เซี่ยงไฮ้เปิดตึกออฟฟิศใช้พลังงานเป็นศูนย์ ติดแผงโซลาร์-สมองกลอัจฉริยะ

เซี่ยงไฮ้, 9 ส.ค. — เมื่อไม่นานนี้ อาคารสาธิตเทคโนโลยีสีเขียวแบบบูรณาการ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี ก่อสร้างเสร็จสิ้นและเปิดใช้งานในนครเซี่ยงไฮ้ โดยเป็นอาคารแบบหลังเดี่ยวที่ใช้พลังงานเป็นศูนย์ขนาดใหญ่ที่สุดในเมือง อาคารสำนักงานทันสมัยแห่งนี้ มีพื้นที่อาคารเกือบ 12,000 ตารางเมตร และติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สำหรับผลิตพลังงาน โดยได้รับการจัดให้เป็นอาคารที่ใช้พลังงานเป็นศูนย์โดยสมาคมอาคารที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีของจีน (China Association of Building Energy Efficiency) หน้าตาพื้นผิวและหลังคาของอาคารดังกล่าวถูกจัดวางอย่างชาญฉลาดด้วยแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยแสงแดดสามารถเข้าสู่ห้องโถงใหญ่จากทั้งสองด้าน จึงช่วยประหยัดไฟฟ้าสำหรับให้แสงสว่าง ขณะการออกแบบบันไดครึ่งชั้นที่เหลื่อมกันกระตุ้นให้พนักงานใช้บันไดมากขึ้น และใช้ลิฟต์น้อยลง นอกจากนั้น ตึกหลังนี้ประกอบด้วยสมองกลอัจฉริยะ ซึ่งทำให้สามารถใช้งานและบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องกลไฟฟ้าของทั้งอาคารผ่านแพลตฟอร์มเดียว มีการคาดการณ์ว่าแผงโซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้า 480,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงในปีแรก ซึ่งไม่เพียงบรรลุการพึ่งพาไฟฟ้าที่ผลิตเอง แต่ยังช่วยให้ไฟฟ้าส่วนเกินส่วนหนึ่งถูกป้อนเข้าสู่โครงข่ายไฟฟ้าภายในเมืองเพื่อจ่ายไฟฟ้าแก่ท้องถิ่นด้วย -สำนักข่าวซินหัว อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/376735_20230809ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนเร่งปฏิบัติการ “กู้ภัย-บรรเทาทุกข์” ในพื้นที่ประสบอุทกภัย

ปักกิ่ง, 9 ส.ค. — เจ้าหน้าที่หลายพันคนเร่งปฏิบัติการกู้ภัยและบรรเทาทุกข์ในพื้นที่ประสบอุทกภัยทางตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของจีน หลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากพายุฝนที่มีต้นตอจากไต้ฝุ่นในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา คนงานสถานีไฟฟ้าในมณฑลเฮยหลงเจียงทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทำงานตลอดเวลาเพื่อฟื้นฟูแหล่งจ่ายไฟฟ้าแก่ประชาชนท้องถิ่น และนักดับเพลิงในเมืองจัวโจว มณฑลเหอเป่ยทางตอนเหนือ กว่า 800 คน เร่งระบายน้ำท่วมขัง ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจในเทศบาลนครเทียนจินทางตอนเหนือมากกว่า 5,200 นาย ได้ลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ทุกวัน โดยมีการใช้เฮลิคอปเตอร์ตำรวจเฝ้าติดตามเส้นทางน้ำสายสำคัญ ทั้งนี้ จีนได้จัดสรรงบประมาณบรรเทาภัยพิบัติรวม 732 ล้านหยวน (ราว 3.57 พันล้านบาท) เมื่อวันอังคาร (8 ส.ค.) เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูการผลิตทางการเกษตรด้วย – สำนักข่าวซินหัว อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/376720_20230809ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ไทยร่วมมือจีนเดินเครื่อง “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” ตัวแรก

นครนายก, 26 ก.ค. — เตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมค (Tokamak) หรือ “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” รุ่นทดลองตัวแรกของไทย เปิดทำงานอย่างเป็นทางการภายใต้ความร่วมมือกับจีน เมื่อวันอังคาร (25 ก.ค.) ที่ผ่านมา เตาปฏิกรณ์ฯ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันฟิสิกส์พลาสมา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (ASIPP) และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติของไทย ถูกขนส่งถึงไทยเมื่อเดือนมกราคม และเริ่มต้นทดลองเดินเครื่องเมื่อเดือนพฤษภาคม ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีฯ เน้นย้ำว่าการดำเนินงานดังกล่าวจะขับเคลื่อนความก้าวหน้าด้านการประยุกต์ใช้นิวเคลียร์ฟิวชันของไทย มีผลต่อการวิจัยทางวิชาการ เทคโนโลยีวิศวกรรม และการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถ ด้าน ซ่งอวิ๋นเทา ผู้อำนวยการสถาบันฟิสิกส์พลาสมาฯ เผยกับสำนักข่าวซินหัวว่าการวิจัยด้านการประยุกต์ใช้นิวเคลียร์ฟิวชันของจีนยึดมั่นแนวทางเปิดกว้างและเป็นมิตร – สำนักข่าวซินหัว อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/373597_20230726ขอบคุณภาพจาก Xinhua

“วัดพุทธที่โดดเดี่ยวที่สุดในโลก” ตั้งตระหง่านกลางผืนน้ำและแผ่นฟ้า

ลาซา, 25 ก.ค. — พาชมความงดงามของวัดรื่อทัว (Rituo Temple)ในเขตปกครองตนเองทิเบต ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “วัดที่โดดเดี่ยวที่สุดในโลก” มีอายุเก่าแก่ 600 ปี ปัจจุบันมีพระจำพรรษาอยู่เพียงลำพังรูปเดียว วัดรื่อทัว (Rituo Temple)ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย บริเวณสันดอนชายฝั่งทิศเหนือของทะเลสาบหยางจัวยงชั่ว (Lake Yamzbog Yumco) ที่ผิวน้ำมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลกว่า 4,400 เมตร ในอำเภอล่างข่าจึ (Nagarze County) เมืองซานหนาน เขตปกครองตนเองทิเบต (ซีจ้าง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วัดรื่อทัวที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “วัดที่โดดเดี่ยวที่สุดในโลก” แห่งนี้ มีความเก่าแก่ 600 ปี อยู่ห่างจากนครลาซาไปทางทิศใต้ราว 150 กิโลเมตร ปัจจุบันมีพระจำพรรษาอยู่เพียงลำพังรูปเดียว ทั้งยังเป็นสิ่งก่อสร้างเพียงหนึ่งเดียวที่ตั้งอยู่บนสันดอนแห่งนี้ – สำนักข่าวซินหัว อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/life-cul/372986_20230723ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนพบฟอสซิล “ปลาโบราณ” พันธุ์ใหม่ เก่าแก่กว่า 430 ล้านปี

ฉางซา, 13 ก.ค. (ซินหัว) — ผลการศึกษาจากวารสารฮิสตอริคัล ไบโอโลจี (Historical Biology) เปิดเผยว่าคณะนักวิจัยของจีนค้นพบฟอสซิลปลากาเลียสปิด (galeaspid) สายพันธุ์ใหม่ในหมวดหินซิ่วซาน ณ มณฑลหูหนานทางตอนกลางของจีน ซึ่งมีอายุเก่าแก่ราว 438 ล้านปี โดยปลาสายพันธุ์นี้เคยมีชีวิตอยู่ในยุคไซลูเรียน (Silurian) เมื่อ 410-440 ล้านปีก่อน หมวดหินซิ่วซานยุคไซลูเรียนเป็นหมวดหินทางบรรพชีวินวิทยาที่กระจายตัวเป็นวงกว้างทางตอนใต้ของจีน โดยบรรดาผู้เชี่ยวชาญมองว่าหมวดหินแห่งนี้เป็นแหล่งสืบพันธุ์ที่สำคัญของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ไม่ใช่แหล่งอาศัยที่เหมาะสมสำหรับปลากาเลียสปิด รายงานระบุว่าปลากาเลียสปิด สายพันธุ์ “ต้ายงกัสปิส โคลูบรา” (Dayongaspis colubra) ถือเป็นฟอสซิลปลาชนิดดังกล่าวกลุ่มแรกในหมวดหินซิ่วซาน ซึ่งท้าทายมุมมองดั้งเดิมที่ว่าปลาโบราณนี้ไม่สามารถอยู่รอดได้ในหมวดหินซิ่วซาน อนึ่ง การค้นพบนี้ยังบ่งชี้ว่าฟอสซิลปลากาเลียสปิดกระจายตัวตั้งแต่ตอนบนของหมวดหินหรงซีจนถึงตอนล่างของหมวดหินซิ่วซาน ซึ่งบ่งชี้ช่วงลำดับชั้นหินกว้างกว่าที่เคยสันนิษฐานก่อนหน้านี้ – สำนักข่าวซินหัว อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/370852_20230713ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ทัพนักธุรกิจไทยโกยยอดขาย “ตลาดนัดกลางคืน” ในไหหลำ

