กรมชลประทานเดินหน้าศึกษาขุดอุโมงค์ยักษ์

กรมชลประทาน 29 ก.ค.-กรมชลประทานเดินหน้าศึกษาขุดอุโมงค์ยักษ์มูลค่าลงทุนกว่า 7 หมื่นล้านบาท หวังเติมปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืน

นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล ด้วยการสร้างเขื่อนในแม่น้ำยวม ส่งน้ำด้วยอุโมงค์ยักษ์ เพื่อเติมในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ประมาณ 1,800 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี มีความคืบหน้าไปมาก จึงเตรียมเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาโครงการ และนำเสนอรัฐบาลในขั้นต่อไป


การสร้างเขื่อนในแม่น้ำยวม และส่งน้ำด้วยอุโมงค์ เพื่อนำน้ำท่าในแม่น้ำยวมจำนวนมากเกินใช้งานและไหลลงสู่แม่น้ำเมย และไหลลงแม่น้ำสาละวิน ออกสู่ทะเลอันดามัน โดยไม่มีการใช้ประโยชน์ กรมชลประทานจึงได้ศึกษาหาแนวทางนำน้ำส่วนนี้ไปเติมเขื่อนภูมิพล ได้ผลการศึกษาสรุปว่า

  1. ต้องสร้างเขื่อนในแม่น้ำยวม เหนือจุดบรรจบแม่น้ำเมยทางด้านเหนือน้ำประมาณ 13.8 กม. ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ละนา ต.ท่าสองยาง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก โดยมีความจุราว 69 ล้านลูกบาศก์เมตร
  2. ก่อสร้างสถานีสูบน้ำที่บ้านสบเงา เพื่อสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่ยวมเข้าอุโมงค์
  3. อุโมงค์ส่งน้ำ ขนาด 8.1- 8.3 เมตร ความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร รับน้ำจากสถานีสูบน้ำบ้านสบเงาไปเติมอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล
  4. ปรับปรุงลำน้ำแม่งูด ระยะทางราว 2 กิโลเมตร รวมค่าก่อสร้างประมาณ 71,110 ล้านบาท โดยการลงทุนในการก่อสร้างมี 2 แนวทางคือ ภาครัฐลงทุนทั้งหมด และภาครัฐร่วมลงทุนกับภาคเอกชน

นายสุรชาติ มาลาศรี กล่าวเพิ่มเติมว่า การผันน้ำจากเขื่อนแม่ยวมไปเขื่อนภูมิพล ต้องดำเนินการในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนมกราคม สามารถเติมน้ำในเขื่อนภูมิพลได้ปีละประมาณ 1,800 ล้านลูกบาศก์เมตร กรมชลประทานจะไม่ผันน้ำช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม เพราะมีปริมาณน้ำในแม่น้ำน้อย เพื่อให้สอดคล้องกับการระบายน้ำจากเขื่อนแม่ยวมเท่ากับปริมาณน้ำตามสภาพธรรมชาติในแม่น้ำยวมในแต่ละช่วง เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ด้านท้ายน้ำด้วย


เมื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล ทำให้มีการเพาะปลูกพืชในฤดูแล้งเพิ่มขึ้นราว 1.6 ล้านไร่ มีน้ำอุปโภค-บริโภคเพิ่มขึ้นปีละ 300 ล้านลูกบาศก์เมตร และเพิ่มพลังงานไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล ปีละ 417 ล้านหน่วย เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและการท่องเที่ยวที่เขื่อนแม่ยวม และเพิ่มปริมาณระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา 20 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อีกทั้งเมื่อมีการเติมน้ำแล้วจะทำให้ปริมาณน้ำต้นทุนของแม่น้ำปิงมั่นคงขึ้น สอดรับกับการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง จังหวัดกำแพงเพชรสามารถส่งน้ำหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมกว่า 550,000 ไร่ โดยครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอไทรงาม อำเภอพรานกระต่าย อำเภอเมือง อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอคีรีมาศ อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

“ไฮโซกำมะลอ” กระโดดชั้น 3 สน.โคกคราม

“ไฮโซเก๊” โลก 2 ใบ เครียดปีนตึก หลังถูก “คะน้า” ดาราสาว ออกมาแฉกลางรายการดัง จนตำรวจต้องเข้าเกลี้ยกล่อมพาไปโรงพัก แต่ยังวิ่งหนีการควบคุม กระโดดลงมาจากชั้น 3 สน.โครกคราม บาดเจ็บ

วันที่ 11 ปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. ถล่ม

วันที่ 11 ของปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. พังถล่ม เจ้าหน้าที่เดินหน้าใช้เครื่องจักรหนักเข้า เคลียร์ซากต่อเนื่อง โดยเฉพาะโซนบี และซี ที่คาดว่าเป็นจุดที่มีผู้ติดค้างอยู่จำนวนมาก

ชุดค้นหาลงโพรงโซน B, C ลึก 5-6 เมตร ได้กลิ่นแรง ไม่พบผู้สูญหาย

“กู้ภัย” เผยเจาะโพรงพื้นที่โซน B และ C ได้แล้ว พร้อมส่งชุดค้นหาลงโพรงไปตรวจสอบลึก 5-6 เมตร ยังไม่พบผู้สูญหายเพิ่ม แต่ได้กลิ่นแรง เร่งเดินหน้าเครื่องจักรหนักเคลียร์ซากต่อเนื่อง ยันจะช่วยเหลือจนกว่านำร่างสุดท้ายออกมาครบ