ก.ย. โกเจ็ก เปิดแอปพลิเคชั่นใหม่รองรับการแก้ปัญหาผู้บริโภค  นายภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ โกเจ็ก ประเทศไทยกล่าวว่า จุดประสงค์ของโกเจ็กคือเป็นแอปพลิเคชั่นช่วยแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นการส่งของ เดินทาง หรือสั่งอาหาร เราหวังว่าธุรกิจนี้จะช่วยการขายสินค้า ขายอาหาร ส่งของ และการให้บริการ โกเจ็กได้ออกแบบแอปพลิเคชั่นใหม่ให้ใช้งานง่าย สามารถเชื่อมโยงคนเข้าด้วยกันด้วยความสามารถในการสนทนา การแชร์ข้อมูลร้าน และเก็บข้อมูลร้านที่สนใจ จากการสำรวจพบว่าผู้บริโภคในกรุงเทพฯ ร้อยละ 55 ใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ แต่ร้อยละ  73 ยังเดินไปซื้ออาหารที่ร้าน เราจึงทำบริการใหม่ให้สั่งอาหารแล้วเดินไปรับอาหารเองที่ร้านได้ และสำหรับคนที่ต้องการสมัครเป็นคนขับของโกเจ็กสามารถลงทะเบียนได้ผ่านแอปพลิเคชั่น โดยคนขับที่บริการดีสามารถรับทิปจากผู้ใช้บริการได้เอง ให้คนขับ นอกจากนี้โกเจ็กได้มอบประกันชีวิตให้คนขับเพื่อความปลอดภัย สุดท้ายคือการเพิ่มร้านอาหารที่มีความหลากหลายในยริการเพื่อให้ผู้บริโภคเลือกใช้ได้  ด้านนายเควิน อลูวีและนายอันเดรโซลิสตโย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมของโกจ็ก กล่าวว่า กล่าวว่า นับเป็นก้าวสำคัญสำหรับ บริษัท และยังเป็นการตอกย้ำพันธสัญญาที่มีต่อประเทศไทยในระยะยาวต้องขอขอบคุณทีมงานในประเทศไทย ที่ทำงานกันอย่างยอดเยี่ยมและพร้อมจะนำพาทุกคนก้าวสู่การเดินทางบทใหม่ในครั้งนี้ ขอขอบคุณผู้ใช้บริการพันธมิตรและผู้ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยที่ได้สนับสนุนตลอด -สำนักข่าวไทย.