ไห่โข่ว, 12 ก.ค. (ซินหัว) — นักธุรกิจไทยเข้าจับจองพื้นที่ค้าขายในตลาดนัดกลางคืน นครไห่โซ่วของจีน กว่า 160 แผง นำอาหารไทยไปเปิดตลาด ทำรายได้ถึงวันละ 10,000 บาทต่อวันต่อแผง เปิดช่องทางสู่การขยายธุรกิจด้านอื่นในอนาคต ยามย่ำสู่ค่ำคืนหลังอาทิตย์ลาลับขอบฟ้า ตลาดนัดวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ “ไป๋ซา เหมิน” ในนครไห่โข่ว เมืองเอกของมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน กลับมีบรรยากาศคึกคักด้วยทัพนักท่องเที่ยวเดินจับจ่ายซื้อของกันอย่างเพลิดเพลิน ตลาดนัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ราว 60,000 ตารางเมตร เพิ่งเปิดต้อนรับผู้คนเมื่อราวหนึ่งเดือนก่อนด้วยแผงขายของกินและงานฝีมือทางวัฒนธรรมมากกว่า 600 แผง ซึ่งจากแผงขายของกินทั้งหมด 300 แผง เป็นของพ่อค้าแม่ขายชาวไทยมากกว่า 160 แผง กลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมแห่งใหม่ของไห่โข่ว โดยมีนักท่องเที่ยวตบเท้าเข้าเดินซื้อของสูงถึงราว 800,000 คน ในช่วง 20 วันแรกของการเปิดตลาด อริณธารัตน์ เทพวรรณ เจ้าของแผงขายอาหารไทยอย่างผัดไท ต้มยำกุ้ง และหมูกรอบ จำนวน 4 แผง เผยว่ายอดขายเฉลี่ยอยู่ที่ราว 1,000-2,000 หยวน (ราว […]

เหอเป่ยพบ “พระราชกฤษฎีกา ผ้าไหม 5 สี” ยุคราชวงศ์ชิง

สือเจียจวง, 28 มิ.ย. (ซินหัว) — มณฑลเหอเป่ยทางตอนเหนือของจีน เปิดเผยการค้นพบพระราชกฤษฎีกาผ้าไหมห้าสี อายุ 142 ปี ซึ่งสามารถสืบย้อนความเก่าแก่กลับถึงยุคราชวงศ์ชิง (ปี 1644-1911) ระหว่างการสำรวจทางโบราณคดีในอำเภอจีเจ๋อ โดยพระราชกฤษฎีกานี้มีขนาดกว้าง 0.3 เมตร และยาว 2.22 เมตร สภาพสมบูรณ์ดี ถูกเขียนด้วยภาษาจีนและภาษาแมนจู จ้าวเหยียนผิง ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น ระบุว่าพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ถูกออกให้แก่สมาชิกครอบครัวของข้าราชการในรัชสมัยจักรพรรดิกวงซวี่ มีคุณค่าต่อการศึกษาระบบราชการ วัฒนธรรมสังคม และระบบมารยาทของราชวงศ์ชิง รวมถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมวงศ์ตระกูลของอำเภอจีเจ๋อ อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/367761_20230628ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนเตรียมใช้คลื่นความถี่ 6GHzกับระบบ 5G-6G เริ่มเดือนก.ค.

