สสท. ชี้ ร่างกฎกระทรวงฯ กระทบสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

กรุงเทพฯ 12 ก.ค.- สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยเปิดเวทีประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการและการกำกับดูแลทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน โดยส่วนใหญ่เห็นว่า ร่างกฎกระทรวงนี้ไม่ได้คุ้มครองและส่งเสริมขบวนการสหกรณ์เท่าที่ควร ตรงข้ามกลับมีหลายมาตราที่ขัดต่อการดำเนินงานและอาจส่งผลกระทบระยะยาว


สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย (สสท.) จัดเวทีเสวนา เรื่อง “ร่างกฎกระทรวงฯ ฉบับที่ 2 มุมมองของคนสหกรณ์ จะไปต่อหรือพอแค่นี้ ?” และรับฟังความคิดเห็นร่างกฎกระทรวง การบริหารจัดการและการกำกับดูแลทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ…) ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย โดยมี นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ประธานฯ สสท. ดำเนินรายการ และ ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ผศ.ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา รองประธานฯ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย นายไพบูลย์ แก้วเพทาย อดีตประธานฯ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย ผศ.อาภากร มินวงษ์ อดีตประธานฯ ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย และนายสิรวิชญ์ ไพศาสตร์ ที่ปรึกษา สันนิบาตสหกรณ์ฯ

นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ประธานฯ สสท. กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2562 รวม 5 ฉบับ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอและส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวง ต่อมา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาและรวมร่างกฎกระทรวงดังกล่าว 5 ฉบับเป็นฉบับเดียว พร้อมทั้งแก้ไขชื่อร่างกฎกระทรวงเป็น “ร่างกฎกระทรวง การบริหารจัดการและการกำกับดูแลทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ…”  แต่เนื่องด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงมีความเห็นแตกต่างกันและไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกันได้ จึงเห็นสมควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาร่วมกันให้ได้ข้อยุติ และเสนอร่างกฎกระทรวงต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาหลักการอีกครั้ง กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ได้รับฟังความเห็นจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณาปรับปรุงร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ต่อมาต้นเดือนมิถุนายน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอกฎกระทรวงอีกฉบับ อันเกี่ยวข้องกับสหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนี่ยนและสหกรณ์ออมทรัพย์รวม 5 เรื่องซึ่งเป็นสาระที่สำคัญส่งผลกระทบต่อระบบสหกรณ์ รวมถึงกฎกระทรวงฉบับนี้ไม่ได้คุ้มครองและส่งเสริมขบวนการสหกรณ์เท่าที่ควร


ทั้งนี้ผู้ร่วมเสวนาได้เสนอความคิดเห็นถึงผลกระทบของร่างกฎกระทรวงฉบับที่ 2 ที่มีต่อการดำเนินงานของสหกรณ์และสมาชิกดังนี้

1. ร่างกฎกระทรวงฯ ได้กำหนดให้การกู้เงินทุกประเภทที่เกิน 2 ล้านบาท จะต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบเครดิตบูโร ส่งผลให้สมาชิกเข้าสู่ระบบการกู้เงินของสหกรณ์ได้ยากขึ้น เนื่องจากมีระบบการตรวจสอบที่เข้มข้น แต่ระบบสหกรณ์เป็นระบบที่มีความพิเศษแตกต่างจากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น ๆ เช่น สหกรณ์มีการค้ำประกันโดยสมาชิก มีทุนเรือนหุ้น มีเงินฝากและสามารถหัก ณ ที่จ่ายได้ การบังคับเข้าระบบเครดิตบูโร อาจส่งผลกระทบต่อสมาชิกโดยตรง คือ สมาชิกส่วนใหญ่อาจจะกู้ไม่ได้ หรือกู้ได้ยากขึ้น และเป็นการผลักดันให้สมาชิกต้องกู้นายทุนและกู้นอกระบบที่ดอกเบี้ยแพง ส่งผลต่อปากท้องของประชาชนคนรากหญ้า นอกจากนี้ ยังกำหนดให้สหกรณ์ไม่สามารถเอาเรื่องของฌาปนกิจสงเคราะห์มาเป็นหลักประกันได้ หากสมาชิกถึงแก่กรรมจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทำให้เป็นภาระของผู้ค้ำประกันหรือเป็นภาระของสหกรณ์ที่จะต้องค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเต็มจำนวน

2. การรับเงินฝากกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยเงินรับฝาก โดยร่างกฎกระทรวงฯ กำหนดให้สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องอ้างอิงข้อมูลตามดอกเบี้ยนโยบายของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) โดยกำหนดดอกเบี้ยเงินรับฝากได้ไม่เกินร้อยละ 3.50 % ต่อปี (ดอกเบี้ยนโยบาย 0.50 + 3.00%) ทำให้สหกรณ์ขาดความเป็นอิสระต้องยึดโยงกับนโยบายของ กนง. ซึ่งเกิดความไม่เป็นธรรมเพราะแม้แต่สถาบันการเงินหลักหรือแบงก์ชาติยังไม่ต้องกำหนดดอกเบี้ยตามนโยบายของ กนง. เนื่องจากธนาคารมีขนาดไม่เท่ากัน มีโครงสร้างเงินทุนไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกันกับสหกรณ์ อีกทั้งในปัจจุบัน ตลาดโลกมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น ฉะนั้น การกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบนี้จะสวนกระแสตลาดและไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ส่งผลกระทบให้สหกรณ์ ไม่สามารถรับฝากเงินได้ และเหมือนเป็นการพยายามทำให้เงินฝากในระบบเงินฝากของสหกรณ์ไหลไปสู่สถาบันการเงินอื่น เช่น ธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์ หรือกองทุน


3. การจัดชั้นลูกหนี้เงินกู้และการให้สินเชื่อหรือสินทรัพย์สะท้อนถึงความสามารถในการชำระหนี้อย่างแท้จริงและการกันเงินสำรอง อีกทั้งสามารถจำกัดปริมาณการทำธุรกรรมกับลูกหนี้และเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่ง เพื่อเป็นการป้องกันการกระจุกตัวของความเสี่ยงไม่ให้สูงจนเกินไปและสอดคล้องกับการบริหาร เรื่องดังกล่าวเป็นการจัดชั้นคุณภาพและการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งของเดิมสามารถนำเงินเรือนหุ้นมาหักได้ แต่ร่างกฎกระทรวงใหม่ไม่สามารถเอาทุนเรือนหุ้นไปหักหนี้ก่อนตั้งค่าหนี้เผื่อสงสัยจะสูญ ทำให้สหกรณ์ได้รับผลกระทบ ทำให้เกิดหนี้เสีย (NPL) ของสหกรณ์สูงขึ้น เมื่อหนี้เสียสูงเมื่อนำไปหักลบกลบกำไรแล้วทำให้กำไรของสหกรณ์ลดลง เมื่อกำไรลดลงปันผลและเฉลี่ยคืนก็ลดลงตามลำดับ ส่งผลกระทบต่อสมาชิกและส่งผลกระทบต่อสหกรณ์

ผศ.ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา กล่าวว่า ร่างกฎกระทรวงนี้นำเอาแนวคิดทุนนิยมมาใช้กับสหกรณ์ ซึ่งกรอบแนวคิดจะไม่เหมือนกัน แนวคิดทุนนิยมเน้นผลกำไรและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ แต่หลักการสหกรณ์เน้นการเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แนวคิดทุนนิยมทำให้สหกรณ์ไม่สามารถช่วยเหลือสมาชิกได้อย่างเต็มที่ รับฝากได้น้อยลง กู้กันเองได้ยากขึ้น ผลักดันให้สมาชิกสหกรณ์ต้องกู้นอกระบบ ถือเป็นการทำลายศักยภาพการทำงานของสหกรณ์ รวมถึงขัดต่อหลักการพึ่งพากันเอง 

นายไพบูลย์ แก้วเพทาย กล่าวว่า สหกรณ์ไม่ใช่ธนาคาร การที่ร่างกฎกระทรวงฯ กำหนดให้สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ต้องอ้างอิงข้อมูลตามดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน โดยกำหนดดอกเบี้ยเงินรับฝากได้ไม่เกินร้อยละ 3.50 % ต่อปีนั้นไม่เหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่มีความเข้าใจระบบสหกรณ์ที่เป็นการทำธุรกรรมในวงศ์สัมพันธ์เดียวกัน ซึ่งเป็นคนละหลักการกับธนาคารอย่างสิ้นเชิง

ผศ. อาภากร มินวงษ์ กล่าวว่า ร่างกฎกระทรวงฯ กระทบต่อการกำกับดูแลทางการเงิน และการเติบโตของสหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนี่ยน ที่มีความแตกต่างจากสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการร่างกฎกระทรวงฯ ขาดความเข้าใจ และนำตัวบทกฎหมายที่ไม่สอดคล้องมาบังคับใช้ กล่าวคือ สหกรณ์เครดิตฯ ไม่ได้ดำเนินการหักเงินค่าหุ้น ณ ที่จ่ายเช่นเดียวกับสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ แต่เมื่อนำกฎกติกาเดียวกันมาใช้ จะส่งผลให้สหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนี่ยนต้องหายไปจากสารบบของสหกรณ์ไทย นอกจากนี้ยังมีอีกหลาย ๆ มาตราที่ขัดต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนี่ยน และอาจส่งผลกระทบระยะยาวให้ปัญหาบานปลายจนเกินกว่าจะแก้ไขได้

