กรมทรัพยากรน้ำ สนับสนุนเครื่องสูบน้ำแก้ภัยแล้ง

รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ นำคณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการสูบน้ำพลังงานปั่นไฟ เพื่อส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรในสภาวะภัยแล้ง ที่บ้านห้วยบง และห้วยบงใต้ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

ข้ามแล้ง 4 ปี ด้วยคลองดักน้ำหลาก

จากพื้นที่แห้งแล้งซ้ำซาก ชาวชุมชนป่าภูถ้ำภูกระแต อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ลุกขึ้นมาบริหารจัดการจนมีน้ำใช้ในหน้าแล้ง ทั้งที่ฝนแทบไม่ตกตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ด้วยการขุดคลองดักน้ำหลาก รวบและต้อนน้ำไปตามทิศทางที่ต้องการ โดยใช้ค่าระดับความสูงต่ำเป็นเครื่องมือพัฒนาโครงสร้างน้ำ

สระพวงแก้มลิง แก้ภัยแล้ง

ชาวบ้านลิ่มทอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เสียสละที่ดินส่วนตัวทำบ่อน้ำแก้มลิงและคลองส่งน้ำ โดยมีระบบสระพวงทำหน้าที่กักเก็บน้ำหลากบนพื้นที่สูง และกระจายน้ำ จนสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ เป็นตัวอย่างให้คนศึกษาดูงานเข้าสู่ปีที่ 13 แล้ว

ชาวโนนสูง จ.นครราชสีมา ซื้อน้ำใช้ ภัยแล้งลามหนัก

พื้นที่ครึ่งหนึ่งของอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา กำลังเผชิญภัยแล้งอย่างหนัก โดยเฉพาะตำบลขามเฒ่า ซึ่งอยู่บนพื้นที่สูง น้ำที่ผันมาจากเขื่อนลำตะคองแรงดันไม่พอ ต้องรอรับการแจกน้ำจาก อบต. แต่ก็ยังไม่เพียงพอ หลายครอบครัวต้องควักเงินซื้อน้ำใช้มาตั้งแต่ช่วงปีใหม่

หลุมขนมครกแก้ภัยแล้ง ได้ผลเกินคาด

ต.นามะเขือ อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่สูงอยู่นอกเขตชลประทาน ฤดูฝนเกิดปัญหาน้ำท่วมไร่นา ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้ แต่ในที่สุดก็แก้ปัญหาได้สำเร็จ ด้วยการขุดลอกลำห้วยแบบหลุมขนมครก ได้ผลเกิดคาด

“พล.อ.ประวิตร” ตามสถานการณ์ภัยแล้งภาคเหนือ

จ.เชียงใหม่ 25 ม.ค.-“พล.อ.ประวิตร” ลงพื้นที่เชียงใหม่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เร่งขุดลอสันดอนลำน้ำปิง เพิ่มการส่งน้ำให้ฝาย รองรับพื้นที่ 23,000ไร่ กำชับหัวหน้าส่วนราชการรับความเดือดร้อนประชาชน ย้ำน้ำอุปโภคบริโภคห้ามขาด  พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงและคณะ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรับทราบสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ภาคเหนือและติดตามความคืบหน้าการแก้ปัญหาภัยแล้งตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่สำนักงานชลประทานที่1พื้นที่ พร้อมตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน  ที่ประตูระบายน้ำท่าวังตาล และการขุดลอกสันดอนในลำน้ำปิง บริเวณพื้นที่ ต.ป่าแดด อ.เมืองเชียงใหม่ เพื่อสนับสนุนน้ำอุปโภค บริโภค การผลิตน้ำประปา การเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำให้กับฝายต่าง ๆ รองรับพื้นที่กว่า 23,000 ไร่ และยังสามารถช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในเขตเมืองช่วงฤดูน้ำหลาก “พล.อ.ประวิตรกำชับหัวหน้าส่วนราชการลงพื้นที่รับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์ภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง เร่งขับเคลื่อนแก้ปัญหาเร่งด่วนในลักษณะของการมีส่วนร่วม เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดทุกพื้นที่ และให้บริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่ชลประทานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ ต้องไม่ให้ทุกหมู่บ้านประสบปัญหากับการขาดแคลนน้ำอุปโภคและบริโภค ต้องมีแผนสำรองน้ำ สำหรับสนับสนุนน้ำเพื่อการประปาในเขตเมือง และการช่วยเหลือเร่งด่วนในพื้นที่ เมื่อได้รับการร้องขอ และต้องเร่งขับเคลื่อนแผนเตรียมการรองรับการเก็บน้ำระยะยาวที่ยั่งยืน” พล.ท.คงชีพ กล่าว พล.ท.คงชีพ เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตรส่งมอบบ่อบาดาลในพื้นที่วัดสีมาราม ที่หน่วยบัญชาการทหารพัฒนากำลังเร่งขุดเจาะตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล จำนวน 57 บ่อ […]

วิกฤติภัยแล้งแม่น้ำยม

แม่น้ำยมเป็นแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงชาวบ้านหลายจังหวัดทางภาคเหนือ รวมทั้ง จ.พิจิตร ขณะนี้อยู่ในภาวะแห้งขอดตลอดทั้งสาย ชาวบ้านวิตกว่าวิกฤติภัยแล้งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปีอาจส่งผลกระทบรุนแรงยาวนาน

ธนาคารน้ำใต้ดินช่วยภัยแล้ง

ต.ท่าใหญ่ อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ เกือบทั้งตำบลไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพราะมีการบริหารจัดการน้ำลงดิน หรือธนาคารน้ำใต้ดิน จนเห็นผลมาตลอด 3 ปี

อ.โนนสะอาด จ.อุดรธานี แหล่งน้ำดิบผลิตประปาแห้ง

สถานการณ์ภัยแล้ง จ.อุดรธานี วิกฤติหนัก อ่างเก็บน้ำโสกรัง เหลือปริมาณน้ำสำรองแค่ 10,000 ลูกบาศก์เมตร ไม่เพียงพอกับการผลิตน้ำประปาจ่ายในพื้นที่

ปภ.ประกาศภัยแล้ง 20 จังหวัด ทรงตัวจากเมื่อวาน

ปภ.ประกาศภัยแล้ง 20 จังหวัด ทรงตัวจากเมื่อวาน หลังจากตั้งแต่วันที่ 14-16 ม.ค. ได้ประกาศพื้นที่ภัยแล้งเพิ่มเติมรายวัน วันละ 1 จังหวัด

น้ำเขื่อนอุบลรัตน์น้อยสุดรอบ 54 ปี

ปีนี้ปริมาณน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น น้อยที่สุดตั้งแต่สร้างเขื่อนมา 54 ปี ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ทั้งการเลี้ยงปลากระชัง และการปลูกพืช คาดว่าน้ำจะเหลือเพียง 200 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น

อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น แล้งหนัก โรงพยาบาลต้องหาแหล่งน้ำสำรอง

อ.ชุมแพ เป็นหนึ่งในพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่น ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก ถึงขั้นโรงพยาบาลชุมแพต้องหาแหล่งน้ำสำรองเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน ขณะที่ชลประทานต้องปรับแผนขอน้ำต่อเดือนจากเขื่อนจุฬาภรณ์น้อยลง เพื่อให้เหลือน้ำต้นทุนใช้ถึงหน้าฝน

1 2 3 4 5 7
...