ปักกิ่ง, 28 มิ.ย. (ซินหัว) — ข้อบังคับฉบับปรับปรุงที่เผยแพร่เมื่อวันอังคาร (27 มิ.ย.) ระบุว่ากระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีนจะทำให้คลื่นความถี่ 6 กิกะเฮิร์ตซ์ พร้อมใช้งานกับระบบ 5G และ 6G ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. นี้ ข้อบังคับฉบับใหม่ระบุว่าจีนเป็นประเทศแรกในโลกที่ให้บริการคลื่นความถี่ย่าน 6 กิกะเฮิร์ตซ์ (6,425-7,125 เมกะเฮิร์ตซ์) หรือส่วนหนึ่งจากย่านความถี่ดังกล่าว เพื่อให้บริการด้านโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (IMT) ซึ่งจะเอื้อต่อการส่งเสริมการแบ่งคลื่นความถี่ระดับโลกและระดับภูมิภาคที่สอดคล้องกัน และเพื่อจัดเตรียมทรัพยากรย่านความถี่กลาง (Mid Band) ที่เพียงพอต่อการพัฒนา 5G และ 6G กระทรวงฯ ระบุว่าคลื่นความถี่ย่าน 6 กิกะเฮิร์ตซ์ เป็นทรัพยากรคุณภาพสูงชนิดเดียวที่มีปริมาณการรับส่งข้อมูล (bandwidth) ขนาดใหญ่ในย่านความถี่กลาง ทั้งมีความครอบคลุมและความได้เปรียบด้านความจุ พร้อมเสริมว่าคลื่นความถี่ดังกล่าวเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานกับระบบ 5G หรือระบบ 6G ในอนาคต การเคลื่อนไหวข้างต้นนี้จะช่วยรักษาเสถียรภาพความคาดหวังของอุตสาหกรรม 5G และ 6G ส่งมอบความถี่ในย่านความถี่กลางสำหรับระบบ 5G และ […]

จีนพบบ๊ะจ่างโบราณ อายุกว่า 2,000 ปี

เจิ้งโจว, 22 มิ.ย. (ซินหัว) — สถาบันมรดกวัฒนธรรมและโบราณคดีมณฑลเหอหนาน เปิดเผยการค้นพบอาหารจีนดั้งเดิมอย่างจ้งจื่อหรือ “บ๊ะจ่าง” เป็นพวง ซึ่งมีอายุมากกว่า 2,000 ปี ณ สุสานโบราณที่ขุดพบในเมืองซิ่นหยาง รายงานระบุว่าคณะนักโบราณคดีขุดพบหลุมศพของขุนนางรัฐฉู่โบราณในช่วงกลางยุครณรัฐหรือยุคจ้านกั๋ว (475-221 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และพบ “อาหารห่อใบไม้” ลักษณะคล้ายบ๊ะจ่างยัดไส้ธัญพืชในหลุมดังกล่าว จำนวน 40 ห่อ โดยบางส่วนมีสภาพเสียหายมาก “อาหารห่อใบไม้” ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 10-15 เซนติเมตร ถูกห่อด้วยใบไม้กว้างและมัดด้วยเชือกหรือก้านไม้ โดยผลตรวจสอบผ่านกล้องจุลทรรศน์พบอาหารเหล่านี้ 39 จาก 40 ห่อ ถูกยัดด้วยข้าวดิบที่ยังมีเปลือกอยู่ ส่วนอีกห่อถูกยัดด้วยข้าวฟ่าง คณะนักโบราณคดีระบุว่าใบไม้ที่ใช้ห่อเป็นใบจากพืชสกุลโอ๊ก (Quercus) ซึ่งสอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติปัจจุบันในพื้นที่ทางตะวันตกและตอนใต้ของเหอหนานที่ห่อบ๊ะจ่างด้วยด้วยใบพืชสกุลดังกล่าว หลานว่านลี่ นักโบราณคดีจากสถาบันฯ กล่าวว่าอาหารห่อใบไม้สอดไส้ธัญพืชเหล่านี้ถือเป็นบ๊ะจ่างเก่าแก่สุดที่นักโบราณคดีเคยค้นพบ เมื่อพิจารณาจากการค้นพบทางโบราณคดีและธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ อนึ่ง เทศกาลเรือมังกรหรือเทศกาลตวนอู่ เฉลิมฉลองในวันที่ 5 เดือน 5 ตามตามปฏิทินจันทรคติจีน โดยมีจ้งจื่อหรือบ๊ะจ่างเป็นอาหารสำคัญประจำเทศกาล- สำนักข่าวไทย อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/366511_20230622ขอบคุณภาพจาก Xinhua

