ภาคการลงทุนกังวลกับสถานการณ์รัสเซีย—ยูเครน 

ภาคการลงทุนกังวลกับสถานการณ์รัสเซียยูเครน 


กรุงเทพฯ 7 มี.. – FETCO แถลงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งพบว่า ยังคงอยู่ในเกณฑ์คงตัว นักลงทุนคาดหวังเงินไหลเข้า โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุดคือ สถานการณ์รัสเซียยูเครน  ด้านผลดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายกนงคาดว่าคงอัตราเดิมที่ 0.5%

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ผลสำรวจในเดือนกุมภาพันธ์2565 พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index: ICI) ในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 113.03 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 20.4%  จากเดือนก่อนหน้าลงมาอยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” โดยนักลงทุนมองว่าเงินทุนไหลเข้า เป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นมากที่สุด รองลงมาคือความคาดหวังต่อการคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียยูเครน และ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ สำหรับปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ ความกังวลต่อสถานการณ์ตึงเครียดใน รัสเซียยูเครน รองลงมาคือความไม่แน่นอนเรื่องนโยบายการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED และสถานการณ์เศรษฐกิจยูโรโซน


ผลดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) สำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีดังนี้ 

ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (พฤษภาคม 2565) อยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” (ช่วงค่าดัชนี 80-119) เพิ่มขึ้น 20.4%  มาอยู่ที่ระดับ 113.03 

ดัชนีความเชื่อมั่นนักรายกลุ่มนักลงทุนสำรวจเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบว่าความเชื่อมั่นนักลงทุนกลุ่มนักลงทุนบุคคลและกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศอยู่ในระดับทรงตัว”  ในขณะที่ความเชื่อมั่นกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศอยู่ในระดับ “ร้อนแรง


หมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุดคือ หมวดธนาคาร (BANK)

หมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุดคือ หมวดประกันภัยและประกันชีวิต (INSUR)  

ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ ความคาดหวังเงินทุนไหลเข้า 

ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ ความกังวลต่อสถานการณ์ตึงเครียดใน รัสเซียยูเครน

ส่วนผลสำรวจ  เดือนกุมภาพันธ์ 2565 รายกลุ่มนักลงทุน พบว่าความเชื่อมั่นนักลงทุนบุคคลปรับลด 25.6% อยู่ที่ระดับ 90.53 กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ปรับเพิ่ม18.7% อยู่ที่ระดับ 128.57 กลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศปรับลด 24.4% อยู่ที่ระดับ94.44 และความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนต่างชาติปรับเพิ่ม 185.7% มาอยู่ที่ระดับ142.86

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 SET Index ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยได้รับอานิสงส์จากเม็ดเงินทั่วโลกเตรียมจะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ ทำให้มีต่างชาติซื้อสุทธิในเดือนกุมภาพันธ์ 61,336 ล้านบาท และตั้งแต่ต้นปี 2565 ต่างชาติซื้อสุทธิรวม 75,570 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ดัชนีมีการปรับตัวลงแรงช่วงปลายเดือนหลังได้รับผลกระทบจากจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่กลับมาเพิ่มสูงขึ้นมาก จนภาครัฐต้องประกาศยกระดับการเตือนภัยโควิด-19 เป็นระดับที่ 4 จากทั้งหมด 5 ระดับ  รวมถึงได้รับผลกระทบจากความกังวลต่อสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน  ส่งผลให้ SET Index  สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ปิดที่1,685.18 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง  2.2% จากเดือนก่อนหน้า 

สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ สถานการณ์ความขัดแย้งในรัสเซียยูเครนและมาตรการตอบโต้ด้านการค้าและการเงินของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซี่งจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและกระทบเรื่องอัตราเงินเฟ้อจากราคาพลังงาน  โดยเฉพาะในกลุ่มยูโรโซนซึ่งมีการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย นอกจากนี้ ความชัดเจนในการขึ้นดอกเบี้ยของ FED และการระบาดของ Covid-19 สายพันธุ์โอมิครอนโดยเฉพาะในเอเชีย ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงมาก อาทิ เกาหลีญี่ปุ่น และไทย ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่น่าติดตาม ในส่วนของปัจจัยในประเทศได้แก่ การรับมือของภาครัฐต่อจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 สายพันธ์โอมิครอน นโยบายการเปิดรับนักท่องเที่ยวในระยะถัดไป และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน

ด้านการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Expectation) เดือนมีนาคม 2565 ผู้ตอบแบบสำรวจมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่ากนงจะรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.5% ในการประชุมเดือนมีนาคมนี้ เนื่องจาก ธปทน่าจะให้ความสำคัญกับการเติบโตของเศรษฐกิจ ประกอบกับเงินเฟ้อของไทยแม้จะปรับสูงขึ้นจากราคาพลังงาน แต่ยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 และ 10 ปี  สิ้นเดือนมีนาคม 2565  มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐประกอบกับอุปทานที่เพิ่มขึ้นของพันธบัตรรัฐบาลไทยจากความจำเป็นในการกู้เงินของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม วิกฤติรัสเซียยูเครน อาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนผันผวนในระยะสั้น

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Expectation) เดือนมีนาคม 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดคาดการณ์ว่า กนงจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบันที่ 0.5% ในการประชุมครั้งนี้และคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไปจนตลอดช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจาก ธปทน่าจะให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจประกอบกับอัตราเงินเฟ้อของไทยแม้จะเริ่มปรับสูงขึ้นจากราคาพลังงาน แต่ยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสำรวจบางส่วนเริ่มมีการคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังของปีจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวเมื่อนักท่องเที่ยวเริ่มกลับมา ประกอบกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐที่อาจส่งผลให้ธนาคารกลางทั่วโลกต้องทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 

การคาดการณ์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond yield)  สิ้นเดือนมีนาคม 2565 ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุ 5 ปีและ 10 ปี จะปรับเพิ่มขึ้น 10-20 bps และ 0-5 bps ตามลำดับจากระดับ  ปลายเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่1.48-1.58% สำหรับรุ่นอายุ 5 ปี และที่ 2.19-2.24% สำหรับรุ่นอายุ 10 ปี ซึ่งเป็นทิศทางการปรับสูงขึ้นตามแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่เพิ่มขึ้นจากการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ นอกจากนี้ อุปทานที่มากขึ้นของพันธบัตรไทยอาจมีส่วนทำให้Bond Yield ไทยขยับสูงขึ้นด้วย ส่วนความขัดแย้งระหว่างรัสเซียยูเครน จะส่งผลต่อความผันผวนของ Bond Yield ในระยะสั้น.-สำนักข่าวไทย

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ผลสำรวจในเดือนกุมภาพันธ์2565 พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index: ICI) ในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 113.03 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 20.4%  จากเดือนก่อนหน้าลงมาอยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” โดยนักลงทุนมองว่าเงินทุนไหลเข้า เป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นมากที่สุด รองลงมาคือความคาดหวังต่อการคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียยูเครน และ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ สำหรับปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ ความกังวลต่อสถานการณ์ตึงเครียดใน รัสเซียยูเครน รองลงมาคือความไม่แน่นอนเรื่องนโยบายการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED และสถานการณ์เศรษฐกิจยูโรโซน

ผลดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) สำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีดังนี้ 

ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (พฤษภาคม 2565) อยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” (ช่วงค่าดัชนี 80-119) เพิ่มขึ้น 20.4%  มาอยู่ที่ระดับ 113.03 

ดัชนีความเชื่อมั่นนักรายกลุ่มนักลงทุนสำรวจเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบว่าความเชื่อมั่นนักลงทุนกลุ่มนักลงทุนบุคคลและกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศอยู่ในระดับทรงตัว”  ในขณะที่ความเชื่อมั่นกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศอยู่ในระดับ “ร้อนแรง

หมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุดคือ หมวดธนาคาร (BANK)

หมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุดคือ หมวดประกันภัยและประกันชีวิต (INSUR)  

ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ ความคาดหวังเงินทุนไหลเข้า 

ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ ความกังวลต่อสถานการณ์ตึงเครียดใน รัสเซียยูเครน

ส่วนผลสำรวจ  เดือนกุมภาพันธ์ 2565 รายกลุ่มนักลงทุน พบว่าความเชื่อมั่นนักลงทุนบุคคลปรับลด 25.6% อยู่ที่ระดับ 90.53 กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ปรับเพิ่ม18.7% อยู่ที่ระดับ 128.57 กลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศปรับลด 24.4% อยู่ที่ระดับ94.44 และความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนต่างชาติปรับเพิ่ม 185.7% มาอยู่ที่ระดับ142.86

