เผยคนไทยดูยูทูปเพิ่ม สนใจคอนเทนท์ตลก,ทำอาหาร ,ออกกำลัง

กรุงเทพฯ 15 ก.ย. กูเกิลเผย คนไทยใช้เวลารับชมวิดีโอบน เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 เวลาในการรับชมคอนเทนต์ประเภทตลกขบขัน การทำอาหาร ฟิตเนส และการเงิน เพิ่มขึ้น นางแจ็คกี้ หวาง ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัทกูเกิล กล่าวว่า ช่องที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคนหรือช่อง Gold Button มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งการเติบโตนี้สะท้อนถึงเนื้อหาที่หลากหลายและสร้างสรรค์โดยไม่ได้มีเพียงช่องโทรทัศน์ต่างๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงช่องของโปรดักชันเฮาส์ ค่ายเพลง ศิลปิน และ บรรดาครีเอเตอร์ทั่วประเทศไทยอีกด้วย ด้านสถิติการรับชมยูทูปในประเทศไทย พบว่าในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายนของปีนี้ คนไทยใช้เวลาในการรับชมวิดีโอประเภทตลกขบขันเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาในขณะที่การค้นหาคำว่า “การทำอาหาร” บน YouTube เพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ80 เจาะกลุ่มประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ตที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเข้าหาผู้บริโภคทุกกลุ่มบนยูทูปซึ่งปัจจุบันแบรนด์ต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มเดียวเพื่อเข้าถึงผู้ชมตามความสนใจและความชอบของแต่ละบุคคล สำรวจรูปแบบเนื้อหาต่างๆ เนื่องจากเนื้อหาที่ครอบคลุมหลากหลายหมวดหมู่ได้รับความนิยมมากขึ้น สร้างการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคมักจะมองหาเนื้อหาที่สดใหม่อยู่ตลอดเวลา -สำนักข่าวไทย.

สธ.จับมือไมโครซอฟท์ สตาร์ทอัพไทย พัฒนาระบบข้อมูลช่วยดูแลโควิด

กระทรวงสาธารณสุขจับมือไมโครซอฟท์และสตาร์ทอัพไทยทำแพลตฟอร์มข้อมูลเพื่อจัดสรรทรัพยากรทางการแพทย์ เพิ่มความคล่องตัวต้านภัยโควิด-19

ดีจีเอจับมือพันธมิตรพัฒนาแพลตฟอร์มยืนยันตัวตน

กรุงเทพฯ 15 ก.ย. ดีจีเอ จับมือ 9 พันธมิตรนำร่องใช้ดิจิทัล ไอดีภาครัฐ ขับเคลื่อนงานบริการดิจิทัล สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือดีจีเอ พร้อมด้วยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สมาคมธนาคารไทย, สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ, บริษัท เนชั่นแนลติจิทัลไอดี จำกัด , กรมสรรพากร, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, กรมที่ดิน, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ“ โครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตบทางดิจิทัลภาครัฐ” ตั้งเป้ายกระดับการให้บริการดิจิทัลภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อสร้างความมั่นใจในการทำธุรกรรมออนไลน์กับภาครัฐได้สะดวกยิ่งขึ้นพร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยให้สามารถก้าวเข้าสู่โลกยุคใหม่ในยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหรือสพร. กล่าวว่า โครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐ เป็นโครงการสำคัญในยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (พ.ศ. 2561-2580) และแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดินโดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ในการบริหารงานภาครัฐและยกระดับการให้บริการประชาชนลดภาระในการติดต่อหรือใช้บริการจากภาครัฐเพราะที่ผ่านมาการให้บริการของภาครัฐแก่ประชาชนและภาคธุรกิจหรือการให้บริการของภาคธุรกิจแก่ประชาชนประกอบด้วยขั้นตอนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่มีความซ้ำซ้อนสิ้นเปลืองทั้งเวลาและทรัพยากรเกิดภาระต่อผู้มีหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องและยืนยันตัวตนก่อให้เกิดความไม่สะดวกและเกิดภาระต่อผู้ใช้บริการ “  การรวมตัวครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้บบริการภาครัฐสามารถให้บริการกับประชาชนได้อย่างทันท่วงทีและทั่วถึง ถ้าสามารถเอาดิจิทัลไอดีมาใช้จะทำให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพื่อใช้บริการภาครัฐทำได้รวดเร็วมากเร็วขึ้นรัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาประยุกต์ใช้กับการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพทางสพร. จึงได้วางโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ“ ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐ” ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้การทำธุรกรรมออนไลน์กับภาครัฐอย่างรวดเร็วและมั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐานสากลโดยทั้ง 9 หน่วยงานที่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสพร. ในวันนี้ต่างเห็นพ้องต้องกันถึงความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐเพื่อร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางสำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐรวมไปถึงสนับสนุนให้หน่วยงานผู้ใช้บริการสามารถนำแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางดังกล่าวไปใช้ในการบริหารงานและให้บริการประชาชนตามภารกิจของแต่ละหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในท้ายที่สุด” ผอ. สพร. กล่าว -สำนักข่าวไทย.