นวัตกรรม”เปลี่ยนทรายกลายเป็นดิน” คืนชีวิตให้ทะเลทรายใหญ่สุดของจีน

ฉงชิ่ง, 18 มิ.ย. (ซินหัว) — หากไม่ใช่เพราะสายลมได้พัดพาเอาเม็ดทรายนับไม่ถ้วนถาโถมใส่ตัวเขา หวังจื่อเสียงคงแทบลืมไปเลยว่าตนเองกำลังเพาะปลูกอยู่ในทะเลทรายทากลามากัน ที่มีขนาดกว้างใหญ่ที่สุดในแผ่นดินจีน ทั้งยังเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่แห้งแล้งที่สุดของโลก นวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า “เปลี่ยนทรายกลายเป็นดิน” ได้พลิกเปลี่ยนทรายในทะเลทรายให้กลายเป็นที่ดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกได้ด้วยราคาต้นทุนที่จับต้องได้ สภาพแวดล้อมที่โหดร้ายในทะเลทรายทากลามากัน (Taklimakan)ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน ไม่เคยเอื้อต่อการเพาะปลูก แต่ไหนแต่ไรมาชาวบ้านจึงต้องพึ่งพาเสบียงอาหารจากมณฑลอื่น ทว่าหวังจื่อเสียงและเพื่อนร่วมงานจากมหาวิทยาลัยฉงชิ่งเจียวทงในนครฉงชิ่ง ได้แก้โจทย์นี้ด้วยนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า “เปลี่ยนทรายกลายเป็นดิน” (desert soilization) และพวกเขาก็ได้พลิกเปลี่ยนทรายในทะเลทรายให้กลายเป็นที่ดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกได้ด้วยราคาต้นทุนที่จับต้องได้ หวังและคณะทำการจดสิทธิบัตรกระบวนการข้างต้น อันเป็นการผสมแป้งที่ทำจากเซลลูโลสพืชเข้ากับทรายแล้วนำไปใช้กับพื้นผิวทะเลทราย ซึ่งทำให้พื้นผิวทรายมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำ อากาศ และปุ๋ยได้เหมือนกับดิน แป้งพิเศษนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในปี 2013 โดยศาสตราจารย์อี้จื้อเจียนและคณะหลังทำการวิจัยอยู่นานหลายปี โดยศาสตราจารย์อี้เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านกลศาสตร์ของอนุภาค ของมหาวิทยาลัยฉงชิ่งเจียวทง เมื่อปี 2016 ทะเลทรายอูหลานปู้เหอในมองโกเลียใน ได้ทำการฟื้นฟูผืนทรายที่มีขนาดราวสองเท่าของสนามฟุตบอลด้วยวิธีการใหม่นี้ และพลิกผืนทรายสู่ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ได้สำเร็จ ทำให้ข้าว ข้าวโพด มะเขือเทศ แตงโม และดอกทานตะวัน ต่างงอกงามขึ้นเหนือผืนทราย นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าการเพาะปลูกในผืนทรายแปลงทดลองนั้นใช้น้ำน้อยกว่าแต่กลับให้ผลผลิตสูงกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้เทคนิคดังกล่าว ต่อมาจึงมีการนำเทคโนโลยีนี้ไปทดสอบในหลายๆ พื้นที่ ผ่านการทดลองเพาะปลูกขนานใหญ่ โดยค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูผืนทรายด้วยเทคนิคนี้อยู่ระหว่าง 29,850-44,776 หยวน (ราว 1.44 – 2.17 แสนบาท) […]

ตลาดจีนยังต้องการ”ทุเรียนไทย” แม้ทุเรียนที่ปลูกในจีนเตรียมวางตลาดปลายเดือนนี้

ซานย่า, 13 มิ.ย. (ซินหัว) — กระแสข่าวทุเรียนที่ปลูกในมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน เตรียมออกวางตลาดในประเทศช่วงปลายเดือนมิถุนายน ได้ก่อให้เกิดความสนใจในหมู่ผู้บริโภค บรรดาคนวงในมองว่าการผลิตทุเรียนของจีนไม่มีแนวโน้มเปลี่ยนทิศทางที่พึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก และทุเรียนไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดจีน เนื่องจากการผลิตทุเรียนในจีนยังอยู่ระยะแรกเริ่ม ไม่มีพื้นที่เพาะปลูกมากมาย ผู้สื่อข่าวซินหัวลงพื้นที่แปลงปลูกทุเรียนของบริษัท ไห่หนาน โยวฉี อะกรีคัลเจอร์ จำกัด ในเมืองซานย่า ซึ่งถือเป็นฐานปลูกทุเรียนขนาดใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบันพื้นที่ราว 5,000 ไร่ พบว่าทุเรียนที่ฐานปลูกแห่งนี้เริ่มสุกและคาดว่าจะทยอยถูกเก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือนมิถุนายน พร้อมส่งขายในปีนี้เพียง 416 ไร่ หรือคิดเป็นปริมาณ 50 ตัน แม้ไห่หนานจะเป็นแหล่งผลิตทุเรียนแห่งหลักของจีน แต่ยังคงมีพื้นที่ที่เอื้อต่อการปลูกทุเรียนอยู่อย่างจำกัดมาก โดยต่อให้มีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น 10 เท่า ก็ยังถือเป็นแหล่งผลิต “ขนาดเล็ก” อยู่ดี “การปลูกทุเรียนภายในประเทศอาจได้ลดต้นทุนในการขนส่ง แต่ผลผลิตยังเป็นส่วนน้อยมากสำหรับส่วนแบ่งของตลาด” อีกทั้งผู้ประกอบการไม่ได้คิดเร่งเพิ่มการลงทุนและพื้นที่ปลูกอย่างสุ่มสี่สุ่มห้าด้วย ผู้บริโภคชาวจีนนั้นชื่นชอบ “ราชาแห่งผลไม้” อย่างทุเรียนกันมากจนทำให้จีนกลายเป็นตลาดผู้บริโภคทุเรียนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยทุเรียนเกือบทั้งหมดในจีนมาจากการนำเข้า ซึ่งข้อมูลสถิติพบว่าจีนนำเข้าทุเรียนในปี 2022 สูงถึง 8.25 แสนตัน และส่วนใหญ่มาจากไทย เฉินเหล่ย เลขานุการสมาคมการตลาดผลไม้แห่งประเทศจีน กล่าวว่าการผลิตทุเรียนในประเทศยังอยู่ในขั้นทดลองปลูกขนาดเล็ก ยังไม่มีการปลูกเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ […]

