กรุงเทพฯ 11 พ.ค.-ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยช่วงเดือนเมษายน ต่ำสุดตั้งแต่ทำการสำรวจ อาจทำให้ภาคธุรกิจปิดกิจการเพิ่มขึ้นแน่จากโควิดระบาดระลอก 3 นี้
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยว่าจากการแพร่ระบาดระลอก 3 ช่วงเดือนเมษายน ส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวทั้งระบบ โดยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยช่วงเดือนเมษายนถือว่าต่ำสุดตั้งแต่การทำการสำรวจ ทางมหาวิทยาลัยหอการค้า คาดการณ์ว่า การระบาดในรอบนี้อาจทำให้ภาคธุรกิจปิดกิจการเพิ่มขึ้นซึ่งจะนำไปสู่การว่างงานที่เพิ่มขึ้น และส่งผลไปสู่การเกิดหนี้ครัวเรือนที่มากขึ้นตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ดี หากรัฐบาลสามารถควบคุมการแพร่ระบาด และ การเร่งฉีดวัคซีน สถานการณ์ก็อาจกลับมาดีขึ้นได้
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยในเดือนเมษายน อยู่ที่ 27.1 ถือว่าเป็นจุดที่ต่ำที่สุดตั้งแต่การทำผลสำรวจนี้ และการสำรวจจากหอการค้าจังหวัดต่างๆในเรื่องของเศรษฐกิจของจังหวัดโดยรวม พบว่า มีประมาณร้อยละ 78.3 ที่ตอบว่าสถานการณ์ในรอบนี้แย่ลง ซึ่งทางหอการค้าก็คาดการณ์ว่าในอีก 6 เดือนข้างหน้าสถานการณ์จะปรับตัวดีขึ้น ในเรื่องของการที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว การฉีดวัคซีนในต่างประเทศ และการฉีดวัคซีนในไทย
อย่างไรก็ตามโควิดรอบที่ 3 นี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ของประชาชน การทำธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจของประเทศทั้งปัจจุบันและในอนาคต หากไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนเป็นการซ้ำเติมบางธุรกิจที่ขาดสภาพคล่อง หรือยังไม่ฟื้นตัวจากรอบที่แล้ว ทำให้เค้าต้องปิดกิจการไป ซึ่งทำให้การว่างงานเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคอีสานที่เดินทางกลับบ้านหลังจากถูกเลิกจ้าง ทำให้ส่งผลไปที่หนี้ครัวเรือนที่จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูง รวมทั้งการที่บางจังหวัดมีมาตรการการกักตัว หากเดินทางเข้าจังหวัดนั้นๆ ทำให้นักท่องเที่ยวชะลอการเดินทาง การสั่งปิดกิจการทางธุรกิจในหลายประเภท โดยเฉพาะธุรกิจกลางคืน ตลอดไปจนถึงการงดกิจกรรมสงกรานต์ในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดการชะลอการบริโภคและจับจ่ายใช้สอย
ทั้งนี้ ปัจจัยบวกที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจในตอนนี้ คือการที่ภาครัฐดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในโครงการคนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน เราชนะ และเรารักกัน เพื่อช่วย กระตุ้นกาลังซื้อให้ปรับตัวดีขึ้นทั่วประเทศ รวมไปถึงการส่งออกของไทยในเดือน มี.ค.64 ขยายตัวร้อยละ 8.47 มูลค่าอยู่ที่ 24,222.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวในระดับที่ดี โดยเฉพาะข้าว ยางพารา และมันสาปะหลัง ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ เริ่มมีรายได้สูงขึ้น และกาลังซื้อในต่างจังหวัดเริ่มปรับตัวดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ได้เสนอแนวทางในการแก้ไขรัฐควรเร่งจัดหาวัคซีนให้เพียงพอต่อจานวนประชากร เร่งกระจายการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทุกภาคส่วนอย่างท่ัวถึงเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่และทำให้การดำเนินชีวิตกลับเข้าสู่สภาวะปกติหลังจากสถานการณ์โควิดเริ่มมีการคลี่คลายลง, เร่งการหยุดการระบาดแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เป็นคลัสเตอร์และกระจายตัวอยู่ในชุมชนที่แออัดตามพื้นที่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล นอกจากนี้ยังควรมีมาตรการทางการเงินช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจในการช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินกิจการ รักษาการจ้างงาน พัฒนาทักษะแรงงานและปรับรูปแบบธุรกิจ ให้กลับมาสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และท้ายสุดเร่งแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของประเทศให้พร้อมดำเนินการทันทีเมื่อสถานการณ์ของการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ควบคุมได้ และประชาชนมีภูมิคุ้นกันต่อโรคในระดับที่ไม่เป็นอันตรายได้ต่อไป.-สำนักข่าวไทย