จี้ กกพ.ระงับทำสัญญา-ยกเลิกซื้อไฟฟ้าหมุนเวียน เฟส 2 ตัวการค่าไฟแพง

สำนักงาน กกพ. 25 ธ.ค. – สภาองค์กรของผู้บริโภค พร้อมภาคีเครือข่าย บุกสำนักงาน กกพ. เรียกร้องให้ยุติการทำสัญญา และยกเลิกประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกในโครงการไฟฟ้าหมุนเวียนเฟส 2 ชี้ทำค่าไฟแพงเกินเหตุ และตลอดอายุสัญญา 25 ปี ประชาชนต้องจ่ายค่าไฟสูงถึง 6.5 หมื่นล้านบาท


สภาองค์กรของผู้บริโภค สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นัดรวมตัวที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อทวงถามความคืบหน้ากรณียื่นหนังสืออุทธรณ์ ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเรื่องประกาศรับซื้อไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed -in Tariff (FiT) ปี 2565 -2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ.2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ.2567 ที่เคยยื่นไปแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 เนื่องจากเห็นว่าไม่ได้ใช้วิธีการแข่งขันด้านราคาแต่มีการกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าและห้ามไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราราคาที่ถูกกำหนดมาตั้งแต่ปี 2565 คือ 2.17 บาท/หน่อย สำหรับไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์และราคา 3.10 บาทต่อหน่วย สำหรับไฟฟ้าจากพลังงานลม ซึ่งระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 25 ปี จึงเห็นว่าเป็นอัตราที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มลดลง

นางสาวรสนา โตสิตระกูล อนุกรรมการด้านบริการสาธารณะ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม สภาผู้บริโภค กล่าวว่า ตั้งแต่ยื่นหนังสืออุทธรณ์ประกาศ กกพ. ในการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (รอบเพิ่มเติม) เมื่อเดือนตุลาคม พร้อมขอให้ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ได้รับคำตอบจากสำนักงาน กกพ. แต่ขณะเดียวกันกลางเดือนที่ผ่านมา สำนักงาน กกพ.กลับประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมที่ได้รับการคัดเลือก ตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed -in Tariff (FiT) ปี 2565 -2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ.2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ.2567 จำนวน 72 ราย รวม 2,145 .4 เมกะวัตต์ โดยแบ่งเป็นพลังงานลม จำนวน 8 ราย รวม 565.40 เมกะวัตต์ กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ หรือ SCOD ตั้งแต่ปี 2571-2573 และพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน จำนวน 64 ราย รวม 1,580 เมกะวัตต์ กำหนด SCOD ตั้งแต่ปี 2569-2573 และมีกำหนดลงนามในในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในวันที่ 30 ธันวาคมนี้ ซึ่งมองว่าเป็นการดำเนินการที่รีบร้อนมากเกินไป เอื้อผลประโยชน์ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือไม่ ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค


“วิธีการดังกล่าว เมื่อคำนวนแล้ว จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าจากโครงการนี้แพงกว่าที่ควรจะเป็น โดยตลอดอายุสัญญา 25 ปี และหากสมมุติว่ามีการขายไฟฟ้าจริงในปี 2568 จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าจากโครงการนี้สูงถึง 65,504 ล้านบาท ทั้งๆ ที่นับวันเทคโนโลยีได้รับการพัฒนา ดังนั้นพลังงานจากแสงอาทิตย์จะมีต้นทุนต่ำลงทุกปี เช่นในประเทศเพื่อนบ้านหรือในอินเดียขณะนี้คิดค่าไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่บาทกว่ากว่าตอนหน่วยไม่มีใครถึง 2 บาท ขณะที่ประเทศไทยกลับราคาไม่ต่ำกว่า 2 บาท จึงเรียกร้องขอให้นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กพช. สั่งการให้ยุติการทำสัญญาในวันที่ 30 ธ.ค และอยากฝากว่า กรุณาอย่าทำนา บนหลังคาค่าไฟแพง ที่เป็นภาระของประชาชน” นางสาวรสนา กล่าว

อย่างไรก็ตาม หากยังไม่มีการทบทวนหรือระงับโครงการดังกล่าว เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค ทางเครือข่ายก็ต้องอาศัยกระบวนการทางกฎหมายต่อไป เพราะทั่วโลกขณะนี้ราคาพลังงานหมุนเวียนลดต่ำลงมาก จึงมีคำถามว่าเป็นการดำเนินการโดยทุจริตหรือไม่ และผู้ที่ถูกคัดเลือกเป็นใครมีผลประโยชน์.-517-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

บกปภ.ช. รายงานสถานการณ์แผ่นดินไหว เสียหาย 18 จังหวัด

บกปภ.ช. รายงานสถานการณ์แผ่นดินไหว เสียหายเพิ่มขึ้นเป็น 18 จังหวัด เฉพาะกรุงเทพฯ เสียชีวิต 9 ราย สูญหาย 79 ราย ยังคงเร่งค้นหาผู้รอดชีวิตจากอาคารถล่ม ขณะที่กรมบัญชีกลางขยายวงเงินทดรองราชการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน 200 ล้านบาท

ยังไม่หมดหวัง กทม. เดินหน้าเต็มที่กู้ชีพตึกถล่ม

ยังไม่หมดหวัง กทม. เดินหน้าเต็มที่กู้ชีพตึกถล่มจตุจักร เข้าสู่ 48 ชม. นานาชาติร่วมส่งเครื่องมือช่วยเหลือ พร้อมเร่งจัดการจราจรให้ทันวันพรุ่งนี้

หุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot สแกนตึกถล่มหนุนภารกิจกู้ภัย

มจพ. นำหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot เข้าพื้นที่สแกนตรวจสอบโครงสร้างตึกถล่ม ประเมินความปลอดภัย ก่อนให้กู้ภัยเข้าช่วยเหลือผู้รอดชีวิต ด้านครอบครัวยังเฝ้ารออย่างมีความหวัง