เทคโนโลยีช่วยนักโบราณคดีจีนประกอบร่างเทวรูปจากหลุมบูชายัญ 3,000 ปี

ปักกิ่ง, 11 มิ.ย. (ซินหัว) — เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้ช่วยนักโบราณคดีจีนประกอบร่างเครื่องสัมฤทธิ์โบราณเก่าแก่ที่พบในหลุมบูชายัญ 8 แห่ง ณ ซากโบราณซานซิงตุย ให้กลับคืนสู่หน้าตาที่เคยเป็นเมื่อราว 3,000 ปีก่อน สถาบันวิจัยทางโบราณคดีและโบราณวัตถุมณฑลเสฉวนเปิดเผยเมื่อวันเสาร์ (10 มิ.ย.) ว่าหน้าตาฉบับสมบูรณ์ของเครื่องสัมฤทธิ์โบราณขนาดใหญ่ 2 ชิ้นได้สร้างความตื่นตะลึงให้เหล่านักโบราณคดีไม่น้อย ถังเฟย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางโบราณคดีฯ ให้ความเห็นไว้ว่า หน้าตาดั้งเดิมของเครื่องสัมฤทธิ์เหล่านี้แปลกประหลาดและน่าตกตะลึกมากกว่าที่เขาคาดไว้ “มันเปี่ยมด้วยจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์” เครื่องสัมฤทธิ์ทั้งสองชิ้นประกอบด้วยรูปปั้นสัมฤทธิ์ชายคุกเข่านั่งอยู่บนหลังสัตว์และเทิน “จุน” หรือภาชนะทรงคล้ายคนโทไว้บนศีรษะ ส่วนอีกชิ้นคือรูปปั้นเทวรูปเศียรคนเท้านกเทินจุนในท่ายกลำตัวขึ้นไปด้านหลังและเกาะอยู่บน “เหลย” หรือภาชนะบรรจุสุราสมัยโบราณ ซึ่งทั้งสองชิ้นล้วนประกอบขึ้นจากเศษซากที่กระจัดกระจายอยู่ในหลุมบูชายัญหลายหลุม เนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัยของโครงสร้างวัตถุ เจ้าหน้าที่จึงยังไม่สามารถประกอบชิ้นส่วนโบราณวัตถุเหล่านี้เข้าด้วยกันได้จริง ดังนั้นจึงใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การสแกน 3 มิติและแบบจำลอง 3 มิติ ในการคืนชีพหน้าตาที่ค่อนข้างสมบูรณ์ของสมบัติชาติเหล่านี้จนสำเร็จ รูปปั้นสัมฤทธิ์ชายคุกเข่านั่งบนหลังสัตว์และเทินจุนนั้น สูง 1.589 เมตร แบ่งเป็นส่วนบน กลาง และล่าง ซึ่งเชื่อว่าสัตว์ที่เขาขี่อยู่นั้นเป็น “สัตว์ศักดิ์สิทธิ์” ข้อมูลระบุว่า ส่วนปากของจุนสัมฤทธิ์ถูกพบจากหลุมบูชายัญหมายเลข 2 รูปปั้นคนนั่งคุกเข่าเทินจุนพบจากหลุมบูชายัญหมายเลข 3 […]

1 6 7 8 9 10 31
...