ดีป้าดัน2โครงการเพิ่มบุคลากรดิจิทัล

กรุงเทพฯ 14 ก.ย. ดีป้า เร่งเครื่อง 2 โครงการสานต่อพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า เพื่อเป็นการสร้างกำลังคนด้านดิจิทัลให้กับประเทศ ตั้งแต่การส่งเสริมให้ประชาชนรู้ ประยุกต์ ใช้เป็นผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ การยกระดับนักเรียน นักศึกษาผ่านแพลตฟอร์มโค้ดดิ้ง การเพิ่มขีดความสามารถแรงงานด้านดิจิทัล (Professional Skill) การสนับสนุนองค์ความรู้แก่กลุ่มผู้บริหารระดับสูง และการพัฒนาระบบการศึกษาไทย และเพื่อสานต่อภารกิจดังกล่าวที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการส่งเสริมและสนับสนุน ครั้งที่ 9/2563 ได้ผ่านความเห็นชอบโครงการที่ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการพัฒนาศักยภาพกำลังคนและบุคลากรดิจิทัลและนวัตกรรมดิจิทัล (depa Digital Manpower Fund) จำนวน 1 โครงการคือ โครงการพัฒนาและผลิตบุคลากรด้านอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับผู้บริหาร หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลด้านธุรกิจการท่องเที่ยวโดย สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต นายณัฐพล กล่าวอีกว่า หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลด้านธุรกิจการท่องเที่ยวมีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนทักษะดิจิทัลด้าน Digital Manpower for Executive แก่ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวภาคเอกชนจำนวน 120 คนจากพื้นที่ภาคใต้ โดยการอบรมจะแบ่งออกเป็นการอบรมผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 40 คน และการอบรมออฟไลน์ จำนวน 80 คน ซึ่งมีหัวข้อการอบรมในหลากหลายด้าน ประกอบด้วย ด้านข้อมูล (Data) ด้านเทคโนโลยี (Technology) ด้านกฎหมาย (Legal) ด้านธุรกิจ (Business) และแนวทางการดำเนินธุรกิจหลังผ่านพ้นวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Post-COVID-19) ที่ประชุมฯ ยังเห็นชอบโครงการที่ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (depa Digital Infrastructure Fund) จำนวน 1 โครงการคือ โครงการ I AM Digital Studio and Cloud-learning Space โดย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ซึ่งมีแผนที่จะพัฒนาหลักสูตรใน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านข้อมูล (Data Analytics และ Data Engineering) ด้านหุ่นยนต์ (Robotic) และด้านสื่อดิจิทัล (Digital Media) “โครงการที่จำเริ่มดำเนินการจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสถาบันอาชีวศึกษาของไทย โดยนำร่องที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล หลักสูตร และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับทักษะดิจิทัลให้กับนักเรียนอาชีวศึกษาก่อนก้าวสู่ตลาดแรงงานในอนาคต ซึ่งโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนานักเรียน มากกว่า 6,000 คน นักเรียนมีโอกาสได้รับประกาศนียบัตรด้านหุ่นยนต์ มากกว่า 180 คน นักเรียนสายบัญชีได้งานด้านข้อมูล มากกว่าร้อยละ 20 หรือ 40 คนต่อปี ขณะที่คณาจารย์จะได้รับประกาศนียบัตรในสาขาที่เกี่ยวข้อง มากกว่า 2 คนต่อสาขา หรือ 6 คนต่อปี ซึ่งโครงการดังกล่าวจะช่วยผลิตกำลังคนดิจิทัลตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคต โดยเฉพาะด้านหุ่นยนต์ และอุตสาหกรรมดิจิทัลได้เป็นอย่างดี” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว -สำนักข่าวไทย.