ซีเมนส์ชี้3เทคโนโลยีพื้นฐานที่เมืองอัจฉริยะต้องมี

กรุงเทพฯ 16 ก.ย. ซีเมนส์ชี้ปัจจัย 3 เป็นเมืองอัจฉริยะ สมาร์ทกริด อาคารอัจฉริยะ ระบบไอซีที  นางสุวรรณี สิงห์ฤาเดชประธานเจ้าหน้าที่บริหารและซีอีโอ ซีเมนส์ ประเทศไทย กล่าวว่า สหประชาชาติประมาณการว่า ภายในปี 2050 จะมีจำนวนประชากรบนโลกเพิ่มขึ้นอีก 2 พันล้านคน ส่งผลให้เมืองขนาดใหญ่แบบมหานคร Mega Urban City มีจำนวนมากขึ้นในอีก 15 ปีข้างหน้า และ จากสถิติเฉลี่ยในปัจจุบัน มีผู้อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ราวร้อยละ55 ขณะที่ร้อยละ 45 อาศัยอยู่นอกเขตเมืองโดยในอีก 30 ปีข้างหน้า คาดว่าสัดส่วนผู้อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่จะเพิ่มเป็นร้อยละ 68 สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันมีอัตราการอยู่อาศัยในเมืองใหญ่อยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 นอกเหนือจากเมืองขนาดใหญ่แบบมหานครมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นด้านสภาพภูมิอากาศ หรือ โรคระบาดร้ายแรง ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลให้การพัฒนาเมืองใหญ่ และการเตรียมการในด้านต่าง ๆ เพื่อรับมือต่อสถานการณ์ดังกล่าวกลายเป็นภารกิจสำคัญ อาทิ การบริหารสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัย การบริการทางสังคม บริการด้านสาธารณสุข หรือแม้แต่การศึกษา ซึ่งความท้าทายเหล่านี้ ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยเทคโนโลยีเดิมที่มีอยู่  ในขณะที่เทรนด์การเติบโตของมหานครและดิจิทัลไลเซชั่นได้พัฒนามาจนเกิดเป็นมิติใหม่สำหรับคนเมือง ดังนั้น “เมืองอัจฉริยะ” จึงนับเป็นหนึ่งในคำตอบที่จะเข้ามาช่วยบริหาร เมืองอัจฉริยะจะต้องมีเทคโนโลยีสำคัญ 3 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย สมาร์ทกริด (Smart Grid) หรือโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ คือ โครงข่ายไฟฟ้าที่นำเทคโนโลยีหลายประเภทเข้ามาทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบเซ็นเซอร์และการควบคุมอัตโนมัติเพื่อให้ระบบไฟฟ้ากำลังสามารถรับรู้ข้อมูลสถานะในระบบได้แบบ real time รวมถึงระบบสารสนเทศ ระบบเก็บข้อมูล และระบบการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้โครงข่ายไฟฟ้าสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น มีความสามารถมากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง มีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ มีความยั่งยืนปลอดภัยและที่สำคัญคือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะจะต้องครอบคลุมระบบไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งรวมถึงตั้งแต่ระบบการผลิต ระบบส่ง ระบบจำหน่าย จนถึงระบบของผู้ใช้ไฟฟ้า อาคารอัจฉริยะ ภายในปี 2050 ประชากรโลกกว่าร้อยละ 70 พำนักอาศัยอยู่ภายในอาคาร และจะยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นในอนาคต ซึ่งหมายความว่า ความคาดหวังของผู้อยู่อาศัยจะสูงขึ้นตามไปด้วย อาคารต้องเป็นมากกว่าโครงสร้างผนังและหลังคา สามารถมอบความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้แก่ผู้อยู่อาศัยได้มากขึ้น ดังนั้น อาคารจะต้องมีระบบอัจฉริยะที่ทำให้อาคารสามารถตอบสนองต่อความต้องการผู้อยู่อาศัยได้ สามารถเรียนรู้ และ ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และที่สำคัญคือ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สุดท้ายคือ ระบบไอซีทีอัจฉริยะ (Smart ICT – Smart Information and Communication Technology) ปีนี้อุปกรณ์มากกว่า 5 หมื่นล้านชิ้นจะสามารถเชื่อมต่อกันได้ และ 1 ใน 5 ของอุปกรณ์เหล่านี้จะถูกใช้อยู่ภายในอาคาร นั่นหมายความว่า ข้อมูลจำนวนมากมายมหาศาลจะถูกสร้างขึ้น หัวใจสำคัญคือเราจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้และวิเคราะห์ได้อย่างไร จึงจะทำให้เมืองมีความยืดหยุ่นในการบริหาร ในขณะเดียวกัน  ยังสามารถตอบสนองความต้องการในระดับชุมชนและระดับบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เมืองอัจฉริยะจะเกิดขึ้นได้ เมื่อทั้งสามส่วนนี้ทำงานผสานกัน นางสุวรรณี กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับประเทศไทย นโยบายการผลักดันเมืองอัจฉริยะของรัฐบาลเป็นทิศทางที่ถูกต้องในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ใหญ่เกินกว่าจะเป็นภาระของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ภาครัฐบาลมีบทบาทในการสนับสนุนเรื่องกฎหมายและการลงทุน ส่วนภาคเอกชนสามารถช่วยในเรื่อง Know-how เทคโนโลยี เพื่อนำมาช่วยในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพทางพลังงานและการลดการเกิด CO2 ดังนั้นทุกฝ่ายจำเป็นต้องทำงานประสานกัน เพื่อนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาปรับใช้  ในการรวบรวม วิเคราะห์ แยกแยะข้อมูลอย่างเหมาะสมอันนำไปสู่ความเข้าใจ วางแผน ปรับปรุง สร้างสรรค์ร่วมกัน ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย เมืองอัจฉริยะสามารถเกิดขึ้นได้จริงแน่นอนในประเทศไทย-สำนักข่าวไทย.

1 18 19 20 21 22 2,829
...