นายสิรวิชญ์ ไพศาสตร์ กฎกระทรวงฯ น่าจะเขียนคลาดเคลื่อนหลายอย่าง เช่น หลักเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้ การกำหนดให้สหกรณ์ไม่สามารถเอาเรื่องของฌาปนกิจสงเคราะห์มาเป็นหลักประกันได้ การตั้งหนี้เผื่อสงสัยจะสูญ และไม่สามารถเอาทุนเรือนหุ้นไปหักหนี้ก่อนตั้งค่าหนี้เผื่อสงสัยจะสูญ ทำให้สหกรณ์ได้รับผลกระทบ ทำให้เกิดหนี้เสีย (NPL) ของสหกรณ์สูงขึ้น

ทั้งนี้ สสท. จะรวบรวมความคิดเห็นของการประชาพิจารณ์ แล้วสรุปเสนอสำนักงานกฤษฎีกา กระทรวงเกษตรฯ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา หากกฎกระทรวงฯ ที่ออกมายังไม่คุ้มครองหรือไม่สร้างเสถียรภาพต่อสหกรณ์ อาจจะต้องยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ระเบิดรถครู ตชด.

ทราบกลุ่มคนร้ายก่อเหตุระเบิดรถครู ตชด.สองพ่อลูก

ทราบคนร้ายก่อเหตุระเบิดรถครู ตชด.สองพ่อลูก จ.นราธิวาส แล้ว วันก่อเหตุมีแนวร่วมปฏิบัติการประมาณ 6 คน กลุ่มเป้าหมายคือเจ้าหน้าที่รัฐ

นายกฯ ลงพื้นที่ยะลา พบนักเรียน-ผู้นำศาสนา ปลื้มต้อนรับอบอุ่น

นายกฯ ขึ้น ฮ. ลงยะลา ทักทายเป็นภาษามลายู พบนักเรียน-ผู้นำศาสนา ท่ามกลางฝนตกโปรยปราย ปลื้มต้อนรับอบอุ่น บอกมีตรงไหนเดือดร้อน รัฐบาลพร้อมสนับสนุน ลั่นอยู่ศาสนาใด-เชื้อชาติใด คนไทยด้วยกัน ขอรักสามัคคีกัน

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็นถึงหนาว

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นถึงหนาว ส่วนตะวันออก และใต้ตอนบน รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล อากาศเย็นในตอนเช้า ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนฟ้าคะนอง อ่าวไทยตอนล่าง คลื่นสูง 2-3 เมตร เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ระทึก! ฝรั่งคลั่งจี้ภรรยา สกัดจับได้แล้ว

ระทึกกลางถนน พลเมืองดีพบเหตุชายต่างชาติคลั่ง ใช้ปืนจี้ภรรยาคนไทย ขับรถจาก อ.หลังสวน มุ่งหน้าไปทางชุมพร ในรถมีเด็ก 2 คน ล่าสุดเจ้าหน้าที่สกัดจับได้แล้ว

นายกฯ คิกออฟ “บ้านเพื่อคนไทย” ให้ประชาชนเข้าชมบ้าน-ห้องตัวอย่าง

นายกฯ คิกออฟ เปิดโครงการ “บ้านเพื่อคนไทย” ให้ประชาชนเข้าชมบ้าน-ห้องตัวอย่าง และจองสิทธิ์ หวังยกระดับคุณภาพชีวิต มีบ้านใกล้ที่ทำงาน ลดความเหนื่อยล้า มีแรงช่วยพัฒนาประเทศ เผยหลังเปิดจองพบประชาชนกว่า 12 ล้านคน เข้าจองสิทธิ์ในเว็บไซต์จนเว็บล่ม ขณะที่ชาวบ้านมารอเข้าคิวที่สถานีกลางบางซื่อ คึกคักตั้งแต่ตี 5

กทม.คาดสัปดาห์หน้าค่าฝุ่นเป็นสีส้ม ขอภาครัฐ-เอกชน WFH 20-21 ม.ค.68

กทม. ประกาศขอความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน WFH 20-21 ม.ค.68 คาดค่าฝุ่นสัปดาห์หน้าเป็นสีส้ม มีอัตราระบายลมต่ำ ด้านผู้บริหารโรงเรียน สั่งเปิด-ปิดได้ตามหลักเกณฑ์และดุลยพินิจ