ดีแทคแจงข่าวลดพนักงานไม่เป็นความจริง

กรุงเทพฯ 11 ก.ย.- ดีแทคแจงข่าวปรับลดพนักงานร้อยละ 50 ไม่เป็นความจริง บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค ชี้แจงกรณีกระแสข่าวจะปรับลดพนักงานลงร้อยละ 50 ผลกระทบจากโควิด-19 ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ดีแทคขอชี้แจงว่าดีแทคประกาศให้พนักงานสามารถกลับเข้าทำงานได้ที่สำนักงานใหญ่ สำนักงานประจำภูมิภาค และศูนย์คอลเซ็นเตอร์รวมทั้ง 3 แห่ง ในกรุงเทพฯ และที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่ยังคงคุมเข้มโดยกำหนดมาตรการการควบคุมดูแลความหนาแน่นในพื้นที่ทำงานให้มีจำนวนพนักงานเพียงร้อยละ 30 ของจำนวนพนักงานทั้งหมด เพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานเป็นสำคัญ ตั้งแต่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา ขณะที่ศูนย์บริการของดีแทคทั้งหมดสามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ ภายใต้มาตรการการรักษาระยะห่างทางสังคมอย่างเข้มงวด ดีแทคใช้รูปแบบการทำงานแบบ ‘ชัดเจน-ยืดหยุ่น-ชัดเจน (tight-loose-tight)’ คือชัดเจนในเรื่องความคาดหวัง ยืดหยุ่นในวิธีการที่พนักงานใช้ในการบรรลุเป้าหมาย และชัดเจนในเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบ เราเชื่อว่าพนักงานนั้นมองหารูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เนื่องจากการทำงานในลักษณะนี้จะทำให้พนักงานรู้สึกมีอิสระในการตัดสินใจ อันจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลและความพึงพอใจของพนักงาน.-สำนักข่าวไทย

กมธ.เปิดช่องกรรมการสรรหากสทช.กำหนดคุณสมบัติเองตอบโจทย์ความต้องการในสถานการณ์ปัจจุบัน

