กรุงเทพฯ9 ก.ค.-รัฐบาลหารือสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เยียวยาลดค่าไฟฟ้าหลังสิ้นสุดมิ.ย.64 ด้านค่าเอฟทีงวดใหม่ (ก.ย.-ธ.ค.64) ตรึงราคาเท่าเดิม เตือนปีหน้าต้นทุนพุ่งตามราคาน้ำมัน
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงาน กกพ.ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่ารัฐบาลได้ขอความคิดเห็นเรื่องเยียวยาภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายล็อกดาวน์ให้ทำงานที่บ้าน(WFH)ที่ล่าสุดล็อกดาวน์พื้นที่สีแดงเข้ม14วัน.. โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่กกพ.กำลังคำนวณตัวเลขซึ่งหากเปรียบเทียบกับการลดค่าไฟฟ้ารอบที่3ลด2เดือน(บิลค่าไฟฟ้าพ.ค.-มิ.ย.เปรียบเทียบบิลค่าไฟฟ้าเดือนเม.ย.) แล้วก็ต้องใช้เงินงบประมาณกว่า8พันล้านบาทกรณีลดค่าไฟฟ้าทั่วประเทศแต่หากลดค่าไฟเฉพาะพื้นที่ก็จะใช้เงินน้อยกว่านี้
ทั้งนีี้ตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด-19ตั้งแต่ปี63รัฐบาลใช้มาตรการลดค่าไฟฟ้ารายเดือนตามนโยบายWFHไปแล้ว3รอบโดยรอบที่1ปี63ใช้เงิน11, 663ล้านบาท.รอบที่2ต้นปี64ใช้เงิน8,200ล้านบาทและรอบที้3สิ้นสุดมิ.ย.ใช้เงินอุดหนุนค่าไฟฟ้า8,770ล้านบาท
เลขาธิการสำนักงาน กกพ. ยังส่งสัญญาณถึงต้นทุนค่าไฟฟ้าว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นตามต้นทุนราคาน้ำมันโลกที่พุ่งขึ้นและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงโดยทุกการเปลีี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทุก1บาทมีผลต่อค่าไฟฟ้า6สตางค์ต่อหน่วยและหากต้องดูแลค่าไฟฟ้าทึก1สตางค์ต่อหน่วยต้องใช้เงินดูแลราว500-600ล้านบาท..ซึ่งในขณะนี้เงินบริหารจัดการค่าไฟฟ้าที่.กกพ.ดูแลที่คาดว่าจะเหลือใช้ในปี65มีราว2พันล้านบาทเท่านั้น
ทั้งนี้กกพ.ได้บริหารจัดการโดยใช้เงินเข้าดูแลค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที)ในปี64ไม่ให้ปรับขึ้นแม้ต้นทุนจะสูงขึ้นโดยใช้เงินงวดดูแลงาดสุดท้ายรอบเดือนกันยายน – ธันวาคม 2564ที่ราว1, 700ล้านบาททำให้ค่าไฟฟ้าเอฟทีทั้งปีเรียกเก็บที่ -15.32 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้ายังคงจ่ายค่าไฟฟ้าเท่าเดิมในอัตรา 3.61 บาทต่อหน่วย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติให้ตรึงค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับงวด4เดือนสุดท้ายของปี64.พร้อมระบุในแถลงการณ์ว่า
ภาวการณ์ฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณความต้องการการใช้น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นจากสถานการณ์การเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่ภาคเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในภาวะเปราะบาง และได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ที่ยังคงรุนแรงและขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่อง การตรึงค่าเอฟทีจึงเป็นการประคับประคองเศรษฐกิจ และไม่เป็นการซ้ำเติมผู้ใช้ไฟฟ้าจากค่าเอฟทีที่ปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันดิบและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงปลายปี
กกพ.พิจารณาแนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับ 66.3 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล และแนวโน้มการอ่อนตัวของค่าเงินบาทมาอยู่ในระดับ 31.3 บาทต่อเหรียญสหรัฐในเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งมีผลโดยตรงต่อค่าเอฟทีในช่วงปลายปี หากพิจารณาราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2565 จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกแล้ว ประเทศไทยจะเข้าสู่ภาวะราคาพลังงานขาขึ้น ทำให้ค่าเอฟทีในปี 2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
สำหรับปัจจัยในการพิจารณาค่าเอฟทีในรอบเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2564 ประกอบด้วย
1. ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในช่วงเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2564 เท่ากับประมาณ 64,510 ล้านหน่วย ปรับตัวลดลงจากประมาณการงวดก่อนหน้า (เดือน พ.ค. – ส.ค. 2564) ที่คาดว่าจะมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 67,885 ล้านหน่วย หรือลดลงร้อยละ 4.97
2. สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2564 ยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก ร้อยละ 53.90 ของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด นอกจากนี้เป็นการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ (ลาวและมาเลเซีย) รวมร้อยละ 20.13 และค่าเชื้อเพลิงลิกไนต์ของ กฟผ. ร้อยละ 9.45 ถ่านหินนำเข้าโรงไฟฟ้าเอกชน ร้อยละ 7.43 และอื่นๆ อีก ร้อยละ 6.90
3. ราคาเชื้อเพลิงเฉลี่ยที่ใช้ในการคำนวณค่าเอฟทีเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2564 เปลี่ยนแปลงจากการประมาณการในเดือน พ.ค. – ส.ค. 2564 โดยราคาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าและราคาถ่านหินนำเข้าเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นจากประมาณในรอบเดือน พ.ค. – ส.ค. 2564 โดยที่เชื้อเพลิงอื่นๆ ปรับตัวลดลงและคงที่ ดังที่แสดงในตาราง
4. อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ใช้ในการประมาณการ (วันที่ 1 – 31 พฤษภาคม 2564) เท่ากับ 31.30 บาทต่อเหรียญสหรัฐอ่อนค่าจากประมาณการในงวดเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ที่ประมาณการไว้ที่ 31 บาทต่อเหรียญสหรัฐ. -สำนักข่าวไทย