fbpx

คาดผลผลิตของโลกจะลด 43 ล้านตันกระทบ 150 ล้านคนทั่วโลก

กรุงเทพฯ 8 มิ.ย.- เลขาธิการ สศก. เผยผลวิเคราะห์สถานการณ์โลก โดยเฉพาะสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญ จะทำให้ผลผลิตกว่า 19-34 ล้านตัน หายไปในปี 2565 ส่วนปี 2566 จะหายถึง 43 ล้านตัน แล้วส่งผลกระทบต่อปริมาณแคลอรีที่บริโภคของคนกว่า 150 ล้านคน หลายประเทศงดส่งออกอาหารเพื่อเลี้ยงคนในประเทศ แต่ไทยมีผลผลิตเพียงพอและมีโอกาสดีที่จะส่งออก


นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ราคาอาหารที่พุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ทั่วโลก ส่งผลให้ประชากรประมาณ 193 ล้านคนทั่วโลก ประสบปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหาร โดยเกิดจากหลากหลายปัจจัย ทั้งราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นในปี 2564 ผลักดันให้ราคาปุ๋ยและเชื้อเพลิงสูงขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ได้ทำลายพืชผลในประเทศผู้ผลิตอาหารขนาดใหญ่ เช่น บราซิล สหรัฐอเมริกา และแคนาดา เป็นต้น จนเกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่งและการค้าหยุดชะงัก และล่าสุด คือ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครน-รัสเซีย ซึ่งทั้ง 2 ประเทศมีสัดส่วนการส่งออกข้าวสาลี ประมาณร้อยละ 30 ของการค้าข้าวสาลีทั่วโลก ยูเครนส่งออกน้ำมันดอกทานตะวัน ประมาณร้อยละ 50 ของโลก และรัสเซียส่งออกปุ๋ย ร้อยละ 20 ของโลก การคว่ำบาตรรัสเซียจึงส่งผลให้ราคาพลังงานและปุ๋ยมีราคาสูงขึ้น 

ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (ศกช.) ระบุว่า ประเทศทั่วโลกยังไม่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดตั้งแต่ปลายปี 2563 จนกระทั่งเกิดความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งทั้ง 2 ประเทศเป็นแหล่งทรัพยากร จนมีการคาดการณ์ว่า ผลิตผลกว่า 19-34 ล้านตัน จะหายไปในปี 2565 และจะหายถึง 43 ล้านตัน ในปี 2566 โดยจะส่งผลกระทบต่อปริมาณแคลอรีที่บริโภคของคนกว่า 150 ล้านคน


ก่อนหน้านี้ การส่งออกสินค้าไปขายต่างแดนผ่านท่าเรือในทะเลดำต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากถูกเรือรบของรัสเซียปิดล้อม ทำให้หลายประเทศ เช่น มองโกเลีย อาร์เมเนีย อียิปต์ เยเมน ลิเบีย ปากีสถาน ตุรกี ซึ่งต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารและปัจจัยการผลิตทางการเกษตรจากรัสเซียและยูเครน ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง นอกจากนี้ ภาวะสงครามยังส่งผลให้รัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบที่ใช้ในการทำปุ๋ยรายใหญ่ ได้แก่ โพแทสและซัลเฟต งดการส่งออก ทำให้ราคาปุ๋ยปรับขึ้น 

ทั้งนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า ขณะนี้มีประมาณ 30 ประเทศทั่วโลกได้ใช้มาตรการจำกัดการส่งออกอาหาร พลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์แล้ว เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงทางอาหารให้กับคนในชาติของตน (Food Protectionism) และธนาคารโลก คาดการณ์ว่า ปี 2565 ราคาสินค้าทั่วโลกจะปรับตัวสูงขึ้น 37% สูงสุดในรอบ 60 ปี แม้ที่ผ่านมาโลกจะเคยเผชิญกับวิกฤติอาหารมาแล้วในช่วงปี 2550-2551 แต่อย่างไรก็ตาม ในปี 2551 เป็นเพียงการขาดแคลนสินค้า (Commodity Shock) ขณะที่สถานการณ์ในปี 2565 กำลังเผชิญทั้งการขาดแคลนสินค้าและการขาดแคลนปัจจัยการผลิต (Input Shock) ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญหลายประเทศกังวลว่า หากสงครามยังดำเนินต่อไปจะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานอย่างมาก เพราะความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) เป็นเรื่องที่สำคัญ 

นายฉันทานนท์ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอาหารอันดับต้น ๆ ของโลก จึงมีความพอเพียงของอาหารในการบริโภคภายในประเทศ และเป็นโอกาสดีในการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารให้เติบโต ในฐานะแหล่งผลิตอาหารสำคัญ หรือ “ครัวของโลก” โดยจะเห็นได้จากการส่งออกสินค้าเกษตร 4 เดือนแรก ปี 2565 (มกราคม-เมษายน 2565) ที่เติบโตอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับปี 2564 ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยสินค้าเกษตรไทยสามารถส่งออกไปโลกเพิ่มขึ้นจาก 418,883 ล้านบาท เป็น 516,127 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 97,244 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.22 กลุ่มสินค้าเกษตรส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่  ทุเรียน ข้าว ยางธรรมชาติ ไก่ปรุงแต่ง อาหารสุนัขหรือแมวปรุงแต่ง ปลาทูน่าปรุงแต่ง สตาร์ชทำจากมันสำปะหลัง น้ำยางธรรมชาติ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหารปรุงแต่งอื่น ๆ เช่น เต้าหู้ 


คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับด้านนโยบายอาหารของประเทศ เตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงอาหารทั้งระบบ โดยขับเคลื่อนการดำเนินงานด้าน 4 ด้าน คือ 

1) ด้านความมั่นคงอาหารตลอดห่วงโซ่  

2) ด้านคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร 

3) ด้านอาหารศึกษาด้วยการให้ความรู้ในการบริโภคอาหารอย่างถูกต้องตามหลักโภชนาการ 

4) ด้านการบริหารจัดการด้านกฎหมาย โครงสร้างองค์กร และการบริหารงบประมาณ  

ในการประชุมเอเปคที่ไทยเป็นเจ้าภาพในปี 2565 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบกรอบการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงอาหาร ซึ่งเป็นการแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นทางการเมืองในการส่งเสริมความมั่นคงอาหารในภูมิภาค ในร่างปฏิญญาฯ ไทยจะผลักดันประเด็นหลักที่จะช่วยสนับสนุนนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก ด้านความปลอดภัยอาหาร ด้านการค้าระหว่างประเทศ ด้านการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และด้านการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนอีกด้วย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รวบรอง ผอ.โรงเรียนดัง หน.แก๊งค้ายา พบข้าราชการเป็นลูกค้าเพียบ

รวบหัวหน้าแก๊งค้ายาเป็น “รอง ผอ.” โรงเรียนดังย่านปากเกร็ด พร้อมสมุน ขยายผลพบลูกค้าเป็นข้าราชการอีกจำนวนมาก

คนไทย-คนจีนขับรถไล่ชนกันหน้าคลับดังเมืองพัทยา คาดหึงหวงสาวที่มาด้วย

รถตู้ 3 คัน และรถฟอร์จูนเนอร์ 1 คัน ขับไล่ชนกันไปมา บริเวณหน้าคลับแห่งหนึ่งในเมืองพัทยา พบเป็นศึกระหว่างคนไทย 1 กลุ่ม และคนจีน 1 กลุ่ม สาเหตุคาดมาจากคนจีนหึงหวงแฟนสาวที่มาด้วย

ปัญหาต่างชาติในภูเก็ต ตอนที่ 3

ปัจจุบันการเข้ามาทำธุรกิจรถเช่าของต่างชาติที่ใช้คนไทยเป็นนอมินีในภูเก็ตมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่รถของชาวต่างชาติในภูเก็ตก็มากขึ้นด้วย ปัญหานี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่โยงใยไปถึงเรื่องของภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว ไม่เฉพาะแค่ภูเก็ต แต่เป็นของเมืองไทยด้วย

ศาลอาญาทุจริตฯ ยกฟ้อง คุณหญิงพรทิพย์ และพวก ในคดี GT200

ศาลอาญาทุจริตฯ ยกฟ้อง “คุณหญิงพรทิพย์” และพวกรวม 10 คน ในคดีจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด GT200 ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
ระบุไม่พบมีมูลความผิด ทุจริต มีการแสวงหาประโยชนแก่ตนเองและผู้อื่นโดยมิชอบ

ข่าวแนะนำ

สยอง! เครนก่อสร้างถล่ม เสียชีวิตหลายราย

เครนถล่มในไซต์ก่อสร้างบริษัทจีนแห่งหนึ่งใน อ.ปลวกแดง จ.ระยอง เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิตแล้ว 6 ราย บาดเจ็บอีกหลายราย กู้ภัยถูกปิดล้อม ยังไม่ยอมให้นำศพออกมา

นายกฯ ขอให้เชื่อมั่น นำ ปท.แก้วิกฤติ เหน็บบางคนนั่งบนหอคอย  

“เศรษฐา” ขอให้เชื่อมั่นในตัวนายกฯ เข้าใจธุรกิจ พร้อมนำประเทศแก้วิกฤติ เหน็บบางคนนั่งบนหอคอย ลงมามือเปื้อนดิน ตีนเปื้อนโคลนบ้าง น้อยใจ รมว.คลัง ไม่มีอำนาจลดดอกเบี้ย  

“บิ๊กต่อ” ส่งทนายยื่นฟ้อง “ทนายตั้ม” แฉโยงเส้นเงินพนัน

“บิ๊กต่อ” ส่ง “อัจฉริยะ” เดินหน้าชน “ทนายตั้ม” ยกแรกยื่นฟ้องฐานหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท หลังถูกกล่าวหาว่ามีเส้นเงินจากเว็บพนันโยงคนใกล้ชิด ผบ.ตร.