ชลบุรี 11 ก.ย. กมธ.วิสามัญ แก้ไขกฎหมายกสทช. เปิดช่องกรรมการสรรหากำหนดสเปกกสทช. ได้เองเพื่อให้สอดรับกับความต้องการของอุตสาหกรรม  นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ. องค์กรจัดสรรขึ้นความถี่และประกอบกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ฉบับที่ …) พ.ศ…. (พ.ร.บ. กสทช) กล่าวว่า กรรมาธิการได้พิจารณาแก้ไขร่างฯ เสร็จสิ้นแล้วโดยมีการแก้ไขจากร่างฯเดินที่สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการไว้ค่อนข้างมากในส่วนหลักการและเหตุผลในการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพรบ.ฯจากฉบับเดิมที่ใช้อยู่นั้น เป็นไปเพื่อแก้ปัญหาการสรรหากรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในทางปฏิบัติ และเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการกสทช. ที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงมีการแก้ไขในส่วนขององค์ประกอบของคณะกรรมการกระบวนการสรรหา อำนาจของคณะกรรมการสรรหา และคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร เป็นสำคัญ   สำหรับกระบวนการสรรหากรรมการกสทช. กรรมาธิการพยายามสร้างกลไกในการสรรหาให้ได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ในส่วนของคุณสมบัติและความรู้ความเชี่ยวชาญของผู้ที่จะมาเป็นกรรมการกสทช.นั้นคณะกรรมาธิการฯได้พิจารณาปรับปรุงด้านของความรู้ความเชี่ยวชาญ โดยเสนอให้มีด้านกิจการกระจายเสียง ด้านกิจการโทรทัศน์ และด้านกิจการโทรคมนาคมด้านละหนึ่งคน ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ด้านละหนึ่งคน และด้านอื่นๆที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกสทช. จำนวนสองคน ซึ่งทางคณะกรรมาธิการเห็นว่าจะครอบคลุมความต้องการตามพันธกิจขององค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงการเทียบเกณฑ์คุณวุฒิของตำแหน่งอาชีพในภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจนได้มาตรฐานขึ้น และลดข้อกำหนดจำนวนปีของประสบการณ์บริหารงานเฉพาะทางหลายด้านลง เพื่อเปิดโอกาสให้คนที่มีคุณสมบัติและอายุงานเฉพาะด้านสิบปีขึ้นไปสามารถสมัครเข้ารับการคัดเลือกได้ นายพุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับโครงสร้างของกรรมการกสทช.ได้แบ่งโครงสร้างกรรมการที่มีความเชี่ยวชาญ 5 ด้าน ตามคุณสมบัติและความรู้ความเชี่ยวชาญของผู้ที่จะมาเป็นกรรมการกสทช. โดยคณะกรรมาธิการฯได้พิจารณาปรับปรุงด้านของความรู้ความเชี่ยวชาญ โดยเสนอให้มีด้านกิจการกระจายเสียง ด้านกิจการโทรทัศน์ และด้านกิจการโทรคมนาคมด้านละหนึ่งคน ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ด้านละหนึ่งคน และด้านอื่นๆที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกสทช. จำนวนสองคน ซึ่งทางคณะกรรมาธิการเห็นว่าจะครอบคลุมความต้องการตามพันธกิจขององค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงการเทียบเกณฑ์คุณวุฒิของตำแหน่งอาชีพในภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจนได้มาตรฐานขึ้น และลดข้อกำหนดจำนวนปีของประสบการณ์บริหารงานเฉพาะทางหลายด้านลง เพื่อเปิดโอกาสให้คนที่มีคุณสมบัติและอายุงานเฉพาะด้านสิบปีขึ้นไปสามารถสมัครเข้ารับการคัดเลือกได้ นอกจากนี้ ยังได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดในส่วนของช่วงเวลาในการดำรงตำแหน่งต่อ การสมัครเพื่อรับการแต่งตั้งใหม่หรือพ้นจากตำแหน่งของกรรมการชุดเดิม หากร่างพรบ.