โซลาร์ลอยน้ำใหญ่สุดในโลก”เขื่อนสิรินธร”COD มิ.ย.64

กรุงเทพฯ 22 ม.ค.-กฟผ. เดินหน้าโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธรใหญ่ที่สุดในโลก ล่าสุดคืบหน้าแล้วกว่า 80% คาดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้กลางปี 64  เตรียมชูเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานี


DCIM\102MEDIA\DJI_0488.JPG

นายฉัตรชัย มาวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ. เร่งเดินหน้าก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร หรือโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ขนาดกำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ ให้ทันตามแผน ก่อนดำเนินการต่อในเขื่อนอื่น ๆ ของ กฟผ. ให้ครบ 2,725 เมกะวัตต์  ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 (PDP2018) ขณะนี้ โครงการฯ มีความคืบหน้าภาพรวมอยู่ที่ ร้อยละ 82.04 โดยได้ประกอบและติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำในเขื่อนสิรินธรชุดแรกแล้วเสร็จเมื่อสิ้นปี 2563 พร้อมเร่งเดินหน้าติดตั้งให้ครบ 7 ชุด เพื่อเตรียมทดสอบระบบไฟฟ้าของโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จสามารถจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ตามแผนได้ในเดือนมิถุนายน 2564 ถือเป็นโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

นอกจากนี้ กฟผ. ยังร่วมกับจังหวัดอุบลราชธานี พัฒนาโครงการนี้ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญของจังหวัด โดยก่อสร้างเส้นทางเดินชมธรรมชาติ (Nature Walkway) ความยาว 415 เมตร เพื่อให้ประชาชนได้เดินชมความสวยงามของทิวทัศน์ได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งคาดว่าจะช่วยเสริมให้ธุรกิจท่องเที่ยวของจังหวัดกลับมาคึกคัก ช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย


สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร หรือ Hydro-floating Solar Hybrid เป็นโครงการนำร่องแห่งแรกของ กฟผ. ที่ได้นำพลังงานหมุนเวียนสองประเภทจาก “พลังงานแสงอาทิตย์” และ “พลังน้ำ” มาผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน หรือเรียกว่า ระบบไฮบริด เพื่อลดข้อจำกัดของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่การผลิตไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ โดยพัฒนาระบบควบคุมและบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System : EMS) เพื่อบริหารจัดการการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งสองชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ต่อเนื่องยาวนาน และเสริมความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าของประเทศ

ทั้งนี้ โครงการฯ มีพื้นที่ 760 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนพื้นที่ผิวน้ำไม่ถึงร้อยละ 1 ของพื้นที่อ่างเก็บน้ำทั้งหมด ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เป็นชนิดดับเบิลกลาส (Double Glass) สามารถทนต่อความชื้นสูงได้ดี ทำให้ไม่มีสิ่งปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำติดตั้งทุ่นลอยน้ำชนิด HDPE (High Density Polyethylene) ซึ่งเป็นวัสดุชนิดเดียวกับท่อส่งน้ำประปา จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสัตว์น้ำ โครงการแห่งนี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนได้ประมาณ 47,000 ตัน/ปี หรือคิดเป็นพื้นที่ป่าประมาณ 37,600 ไร่ -สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

บกปภ.ช. แถลงความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือเหตุแผ่นดินไหว

บกปภ.ช. แถลงความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือเหตุแผ่นดินไหว สั่งพื้นที่เร่งสำรวจและให้ความช่วยเหลือ หากงบประมาณไม่เพียงพอให้ขอขยายวงเงินทันที ด้านอาคารที่ถล่มได้ส่งทีม USAR Thailand สลับกำลังเพิ่มเติม

นายกฯ กล่าวในวันอีฎิ้ลฟิตริ ฮ.ศ.1446 ส่งความปรารถนาดีชาวไทยมุสลิม

นายกรัฐมนตรี กล่าวในวันอีฎิ้ลฟิตริ ฮ.ศ.1446 ส่งความรัก ความปรารถนาดียังชาวไทยมุสลิมทุกคน ชื่นชมศรัทธาที่เข้มแข็ง ความอดทน อดกลั้น ความมุ่งมั่น เสียสละ

เร่งปฏิบัติการค้นหาผู้รอดชีวิตจากใต้ซากอาคาร สตง.

ปฏิบัติการค้นหาผู้ติดใต้ซากอาคาร สตง. ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผ่านมาเกือบ 54 ชั่วโมงแล้ว ตอนนี้ยังไม่พบผู้รอดชีวิตเพิ่ม ส่วนยอดผู้เสียชีวิตล่าสุดเพิ่มเป็น 11 รายแล้ว

สตง.ตั้งศูนย์ประสานงานช่วยผู้ประสบภัยตึกถล่มจากแผ่นดินไหว

สตง. เร่งตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและผู้ได้รับผลกระทบ จากกรณีอาคารที่ทำการสำนักงานแห่งใหม่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว พร้อมยืนยันกระบวนการดำเนินโครงการฯ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย