EIC ปรับลดจีดีพีไทยเหลือ 1.9%


กรุงเทพฯ 1 มิ.ย. – EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 เล็กน้อยเป็น 1.9% จากเดิมคาดที่ 2.0% ตามการปรับลดจำนวนนักท่องเที่ยว และผลกระทบการระบาดในประเทศที่นานกว่าคาด แต่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคส่งออกที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง และเม็ดเงินจากมาตรการภาครัฐที่จะเข้าช่วยพยุงเศรษฐกิจ


นายยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 1.9% หรือปรับลดจากประมาณการเดิมที่ 2.0% หลังจากได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก จากการระบาดระลอกใหม่ที่คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน (เมษายน-กรกฎาคม 2564) ในการควบคุม ซึ่งจะส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะ face to face ลดลงมาก ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศปีนี้มีแนวโน้มลดต่ำกว่าคาดมาอยู่ที่ 400,000 คน แม้ทางการจะมีแผนเปิดประเทศในช่วงครึ่งหลังของปี เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ยังระมัดระวังในการเปิดให้ประชาชนเดินทางไปต่างประเทศ จากความกังวลต่อ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมแผลเป็นต่อธุรกิจและแรงงาน โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี สาเหตุที่เศรษฐกิจจะไม่ชะลอลงมากจากคาดการณ์ครั้งก่อน เป็นผลจากแนวโน้มการส่งออกที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ฉีดวัคซีนได้เร็วกว่า รวมทั้งมาตรการความช่วยเหลือของภาครัฐ ทั้งจากวงเงิน 2.4 แสนล้านบาท ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท และวงเงินจากพระราชกำหนดกู้เงิน 5 แสนล้านบาท ที่ออกมาใหม่

EIC คาดว่าจะมีเม็ดเงินบางส่วนราว 1 แสนล้านบาท เข้าช่วยพยุงเศรษฐกิจเพิ่มเติมในปีนี้ ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะยังฟื้นตัวอย่างช้า ๆ โดยเศรษฐกิจจะต้องรอถึงช่วงต้นปี 2566 จึงจะกลับไปเท่ากับระดับ GDP ก่อนเกิด COVID-19 รวมทั้งยังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงด้านต่ำสำคัญ ได้แก่ ระยะเวลาในการควบคุมการระบาดที่อาจนานขึ้น และความล่าช้าด้านการฉีดวัคซีน ซึ่งอาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอ่อนแอและล่าช้าออกไปอีก ทั้งนี้ การเร่งฉีดวัคซีนเพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่นและฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะสั้น ควบคู่กับการผลักดันมาตรการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อรองรับ New Normal จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดขนาดของความเสียหายทางเศรษฐกิจแบบถาวร (permanent output loss) ของเศรษฐกิจไทย


ส่วนเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวได้แข็งแกร่งในปีนี้ แต่จะมีความแตกต่างกันระหว่างประเทศต่าง ๆ ค่อนข้างมาก ขึ้นอยู่กับการควบคุมการระบาด ความเร็วของการฉีดวัควีน และขนาดของมาตรการภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นสำคัญ EIC ประเมินเศรษฐกิจโลกในปี 2564 จะขยายตัว 5.8% ดีกว่าที่คาดไว้เดิมที่ 5.6% โดยการฟื้นตัวจะนำโดยเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่มีความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน จนทำให้สามารถควบคุมการระบาดได้ดีและผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองได้ก่อน อีกทั้งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะได้แรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐขนาดใหญ่ที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ดีขึ้นจะทำให้ภาคครัวเรือนนำเงินออมส่วนเกินบางส่วนที่สะสมไว้ในช่วงปีที่แล้วมาทยอยใช้จ่ายเพิ่มเติมด้วย ขณะที่การฟื้นตัวของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (EM) ส่วนใหญ่ยังคงช้ากว่า เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนเป็นไปอย่างช้า ๆ ทำให้ภาครัฐยังต้องบังคับใช้มาตรการควบคุม (lockdown) ที่เข้มงวดยาวนานกว่า อีกทั้งมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐจะมีขนาดที่เล็กกว่าตามข้อจำกัดเชิงนโยบาย เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว

สำหรับเศรษฐกิจไทย มูลค่าส่งออกของไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวแข็งแกร่งตามการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจและการค้าโลก มูลค่าการส่งออกที่หักทองคำในช่วง 4 เดือนแรก ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่ 12.8%YOY และกระจายตัวไปในกลุ่มสินค้าหลักเกือบทุกประเภท ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาช่วงที่เหลือของปี แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่จะฟื้นตัวดี โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว และราคาสินค้าส่งออกที่เร่งตัวขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายประเภท จึงทำให้คาดว่าการส่งออกไทยจะขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ที่จะมีปัจจัยฐานต่ำเข้ามาสนับสนุนเพิ่มเติม ดังนั้น EIC จึงปรับประมาณการมูลค่าการส่งออกขยายตัวที่ 15.0% จากเดิมที่ 8.6% ทั้งนี้ การส่งออกที่ปรับดีขึ้น จะส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในส่วนของการลงทุนเครื่องมือเครื่องจักร แต่การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างยังมีแนวโน้มซบเซาต่อเนื่องตามการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ของภาคอสังหาริมทรัพย์

ในส่วนของภาคท่องเที่ยว EIC ปรับลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2564 เหลือ 400,000 คน จากเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 1.5 ล้านคน โดยแม้ว่าไทยจะมีแผนการผ่อนคลายนโยบายเพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยว เช่น Phuket sandbox แต่หลายประเทศทั่วโลกยังมีนโยบายการเปิดประเทศให้คนเดินทางเข้าออกที่ค่อนข้างระมัดระวัง เนื่องจากความกังวลด้านการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ตัวอย่างเช่น สหราชอาณาจักร (UK) ที่แม้จะมีการฉีดวัคซีนให้กับคนในประเทศในระดับสูงแล้ว แต่ก็มีนโยบายการเดินทางเข้าออกประเทศที่รัดกุม