ฉบับใหม่ถูกประกาศใช้ เพื่อให้เป็นธรรมต่อสิทธิของผู้ดำรงตำแหน่ง และเกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงานพิจารณานโยบายต่างๆในคณะกรรมการ กสทช. ในช่วงรอยต่อของการบังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรด้วย กรรมาธิการฯ ขอให้ประชาชนวางใจได้ว่าร่างพรบ.ฉบับที่ได้มีการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมนี้ เมื่อผ่านสภาแล้ว จะบังคับใช้เพื่อเลือกกรรมการชุดใหม่ทันที และจะยังประโยชน์ต่อทิศทางนโยบายและการดำเนินงานของ กสทช. ต่อไป-สำนักข่าวไทย.

ดีอีเอสเล็งสำเพ็งประเดิมไว-ไฟฟรีในชุมชนหวังหนุนแม่ค้าขายออนไลน์เพิ่ม

ชลบุรี 11 ก.ย. ดีอีเอส เลือก สำเพ็ง ติดตั้งไว-ไฟฟรี หนุนแม่ค้าขายออนไลน์ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า กระทรวงญ มีแนวคิดที่จะร่วม กับบริษัทกสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ทำโครงการติดตั้งไว-ไฟ ฟรีในชุมชน 10 แห่ง ทั่วประเทศไทย เพื่อนำอินเทอร์เน็ตไปช่วยส่งเสริมให้ท้องถิ่นได้ใช้ประโยชน์ โดยจะเริ่มทำทีาสำเพ็งย่านการค้าเก่าแก่ที่สำคัญของกรุงเทพฯ เป็นจุดแรก โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาขอบเขตของพื้นที่ และรูปแบบการนำใช้งาน ทั้งนี้หลังจากติดตั้งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงดีอีเอสจะร่วมมือกันเข้าไปช่วยส่งเสริมให้เกิดการใช้อินเทอร์เน็ตในการไปยกระดับคุณภาพชีวิต โดยที่เมื่อติดตั้งอุปกรณ์แล้วจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปสอนพ่อค้าแม่ค้าในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นช่องทางเสริมธุรกิจ เข่น การขายและกระจายสินค้าขณะที่บริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัดจะนำบริการส่งของไปช่วยสนับสนุนการส่งสินค้า โดยจะพัฒนาแพลตฟอร์มขายของออนไลน์เข้าไปให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวก กระทรวงเชื่อส่าด้วยแนวทางดังกล่าวนี้จะช่วยพ่อค้าแม่ค้าให้จายของได้มากขึ้น ช่วยลดต้นทุน  “เบื้องต้นเราวางไว้ 10 จุด ก่อน อาจจะไม่ได้ขายของทั้งหมด การพิจารณาวันถุประสงค์ในการติดตั้งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละชุมชนว่าต้องการอะไร โดนทั้ง 10 ชุมชนจะเป็นต้นแบบในการนำเอาอินเทอร์เน็ตไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตและเป็นต้นแบบของการใช้อินเทอร์เน็ตในเชิงธุรกิจ เพื่อนำรูปแบบไปใช้ในชุมชนอื่นที่จะขยายโครงการออกไป โดยบางชุมชนอาจใช้เพื่อการศึกษา การเกษตร หรือบริการสุขภาพ สำหรับโครงการระยะแรกจะเริ่มทดลองทำในกรุงเทพฯ 5 ชุมชน ต่างจังหวัด 5 ชุมชน โดยหากบริษัททีโอที จำกัด ร่วมด้วยโครงการระยะแรกอาจจะมีถึง 20 ชุมชนก็ได้” -สำนักข่าวไทย.

