จีนเดินหน้าขึ้นเงินบำนาญประจำปี 2023 ให้คนวัยเกษียณ

ปักกิ่ง, 22 พ.ค. (ซินหัว) — วันจันทร์ (22 พ.ค.) จีนประกาศเตรียมปรับเพิ่มเงินบำนาญพื้นฐานสำหรับผู้เกษียณอายุในปี 2023 ซึ่งเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 19 แล้ว หนังสือเวียนที่ร่วมออกโดยกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และประกันสังคม และกระทรวงการคลังของจีน ระบุว่าการจ่ายเงินบำนาญพื้นฐานรายเดือนโดยเฉลี่ยแก่ผู้รับเงินในกิจการ หน่วยงานรัฐบาล และสถาบันสาธารณะจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากระดับของปี 2022 จีนขึ้นเงินบำนาญพื้นฐานสำหรับผู้เกษียณอายุร้อยละ 4 ในปี 2022 จากระดับของปีก่อนหน้า โดยจีนให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากประเทศกำลังเผชิญกับประชากรสูงวัย รายงานระบุว่าจำนวนชาวจีนอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงเกิน 280 ล้านคน เมื่อนับถึงสิ้นปี 2022 คิดเป็นร้อยละ 19.8 ของประชากรทั้งหมดในประเทศ เมื่อไม่นานนี้ จีนได้ออกแนวปฏิบัติอันเกื้อหนุนการสร้าง “ระบบดูแลผู้สูงอายุขั้นพื้นฐาน” ท่ามกลางความพยายามในการดำเนินยุทธศาสตร์ระดับชาติเชิงรุกเกี่ยวกับประชากรสูงวัยและรับประกันการเข้าถึงบริการสาธารณะที่เท่าเทียม-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230522/917da77287384db98ced7ca9b20d624d/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/359299_20230522ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ไทยออกแคมเปญเน้นความปลอดภัย ดึงดูดนักท่องเที่ยวจีน

กรุงเทพฯ, 23 พ.ค. (ซินหัว) —เมื่อวันจันทร์ (22 พ.ค.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดตัวโครงการรณรงค์เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นตลาดในหมู่นักท่องเที่ยวชาวจีน ในหัวข้อ “ประเทศไทยที่คุณวางใจ” (Trusted Thailand) โดยมีเป้าหมายเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยวจีน และส่งเสริมประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ดีในไทย ผู้นำทางความคิดชาวจีนราว 60 คน ได้รับเชิญให้มาสำรวจสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของไทยระหว่างวันที่ 18-28 พ.ค. และสัมผัสการท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวเชิงอาหาร การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการท่องเที่ยวชายหาด ตามแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว-ไทย ธเนศวร์ เพชรสุวรรณ รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวกับสำนักข่าวซินหัวว่าททท. กำลังร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติของไทย เพื่อรับประกันความปลอดภัยสูงสุดและส่งมอบบริการและการดูแลที่ยอดเยี่ยมแก่นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาไทย พลตำรวจโท สุคุณ พรหมายน ผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยวของไทย ให้ความมั่นใจกับกลุ่มนักเดินทางว่าสำนักงานฯ มุ่งรับรองความปลอดภัยและสวัสดิภาพของนักเดินทางตลอดการมาเยือนไทย ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สุคุณเผยว่านักท่องเที่ยวได้รับคำแนะนำให้ใช้สายด่วนตำรวจท่องเที่ยว 1155 หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ทัวริสต์ โพลิซ ไอ เลิร์ต ยู” (Tourist Police I Lert U) บนมือถือ […]

