พัฒนาระบบคมนาคม จ.ศรีษะเกษ เชื่อมอีสาน

กรุงเทพฯ 21 พ.ค.-“ศักดิ์สยาม” ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้า การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่ง จ.ศรีสะเกษ เพื่อเชื่อมโยงให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพ การคมนาคมขนส่งภาคอีสาน เดินหน้าทุกมิติ บก ราง น้ำ และทางอากาศ


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วย นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางสุขสมรวย วันทนียกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท นายปริญญา แสงสุวรรณ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีนโยบายได้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโครงข่ายคมนาคม การส่งเสริมการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของประเทศ โดยเร่งรัดการเปิดให้บริการโครงข่ายคมนาคม เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร รองรับเชื่อมโยงการเดินทางกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศเวียดนาม สนับสนุนการค้าการท่องเที่ยวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน กระทรวงฯ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินตามภารกิจดังกล่าว เพื่อสนับสนุนการกระจายรายได้ สู่ท้องถิ่น ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 จึงได้มอบหมายให้หน่วยงาน ในสังกัดดำเนินการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญทุกโหมดการเดินทางในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ดังนี้


มิติทางบก ประกอบด้วยถนนทางหลวงระยะทาง 1,032.13 กิโลเมตร และถนนทางหลวงชนบทจังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 1,198.68 กิโลเมตร โดยมีโครงการที่สำคัญ ดังนี้1. การพัฒนาโครงข่ายทางหลวง ปัจจุบัน ทล. มีโครงการทางหลวงที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่

  1. โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 226 สาย อำเภอห้วยทับทัน – ศรีสะเกษ ระยะทาง 13.795 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 659.129 ล้านบาท ผลการดำเนินงาน 30.84 % 2) โครงการก่อสร้าง เพิ่มช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 221 สายศรีสะเกษ – อำเภอพยุห์ ระยะทาง 6.00 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 154.33 ล้านบาท ผลการดำเนินงาน 0.29 % และ 3) โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 2085 สายอำเภอกันทรลักษ์ – กันทรารมย์ ตอนบ้านน้ำอ้อม – บ้านสี่แยก ระยะทาง 4.450 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 138.58 ล้านบาท ผลการดำเนินงาน 0.34 %
  1. การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบท ประกอบด้วย งานก่อสร้างทางและสะพาน งานบำรุงรักษาทาง และงานอำนวยความปลอดภัย รวม 40 โครงการ งบประมาณรวม 415.275 ล้านบาท ได้แก่ 1) โครงการก่อสร้างถนนและยกระดับชั้นทาง ถนนเชิงลาดสะพานข้ามห้วยขะยูง บ้านกุดผักหนาม – บ้านเขวาธนัง อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 2.235 กิโลเมตร งบประมาณ 18.50 ล้านบาท 2) โครงการก่อสร้างถนน และยกระดับชั้นทาง ถนนสาย ศก.4020 แยกทางหลวงหมายเลข 2200 – บ้านกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 3.40 กิโลเมตร งบประมาณ 49.50 ล้านบาท 3) โครงการพัฒนาสะพานขนาดกลาง สะพานข้ามคลองตาเสก ในสายทาง ศก.5060 อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 30 เมตร งบประมาณ 4.95 ล้านบาท และ 4) โครงการก่อสร้างโครงข่ายสะพานข้ามห้วยทับทัน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 140 เมตร งบประมาณ 48.78 ล้านบาท
  2. การศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค MR-MAP ซึ่งกระทรวงฯ ได้ศึกษาแผนแม่บทโครงข่าย MR-MAP ได้ศึกษาแล้วเสร็จ และคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) ได้เห็นชอบร่างโครงข่ายแผนแม่บทแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างร่างแผนการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น (Pre-FS) ทุกเส้นทาง จัดทำแผนปฏิบัติการและแผนกลยุทธ์การพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โดยเส้นทางที่จะเชื่อมกับจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ 1) เส้นทาง MR5 มีจุดเริ่มต้นที่จังหวัดนครสวรรค์ สิ้นสุดที่สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 6 จังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางรวมประมาณ 722 กิโลเมตร

มิติทางราง มีขบวนรถไฟที่วิ่งผ่านสถานีจังหวัดศรีสะเกษ เที่ยวขึ้น – เที่ยวล่อง มีวันละ 20 ขบวน โดยกระทรวงฯ มีแผนพัฒนารถไฟทางคู่ทั่วประเทศ ดังนี้ 1) แผนพัฒนารถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน (พ.ศ. 2560 – 2564) จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 993 กิโลเมตร ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางชุมทางฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย และชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 5 เส้นทาง คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2566 2) แผนพัฒนารถไฟทางคู่ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565 – 2569) จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,483 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างขออนุมัติโครงการและจัดทำรายงาน EIA

มิติทางน้ำ มีการพัฒนาทางน้ำในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและยโสธร ซึ่งปัจจุบันกระทรวงฯ มีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ดังนี้ 1) โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือในแม่น้ำโขงบริเวณเทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม วงเงินลงทุน 36.8 ล้านบาท มีความคืบหน้าโครงการแล้ว ร้อยละ 58.00 2) โครงการจ้างก่อสร้างขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำภายในประเทศที่แม่น้ำชี กม. ที่ 55+000 – 60+000 วงเงิน 7.0357 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง 3) โครงการซ่อมแซมเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง แม่น้ำลำโดมใหญ่ บริเวณท่าน้ำวัดแสงเกษม วงเงินลงทุน 107,000 บาท มีความคืบหน้าโครงการแล้ว ร้อยละ 98.70 และ 4) โครงการซ่อมแซมเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง แม่น้ำลำเซบาย อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร วงเงินลงทุน 340,000 บาท มีความคืบหน้าโครงการแล้วร้อยละ 98.70 นอกจากนี้ กระทรวงฯ อยู่ระหว่างดำเนินการโครงการจ้างก่อสร้างขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำภายในประเทศที่แม่น้ำชี กม. ที่ 195 – 200 อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ถึง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร วงเงินลงทุน 41.8000 ล้านบาท โดยช่วงกม. ที่ 155+000 – 165+000 อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ถึงอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร วงเงินลงทุน 45.5649 ล้านบาท ดำเนินการแล้วเสร็จ ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเตรียมการชี้แจงคณะกรรมาธิการ งบประมาณ ปี 2566 ในช่วง กม. ที่ 120+000 และ กม. ที่ 135+000 – 145+000 อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร


มิติทางอากาศ มีท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษอยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี เพียง 60 กิโลเมตร ประชาชนสามารถเดินทางไปใช้บริการได้อย่างสะดวก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างศูนย์ขนส่งผู้โดยสารและปรับปรุงลานจอดรถยนต์ เพื่อเป็นศูนย์การขนส่ง (Transportation Hub) งบประมาณ 86.80 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดใช้ได้ในปี 2566

ทั้งนี้ เมื่อโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษแล้วเสร็จสมบูรณ์ จะสามารถเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งทุกโหมดการเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายการคมนาคมขนส่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด สามารถรองรับปริมาณการเดินทางและคมนาคมขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีความปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ด้วย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

“ทวี” แจง “ดีเจแมน-ใบเตย” ได้เยียวยา แต่ต้องรอคดีถึงที่สุด

“ทวี” แจง “ดีเจแมน-ใบเตย” ได้รับค่าเยียวยา หลังศาลชั้นต้นยกฟ้อง แต่ต้องรอให้คดีถึงที่สุด บอกหากไม่ได้รับความยุติธรรม ฟ้องรัฐได้

ถนนมิตรภาพเข้าสู่ประตูอีสานรถเพิ่มขึ้น

เริ่มแล้วเทศกาลปีใหม่ ประชาชนออกเดินทางกลับภูมิลำเนาการจราจรถนนมิตรภาพ ปริมาณรถมาก ตำรวจทางหลวง เตรียมพร้อมอำนวยความสะดวก

หมอชิต 2 เริ่มคึกคัก คาดวันนี้จะมีผู้โดยสารหนาแน่นที่สุด

สถานีขนส่งหมอชิต 2 มีประชาชนบางส่วนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนาแล้ว แต่ยังไม่หนาแน่นนัก ด้าน บขส. คาดตลอดทั้งวันนี้จะมีผู้โดยสารหนาแน่นที่สุดถึง 120,000 คน

นายกฯ มอบคำขวัญวันเด็กประจำปี 2568

“แพทองธาร” นายกฯ มอบคำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2568 “ทุกโอกาส คือ การเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง” ระบุรัฐบาลเห็นคุณค่าในตัวเด็กๆ ทุกคน ขอให้ปรับตัวเรียนรู้ ให้เข้ากับสถานการณ์