แคสเปอร์สกี้ออกแถลงการณ์ประฌามเหตุโจมตีระบบรพ.สระบุรี

กรุงเทพฯ 10 ก.ย. แคสเปอร์สกี้ ออกแถลงการณ์ต่อเหตุการณ์โจมตีโรงพยาบาลในประเทศไทยด้วยแรนซัมแวร์ นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า แคสเปอร์สกี้ขอประณามการโจมตีของแรนซัมแวร์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายที่หน่วยงานภาคสาธารณสุข ในช่วงที่โรงพยาบาลเป็นแนวหน้าของการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การกระทำที่มุ่งร้ายเช่นนี้ควรหยุดลง อย่างไรก็ตามเราทราบดีอยู่แล้วว่าอาชญากรไซเบอร์นั้นอยู่เบื้องหลังเหตุความวุ่นวายในปัจจุบันเพื่อทำร้ายองค์กรและองค์กรต่างๆ มากขึ้น ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2020 โซลูชันของแคสเปอรสกี้ตรวจพบและสกัดความพยายามในการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ 831,105 ครั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย 85,384 ครั้งถูกกำหนดเป้าหมายเป็นผู้ใช้แคสเปอร์สกี้ในประเทศไทยและพบว่า มากกว่าร้อยละ 39 มีเป้าหมายเพื่อเหยื่อรายบุคคล เกือบร้อยละ 2 กำหนดเป้าหมายไปที่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง และกว่าร้อยละ  38 กำลังมุ่งเป้าไปที่องค์กร ในช่วงวิกฤตนี้ ขอแนะนำให้ผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวข้องติดต่อประสานงานกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากการกระทำนี้เป็นความผิดที่มีโทษ ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้สามารถให้ความช่วยเหลือในการตรวจสอบเหตุการณ์นี้ได้สำหรับองค์กรและธุรกิจทั้งหมดในทุกรูปแบบ ทุกขนาด ทุกภาคส่วน แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำขั้นตอนต่อไปนี้เกี่ยวกับวิธีดำเนินการก่อนระหว่างและหลังการโจมตีของแรนซัมแวร์-สำนักข่าวไทย.

แอปเปิลเปิดแอปเปิลทิชเชอร์แอพช่วยสอนเป็นภาษาไทย

กรุงเทพฯ 10 ก.ย. ศูนย์การเรียนรู้ แอปเปิล ทิชเชอร์ พร้อมให้บริการเป็นภาษาไทยแล้ว แอปเปิล เปิดตัว Apple Teacher Learning Center (ศูนย์การเรียนรู้ Apple Teacher) เป็นภาษาไทย โปรแกรมแอปเปิลทิชเชอร์คือโปรแกรมการเรียนรู้ฟรีอย่างมืออาชีพ ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อสนับสนุนและยกย่องผู้สอน ซึ่งจะช่วยให้นักการศึกษาที่ยังขาดประสบการณ์หรือผู้สอนที่มีประสบการณ์แล้วรู้สึกมั่นใจมากขึ้นในการใช้ผลิตภัณฑ์ของ Apple เพื่อการเรียนการสอน  โดย Apple Teacher Learning Center มีทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับผู้สอนเพื่อสร้างพื้นฐานที่ดีเกี่ยวกับการใช้ไออพด แมค และแอพของ แอปเปิล เช่น เพจเจส คีย์โน้ต นัมเบอร์  การาจแบนด์ และไอมูฟวี่ ในชั้นเรียน ประกอบด้วยบทเรียนเสริมสร้างทักษะกว่า 120 บทเรียน ซึ่งประกอบด้วยบทเรียนแนะนำ ไอเดียเกี่ยวกับวิธีนำมาใช้ และแรงบันดาลใจในการต่อยอดให้กับทักษะใหม่  สถานศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ระดับมืออาชีพจำนวนนับพันเชื่อว่า แอปเปิล ทิชเชอร์ จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับชุมชนผู้เรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่งในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่บนไอแพด และแมค ได้ โดยหลังจากศึกษาบทเรียนจนจบแล้ว ผู้สอนสามารถทำแบบทดสอบที่มีการโต้ตอบได้ โดยแบบทดสอบนี้ได้รับการออกแบบมาสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งผู้สอนสามารถทำแบบทดสอบนี้กี่ครั้งก็ได้ตามต้องการ เมื่อทำแบบทดสอบทั้ง 6 ชุดสำหรับ ไอแพดหรือแมคผ่านแล้ว ผู้สอนจะได้รับการยอมรับในฐานะแอปเปิลทิชเชอร์-สำนักข่าวไทย.

กสทช.คาดตลาดสื่อสารปี63โดนพิษโควิด-19ทำตลาดโตลด

กรุงเทพฯ 10 ก.ย. กสทช.เผยมูลค่าตลาดโทรคมนาคมปี 62 โต 6.1 แสนล้านบาท คาดปี 63 โดนพิษโควิด-19ตลาดมีแววโตลดลง นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แถลงรายงานผลการสำรวจมูลสื่อสารโทรคมนาคม ปี 2562 และประมาณการปี 2563 ว่า จากสภาพเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในช่วงชะลอตัวส่งผลให้ตลาดสื่อสารของประเทศไทยในปี 2562 มีมูลค่า 619,143 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี 2561 เพียงร้อยละ 0.9 และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าของตลาดสื่อสารในปี 2563 ปรับตัวลดลงมีมูลค่าประมาณ 605,108 ล้านบาทลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 2.3 ในส่วนของตลาดอุปกรณ์สื่อสารแม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในช่วงชะลอตัว แต่ภาคเอกชนยังต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อบำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายส่งผลให้การลงทุนในตลาดอุปกรณ์สื่อสารในปี 2562 มีมูลค่าประมาณ 262,705 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ร้อยละ 2.3 ส่วนการลงทุนและการใช้จ่ายที่เกี่ยวกับอุปกรณ์สื่อสารในปี2563 แม้ว่าจะได้รับปัจจัยบวกจากการจัดให้มีการประมูลคลื่น 5G ของกสทชและสำนักงานกสทช. ในเดือนกุมภาพันธ์2563 แต่ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้แผนการดำเนินงานเพื่อลงทุนในโครงข่าย 5G อาจล่าช้ากว่าปกติรวมถึงการใช้จ่ายในตลาดอุปกรณ์สื่อสารด้านต่างๆเป็นไปด้วยความระมัดระวังจึงคาดว่ามูลค่าของตลาดอุปกรณ์สื่อสารในปี 2563 นี้จะปรับตัวลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 4.8 หรือมีมูลค่าประมาณ 250,021 ล้านบาท การสำรวจการใช้จ่ายในตลาดบริการสื่อสารพบว่าในปี 2562 มีมูลค่าประมาณ 356,438 ล้านบาทลดลงจากปี 2561 ร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นผลมาจากการแข่งขันที่รุนแรงโดยเฉพาะตลาดบริการอินเทอร์เน็ตประจำที่และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันไปใช้บริการทางเลือก (OT) มากขึ้นส่งผลให้มูลค่าของตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการสื่อสารข้อมูลเติบโตในกรอบแคบ ๆ ขณะที่บริการโทรศัพท์ประจำที่และบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องสำหรับมูลค่าของตลาดบริการสื่อสารในปี 2563 สำนักงานกสทช. คาดว่ามีมูลค่าประมาณ 355,087 ล้านบาทลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 0.4 เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นผลให้การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศลดลงการใช้ประโยชน์จากการให้บริการด้วยคลื่น 5G อาจล่าช้าและทำให้ตลาดหดตัวลงเล็กน้อย การสำรวจและวิเคราะห์จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตพบว่าในปี 2562 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในตลาดอินเทอร์เน็ตประจำที่และอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่โดยในปี 2562 มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 51.19 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ร้อยละ 79 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 4.6 ในปีนี้เป็นผลให้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 5355 ล้านคนในส่วนของปริมาณอินเทอร์เน็ตแบนด์วิธที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการศึกษาพบว่าในปี 2562 ปริมาณอินเทอร์เน็ตแบนด์วิธภายในประเทศ (Domestic Bandwidth) เท่ากับ 8,338.64 Gpbs เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ร้อยละ 16.6 และคาดการณ์ว่าในปี 2563 จะเพิ่มขึ้นเป็น 9,097.45 Gpbs หรือเพิ่มขึ้นจากปี2562 ร้อยละ 9.1 ส่วนปริมาณอินเทอร์เน็ตแบนด์วิธไปต่างประเทศ (International Bandwidth) ในปี 2562 เท่ากับ10,575.75 Gpbs เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ร้อยละ 34.5 และคาดการณ์ว่าในปี 2563 จะเพิ่มขึ้นเป็น 14,467.62 Gpbs เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ร้อยละ 36.8 -สำนักข่าวไทย.

