ชาวคลองด่านสู้ภัยแล้ง สร้างทำนบกั้นคลองย่อย-หมุนเวียนน้ำ

ชาวคลองด่าน จ.สมุทรปราการ ที่ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งและปลา ช่วยกันสร้างทำนบกั้นน้ำในคลองย่อย หลังคลองสายหลักน้ำน้อยสุดในรอบ 10 ปี พร้อมนำวิธีการหมุนเวียนน้ำมาเลี้ยงกุ้งและปลาในบ่อให้อยู่รอด สู้วิกฤติภัยแล้ง

รัฐบาลรุกงานประชาสัมพันธ์ภัยแล้ง สร้างการรับรู้ประชาชน

ทำเนียบรัฐบาล 25 ม.ค.-“นฤมล” ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้อง รุกงานประชาสัมพันธ์ปัญหาภัยแล้ง ต้องแถลงข่าวหลังประชุมทุกครั้ง สร้างการรับรู้ประชาชน พร้อมติดตามการเสนอข่าวของสื่อ  นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้การแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยมีนายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกประจำกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม นางนฤมล แถลงภายหลังการประชุมว่า การประชุมครั้งนี้เป็นไปตามข้อสั่งการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงที่ต้องการให้บูรณาการข้อมูลด้านน้ำของทุกหน่วยงานและประชาสัมพันธ์เรื่องภัยแล้งให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลไปสู่ประชาชน โดยเฉพาะความคืบหน้าการทำงานของสทนช.ที่วางแผนบริหารจัดการน้ำในอนาคต รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ “ที่สำคัญต้องสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจว่าจะได้รับการช่วยเหลือและเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ งดการปลูกพืชอย่างไรบ้าง และจะร่วมมือกับรัฐบาลในด้านใด ดังนั้นจะต้องสื่อสารให้เจาะลงไปในพื้นที่อย่างแท้จริง  พร้อมสร้างการรับรู้ โครงการต่าง ๆ ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว” โฆษกประจำสักนายกรัฐมนตรี กล่าว นางนฤมล กล่าวว่า แนวทางการประชาสัมพันธ์ของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ต้องให้ข้อมูลแก่วื่อมวลชนภายหลังการประชุมทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี พร้อมติดตามการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เพื่อทราบสถานการณ์ที่แท้จริงและชี้แจงได้อย่างถูกต้อง รวมถึงมีแนวทางนำสื่อมวลชนติดตามความก้าวหน้าในการช่วยเหลือประชาชน ติดป้ายประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ต่าง ๆ จัดทำสื่อโซเซียลมีเดีย สรุปประเด็นรอบสัปดาห์และการเผยแพร่ข้อมูลทั้งหมดผ่านแฟนเพจกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ นอกจากนี้ยังต้องเพิ่มความถี่และช่องทางเผยแพร่ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชนให้ครอบคลุม โดยจะมีหน่วยงานของกรมประชาสัมพันธ์ในพื้นที่สร้างการรับรู้ให้ประชาชน ด้านนายสมเกียรติ […]

ห่วงภัยแล้งทำผลผลิตเสียหาย ราคาพุ่งกระทบผู้บริโภค

รมว.เกษตรฯ เร่งทุกหน่วยงานกำหนดมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้งด่วน หวั่นน้ำน้อยทำผลผลิตเสียหาย ต้นทุนพุ่งกระทบผู้บริโภค

ปลูกพืชหนีแล้ง ไม่แคร์ปัญหาขาดน้ำ

มีตัวอย่างของกลุ่มเกษตรกรที่สามารถสร้างรายได้จากการทำเกษตร แม้ว่าจะประสบปัญหาภัยแล้ง โดยมีการวางแผนปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการทำนาปรัง

เกษตรกรขอนแก่นขุดน้ำบาดาลสู้แล้ง

เกษตรกรใน ต.ทุ่งชมพู อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น ปรับตัวสู้แล้งด้วยการขุดน้ำบาดาลทำการเกษตร โดยมีศูนย์ปฏิบัติการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 6 เข้ามาช่วยบริหารจัดการน้ำ นับเป็นพื้นที่ต้นแบบแก้ปัญหาน้ำแล้ง

“เทวัญ” เผยรัฐจัดสรรงบพร้อมเร่งช่วยภัยแล้ง

โคราชแล้งหนัก “เทวัญ” ลงพื้นที่ติดตามปัญหาเร่งหาทางช่วยเหลือ เผยรัฐอนุมัติงบแล้ว 3,000 ล้านบาท บรรเทาความเดือดร้อนประชาชน

สงขลาอ่างเก็บน้ำหลักลดมาก อุตุฯ คาดฝนทิ้งช่วงจากนี้อีกยาว

อ่างเก็บน้ำคลองหลาของจังหวัดสงขลาเกิดเป็นสันดอนกว้างจากปริมาณน้ำลดลงมาก ด้านศูนย์อุตุฯ คาดฝนจะทิ้งช่วงจนถึงเมษายน

บุรีรัมย์แล้งจัดสระน้ำกลางหมู่บ้านแห้งขอดต้องซื้อน้ำกินนานกว่าเดือนแล้ว

บุรีรัมย์ 12 ม.ค.-ชาวบ้านใน ต.เสม็ด จ.บุรีรัมย์ เดือดร้อนหนัก สระน้ำกลางหมู่บ้านแห้งขอด ไม่มีน้ำผลิตประปา ส่วนบ่อบาดาลที่เจาะไว้สำรองก็ไม่เพียงพอ ต้องเปิด-ปิดเป็นเวลา จนต้องซื้อน้ำอุปโภคบริโภคมานานกว่า 1 เดือน ผอ.โครงการชลประทานฯเผยสาเหตุจังหวัดบุรีรัมย์เผชิญภัยแล้งหนักต่อเนื่องมา 2 ปีแล้ว หลายหน่วยงานกำลังเร่งแก้ปัญหา-ช่วยเหลือประชาชน ชาวบ้าน 4 หมู่บ้านใน ต.เสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ คือ บ้านหัววัว , บ้านหนองขาย่าง , บ้านสนวน และบ้านสำโรง กำลังประสบภัยแล้งอย่างหนัก น้ำในหนองมะค่าซึ่งเป็นสระกลางหมู่บ้าน เนื้อที่กว่า 100 ไร่ ที่ใช้เป็นน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาหล่อเลี้ยงทั้ง 4 หมู่บ้าน มีสภาพแห้งขอดจนมองเห็นผืนดินแตกระแหง ส่วนบ่อบาดาลซึ่งเป็นน้ำใต้ดินที่ขุดเจาะไว้ผลิตน้ำประปาสำรองก็ไม่เพียงพอ ต้องเปิด-ปิดเป็นเวลา ทำให้ชาวบ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน จำนวนกว่า 900 ครัวเรือน ต้องซื้อน้ำจากรถเร่และน้ำถังจากร้านค้า สัปดาห์ละ 250-300 บาท เพื่อนำมาอุปโภคบริโภคมานานกว่า 1 เดือนแล้ว นายเทิดพงศ์ ไทยอุดม […]

1 2 3 4 5 6 7
...