จีนเริ่มสำรวจ “ซากเรือโบราณ” ยุคราชวงศ์หมิงในทะเลจีนใต้

ไห่โข่ว, 21 พ.ค. (ซินหัว) — วันอาทิตย์ (21 พ.ค.) การแถลงข่าวที่จัดขึ้นในเมืองซานย่า มณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน ระบุว่าจีนเริ่มดำเนินการสำรวจทางโบราณคดีสำหรับซากเรือโบราณ 2 ลำ ที่พบในทะเลจีนใต้แล้วเมื่อวันเสาร์ (21 พ.ค.) นับเป็นการเปิดบทใหม่ของวงการโบราณคดีใต้ทะเลลึกในจีน สำนักบริหารมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน (NCHA) เผยว่าคณะนักวิจัยประสบความสำเร็จในการสร้างฐานการทำแผนที่ใต้น้ำแบบถาวรบริเวณมุมตะวันตกเฉียงใต้ของจุดที่เรืออับปาง ในระหว่างการสำรวจเชิงโบราณดคีกับซากเรือโบราณหมายเลข 1 ครั้งแรก โดยจุดที่เรืออับปางตั้งอยู่ใกล้กับทางลาดภาคพื้นทวีปทางตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลจีนใต้ โดยมีการดำเนินการค้นหาและสอบสวนเบื้องต้น รวมถึงการบันทึกภาพระหว่างการสำรวจ จีนค้นพบซากเรือโบราณ 2 ลำนี้ ที่ความลึกใต้น้ำราว 1,500 เมตร เมื่อเดือนตุลาคม 2022 โดยโบราณวัตถุส่วนใหญ่ที่พบในซากเรือโบราณหมายเลข 1 ประกอบด้วยเครื่องเคลือบโบราณมากกว่า 100,000 ชิ้น ซึ่งมีอายุย้อนไปถึงสมัยจักรพรรดิเจิ้งเต๋อแห่งราชวงศ์หมิง (ปี 1506-1521) โบราณวัตถุส่วนใหญ่ที่พบในซากเรือโบราณหมายเลข 2 ประกอบด้วยท่อนไม้จำนวนมาก ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่าเรือลำนี้บรรทุกสินค้าเต็มลำและเดินทางจากต่างแดนมายังจีนในสมัยโบราณ โดยเรือมีอายุย้อนไปถึงสมัยจักรพรรดิหงจื้อแห่งราชวงศ์หมิง (ปี 1488-1505) อนึ่ง สถาบันวิจัยต่างๆ และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งได้รับการอนุมัติจากสำนักฯ […]

“อาหารไทย” หยั่งรากความนิยมในจีน จากเมนูลองชิมสู่ของติดบ้าน

ปักกิ่ง, 20 พ.ค. (ซินหัว) — จำนวนร้านอาหารไทยในปักกิ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า และยังพบว่าชาวจีนสนใจอาหารไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากเพียงแค่อยาก “ลองชิม” แวะเช็กอินร้านอาหารไทย ไปสู่การซื้อวัตถุดิบกลับไปต้มผัดแกงทอดที่บ้าน “ฉันนึกไม่ถึงว่า ‘ต้มยำกุ้ง’ จะกลายเป็นเมนูห้ามพลาดและสั่งกันทุกโต๊ะขนาดนี้” สุขุมาล ตู้ หรือตู้เสวี่ยลี่ เจ้าของร้านอาหารไทยในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีนกล่าว สาวไทยที่มาแต่งงานอยู่ปักกิ่งเล็งเห็นโอกาสทำธุรกิจอาหารไทยในปี 2021 นำไปสู่การเปิดร้านอาหารไทยในเขตทงโจว โดยมีคุณแม่ที่เปิดร้านอาหารในไทยมานานกว่า 20 ปี และน้องสาวที่เพิ่งเรียนจบเป็นผู้ช่วย “ร้านของเราถือเป็นร้านอาหารไทยเจ้าแรกของเขตทงโจว” ตู้กล่าวอย่างภูมิใจ โดยร้านอาหารที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของคนในครอบครัวนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “ครัวคุณแม่” และ “ร้านสองพี่น้องชาวไทย” “เรานำเข้าวัตถุดิบอย่างใบมะกรูดและตะไคร้จากไทย เพื่อพยายามคงรสชาติดั้งเดิมไว้ให้ได้มากที่สุด” ตู้กล่าว โดยเธอจัดการควบคุมทุกอย่างตั้งแต่เลือกทำเลจนถึงสร้างตกแต่งร้าน ความมุ่งมั่นตั้งใจของตู้นำสู่กระแสตอบรับที่จากลูกค้าชาวจีน แม้ที่ตั้งร้านจะไกลจากใจกลางเมือง แต่มีลูกค้าแวะเวียนมาอย่างต่อเนื่อง โดยบางวันที่ขายดีมีลูกค้าเข้ามารับประทานสูงกว่า 50 โต๊ะ “เคยมีลูกค้าขับรถไกลกว่า 60 กิโลเมตร เพราะอยากรับประทานต้มยำกุ้ง แถมยังซื้อน้ำซุปต้มยำติดมือกลับบ้านไปฝากภรรยาที่บ้านอีก 5 กิโลกรัมด้วย” ตู้เล่าด้วยความประทับใจ ร้านอาหารไทยชื่อ “นกเอี้ยงและควาย” ของตู้ได้รับตรา […]

