กรุงเทพฯ 17 ก.ย. สวทช. โชว์การออกแบบรถเข็นรักษ์โลกเวอร์ชั่น 3 แปลงโฉมรถขายข้าวแกงธรรมดา เป็นรถเข็นน้ําหนักเบาพร้อมระบบดูดควัน ระบบน้ําดี เพื่อสตรีทฟู้ด สะอาด ปลอดภัย ยกระดับพ่อค้า – แม่ค้าอาหารริมทาง
นางเกศวรงค์ หงส์ลดารมภ์ ผู้ช่วยผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่าสวทช.ดําเนินการตามพันธกิจ ด้านการเตรียมพร้อมและสนับสนุนให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการ พัฒนาขีดความสามารถของประเทศ รวมถึงมีระบบคุณภาพการปฏิบัติงานทดสอบ สอบเทียบตรวจสอบรับรอง ในระดับสากล ซึ่งได้รับการยอมรับและทํางานร่วมกับหน่วยงานควบคุมภาครัฐ ตลอดจนมีประสิทธิภาพและความสามารถ ในการออกแบบวิศวกรรม ,การสร้างเครื่องจักรอุตสาหกรรม รวมไปถึงการพัฒนาแอปพลิเคชั่นทางด้าน simulation , AI และ Big Data และความสามารถในการตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะของวัสดุ อาหาร โลหะ ฯลฯ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมหลักตามเป้าหมายของประเทศอย่างครอบคลุมและทั่วถึง และบริการให้คำปรึกษาในด้านการออกแบบวิศวกรรมที่ตอบโจทย์การใช้งานภาคอุตสาหกรรมและเอสเอ็มอี
สําหรับการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาและตอบโจทย์ให้กับผู้ประกอบธุรกิจสตรีทฟู๊ดแบบตรงเป้านั้น นางเกศวรงค์ กล่าวว่าสวทช.เข้ามามีส่วนร่วมที่สําคัญ เพราะเล็งเห็นประโยชน์ที่เกิดกับผู้ประกอบอาหารริมทาง และผู้บริโภคโดยตรงที่จะได้จําหน่ายและบริโภคอาหารที่นอกจากเรื่องความอร่อยแล้วยังมีคุณภาพปลอดภัย และลดการปลดปล่อยของเสียเข้าสู่สิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากนี้ ยังเล็งเห็นว่าธุรกิจสตรีทฟู๊ดยังเชื่อมโยงกับธุรกิจอื่นอีกมาก อาทิ ผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ประกอบเป็นรถเข็น อุปกรณ์ ที่ใช้ในรถเข็น และหรือ Food truck และอื่นๆ รวมถึงการใช้วัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์อาหารจากโรงงานแปรรูป ประเภทต่างๆ และยังมีอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องจําพวกบรรจุ ภัณฑ์ ภาชนะใส่อาหาร อุปกรณ์เครื่องครัวต่างๆ ที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของสตรีทฟู๊ดโดยตรงอีกด้วย ทั้งนี้ สวทช. โดยศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรมหรือ DECC นําความรู้ทางด้าน วิศวกรรมและการออกแบบเข้ามาช่วย Matching ความต้องการที่แท้จริงของสตรีทฟู๊ดเพราะการตอบโจทย์ หรือแก้ปัญหาให้ลูกค้านับวันจะเป็นปัจจัยสําคัญที่จะทําให้ตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ ใช้หรือไม่ใช้โดยนอกเหนือจากการ สนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีแล้วยังมีการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระผู้ประกอบการ และกระตุ้นให้เกิดการขยายงานใช้จริงในวงกว้างต่อไปด้วย