ด้านเศรษฐกิจในประเทศ จะได้รับความเสียหายจากการระบาดของ COVID-19 ในประเทศ ระลอกที่ 3 ที่มากกว่าคาด แม้ทางการจะหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการ lockdown ที่เข้มงวดมาก เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ แต่การระบาดในระดับสูงต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนมีความกังวล ส่งผลให้การเดินทางและกิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงค่อนข้างมาก สะท้อนจากเครื่องชี้เร็ว เช่น mobility data ต่าง ๆ นอกจากนั้น ในคาดการณ์รอบก่อน EIC เคยคาดไว้ว่า การระบาดระลอกที่ 3 จะใช้เวลาควบคุมราว 3 เดือน แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา พบว่าสถานการณ์ปรับแย่ลงกว่าเดิม สะท้อนจากจำนวนผู้ติดเชื้อและคลัสเตอร์ต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้คาดว่าระยะเวลาในการควบคุมการระบาดจะยาวนานขึ้นเป็น 4 เดือน ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อการบริโภคภาคเอกชนราว 3.1 แสนล้านบาท ซึ่งรวมถึงผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในประเทศที่ปรับลดลงอีกด้วย

สำหรับค่าเงินบาท ณ สิ้นปี 2564 EIC คาดว่ามีแนวโน้มอ่อนค่าลงจากสิ้นปีก่อนมาอยู่ในช่วง 31-32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับความเสี่ยงด้านต่ำของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป ประกอบไปด้วย 1) ระยะเวลาในการควบคุมการระบาดระลอกที่ 3 ที่อาจนานกว่าคาด รวมทั้งการระบาดรอบใหม่อาจเกิดขึ้นได้ ตราบใดที่ยังมีการฉีดวัคซีนในระดับต่ำ 2) ความล่าช้าในการฉีดวัคซีน และประสิทธิภาพของวัคซีนที่อาจมีไม่สูงพอ โดยเฉพาะกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 3) การกลับมาระบาดหรือการระบาดรอบใหม่ในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในเอเชีย อาจส่งผลต่อการส่งออกของไทย และ 4) ผลของแผลเป็นเศรษฐกิจ ที่อาจมีมากกว่าคาด เช่น ภาวะหนี้เสียที่อาจปรับเพิ่มขึ้นมาก เป็นต้น โดย EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า โดยเศรษฐกิจจะต้องรอถึงช่วงต้นปี 2566 จึงจะกลับไปเท่ากับระดับ GDP ก่อนเกิด COVID-19. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พ่อเลี้ยงล่วงละเมิด

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA ส่วนเด็กอาการดีขึ้น

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA เชื่อ แม่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แค่เชื่อผัวเพราะลูกเคยโกหก เผย ตอนแม่รู้ความจริงว่าใครทำลูกถึงกับร้องไห้โฮโผกอดลูก ส่วนเด็ก 10 ขวบอาการดีขึ้น แต่ต้องรักษาตัวอีกหลายสัปดาห์

งานแต่งธนกร

วิวาห์ชื่นมื่น “ธนกร-แคทลีน” คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น

งานวิวาห์ “ธนกร-แคทลีน” ชื่นมื่น คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น ด้าน “ทักษิณ” ไม่ได้มาร่วม แต่ส่งของขวัญแสดงความยินดี

ทรัมป์สั่งปลด

“ทรัมป์” สั่งปลดประธานคณะเสนาธิการร่วมตามแผนปรับปรุงกลาโหม

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ออกคำสั่งในวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นปลด พลอากาศเอก ซี. คิว. บราวน์ จูเนียร์ (Charles Quinton Brown Jr.) เป็นประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมของสหรัฐออกจากตำแหน่ง

ข่าวแนะนำ

“ทักษิณ” ขอโทษผู้เสียหายจากเหตุการณ์ตากใบ

“ทักษิณ ชินวัตร” กล่าวขอโทษผู้เสียหายจากเหตุการณ์ตากใบ พูดคุยกับกลุ่มผู้นำศาสนาว่าในช่วงที่ตนเป็นนายกรัฐมนตรี มีความตั้งใจและห่วงใยประชาชน แต่การทำงานย่อมมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ และหากทำอะไรที่ผิดพลาดไปก็ต้องขออภัย เพื่อให้หันกลับมาแก้ไขปัญหาด้วยกัน

จับหนุ่มอินเดียขนเงินกว่า 15 ล้านบาท เข้าไทย

หนุ่มอินเดียหอบเงินสด 15.7 ล้านบาท เดินเท้าจากปอยเปตเข้าไทย อ้างเล่นพนันได้ เจ้าหน้าที่เร่งขยายผลหวั่นพัวพันคอลเซ็นเตอร์

รวบหนุ่มจีนพร้อมสาวไทย เอี่ยวฟอกเงินหลอกลงทุนคริปโต

ตำรวจไซเบอร์รวบหนุ่มจีนพร้อมสาวไทย กินหรูอยู่สบาย เอี่ยวฟอกเงินขบวนการหลอกลงทุนคริปโต พบเกี่ยวพันอีก 28 คดี มูลค่าความเสียหายกว่า 30 ล้านบาท

“ทักษิณ” ถึงนราธิวาส กลับมาในรอบ 19 ปี

“ทักษิณ” ถึงนราธิวาส บอกคนนราธิวาสน่ารักเสมอ ต้อนรับอบอุ่นกับการกลับมาในรอบ 19 ปี ก่อนเดินทางต่อตามกำหนดเดิม แม้มีระเบิดที่สนามบิน