คณะแพทย์มช.พัฒนาแพลตฟอร์มบริการสาธารณสุข

เชียงใหม่ 9 ก.ย.คณะแพทยศาสตร์ มช. จับมือ ซิสโก้ พัฒนา Med Tech ในการให้บริการสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ ผู้นำทางด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตระดับโลก ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ภายใต้ “โครงการร่วมพัฒนานวัตกรรมด้านสาธารณสุขและเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Med Tech Co-innovation)” เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ใหม่ทางวิชาการ และสนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสาธารณสุขอย่างยั่งยืน สู่ความเป็นเลิศด้านการบริการทางการแพทย์ พร้อมยกระดับประสบการณ์ดิจิทัลเฮลท์แคร์(Digital Healthcare Experience) โดยความร่วมมือมีจุดมุ่งหมายสำคัญดังนี้ สร้างประสบการณ์ดิจิทัลเฮลท์แคร์ให้กับผู้ใช้บริการ และบุคลากรการแพทย์ในรูปแบบโรงพยาบาลดิจิทัล (Digital Hospital User Experience) โดยมีการพัฒนาในสองระบบคือ ระบบติดตามการจ่ายยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Drug & Medical Equipment Tracking System) สร้างระบบจัดสรรข้อมูลด้านลอจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข้อมูลและติดตามสถานะของยาและเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และสถานบริการเครือข่าย 13 แห่งในแต่ละวันแบบเรียลไทม์ สามารถตรวจสอบสถานะข้อมูลการเดินทางของยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ทุกชิ้นได้อย่างแม่นยำ ทำให้บริหารจัดการงบประมาณ คลังยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบติดตามสถานะการให้บริการทางการแพทย์ (Medical Service Status Tracking System) ผู้ป่วยสามารถเรียกดูข้อมูลสถานะการให้บริการผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย และโมบายแอปพลิเคชั่นของโรงพยาบาล โดยทราบสถานะการให้บริการคิวตรวจ รับยา จ่ายเงิน และข้อมูลด้านสุขภาพอื่นๆ รวมถึงการให้คำปรึกษาจากแพทย์ผ่านระบบทางไกล (Tele-consulting) เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาล และระบบนำทางในโรงพยาบาลที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเดินทางไปรับบริการที่จุดให้บริการต่างๆ ได้อย่างสะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น เร่งการพัฒนานวัตกรรม (Innovation Acceleration) เพื่อการพัฒนาสาธารณสุขอย่างยั่งยืน ผ่านสามโครงการคือ โครงการพัฒนาคัดกรองผู้ป่วยวัณโรค (Tuberculosis  Screening Project): เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้ดียิ่งขึ้นผ่านระบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยการใช้ AI และ Deep Learning ที่มาช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยความผิดปกติของภาพเอกซเรย์ทรวงอกเบื้องต้น ซึ่งแพทย์สามารถเข้าถึงภาพเอกซเรย์ความละเอียดสูง และขอคำปรึกษาทางไกลในการแปลผลภาพรังสีทรวงอกกับรังสีแพทย์ที่เชี่ยวชาญ ผ่านระบบ Tele-consulting บนแพลตฟอร์ม Cisco WebEx ทำให้เกิดความรวดเร็วและความแม่นยำในการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถลดระยะเวลาในการวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ป่วยวัณโรคตั้งแต่ระยะแรก ลดค่าใช้จ่ายการรักษาที่ไม่จำเป็น และแก้ปัญหาการขาดแคลนรังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ห่างไกลได้ โครงการดูแลผู้ป่วยประคับประคองผ่านระบบการสื่อสารทางไกล Tele Palliative Care: สร้างห้องตรวจและห้องรักษาเสมือนจริง เพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยประคับประคอง และผู้ป่วยติดเตียงโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาโรงพยาบาล พยาบาลผู้เชี่ยวชาญพร้อมอุปกรณ์ Mobile Med Device จะเดินทางไปหาผู้ป่วยถึงบ้านเพื่อตรวจสุขภาพ ส่งข้อมูลและสื่อสารทางไกลกับแพทย์ผู้ให้การรักษาแบบเรียลไทม์ โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัย พิจารณาให้ยาอย่างเหมาะสมผ่านระบบ Tele-consulting บนแพลตฟอร์ม Cisco WebEx เสมือนได้รับการรักษาที่ได้มาตรฐาน และครบวงจรเทียบเท่ากับการมาโรงพยาบาล และโครงการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานโดยเจ้าหน้าที่ อสม. (Diabetes Patient Data & Communication Project): ยกระดับความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่  อสม. ในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานอย่างถูกต้อง ผ่านการอบรมทางไกล และนำประสบการณ์ไปดูแลผู้ป่วยและรายงานความคืบหน้าผลการรักษาผ่าน Cisco Webex ซึ่งเป็น Smart Learning Platform และ Education Connector และระบบให้คำปรึกษาผ่าน Online learning system เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด ทำให้ลดความแออัดในการที่จะต้องเดินทางเข้ามารักษาที่โรงพยาบาล ความร่วมมือนี้มุ่งพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ครอบคลุมบริการของโรงพยาบาลทั้งหมด เพื่อรองรับผู้ป่วยจาก 17 จังหวัดในเขตภาคเหนือ รวมถึงเป็นฐานสำหรับการวิจัยและพัฒนาเพื่อต่อยอดทางด้านการแพทย์ในอนาคต โดยทางซิสโก้มีการสนับสนุนโครงสร้างเครือข่ายพื้นฐาน (Network Infrastructure), เทคโนโลยีที่ใช้ในการวิเคราห์ข้อมูล (Data Analytics), เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI),  แมชชีน เลิร์นนิ่ง (ML), ไอโอที (IoT), เทคโนโลยีเซนเซอร์ (Sensor Technologies) และเทคโนโลยี SDN (Software-Defined Networking) นายบรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานร่วมกับซิสโก้ที่ผ่านมา เรามีความมั่นใจทั้งในส่วนขององค์ความรู้ เทคโนโลยีที่ทันสมัย โซลูชั่นในการให้บริการทางการแพทย์ที่หลากหลาย และพร้อมสนับสนุนคณะแพทยศาสตร์ฯ ในการยกระดับประสบการณ์ดิจิทัลเฮลท์แคร์ (Digital Healthcare Experience) เพื่อบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแบบบูรณาการในอนาคต  นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของซิสโก้ กล่าวว่า “ดิจิทัลเฮลท์แคร์เป็นสิ่งที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับความสามารถทางการแพทย์ และการให้บริการด้านสาธารณสุข จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชนในประเทศ ซิสโก้ทำงานร่วมกับองค์กรด้านสุขภาพทั่วโลกด้วยการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดูแลสุขภาพทางไกล (Telehealth) และโซลูชันนวัตกรรมอื่นๆ ที่ใช้เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน รวมถึงโมบิลิตี้ ความปลอดภัยและดาต้าเซ็นเตอร์ ซิสโก้มีความยินดีที่ยังคงได้รับความไว้วางใจจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สานต่อความร่วมมืออีกขั้นในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสาธารณสุขครั้งนี้ เพื่อยกระดับการให้บริการดิจิทัลทางการแพทย์แบบครบวงจร ซิสโก้มีความยินดีในการนำเทคโนโลยีช่วยสนับสนุนคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งสู่การเป็นให้เป็นโรงเรียนแพทย์ดิจิทัลแห่งอนาคตอย่างแท้จริง-สำนักข่าวไทย.

1 19 20 21 22 23 2,829
...