นายอัมพร โพธิ์ใย ผู้อํานวยการ ศูนย์บริการศึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) กล่าวว่า รถเข็นรักษ์โลกสําหรับStreet food ในเวอร์ชั่นที่ 3 เป็นการต่อยอดจาก รถเข็นเวอร์ชั่นแรกที่ผู้ประกอบการกะเพราซาวห้า ได้รับการสนับสนุนจากDECC สวทช. ในการพัฒนาปรับปรุงเพื่อพลิกโฉมรถกะเพราซาวห้า โดยมีโจทย์ที่ท้าทายคือ ต้องสามารถลดน้ําหนักรถเข็นให้มีน้ําหนักเบาที่สุด เพิ่มประสิทธิภาพ การดูดควันให้สามารถใช้งานในพื้นที่ปิดได้ รวมทั้งปรับปรุงระบบบําบัดน้ําให้ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และในวันนี้ DECC สวทช. ได้ดําเนินการพัฒนานวัตกรรมรถเข็นรักษ์โลกเพื่อสตรีทฟู้ดที่สมบูรณ์แบบที่สุดสําเร็จ แล้วโดยการพัฒนาในเวอร์ชั่นที่ 3 นี้ เป็นรถเข็นน้ําหนักเบาพร้อมระบบน้ําดี, ถังบําบัดและซิงค์น้ํา+ ระบบ ดูดควัน + หัวเตาแก๊ส 2 หัว โดยคุณสมบัติที่สําคัญของรถ มีระบบน้ําทิ้งและน้ําดี โดยมีชุดถังดักไขมันด้านในของรถเข็นจากระบบน้ําทิ้ง และสํารองน้ําดี เพื่อใช้ ล้างกระทะและซิงค์ ระบบดูดและบําบัดควัน เพื่อทําการดูดควันจากการใช้เตาแก๊สและบําบัดควัน ก่อนปล่อยควันที่ไม่เป็น มลพิษคืนสู่อากาศ
ระบบสํารองไฟส่องสว่างแบบ LED ช่วยลดพลังงานการใช้ไฟฟ้า ระบบต่างๆ เช่น ระบบดูดควัน และระบบสํารองน้ํา และสามารถถอดประกอบได้ อย่างไรก็ตามพร้อมที่จะพัฒนารถเข็นเพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการในอนาคต โดยอาจใช้ระบบโซล่าเซลล์เข้ามาใช้แทนเตาแก๊สเพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน
คุณพงษ์ศรชัย สมิตะสิริ เจ้าของร้านคั่วกลิ้งผักสดโฮมเมดรสจัดจ้านแนวอาหารใต้ที่ขายมานานกว่า 13 ปี และเจ้าของร้านข้าวแกงพ่อมหา แบรนด์ใหม่ กล่าวว่าในช่วงโควิด-19 เล็งเห็นว่ารูปแบบการซื้อขายอาหารเปลี่ยนแปลงไป เป็นยุคNew Normal ที่ต้องสะอาดสะดวกปลอดภัยได้มาตรฐาน จึงได้สั่งรถเข็นรักษ์โลกเวอร์ชั่น 3 มาใช้ซึ่งตอบโจทย์กับทางร้านเป็นอย่างมากเนื่องจากร้านเปิดขายในเมืองที่มีคนพลุกพล่าน จึงต้องใส่ใจในเรื่องความสะอาดที่เป็นหัวใจสำคัญ อีกทั้งคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยทั้งในเรื่องของกลิ่นอาหาร และระบบน้ําดี ระบบบําบัดน้ํา และรถเข็นยังมีน้ําหนักเบาจึงสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก ประกอบกับการออกแบบที่ลงตัวทําให้ใช้งานได้ง่าย เหมาะกับช่วงเวลาเร่งด่วนของคนเมืองได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเสริมสร้าง ภาพลักษณ์ที่ดีของการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศ กระตุ้นภาคธุรกิจในเรื่องการสร้างอาชีพหลังจากทดลองใช้งานรถเข็นรักษ์โลกเวอร์ชั่น 3 คันแรกต่อมาจึงได้ทําการสั่งจองรถเข็นรักษ์โลกเพิ่มเติมอีก 1 คัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนํารถมาต่อยอดกิจการสําหรับการขายอาหารประเภทข้าวแกง โดยให้ DECC สวทช.ปรับรูปแบบฟังก์ชั่นการใช้งานให้เหมาะสําหรับการจําหน่ายข้าวแกงโดยเฉพาะ ได้แก่ การเพิ่มช่องใส่อาหารจํานวน 10 ช่อง พร้อมระบบอุ่นอาหาร ตัดซิงค์ด้านข้างออก ปรับขนาดเครื่องดูดควันให้มีขนาดเล็กลงเพื่อความคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย
สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจรถเข็น สะดวก สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน 2-3 โมเดลที่มีอยู่ในราคาพิเศษประมาณ 20,000- 35,000 บาท จากราคาเต็ม ประมาณ70,000 บาท สำหรับ100 คันแรกเท่านั้นสามารถสั่งจอง ผ่านทางออนไลน์ หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 025646310 -11 หรือ www.decc.or.th/streetfood -สำนักข่าวไทย.