ซานตงพบแหล่งทองคำ 580 ตัน คาดมูลค่ากว่า 2 แสนล้านหยวน

เยียนไถ, 21 พ.ค. (ซินหัว) — งานสำรวจแหล่งทองคำในมณฑลซานตงทางตะวันออกของจีนมีความคืบหน้าใหม่เมื่อไม่นานนี้ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรแร่จากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติมณฑลซานตง ยืนยันในเบื้องต้นแล้วว่ามีการพบทองคำสำรองเพิ่มเกือบ 200 ตัน ในเหมืองทองซีหลิ่ง เมืองไหลโจว เมืองระดับอำเภอของนครเยียนไถ มณฑลซานตง ทำให้ปริมาณทองคำสะสมของเหมืองทองซีหลิ่งแตะที่ 580 ตัน ข้อมูลระบุว่าเหมืองทองแห่งนี้มีขนาดใหญ่และมีแร่ทองคำปริมาณมาก ตัวเหมืองส่วนหลักมีความยาวสูงสุด 1,996 เมตร ความลึกสูงสุด 2,057 เมตร และความหนาสูงสุดของสายแร่อยู่ที่ 62.35 เมตร ขณะมูลค่าความสมบูรณ์ของแร่เฉลี่ยอยู่ที่ 4.26 กรัม/ตัน เรียกได้ว่าทั้งมีปริมาณมากและมีความสมบูรณ์สูง หากขุดทอง 10,000 ตันต่อวัน สามารถขุดได้ต่อเนื่องนานกว่า 30 ปี และคาดว่าจะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 2 แสนล้านหยวน (ราว 9.79 แสนล้านบาท) มณฑลซานตงได้เปิดตัวการสำรวจแร่รอบใหม่ตั้งแต่ปี 2022 โดยมุ่งเน้นไปที่ทองคำ เหล็ก ถ่านหิน ทองแดง แรร์เอิร์ธ กราไฟต์ ฟลูออไรต์ และแร่ธาตุอื่นๆ เพื่อยกระดับการสำรวจแร่และความสามารถในการสำรองทรัพยากรแร่ และเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา […]