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 SET Index ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยได้รับอานิสงส์จากเม็ดเงินทั่วโลกเตรียมจะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ ทำให้มีต่างชาติซื้อสุทธิในเดือนกุมภาพันธ์ 61,336 ล้านบาท และตั้งแต่ต้นปี 2565 ต่างชาติซื้อสุทธิรวม 75,570 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ดัชนีมีการปรับตัวลงแรงช่วงปลายเดือนหลังได้รับผลกระทบจากจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่กลับมาเพิ่มสูงขึ้นมาก จนภาครัฐต้องประกาศยกระดับการเตือนภัยโควิด-19 เป็นระดับที่ 4 จากทั้งหมด 5 ระดับ  รวมถึงได้รับผลกระทบจากความกังวลต่อสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน  ส่งผลให้ SET Index  สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ปิดที่1,685.18 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง  2.2% จากเดือนก่อนหน้า 

สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ สถานการณ์ความขัดแย้งในรัสเซียยูเครนและมาตรการตอบโต้ด้านการค้าและการเงินของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซี่งจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและกระทบเรื่องอัตราเงินเฟ้อจากราคาพลังงาน  โดยเฉพาะในกลุ่มยูโรโซนซึ่งมีการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย นอกจากนี้ ความชัดเจนในการขึ้นดอกเบี้ยของ FED และการระบาดของ Covid-19 สายพันธุ์โอมิครอนโดยเฉพาะในเอเชีย ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงมาก อาทิ เกาหลีญี่ปุ่น และไทย ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่น่าติดตาม ในส่วนของปัจจัยในประเทศได้แก่ การรับมือของภาครัฐต่อจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 สายพันธ์โอมิครอน นโยบายการเปิดรับนักท่องเที่ยวในระยะถัดไป และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน

ด้านการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Expectation) เดือนมีนาคม 2565 ผู้ตอบแบบสำรวจมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่ากนงจะรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.5% ในการประชุมเดือนมีนาคมนี้ เนื่องจาก ธปทน่าจะให้ความสำคัญกับการเติบโตของเศรษฐกิจ ประกอบกับเงินเฟ้อของไทยแม้จะปรับสูงขึ้นจากราคาพลังงาน แต่ยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 และ 10 ปี  สิ้นเดือนมีนาคม 2565  มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐประกอบกับอุปทานที่เพิ่มขึ้นของพันธบัตรรัฐบาลไทยจากความจำเป็นในการกู้เงินของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม วิกฤติรัสเซียยูเครน อาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนผันผวนในระยะสั้น

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Expectation) เดือนมีนาคม 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดคาดการณ์ว่า กนงจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบันที่ 0.5% ในการประชุมครั้งนี้และคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไปจนตลอดช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจาก ธปทน่าจะให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจประกอบกับอัตราเงินเฟ้อของไทยแม้จะเริ่มปรับสูงขึ้นจากราคาพลังงาน แต่ยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสำรวจบางส่วนเริ่มมีการคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังของปีจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวเมื่อนักท่องเที่ยวเริ่มกลับมา ประกอบกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐที่อาจส่งผลให้ธนาคารกลางทั่วโลกต้องทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 

การคาดการณ์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond yield)  สิ้นเดือนมีนาคม 2565 ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุ 5 ปีและ 10 ปี จะปรับเพิ่มขึ้น 10-20 bps และ 0-5 bps ตามลำดับจากระดับ  ปลายเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่1.48-1.58% สำหรับรุ่นอายุ 5 ปี และที่ 2.19-2.24% สำหรับรุ่นอายุ 10 ปี ซึ่งเป็นทิศทางการปรับสูงขึ้นตามแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่เพิ่มขึ้นจากการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ นอกจากนี้ อุปทานที่มากขึ้นของพันธบัตรไทยอาจมีส่วนทำให้Bond Yield ไทยขยับสูงขึ้นด้วย ส่วนความขัดแย้งระหว่างรัสเซียยูเครน จะส่งผลต่อความผันผวนของ Bond Yield ในระยะสั้น.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอ เข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอ เข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