fbpx

ปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ไฟฟ้า

ทำเนียบฯ 22 ก.พ.- ครม.เห็นชอบปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ไฟฟ้า ลดการปล่อยก๊าซ CO2 รถกระบะไฟฟ้า ยกเว้นภาษีศุลกากรพร้อมยกเว้นภาษีชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ไฟฟ้า 9 ชนิด กำชับรถยนต์ไฟฟ้าต้องมีระบบความปลอดภัยพื้นฐาน 6 ด้าน รองรับกระแสความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เห็นชอบมาตรการภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิต เพื่อส่งเสริมนโยบายสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 หวังให้ ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคอาเซียน


สำหรับร่างประกาศกระทรวงการคลัง เพื่อส่งเสริมการผลิตหรือประกอบรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) มีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. การยกเว้นภาษีอากรของศุลกากร 9 ชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ แบตเตอรี่ Traction Motor, คอมเพรสเซอร์แอร์, ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS), ระบบควบคุมการขับเคลื่อน, มอเตอร์ ,ระบบกระแสไฟสลับ DCDC, ระบบเกียร์ 2. การผลิตหรือประกอบยานยนต์ไฟฟ้า (BEV) ในเขตปลอดอากร ให้นับมูลค่าของเซลล์แบตเตอรี่จากต่างประเทศเป็นต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศ สำหรับการคำนวณมูลค่าเพิ่มในประเทศ ไม่เกินร้อยละ 15 ของราคายานยนต์ไฟฟ้า (BEV)

สำหรับการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มีดังนี้


  1. การปรับลดเกณฑ์การปล่อย CO2 เพื่อส่งเสริมให้รถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน รถยนต์กระบะ และรถจักรยานยนต์ ให้ลดการปล่อย CO2 และประหยัดพลังงานเพิ่มมากขึ้น เช่น รถฟอร์จูนเนอร์ ราคา 1.7 ล้านบาท ภาษีร้อยละ 29 หากยังผลิตให้ปล่อยก๊าซ CO2 เหมือนเดิม ภาษีจะเพิ่มเป็นร้อยล 31 หรือเพิ่มร้อยละ 2 ในอีก 2 ปีข้างหน้า ทำให้ราคาเพิ่ม 34,000 บาท
  2. การกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ประเภท HEV (รถยนต์ไฮบริด) และ PHEV (รถยนต์ไฮบริดเสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้า) ให้มีความแตกต่างกันมากขึ้น รองรับการพัฒนาไปสู่รถยนต์ BEV (รถยนต์แบบเตอร์ไฟฟ้า) รวมถึงสมรรถนะของเทคโนโลยี PHEV ในเรื่องระยะทางการวิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้า (Electric Range : ER) สามารถวิ่งได้ไม่น้อยกว่า 80 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง และขนาดถังบรรจุน้ำมัน (Oil Tank) เพื่อลดการใช้พลังงานจากน้ำมัน
  3. การทยอยปรับอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ประเภท ICE (รถยนต์น้ำมัน) HEV (รถยนต์ไฮบริด) และ PHEV (รถยนต์ไฮบริดเสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้า) โดยกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได 3 ช่วง ได้แก่ ปี 2569, 2571, และ 2573 ตามลำดับ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้พัฒนาเทคโนโลยีด้วยพลังงานไฟฟ้า HEV ภาษีปัจจุบันร้อยละ 4 เพิ่มเป็นร้อยละ 6 ในปี 69 เพิ่มเป็นร้อยละ 8 ในปี 71 เพิ่มเป็นร้อยละ 10 ในปี 71 เพราะยังใช้น้ำมันปล่อย CO2 ส่วนรถยนต์ PHEV ภาษีร้อยละ 4 ปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 5 ในปี 69 เพราะหากยังผลิตรถใช้น้ำมัน ภาษีสรรพสามิตจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนรถไฟฟ้า (BEV) ภาษีลดจากอัตราร้อยละ 8 เหลืออัตราร้อยละ 2 ตามมติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ
  4. การส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของรถยนต์กระบะ และอนุพันธ์ของรถยนต์กระบะ (Product Champion) เพื่อให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตต่อไป โดยคำนึงถึงการลดการปล่อย CO2 และสนับสนุนพลังงานเชื้อเพลิงทดแทน Biodiesel และยังส่งเสริมให้เกิดการใช้และผลิตรถยนต์กระบะไฟฟ้า (BEV) ในประเทศโดยกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตร้อยละ 0 เป็นการชั่วคราวจนถึงปี 2568
  5. รัฐบาลยังสนับสนุนมาตรฐานด้านความปลอดภัย โดยให้ติดตั้งระบบ Advanced Driver – Assistance Systems (ADAS) รถยนต์ รถยนต์โดยสารนั่งไม่เกิน 10 คน ต้อง ติดตั้งระบบ ADAS อย่างน้อย 2 ระบบจาก 6 ระบบ ยกเว้นรถไฟฟ้า (BEV) ต้องมีอย่างน้อย 4 จาก 6 ระบบ และรถยนต์กระบะ ต้องติดตั้งระบบ ADAS อย่างน้อย 1 ระบบจาก 6 ระบบ ยกเว้น BEV ต้องมีอย่างน้อย 2 จาก 6 ระบบ

สำหรับระบบปลอดภัย 6 ด้าน ประกอบด้วย 1.ระบบเบรกฉุกเฉิน 2. ระบบเตือนภัยชนท้าย 3. ระบบไซเลน 4.ระบบแซงเปลี่ยนเลน 5.ระบบป้องกันจุดบอด 6. ระบบควมคุมความเร็ว

นอกจากนี้ กรมสรรพสามิตได้มีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถจักรยานยนต์ เพื่อส่งเสริมการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า มากขึ้น โดยทยอยปรับอัตราภาษี แบบขั้นบันได 2 ช่วง ได้แก่ ปี 2569 และปี 2573 ตามลำดับ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า คิดภาษีสรรพสามิตร้อยละ 1 โดยต้องใช้แบตเตอรี่ประเภทลิเธียมไอออน แรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 48 โวลต์ขึ้นไป ขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป หรือวิ่งได้ระยะทางตั้งแต่ 75 กิโลเมตรขึ้นไปต่อการอัดประจุไฟฟ้า 1 ครั้ง โดยผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน WMTC ต้องใช้ล้อยางมาตรฐานสูบลมสำหรับรถจักรยานยนต์และโมเปด มาตรฐานเลขที่ มอก. 2720-2560 หรือที่สูงกว่า หรือ UN Regulation No.75 หรือที่สูงกว่า

สำหรับมาตรการสนับสนุนการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า และมอเตอร์ไซค์ดังนี้ 1. เสนอร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูป (Completely Buildup :CBU) ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับการนำเข้ารถยนต์ประเภท Battery Electric Vehicle (BEV) สำเร็จรูปทั้งคัน (CBU)
1.1 ราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท
(1) การนำเข้าทั่วไปลดอัตราอากรจากเดิมร้อยละ 80 เหลือร้อยละ 40
(2) ใช้สิทธิ FTA หากอัตราอากรไม่เกิน 40% ให้ได้รับการยกเว้นอากร
(3) ใช้สิทธิ FTA หากอัตราอากรเกิน 40% ให้ลดอัตราอากรอีก 40%
1.2 ราคาขายปลีกแนะนำมากกว่า 2 – 7 ล้านบาท
(1) การนำเข้าทั่วไปลดอัตราอากรจากเดิมร้อยละ 80 เหลือร้อยละ 60
(2) ใช้สิทธิ FTA หากอัตราอากรไม่เกิน 20% ให้ได้รับการยกเว้นอากร
(3) ใช้สิทธิ FTA หากอัตราอากรเกิน 20% ให้ลดอัตราอากรอีก 20%


รัฐมนตรีคลัง กล่าวย้ำว่า การตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชาชน ต้องคำนึงถึงสถานีชาร์จแบตรถยนต์ไฟ้ฟา อายุการใช้งานแบตเตอรรี่ เพราะขณะนี้ราคา 1 แสนบาทต่อลูก จะมีสภาพเสื่อมตามเวลาอายุการใช้งานประมาณ 10 ปี ขณะนี้ค่ายรถยนต์มุ่งใช้แบตจากลิเทียมไอออน การบำรุงรักษารถยนต์ไฟฟ้า เมื่อใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ยอมรับแบตเตอรรี่จะมีน้ำหนักมาก เมื่อเทียบกับน้ำหนักรถยนต์ นับเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า คาดว่ากฎกระทรวงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ประกาศในราชกิจานุเบกษา และบังคับใช้ในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า โดยนายสุพัฒน์พงศ์ เตรียมหารือกับค่ายรถยนต์ เกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมากรใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติม .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รวบผู้ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพที่นนทบุรี นำตัวเข้าเซฟเฮาส์

รวบตัวชายไทย อายุประมาณ 35-40 ปี ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพ ภายในซอยจัดสรรสวิง 2 ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตำรวจนำตัวเข้าเซฟเฮาส์ อยู่ระหว่างสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

“สารวัตรแจ๊ะ” ยื่นฟ้องหมิ่น “ทนายรัชพล” กล่าวหาจับแพะติดคุกฟรีปีกว่า

“สารวัตรแจ๊ะ” พร้อมทนายความ ยื่นฟ้องหมิ่นประมาททนายดัง และฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท ยันไม่ได้นําตัวไปเซฟเฮาส์ ด้านทนายเผยพบหลักฐานทนายคู่กรณีบีบผู้เสียหายกลับคําให้การ แบ่งเงินคนละครึ่ง

ข่าวแนะนำ

คดีสะเทือนขวัญ ฆ่าหั่นศพ “ยากูซ่า” จ.นนทบุรี

คดีสะเทือนขวัญ พบชิ้นส่วนมือ ในพื้นที่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ล่าสุดตำรวจจับกุมหนึ่งในผู้ต้องหาได้แล้ว และทราบว่าทั้งผู้ตายและผู้ลงมือฆ่าหั่นศพ เป็นแก๊งยากูซ่าชาวญี่ปุ่น

ชาวบ้านร้องโรงงานเก็บสารเคมีเร่งเยียวยาเหตุไฟไหม้

ชาวบ้านที่เดือดร้อนจากเหตุไฟไหม้โกดังเก็บสารเคมีอุตสาหกรรม จ.ระยอง เรียกร้องโรงงานช่วยเหลือ บอกน้ำสักขวดก็ไม่ได้

แบงก์ชาติ​ส่งหนังสือให้ทบทวนดิจิทัลวอลเล็ต​​ ไม่ทำสะดุด

ปลัดคลัง ระบุแบงก์ชาติ​ส่งหนังสือถึง ครม.ทบทวนดิจิทัลวอลเล็ต​​ ไม่ทำให้สะดุด ชี้เป็นข้อเสนอเก่า​​ เดินหน้าตามแผนเดิม​ 

สถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา เริ่มมีสัญญาณที่ดี-การสู้รบเงียบสงบ

สถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน อ.แม่สอด จ.ตาก เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น หลังการสู้รบเงียบสงบเกินกว่า 24 ชั่วโมง คาดมีการเจรจากันของกลุ่มต่อต้านและทางการเมียนมา หยุดยิงชั่วคราวเพื่อลดผลกระทบ