วิจัยพบโลกอนาคตเผชิญ “แห้งแล้งฉับพลัน” บ่อยขึ้น

หนานจิง, 7 พ.ค. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนเปิดเผยว่าโลกกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การเผชิญภาวะแห้งแล้งฉับพลันบ่อยขึ้น และการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ผลการศึกษาจากวารสารไซเอนส์ (Science) ระบุว่าภาวะแห้งแล้งฉับพลันหรือการเริ่มแห้งแล้งอย่างรวดเร็วจะเกิดขึ้นอย่างเป็นปกติยิ่งขึ้นบนพื้นที่บกส่วนใหญ่ในอนาคตที่อากาศอบอุ่นขึ้น การเกิดภาวะแห้งแล้งโดยทั่วไปใช้เวลาหลายเดือนหรือนานกว่านั้น แต่ด้วยภาวะอุณหภูมิสูงผิดปกติควบคู่กับภาวะขาดแคลนน้ำฝนขั้นรุนแรง ส่งผลให้ความชื้นในดินลดลงอย่างรวดเร็ว นำไปสู่ภาวะแห้งแล้งอย่างรุนแรงภายในไม่กี่สัปดาห์ ภาวะแห้งแล้งฉับพลันลดการกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศบนบกอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ อาทิ คลื่นความร้อน ไฟป่า และไฟฟ้าดับ กลายเป็นภัยคุกคามทั้งระบบนิเวศและการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศหนานจิงได้ดำเนินการวิจัยโดยอ้างอิงข้อมูลเกี่ยวกับภาวะแห้งแล้งระหว่างปี 1951-2014 และพบการเกิดภาวะแห้งแล้งรวดเร็วเพิ่มขึ้นทั่วโลก บ่งชี้การเปลี่ยนผ่านทั่วโลกสู่การเกิดภาวะแห้งแล้งฉับพลันบ่อยขึ้น หยวนซิง ผู้นำทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฯ กล่าวว่าผลการศึกษานี้แสดงการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและละอองลอย โดยการวิจัยเพิ่มเติมคาดว่าการเปลี่ยนผ่านจะขยายตัวไปยังพื้นที่บกส่วนใหญ่ของโลกในอนาคตที่อากาศอบอุ่นขึ้น – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230506/3af5db74471b4870a5eeda69df00083f/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/356316_20230507ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนเตรียมสร้าง “เส้นทางท่องเที่ยว” ระดับชาติ หัวข้อมรดกวัฒนธรรม

ปักกิ่ง, 7 พ.ค. (ซินหัว) — จีนเตรียมก่อสร้างเส้นทางท่องเที่ยวระดับชาติภายใต้หัวข้อมรดกวัฒนธรรม ระยะทดลอง จำนวน 3-5 เส้นทาง ระหว่างการดำเนินแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 (2021-2025) หนังสือเวียนที่ร่วมออกโดยสำนักบริหารมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน ระบุว่าเส้นทางท่องเที่ยวเหล่านี้จะประกอบด้วยหัวข้อทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมถึงผสมผสานองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรมชาติ ภายใต้แรงหนุนจากวัตถุทางวัฒนธรรมที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ นอกจากนั้นเส้นทางท่องเที่ยวเหล่านี้จะเชื่อมต่อกับการก่อสร้างอุทยานวัฒนธรรมระดับชาติและยุทธศาสตร์ระดับชาติที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมุ่งเน้นการกระตุ้นพลังและความดึงดูดใจของวัฒนธรรมจีนในระดับโลก จีนจะพยายามตรวจสอบและวิเคราะห์สถานะการคุ้มครองและการจัดการมรดกวัฒนธรรม จัดทำรายการทรัพยากรวัตถุทางวัฒนธรรมที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้สำหรับการใช้งานแบบเปิด และเพิ่มการบูรณาการมรดกวัฒนธรรมที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เข้ากับเส้นทางท่องเที่ยวเหล่านี้ – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230506/31e52d7dfdd64d358297602a39d6fc49/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/356319_20230507ขอบคุณภาพจาก Xinhua

นักกีฬาเอ็กซ์ตรีมจีน บินทะลุ “ถ้ำเทียนเหมิน” สำเร็จ

ฉางซา, 1 พ.ค. (ซินหัว) — จางซู่เผิง นักกีฬาเอ็กซ์ตรีม “วิงสูท ฟลายอิง” (wingsuit flying) ประสบความสำเร็จในการบินทะลุผ่านถ้ำเทียนเหมิน ซึ่งเเป็นถ้ำบนภูเขาธรรมชาติที่มีความสูงมากที่สุดในโลก เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (30 เม.ย.) จางในชุดวิงสูทโดยสารเฮลิคอปเตอร์ขึ้นสู่ระดับความสูงเกือบ 2,200 เมตร บริเวณข้างหลังถ้ำเทียนเหมิน ในนครจางเจียเจี้ย มณฑลหูหนานทางตอนกลางของจีน ก่อนจะกระโดดออกจากเฮลิคอปเตอร์ และบินทะลุผ่านถ้ำเทียนเหมินด้วยความเร็วสูงถึง 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ฝูงชนต่างพากันส่งเสียงเชียร์และปรบมือเสียงดังก้องหลังจากจางเอาชนะความท้าทายสำเร็จ โดยจางยังคงบินร่อนกลางอากาศหลังจากทะลุผ่านถ้ำเทียนเหมิน และลดระดับลงสู่พื้นดินที่จุดลงจอดตามกำหนด อนึ่ง ถ้ำเทียนเหมินถือเป็นถ้ำบนภูเขาธรรมชาติที่มีความสูงมากที่สุดในโลก เนื่องจากตั้งอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเลกว่า 1,300 เมตร ส่วนตัวถ้ำมีขนาดกว้าง 57 เมตร สูง 131.5 เมตร และลึก 60 เมตร จาง วัย 38 ปี เผยว่าเขามีความสุขมากที่ได้ทำความฝันให้เป็นจริง หลังจากเตรียมตัวเพื่อการนี้มาตลอด 12 ปี ตั้งแต่เริ่มเห็นกีฬาวิงสูท ฟลายอิง เข้ามาในจีน – […]

รู้จักสุดยอดช่างฝีมือผลิต “กระเป๋าม้า” ของทิเบต

าซา, 2 พ.ค. (ซินหัว) — สั่วหล่าง ฉุนเผย ช่างทำกระเป๋าม้า วัย 61 ปี ในอำเภอหล่าง เมืองหลินจือ เขตปกครองตนเองทิเบตของจีน สนใจการทำกระเป๋าม้ามาตั้งแต่วัยเด็ก และกลายเป็นผู้สืบทอดงานฝีมือชิ้นนี้ ซึ่งเป็นมรดกทางวัตนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของทิเบตตั้งแต่ปี 2018 สั่วหล่าง ฉุนเผยร่ำเรียนวิชาทำกระเป๋าม้าจากช่างฝีมือท้องถิ่นเมื่ออายุ 21 ปี และได้กลายเป็นผู้สืบทอดงานฝีมือชนิดนี้จนถึงปัจจบัน โดยทักษะการรังสรรค์กระเป๋าม้าที่ทำจากหนังวัว ซึ่งมีคุณสมบัติกันน้ำ เป็นหนึ่งในมรดกทางวัตนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของทิเบตตั้งแต่ปี 2018 กระบวนการทำกระเป๋าม้าอาศัยการทำงานหลายขั้นตอน จึงทำให้ใช้เวลานานและได้ผลผลิตไม่มากนัก ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและการสืบทอดงานฝีมือประเภทดังกล่าว หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นได้มอบเงินสนับสนุนการทำกระเป๋าม้าเมื่อปี 2015 เพื่อส่งเสริมการส่งต่อมรดกวัฒนธรรมนี้จากรุ่นสู่รุ่น ด้านสั่วหล่าง ฉุนเผยได้รับรางวัล “ช่างฝีมือแห่งทิเบต” (Tibetan Craftsman) ในปี 2022 – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230501/6c97a6c46b4646608c23a62bcc8a1b92/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/355253_20230502ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนผลิต ‘ลำไย’ ป้อนตลาด ส่งออกยุโรป-สหรัฐฯ

ตงฟาง, 2 พ.ค. (ซินหัว) — เกษตรกรในเมืองตงฟาง มณฑลไห่หนานของจีน เก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย เพื่อป้อนตลาดภายในประเทศและส่งออกไปยังยุโรปและสหรัฐ เกษตรกรเก็บเกี่ยวและคัดแยกผลผลิตลำไยที่ฐานเพาะปลูกผักและผลไม้เสียงหลิน เมืองตงฟาง มณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน ฐานเพาะปลูกฯ ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่ราว 1,666 ไร่ ได้เข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวลำไยเมื่อไม่นานนี้ โดยผลผลิตจะถูกป้อนตลาดภายในประเทศ รวมถึงถูกส่งออกสู่ยุโรปและสหรัฐฯ ด้วย – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230501/c636341dbf4845b9b9b645c6c4fb6bd9/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/355229_20230502ขอบคุณภาพจาก Xinhua

พิพิธภัณฑ์ “สุสานหลวงโจโฉ” เปิดรับแขกชมวัตถุโบราณนับร้อย

อันหยาง, 27 เม.ย. (ซินหัว) — เมืองอันหยาง มณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน ได้เปิดพิพิธภัณฑ์สุสานหลวงโจโฉต้อนรับสาธารณชนเยี่ยมชมโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าราว 400 ชิ้นหรือชุด ซึ่งขุดพบจาก “เฉาเชาเกาหลิง” หรือสุสานหลวงโจโฉ พิพิธภัณฑ์แห่งใหม่นี้ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านซีเกาเซวีย เขตอวินตูของเมืองอันหยาง มีพื้นที่ประมาณ 18,000 ตารางเมตร สร้างขึ้นบนสุสานหลวงโจโฉ ประกอบด้วยพื้นที่จัดแสดงตัวสุสาน พื้นที่จัดแสดงซากโบราณ และพื้นที่พิพิธภัณฑ์ อนึ่ง พิพิธภัณฑ์สุสานหลวงโจโฉจะเปิดให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชมอย่างเป็นทางการในวันเสาร์ (29 เม.ย.) นี้ – สำนักข่าวซินหัว 点击浏览中文新闻 (คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาจีน) http://www.news.cn/shuhua/20230428/4d955e08df14420db521a030866faf6b/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/354603_20230427ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนขึ้นทะเบียน “หมู่บ้านดั้งเดิม” อยู่ใต้การคุ้มครองของรัฐกว่า 8,100 แห่ง

ปักกิ่ง, 27 เม.ย. (ซินหัว) — กระทรวงการเคหะและการพัฒนาเมือง-ชนบทของจีน เปิดเผยว่าจีนได้ขึ้นทะเบียนหมู่บ้านดั้งเดิมเข้ารายการคุ้มครองของรัฐ จำนวน 8,155 แห่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอนุรักษ์อารยธรรมการเกษตรที่มีอายุนับพันปีของประเทศ ตงหงเหม่ย เจ้าหน้าที่กระทรวงฯ กล่าวว่าจีนได้สร้างเครือข่ายคุ้มครองมรดกทางการเกษตรขนาดใหญ่ที่สุดของโลกภายใต้โครงการริเริ่มนี้ โดยหมู่บ้านดั้งเดิมหรือหมู่บ้านโบราณมักมีประวัติศาสตร์ยาวนานและทรัพยากรทางวัฒนธรรมและธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันจีนได้จัดให้สิ่งปลูกสร้างทางประวัติศาสตร์และที่อยู่อาศัยดั้งเดิมอยู่ภายใต้การคุ้มครอง จำนวน 539,000 แห่ง และขุดพบมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในพื้นที่ระดับมณฑลหรือสูงกว่า จำนวน 4,789 รายการ กระทรวงฯ ระบุแผนการดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อปกป้องหมู่บ้านดั้งเดิมในอนาคต ซึ่งรวมถึงการลงรายละเอียดพื้นที่คุ้มครอง เป้าหมายและแผนการปกป้องพิเศษ และการประสานงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน สถานบริการสาธารณะ และแผนงานของกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230427/cc0dd4feac3b43e68708923f60035f1a/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/354552_20230427ขอบคุณภาพจาก Xinhua

1 5 6 7 8 9 27
...